หลังเงื้อง่าราคาแพงมานาน แบงก์ชาติออกหนังสือเวียนวานนี้ ที่มีผลตั้งแต่ 26 ก.ค.
ห้ามแบงก์พาณิชย์ให้ ขาใหญ่ที่ใช้บัญชีนอกยืมหลักทรัพย์ เก็งกำไรเงินบาท เหมือนที่ทำ
2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลบาทอ่อนตัวลงวานนี้ แตะ 41 บาท ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยร่วง 3.30
จุด ลด 0.61% ปิดที่ 541.90 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย 2.82 หมื่นล้านบาท ด้านเอกชนเรียกร้องรัฐบาล
ดูแลค่าเงินใกล้ชิดให้นิ่ง ขณะที่ "อุ๋ย" ยันใช้เงินแทรกแซงบาทไม่ถึง
8 หมื่นล้านบาท เพื่อไม่ให้เงินไทยผันผวน ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
ขณะที่เอกชนมองค่าบาทที่แข็งค่าขึ้น ยังไม่กระทบคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
แต่สิ่งสำคัญ ทางการต้องดูแลไม่ให้แกว่งเกินไป เพราะหากแข็งค่าต่อ ต่ำกว่า 40
บาทต่อดอลลาร์เมื่อไร ส่งออกจะเริ่มลำบาก เแต่ก็มั่นใจศักยภาพผู้บริหาร ธปท.ชุดนี้มือถึง
ดูแลบาทได้ ขณะที่"อดิศัย"ยืนยันบาทแข็งค่าไม่กระทบส่งออก แถมดีในแง่ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าลดลง
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าววานนี้ (2 ก.ย.) ข่าวแบงก์ชาติใช้เงินเพื่อแทรกแซงค่าเงินบาท ประมาณ
2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8.2 หมื่นล้านบาท) 2 เดือนที่ผ่านมาว่า ธปท.ไม่ได้ใช้เงินทุนสำรองทางการแทรกแซงค่าเงินบาทมากขนาด
นั้น หวังดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนตามปกติตามหน้าที่แบงก์ชาติ
"จะเข้าไปแทรกแซงทำไมมากขนาดนั้นให้เหนื่อยเปล่า
แต่ขณะนี้ กำลังติดตามดูแลอัตรา แลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยยึดหลักให้เหมาะสมกับพื้นฐานของประเทศ"
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว ออกมาตรการสกัดเก็งกำไรบาท
ขณะที่วานนี้ ธปท.ออกหนังสือเวียน ปรับปรุงหลักเกณฑ์อนุญาตธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และขายชอร์ต โดยสั่งห้ามธนาคารพาณิชย์ให้ยืมหลักทรัพย์
ทั้งตราสารหนี้ และตรา สารแห่งหนี้แก่ผู้ลงทุนที่มีถิ่นฐานต่างประเทศ (Non-resident
account) สำหรับนำไปทำขาย ชอร์ต เพื่อทำกำไรจากหลักทรัพย์ดังกล่าว เนื่อง จากเป็นช่องทางให้นักลงทุนต่างชาติได้เงินบาท
เพื่อเก็งกำไร ซึ่งขัดต่อมาตรการป้องปรามเก็งกำไรค่าเงินบาท
ประกาศนี้ ธปท. เพิ่มหลักทรัพย์ตราสารทุนให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นหลักทรัพย์ให้ยืม
และยืมได้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาตลาดตราสารทุน แต่แม้ ธปท.จะอนุญาตเพิ่มเติมให้ธนาคารให้ยืม
และยืมหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารทุน นอกจากการ อนุญาตให้ยืมและยืมเฉพาะตราสารหนี้ช่วงที่ผ่าน
มา แต่จะทำได้กับนักลงทุนในประเทศเท่านั้น ไม่ สามารถทำกับนักลงทุนที่มีถิ่นฐานต่างประเทศ
(นอน-เรสซิเดนท์)ได้ เนื่องจากธปท.ต้องการป้องกันไม่ให้หาเงินบาทเพื่อเก็งกำไรจากช่องทางนี้
ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 26 ส.ค.
