ฟิทช์ลดเครดิตไฮบริดฯKTB-TMBชี้ศก.ซบส่อแววขาดทุน-งดจ่ายดบ.


ผู้จัดการรายวัน(30 มีนาคม 2552)



กลับสู่หน้าหลัก

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1 Securities) ของ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) เป็น 'BB+' จาก 'BBB-' และอันดับเครดิตภายในประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็น 'A(tha)' จาก 'A+(tha)' ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว Issuer Default Rating (IDR) ของธนาคาร ที่ 'BBB+' แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ 'F2Ž อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ 'BBB' อันดับเครดิตความแข็งแกร่งทางการเงิน (Individual Rating) ที่ 'C/D' อันดับเครดิตสนับสนุนที่ '2Žอันดับเครดิตสนับสนุน ขั้นต่ำ (Support Rating Floor) ที่ 'BBB+' อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ 'AA+(tha)' แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ 'F1+(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ 'AA(tha)'

การปรับลดอันดับเครดิตของตราสารหนี้ ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุน ชั้นที่ 1 เป็นผลมาจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของ การประกาศงดจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุน ชั้นที่ 1 เนื่องจากการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจ โดยประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิทช์ คาดว่าเศรษฐกิจ ของไทยจะหดตัวลง 3.8% ในปี 2552 ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย การจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 สามารถจ่ายจากกำไรหรือกำไรสะสมของธนาคาร แต่ในปีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นมีผลการดำเนินงานขาดทุน การจ่ายดอกเบี้ยจะกระทำได้ก็ต่อ เมื่อได้รับอนุญาตจาก ธปท.เป็นรายกรณีไป โดย ธปท.จะพิจารณาจากฐานะทางการเงินของ ธนาคารพาณิชย์ เช่น ฐานะเงินกองทุน ความสามารถในการทำกำไร และระดับกำไรสะสม เป็นต้น ด้วยกำไรสะสมของ KTB จำนวน 37.2 พันล้านบาท มีความเป็นไปได้ที่ ธปท.อาจอนุญาตให้ KTB ประกาศจ่ายดอกเบี้ยตราสาร หนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ถึงแม้ว่าธนาคารจะมีผลการดำเนินงานขาดทุน

อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าด้วยแนวโน้มของผลการดำเนินงานและเงินกองทุนของธนาคารที่อาจอ่อนแอลงอย่างมากในอีกสองปีข้างหน้า ส่งผลให้ความเสี่ยงในการประกาศ งดจ่ายดอกเบี้ยตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1 Securities) ของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เป็น 'B+' จาก 'BB-' ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Issuer Default Rating) ของธนาคารที่ 'BBB-' แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตสากลสกุล เงินต่างประเทศระยะสั้นที่ 'F3Ž อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ 'C/D' อันดับเครดิต สนับสนุนที่ '3Ž อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support Rating Floor) ที่ 'BB' อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อย สิทธิที่ 'BB+' อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Ratings) ที่ 'A+(tha)' แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ 'F1(tha)' และอันดับเครดิต ภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ 'A(tha)'

การปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็นผลมาจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการประกาศงดจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เนื่องจากธนาคารอาจมีผลการดำเนินงานขาดทุนในปี 2552 จากผลกระทบของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แม้ว่าเงินกองทุนของ TMB ได้ปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นหลังจากที่ธนาคารได้รับการสนับสนุนในการเพิ่มทุนจาก ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ ING Bank NV (ING) เมื่อเดือนธันวาคม 2550 แต่อย่างไรก็ตามความสามารถในการทำกำไรของธนาคารยังอยู่ ในระดับค่อนข้างต่ำและ TMB ยังคงมีผลขาด ทุนสะสมอยู่ในระดับที่สูงถึง 103.2 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2551


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.