"ก่อน 'เยลโล่ เพจเจ็ส' จะปิดหน้า"

โดย นพ นรนารถ
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2531)



กลับสู่หน้าหลัก

16 กรกฎาคม 2527 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) เปิดซองประกวดราคาจัดทำสมุดโทรศัพท์ มีผู้ยื่นซอง 4 ราย จีทีดีซี, เอทีแอนด์ที, เอทีทีไอไทยมีเดีย และสยามเทเลโฟนไดเรคตอรี่

17 มกราคม 2528 ทศท. ประกาศยกเลิกการประกวดราคาครั้งที่แล้ว และให้ดำเนินการใหม่เฉพาะ 3 ราย โดยตัดเอทีทีไอ ไทยมีเดียออกไป

26 มกราคม 2528 วันเปิดซอง มีเพียง 2 รายเข้าร่วม โดยสยามเทเลโฟนฯ ถอนตัวออกไป ปรากฏว่าเอทีแอนด์ที เสนอผลประโยชน์มากกว่า จึงได้รับการคัดเลือก

มีนาคม 2528 จีทีดีซี ประกาศจะจัดทำสมุดธุรกิจอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับ ทศท. และจะลดราคาค่าโฆษษาลง 30%

8 มีนาคม 2528 จีทีอี ไดเรคตอรี่ส์คอปอเรชั่น ยื่นฟ้องเอทีแอนด์ที อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ ข้อหากระทำผิดกฎหมายผลักดันให้ ทศท. ยกเลิกการประกวดราคาครั้งแรก เรียกค่าเสียหาย 864,852,415 บาท

10 มิถุนายน 2528 ทศท. ได้รับร่างสัญญาที่แก้ไขแล้วจากกรมอัยการ แล้วให้เอทีแอนด์ทีทราบว่าวันดังกล่าวเป็นกำหนดลงนามสัญญา ก่อนหน้านี้ ทศท. แจ้งและยินยันว่าให้เอทีแอนด์ทีเป็นผู้จัดทำสมุดโทรศัพท์เพียงผู้เดียว และ ทศท. จะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำผิด

สิงหาคม-กันยายน 2528 เป็นช่วงเอทีแอนด์ทีเริ่มขายโฆษณาแจ้งความ เนื่องจากลงนามสัญญาล่าช้าในขณะเดียวกันจีทีดีซี ได้ปิดเล่มสมุดธุรกิจอิสระสำหรับฉบับปี 2529 แล้ว

1 มกราคม 2529 เอทีแอนด์ที พิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้ฯ (หน้าขาว) สำเร็จ ส่วนจีทีดีซีแจกทั้งสองชนิดไปทั่วประเทศ

6 มกราคม 2529 เอทีแอนด์ทียื่นข้อเสนอต่อ ทศท. 1. เร่งให้ ทศท. ดำเนินคดีต่อผู้ละเมิด 2. เร่งจัดทำนิติสัญญาเรื่องลิขสิทธิ์ 3. ขอให้ปรับปรุงนำส่งรายได้ใหม่โดยเสนอในช่วงละเมิด ไม่มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ต่อ ทศท.

17 มกราคม 2529 จีทีดีซียื่นฟ้องเอทีแอนด์ทีและ ทศท. ข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหาย 114 ล้านบาท

10 กุมภาพันธ์ 2529 ศาลฎีกายกฟ้องคดีแรกที่จีทีดีซียื่นฟ้องเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2528 มีสาระสำคัญ คือ หากมีการละเมิดเอทีแอนด์ทีดำเนินการเอง และปีที่สองหลังจากยุติการละเมิดได้ หากเอทีแอนด์ทีมีกำไร หักได้ไม่เกิน 6 ล้านบาท ที่เหลือต้องยกให้ ทศท. ปีที่ 3 จะเริ่มต้นสัญญา 5 ปีตามพันธกรณีเดิม

24 มิถุนายน 2529 เอทีแอนด์ที แจ้ง ทศท. ขอให้เอทีแอนด์ที ไดเรคตอรี่ (ประเทศไทย) รับช่วงดำเนินการ

สิงหาคม 2529 เอทีแอนด์ที ประกาศจะออกจากธุรกิจ พยายามเจรจากับกลุ่มศรีกรุงวัฒนาเข้ารับช่วงต่อในนาม เอทีแอนด์ทีดี. ในช่วงนั้นปิดสำนักงาน 3 สัปดาห์

9 ธันวาคม 2529 เอทีแอนด์ทีลงนามโอนสัญญาจาก ทศท. ไปสู่เอทีแอนด์ที

3 มกราคม 2530 กระทรวงคมนาคมเสนอร่างเข้า ครม.

18 พฤษภาคม 2530 เอทีแอนด์ทีเริ่มแจกสมุดโทรศัพท์ทั้ง "หน้าขาว" และ "หน้าเหลือง"

มิถุนายน 2530 เอทีแอนด์ทีประกาศรับสมัครพนักงานระดับต่าง ๆ ด้วยงบโฆษณา 2 ล้านบาทเสนอรายได้ระดับเดียวกับค่าจ้างแรงงานในสหรัฐฯ

14 กรกฎาคม 2530 ครม. ผ่านร่าง พ.ร.บ. ให้ ทศท. มีสิทธิ์แต่ผู้เดียวในการจัดทำสมุดโทรศัพท์

สิงหาคม 2530 พนักงานใหม่ทยอยเข้าเอทีแอนด์ทีในจำนวนนี้นฎาประไพ สุจริตกุล ส.ส. สอบตกพรรคประชาธิปัตย์ และที่ปรึกษา รมช. ประจวบ ไชยสาส์น ตำแหน่ง

1 ตุลาคม 2530 เปลี่ยนตัวผู้อำนวยการ ทศท. จากพลตรีประทีป ชัยปาณี เป็นดำรงชัย วิจารณ์กัยกิจ

19 ตุลาคม 2530 กรรมการผู้จัดการจีทีดีซี ทำหนังสือถึง ผอ. ทศท. ยืนยันขอจัดทำสมุดโทรศัพท์ให้ ทศท. ฟรี (หน้าขาว) และยินดีจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ด้วย โดยไม่เรียกร้องกฎหมายคุ้มครอง

18 พฤศจิกายน 2530 จีทีดีซีได้นำเอกสารฉบับลงวันที่ 19 ตุลาคม 2530 และ 11 กันยายน 2529 ซึ่งมีสาระคล้ายกันส่งไปยังหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ

26 พฤศจิกายน 2530 สภาผู้แทนฯ ผ่าน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว 3 วาระรวด

ธันวาคม 2530 จีทีดีซี ประกาศอำลาธุรกิจสมุดธุรกิจอิสระ ทั้งจะปลดคนงานด้วย



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.