เจ้าหน้าที่สายตลาดเงิน ธปท.ชี้แจงว่า การดำเนินการดังกล่าว
ป้องกันไว้ก่อน เพื่อไม่ให้หาเงินบาทเก็งกำไรค่าบาท เพราะขณะนี้ เริ่มเก็งกำไรค่าเงินบาทกลับเข้ามาบ้าง
แต่ที่ผ่านมาการ ทำธุรกรรมผ่านช่องทางนี้ ยังไม่มาก เพราะที่ผ่านมา อนุญาตแต่ตราสารหนี้
เมื่ออนุญาตเพิ่มเติม ให้ตราสารทุน และด้วยสถานการณ์ค่าเงินขณะนี้บาทที่แข็งขณะนี้
ทำให้ตัดสินใจไม่ให้ทำกับนักลงทุนต่างชาติ
ด้านนางอัจนา ไวความดี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ
ธปท. กล่าวว่า การแข็งขึ้นเงินบาท มีผลต่อต้นทุนการผลิต และความต้องการขายที่มากกว่าความต้องการซื้อสินค้าบางภาค
ซึ่งทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานต่ำมาก แต่ไม่ถือว่าเป็นปัจจัยหลัก โดยเงินเฟ้อพื้นฐาน
ส.ค.ของไทย 0% เกิดจากค่าเช่าบ้านที่ต่ำลงมาก จากความต้องการเช่าลดลง เนื่องจากคนจนสามารถซื้อบ้านเป็นของตนเองได้
ตามนโยบายบ้านเอื้ออาทรของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อพื้นฐาน 0% ไม่ใช่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด
เพราะเงินเฟ้อทั่วไปยังสูงถึง 2.2% และการเปลี่ยนแปลงเงินเฟ้อพื้นฐาน 0% ไม่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอ
บาทอ่อนค่าหลังเห็นมาตรการ ธปท.
เงินบาทวานนี้ เปิดตลาด 40.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติแข็งค่าที่สุดในรอบ
13 เดือนอีกครั้ง ตามแรงซื้อดอลลาร์ของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม มีแรงเทขายต่อเนื่องช่วงท้ายตลาด
หลังแบงก์ชาติโชว์หนังสือเวียนห้ามแบงก์พาณิชย์ ปล่อยกู้บาทให้ขาใหญ่ ที่ใช้บัญชีผู้มีถิ่นฐานนอก
ประเทศ ปิดตลาดบาทซื้อขาย 41.05 บาทต่อดอลลาร์
ส่วนเงินเยนญี่ปุ่น เปิดตลาดประมาณ 116.50 เยนต่อดอลลาร์
จากนั้นอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับบาท ปิดตลาด 117.11 เยนต่อดอลลาร์ ขณะที่เงินเปโซ
ฟิลิปปินส์ ซื้อขาย 54.80 เปโซต่อดอลลาร์ และเงินรูเปียะห์ อินโดนีเซีย เคลื่อน
ไหว 8,470 รูเปียะห์ต่อดอลลาร์
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทผันผวนตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้
โดยบาทแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่เช้าที่ 40.93 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าสุด 41.05 บาท
ช่วงเช้า ขณะที่บาทแตะ 40.90 บาทต่อดอลลาร์ ธปท. แทรกแซงตลาดเงิน ทำให้เงินอ่อนค่าลงอยู่ที่
41 บาทต่อดอลลาร์
"ค่าเงินบาทเริ่มปรับตัวอ่อนค่าลง ตามค่าเงินเยนญี่ปุ่น
ที่อ่อนลงมาแตะ 116.86 เยนต่อดอลลาร์ จากช่วงเช้า 116.70 เยนต่อดอลลาร์"
อดิศัยยันส่งออกยังสบาย
นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) กล่าวถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้ว่า คำสั่งซื้อยังคง เป็นปกติ
คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายแต่ผู้ผลิต ยังคงเป็นห่วงราคาน้ำมัน รวมถึงบาทที่แข็งค่าขึ้น
ว่าจะมีทิศทางอย่างไร ซึ่งค่าเงินบาท จะอ่อนหรือ แข็งค่า ไม่ใช่เรื่องหลัก สิ่งที่เอกชนต้องการเห็น
