ตะวันออกฟายแน้นซ์ เรือลำแรกที่ถูกกู้

โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ( ธันวาคม 2532)



กลับสู่หน้าหลัก

นักเลงโบราณ - โกศล ไกรฤกษ์ ผันตัวเอง จากที่ประสบความสำเร็จในทางการเมืองได้เป็นรัฐมนตรีมา 7 ปี กระทรวง ก้าวเข้าสู้แวดวงธุรกิจค้าหลักทรัพย์และการลงทุนอย่างเต็มตัวด้วยการเสนอซื้อบงล. ตะวันออกฟายแน้นซ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 13 ทรัสต์ของโครงการ "เรือช่วยชีวิต" หรือทรัสต์ 4 เมษาฯ ภายหลังที่ผ่านการเจรจาเคร่งเครียดมายาวนาน หนี้เสียที่มาปัญหา 283 ล้านบาทตามข้อตกลงกับทางการเขาต้องแบกรับ เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษหลายอย่างในการทำธุรกิจ นักเลงโบราณอย่างเขากำลังเดินหน้ากู้เรือลำนี้อย่างจริงจัง

ตะวันออกฟายแน้นซ์ เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่เข้าร่วมโครงการทรัสต์ 4 เมษาฯ หรือในอีกชื่อหนึ่งที่ดร.ศุภชัย พาณิชภักดิ์ เรียกว่าโครงการเรือช่วยชีวิต (LIFE BOAT ) เมื่อต้นปี 2528 ด้วยมูลเหตุเดียวกันกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการ

ทั้งนี้จาการศึกษาของดร. ประศาสน์ ตั้งมติธรรมพบว่าหน้าที่จะเข้าร่วมโครงการ ฯ นั้น ตะวันออกฟายแน้นซ์ ดำเนินธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์อย่างคึกคัก ทั้งส่วนที่เป็นพอร์ของบริษัทและของลูกค้า ครั้งเกิดวิกฤษติการณ์ราชาเงินทุนในปี 2522 สัดส่วนหลักทรัพย์ที่เป็นของบริษัทและในบัญชีหลักทรัพย์ของลูกค้ากับลดลงอย่างฮวบฮาบ ขณะที่สัดส่วนหนี้ส่งเสียจะสูญ และสินทรัพย์อื่นเพิ่มสูงขึ้นมาก

3 ปีก่อนเข้าโครงการ 4 เมษาฯ สัดสาวนของสินทรัพย์สภาพคล่องได้ลดลงมาก ในขณะที่สัดส่วนของเงินให้กู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นโดยสัดส่วนของเงินให้กู้ยืมเพิ่มจาก 68 % ในปี 2525 เป็น 85 - 90 % และสัดส่วนของหนี้สินอื่น ๆ ก็สูงขึ้นอย่างพรวดพราดจาก 1% เป็น 13%

ปี 2529 ตะวันออกฟายแน้นซ์ขาดทุนสุทธิ 59.88 ล้านบาทและในปีถัดมาเพิ่มขึ้นเป็น 106.53 ล้านบาทเพราะเกิดขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์ถึง 23.18 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ตัวเลขการขาดทุนสะสมนี้ถูกปรับให้ดีขึ้นจากการทำรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยได้มากถึง 58.59 ล้านบาทในปี 2531 ทำให้ตัวเลขขาดทุนสะสมลดลงเหลือ 69.49 ล้านบาท

ตัวเลขขาดทุนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาเล็กน้อยที่แก้ไขได้ไม่ยากนักที่ได้รับเงินช่วยเหลือ SOFT LOAN จากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ตะวันออกฟายแน้นซ์ก็เช่นเดียวกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ร่วมอยู่ ในโครงการครัสต์ 4 เมษาฯ อื่น ๆ คือมีปัญหาหนี้สินพะรุงพะรังติดพันมากมายโดยเมื่อเข้าโครงการฯ ในปี 2528 มีหนี้สินประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท ครั้งสิ้นปี 2531 เพิ่มเป็น 2,464.58 ล้านบาท

ว่ากันว่าหนี้สินเป็นพันกว่าล้านบาทเกิดจากการปล่อยกู้ของบริษัทในเครือขงผู้บริหารเก่า

อย่างไรก็ตามเมื่อรวมอยู่ในโครงการครัสต์ 4 เมษาฯ แล้ว คณะกรรมการแผนงานแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินในโครงการฯ โดยแต่งตั้งโดยกรีะทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีมาตราการแก้ไขเป็นขั้น ๆ ดังนี้

