ไม่บ่อยครั้งนักที่จะได้ยินคำพูดทำนองนี้ออกจากปากนักธุรกิจในบ้านเรา และโดยส่วนมากก็ไม่ใคร่มีใครคิดถึงจิตแพทย์กันนักในสังคมตะวันตกนั้น
แทบจะกล่าวได้ว่าจิตแพทย์มีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับนักธุรกิจ ไม่เป็นเรื่องแปลกประหลาดที่จะมีจิตแพทย์ประจำตัว
แต่ถ้าหากเป็นสังคมไทยแล้ว นักธุรกิจผู้นั้นจะถูกมองว่ามีปัญหาทางจิตประสาท
เผลอ ๆ ถูกมองว่าเป็น "บ้า" ไปเลยก็มี
อันที่จริงมูลเหตุที่ทำให้คิดถึงจิตแพทยืได้นั้นมาจากเรื่องใกล้ตัวเพียงนิดเดียวคือความเครียด
ซึ่งไม่ใช่ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวแล้วหายไป แต่ความเครียดในที่นี้หมายถึงสภาวะจิตใจที่ได้รับแรงกดดันจนมีอาการปรากฎทางกาย
ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่สามารถควบคุมได้
หมออรุณ เชาวนาศัย จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกัน บอร์ดแห่งกองจิตเวชประสาทวิทยา
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าอธิบายถึงอาการเครียดประเภทนี้อันส่งผลให้เกิดโรคของนักบริหารที่เป็นกันในหมู่นักธุรกิจใหญ่
ๆ 3 โรคด้วยกันคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ซึ่ง 2 โรคนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันสักเท่าใดว่ามีมูลเหตุมาจากความเครียดได้
และโรคที่ 3 คือบุคลิกภาพผิดปกติที่ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดปัญหากับผู้ร่วมงาน
ในทางจิตเวชนั้นพวกที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมักเป็นผู้ที่มีความเครียดเป็นประจำ
หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติทั้งวันทั้งคืนเกินกว่า 80 ครั้ง / นาทีซึ่งเป็นอัตราในคนปกติ
พบมากในผู้ที่มีรูปร่างอ้วนล่ำ ชอบสังคมพบปะผู้คน พูดเสียงดังโวยวาย
แต่ถ้าผู้ที่มีความเครียดเป็นปะจำเกิดเป็นประเภทคนผอม เจ้าความคิด หมกมุ่น
พวกนี้จะเป็นโรคกระเพาะอาหารมากกว่า ซึ่งจัดเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของนักบริหาร
ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและ โรคกระเพาะอาหารนี้เกิดจากประสาทอัตโนมัติที่ไม่สามารถบังคับได้
พวกนักบริหารที่มีงานเครียดหรืองานเร่งรัดมาก น้ำย่อยจะหลั่งออกมาเป็นธรรมดา
ถ้าเจรจาการค้ามูลค่าเป็นแสนหรือล้าน ยังพอทำเนา แต่ถ้าเป็นสิบล้าน ร้อยล้าน
กระทั่งพันล้านขึ้นมาแล้วย่อมเกิดความเครียดได้โดยง่าย
โดยทั่วไปผู้ที่เกิดอาการทางกายเหล่านี้มักจะรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะทางกระเพาะอาหารหรือความดันโลหิตสูงโดยตรง
ซึ่งหากมูลเหตุหลักของอาการเกิดมาจากความเครียดแลว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั้น
ๆ ก็จะต้องปรึกษาหารือแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์
มีนักบริหารน้อยรายมากที่เดินเข้ามาหาจิตแพทย์โดยตรง พวกนี้จะเป็นพวกที่ค่อนข้างรู้พอสมควรว่าจิตแพทย์จะช่วยอะไรเขาได้บ้าง
"ในแต่ละสัปดาห์จะมีคนไข้ประจำที่ดูอยู่เกือบทุกอาทิตย์ซึ่งใหญ่จริง
ๆ รวยจริง ๆ ประมาณ 10 คน และหมอคนอื่นก็ยังมีอีกแยะ รวมถึงโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่งจะมีจิตแพทย์ประจำ"
หมออรุณเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
นับว่าเป็นตัวเลขที่มากพอสมควรถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่จิตแพทย์ถูกมองว่าเป็นเรื่องของหมอรักษาคน
"บ้า" เท่านั้น หมออรุณและพรรคพวกกลุ่มหนึ่งได้พยายามต่อสู้กับความคิดนี้