คือความมีเสถียรภาพเงินบาท ที่ไม่ควรจะแกว่ง ตัว เพราะจะทำให้การสั่งวัตถุดิบนำเข้ามีปัญหา
เพราะคาดการณ์ยาก และอาจขาดทุนได้
"ค่าเงินบาทที่ระดับ 41 บาทต่อดอลลาร์ก็ยังถือว่าไม่แข็งจนเกินไป
และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เข้ามาดูแลแล้ว ซึ่งถือว่าถูกต้อง แต่ สำคัญคือ ต้องไม่ให้แกว่งตัวมาก
ซึ่งการที่บาท แข็งค่าขณะนี้ยอมรับว่าเร็วไปหน่อย" นาย ประพัฒน์ กล่าว
นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) กล่าวว่า บาทที่แข็งค่าขึ้น หากยังอยู่ระดับ 41-42 บาท ต่อดอลลาร์ จะไม่กระทบการส่งออก
เนื่องจากเปลี่ยนแปลงเพียง 2-3% แต่หากต่ำกว่า 40 บาท ต่อดอลลาร์ หรือแข็งขึ้น
5% แน่นอนว่าการส่งออกคงไม่ใช่เรื่องง่าย
"การแข็งค่าของเงินบาท เป็นผลดีสำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท
ที่นำเข้าวัตถุดิบมาจากต่างประเทศ เนื่องจากสามารถซื้อวัตถุดิบได้ ในราคาที่ต่ำลง
เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ทองแดง อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมน้ำมัน แต่หากแกว่งตัวมากไป
คงไม่ดีแน่ แต่ก็มั่นใจว่า แบงก์ชาติจะเข้ามาดูแลได้"
เอกชนไม่ต้องการเห็นบาทแกว่ง
นายคมสัน โอภาสสถาวร รองเลขาธิการ ส.อ.ท.กล่าวว่าค่าเงินบาท
41-42 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่าเหมาะสม แต่ความเคลื่อนไหวขณะนี้ ไม่นิ่ง ซึ่งเอกชนกังวลว่า
จะแกว่งตัวหรือไม่ เอกชนต้องการค่าเงินบาทที่ไม่แกว่งตัว นิ่งอย่างน้อย 6 เดือนไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป
เพื่อจะทำให้วางแผนการผลิต ส่งออกง่าย
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีพาณิชย์ กล่าวว่าบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้
ไม่ทำให้การส่งออกของไทยเสียหาย แต่จะดีในแง่นำเข้า ที่ต้น ทุนจะลดลง โดยเฉพาะสินค้านำเข้าวัตถุดิบ
แต่ส่วนสินค้าส่งออก กำไรจะลดลงบ้าง ซึ่งเป็นไปตามคาด ว่าค่าบาทจะแข็งค่าขึ้น เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน
ถือว่ากำลังดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาคส่งออก และในประเทศ
"วันนี้ อัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะหากค่าเงินบาทยืนอยู่ที่
41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าดี แต่ที่ผู้ส่งออกเป็นห่วง ก็คืออย่าให้มันแกว่งมากจนเกินไป
แต่เท่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ ถือว่าเหมาะสม ที่สำคัญ การที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ขึ้น
ไม่ใช่เพราะมีปัจจัยจากภายนอกเข้ามากดดัน แต่เป็นเพราะพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีของไทยเอง"
นายอดิศัยกล่าว
เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะกระทบการส่งออก หรือไม่ นายอดิศัยยืนยันว่า
การส่งออกของไทย 7 เดือนแรกปีนี้ มูลค่า 44,732 ล้านดอลลาร์ขยาย ตัว 18.3% การนำเข้ามูลค่า
41,473 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 14.7% โดยไทยได้ดุลการค้า 3,259 ล้าน ดอลลาร์ ซึ่งเขายังคงเห็นว่าการส่งออกของไทย
ปีนี้ จะเป็นไปตามเป้าหมายที่จะขยายตัว 10.58% จากปีม้าแน่นอน