ทศวรรษของโทรศัพท์มือถือ

โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2544)



กลับสู่หน้าหลัก

ไม่มีใครคาดคิดว่า สัมปทานให้บริการโทรศัพท์มือถือจากคลื่นความถี่ Microwave ซึ่งค้นพบ มาแล้วตั้งแต่สงครามโลกครั้ง ที่สอง จะมีค่ามากมายเมื่อประยุกต์ใช้อย่างถูกจังหวะ และเวลา

ทักษิณ ชินวัตร เห็นช่องนี้จะโดยเข้าใจลึกซึ้งหรือไม่ก็ตามในระยะบุกเบิก แต่ได้สร้างโอกาสธุรกิจให้เขามากมาย ยิ่งกว่าสัมปทานอื่นๆ ที่เขาได้มาในช่วงเดียวกัน

ปี 2533 AIS บริษัทในกลุ่มชินคอร์ป ได้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ และลงทุนสร้างเครือข่ายอย่าง ช้าๆ และต่อเนื่อง เปิดบริการโทรศัพท์อีกระบบหนึ่งคู่กับบริการโทรศัพท์พื้นฐานขององค์การโทรศัพท์ฯ ทั้ง เสริม และแข่งขันกัน 1 ปีจากนั้น กลุ่มยูคอมจะเดินตาม และได้รับสัมปทานโทรศัพท์มือถือ จากการสื่อสารฯ ภายใต้ TAC

การเติบโตของธุรกิจนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม รายได้ของการประกอบการ ยังไม่สูงเท่า กับผลตอบแทนการเข้าตลาดหุ้นไทยของ AIS ในปี 2535 และ UCOM-TAC ในปี 2537-8 นับเป็นผลตอบแทนเข้าตลาดหุ้น ที่มากที่สุดรายหนึ่ง ในบรรดากิจการที่เข้าตลาดหุ้นกันมากมายในขณะนั้น

การขยายตัวธุรกิจนี้เติบโตกับการเติบโตของสังคมเมืองหลวง และหัวเมือง พร้อมกับกระแสการวางเครือข่ายสื่อสารทั่วโลก ในยุคการค้าเสรีดำเนินไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น

เครือข่ายสื่อสารมีความหมายมากมายในการดำรงชีวิตของผู้คนยุคใหม่

จากนั้น ไม่ถึง 10 ปี ธุรกิจของ โทรศัพท์มือถือก็กลายเป็นธุรกิจใหญ่ที่สุดในธุรกิจสื่อสาร รายได้ทั้ง AIS และ TAC รวมกันมีมากกว่า 50,000 ล้านบาท มากกว่ารายได้ขององค์การโทรศัพท์ฯ

ที่สำคัญกว่านี้ Application ของธุรกิจนี้มีความยืดหยุ่น และพลิกแพลงอย่างมาก ในปี 2544 จากนี้ไป หลังจากผ่านมรสุมครั้งใหญ่มาอย่างราบรื่น

มันเป็นภาพของสังคม ที่มีบุคลิก อย่างโดดเด่น และมีสีสันอย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องน่าติดตามอย่างเร้าใจ



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.