ด้วยการตั้ง "คลิกนิกจิต-ประสาท" ขึ้นมาโดยตรงที่เชิงสะพานลอยวิภาวดีเมื่อปี
2528 ซึ่งในช่วง 2 ปีแรกต้องทนดูการขาดทุนเดือนละ 2-3 หมื่นบาททุกเดือน
อย่างไรก็ดี เรื่องความไม่รู้เกี่ยวกับการรักษาของจิตแพทย์นั้นเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง
ที่ทำให้คนไม่คุ้นเคยกับการไปพบจิตแพทย์ยังมีปัจจัยสำคัญในเชิงสังคมวัฒนธรรมอีกหลายอย่างที่ทำให้คนมองข้ามจิตแพทยืไป
ในเรื่องของวัฒนธรรมความเชื่อถือ สำหรับคนไทยนั้น อะไรก็ตามที่เป็นเรื่องของนามธรรมหรือปรัชญาแล้วคนไทยยังไม่ค่อยยอมรับ
เช่น หากไม่สาบายปวดท้องปวดหัว คนมักจะชอบเอกซเรย์มากกว่าที่จะมานั่งคุยกับจิตแพทย์
ประการต่อมาการมานั่งคุยกับจิตแพทย์นั้น จะต้องมีการเปิดเผยประวัติภูมิหลังของชีวิตในทุกช่วงตอนอย่างละเอียดหรือมากพอที่จะให้จิตแพทย์วิเคราะห์หาสมุฎฐานของโรคได้
ตัวอย่างเช่น สมมุติวาลูกเกเร ติดยาเสพติด ไม่ไปโรงเรียน เมื่อพ่อแม่มานั่งต่อหน้าจิตแพทย์จะต้องเล่าประวัติภูมิหลังให้ฟัง
เพาะว่าจริง ๆ นั้นลูกไม่เคยป่วย ใคร ๆ ก็รู้ว่าเด็กออกมาบบริสุทธิ์มาก สภาพแวดลอมและการเลี้ยงดูต่างหากที่มีส่วนทำให้พฤติกรรมเด็กเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นการที่พ่อแม่ซึ่งมีตำแหน่งสูงส่งในทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทประกันภัย
หรือประธานกรรมการบริหาร หรือกระทั่งรัฐมนตรีก็จะต้องมาเปิดเผยเรื่องราวของตนเองให้จิตแพทย์ฟังวัฒนธรรมเช่นนี้ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยยอมรับกันสักเท่าใดนัก
ถ้าเทียบกับการไปหาพระ หมอดูหรือพวกทรงเจ้าเข้าผีแล้ว ยังมีคนกลุ่มหนึ่งให้ความเชื่อถือในศาสตร์เหล่านี้
ซึ่งมีรากฐานทางสังคมวัฒนธรรมไทยมากกว่าวิชาจิตเวชที่เป็นศาสตร์ซึ่งมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบระเบียบในยุโรปและสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม หมออรุณให้ความเห็นว่าสภาพปัจจุบันดีขึ้นกว่าเมื่อ 5-10 ปีก่อนาก
เพราะเริ่มมีการยอมรับจิตแพทย์มากขึ้น ถ้าเผื่อคนไข้ไปหาหมอโรคกระเพาะ แล้วหมอบอกให้มาหาจิตแพทย์
คนไข้ก็จะมาโดยดีไม่มีปัญหา
นอกจากการมีจิตแพทย์ประจำตัวที่สามารถพูดคุยด้วยได้เดือนละครั้ง - สองครั้งแล้ว
ปัจจุบันยังมีการจัดโปรแกรมประเภท "พัฒนาบุคลิกภาพตนเอง" "ฝึกผ่อนคลายความเครียด"
และโปรแกรมอื่น ๆ ที่มีชื่อเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษเช่น "SELF-HELP"
"WHO AM I" รวมทั้ง "SUPPORTED GROUP", "ALCOHOLIC
GROUP" รับผิดชอบโดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาโดยจัดให้กับบริษัทใหญ่
ๆ ธนาคาร ห้างร้านต่าง ๆ ซึ่งกลายเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย
ๆ
โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับให้ผ่อนคลายความเครียดและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี
ที่สำคัญ โปรแกรมเหล่านี้อาจทำให้ไม่เกิดคำถามประเภท "ไปพบจิตแพทย์ดีไหม"
"เขาจะช่วยอะไรผมได้บ้าง"
ขณะที่สังคมธุรกิจไทยเริ่มกลายเป็นสังคมที่มีความสลับซับซ้อนอย่างมากตามขีดขั้นการพัฒนา
ปริมารและประเภทของธุรกิจอุตสาหกรรมที่แตกแขนงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น
บทบาทของจิตแพทย์ก็เริ่มเป็นที่สนใจ และได้รับการยอมรับมากขึ้นตามลำดับในฐานะผู้ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาอาการทางจิตและประสาท
ภายใต้ความตึงเครียดของสังคมธุรกิจปัจจุบัน คำถามประเภทที่ว่าควรไปพบจิตแพทย์ดีไหม
จะลดน้อยลง แต่จะมีคำถาม "คุณมีจิตแพทย์ประจำตัวหรือยัง" ขึ้นมาแทน