และแล้วน้ำก็ต้องแยกสาย ไผ่ก็ต้องแยกกอเมื่อสองศรีพี่น้องแห่งตระกูลณรงค์เดชต้องแยกทางกันเดิน
เพราะวิธีการทำงานที่ไปด้วยกันไม่ได้ โดยมี บริษัท กระดาษไทยสก็อตต์เป็นจุดแยก
เมื่อปลายปี 2530 มีหนังสือเวียนจากบริษัท กระดาษไทย-สก็อตต์ ถึงร้านค้าต่าง
ๆ ทั่วประเทศ ว่า ทางบริษัทให้บริษัทไทย-สก็อตต์เทรดดิ้ง เป็นผู้จัดจำหน่ายกระดาษสก็อตต์แต่เพียงยี่ห้อเดียว
ส่วนยี่ห้อเซลล็อกซ์ที่เคยขายคู่กันมาจะไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ซึ่งเป็นคนปั้นเซลล็อกซ์มากับมือไม่รู้เรื่องนี้เลย
และไม่สบอารมณ์มากเรื่องก็เลยแดงออกมาให้รับรู้กันว่า
บริษัท กระดาษไทย-สก็อตต์ ซึ่งแต่เดิมนั้นถือหุ้นโดยบริษัท สก็อตต์เปเปอร์
อินเตอร์เนชั่นแนล ของสหรัฐฯ 50% บริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ 10% ตระกูลณรงค์เดช
30% และคนอื่นอีก 10% ต่อมาทางสก็อตเปเปอร์ต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานจึงขอซื้อหุ้นจากฝ่ายไทยโดยให้ราคาสูงถึงหุ้นละ
25,000 บาท มูลค่าหุ้นเมื่อเริ่มกิจการนั้นหุ้นละ 1,000 บาท และราคาตามบัญชีในปัจจุบันเพียง
10,000 บาทเท่านั้น ของตนให้ และยังมีรายอื่น ๆ อีกรวมทั้งของตระกูลณรงค์เดชด้วย
ในด้านการบริหารต่อไป ตัวประสิทธิ์เองนั้นบอกว่าการซื้อขายหุ้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา
แต่แล้วก็มีหนังสือเวียนออกมาว่า ไทยสก็อตต์จะขายแต่กระดาษสก็อตต์ ไม่ขายเซลล็อกซ์
หนังสือเวียนนั้นออกมาจากกระดาษสก็อตต์ที่มีเกษมเป็นผู้บริหารอยู่ เรื่องทั้งหมดก็หมายความว่า
เมื่อเกษม หมายความว่า เกษมจะไม่ขายของให้ประสิทธิ์อีกต่อไป แปลอีกทีว่า
ต่อไปนี้จะหันหลังให้กันแล้ว
ประสิทธิ์เลยต้องไปตั้งโรงงานผลิตกระดาษเซลล็อกซ์เอง และขายเองแข่งกับสก็อตต์
เป็นการแยกทางกันเดินหลังจากขัดแย้งกันมานาน