มาตราการลดทุนและเพิ่มทุน เดิมตะวันออกฟายแน้นซ์มีทุนจดทะเบียน 90 ล้านบาท ให้ลดทุนลงเหลือ 4.5 ล้านบาทเพื่อนำส่วนที่ลดทุนไปหักผลขขาดทุนสะสมการลดทุนครั้งเท่ากับลดมูลค่าหุ้นจากเดิม หุ้นละ 100 บาท เหลือ 5 บาท หลรักจากนั้นคณะกรรมการก็มีมติให้เพิ่มทุน โดยการออกหุ้นสามัญใหม่มูลค่ารวม 195.5 ล้านบาท ทำให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 200 ล้านบาท จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาคณะกรรมการเร่งรัดการดำเนินมาตราการ 4 เมษายน 2527 ให้พิจารณาตะวันออกฟายแน้นซ์ให้กู้ยืมเงินอัตราเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทยในงเงิน 380 ล้านบาท นอกจากนี้ก็ให้ดำเนินการเร่งรัดหนี้ด้วยคุณภาพและจำหน่ายทรัพย์สินรอการขายออกไป

มาตราการแก้ปัญหาเหล่านรี้แรกเริ่มเดททีอยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งแต่งตั้งกรรมการเข้าไปร่วมบริหารตะวันออกฟายแน้นซ์กับเตือนใจ ทองแปล่งศรี อดีตผู้อำนวยการกองตรวจสอบ สำนักงานประกันภัยซึ่งเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการคนใหม่แทนที่ผู้บริหารชุดเดิม

ว่ากันว่ามือตรวจสอบหญิงผู้นี้ได้รับการทาบทามขากกำจร สถิรกุล ผู้ว่าแบงก์ชาติให้มากินเงินเดือนที่สูงกว่าหลายเท่าตัวที่ บงล. แห่งนี้

ครั้งต่อมา นิตย์ ศรียาภัย ประธานกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารชาติก็ได้มาหนังสือไปถึงปลัดกระทวรงการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ 2530 เพื่อรอยกทีมกรรมการไปจากแบ็งก์ชาติลบาออกโดยให้เหตุผลว่า " เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถปรับปรุงคณะกรรมการของบริษัทต่าง ๆ ในโครงการ 4 เมษายน 2527 ให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตราการฟื้นฟูและแก้ปัญหาสถาบันทางการเงินดังกล่าวเพื่อให้มาตราการ 4 เมษาฯ บรรลุวัตถุประสงค์ได้เร็ว "

เมื่อกรรมการจากแบงก์ออกไปแล้ว ได้มาการแต่งตั้งคณะกรรมการจากธนาคารกรุงไทยเข้าไปแทน ปัจจุบันกรรมการที่ไปจากธนาคารกรุงไทย จำรัส รื่นกลิ่น ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อสำนักงานใหญ่ ไกรสีห์ แก้วภราดัย ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย สมกฤษ์ กฤษณามาระ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้แทนจากกระทรวงการคลังร่วมเป็นกรรมการอีก 2 คน คือ เสริมศักดิ์ เทพาคำและมัชณิมากุญชร ณ อยุธยา โดยเตือนใจยังคงเป็นกรรมการผู้จัดการตั้งแต่มิถุนายน 2528 ถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้มาตราการลดทุนเพิ่มทุนที่ดำเนินการในปี 2529 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน ได้รับซื้อแลโอนหุ้นส่วนข้างมากของตะวันออกฟายแน้นซ์รวมทั่งสิน 39,090,538 หุ้น เมื่อพฤศจิกายน 2529 จนทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และกระทรวงการคลั่งถือรองลงมาในจำนวน 674,994 หุ้น

ส่วนผู้ที่ถือหุ้นนิติบุคคลอันดับใหญ่ถัดลงมาหรือบริษัทศรีสยาม จำกัด ถือไว้ 46,648 หุ้น ทั้งนี้กลุ่มผู้ถือหุ้นและบริหารกระดาษศรีสยามก็คือผู้ถือหุ้นเก่าและผู้บริหารเดิมของตคะวันออกฟายแน้นซ์นั้นเอง

ผู้บริหารเก่าในที่นี้ก็คือรุ้งเรือง จันทภาษา อดีตกรรมการผู้จัดการบริหารฟายแน้นซ์, ม.ร.ว วุฒิสวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ อดีตกรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร และทองห่อ ไผ่ตง อดีตกรรมการและกรรมการบริหาร

บริษัทกระดาษศรีสยามและฟายแน้นซ์ มีความผูกพันธ์ที่ ยุ้งเหยิง กันอยู่ระยะหนึ่ง เนื่องจากปัญหาหนี้เสียที่เกิดจากกรรมการกู้ยืมกันเองกล่าวคือเมื่อทองห่อ ซึ่งเป็นเจ้าของและเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทกระดาษศรีสยามในฐานบริษัทลูกหนี้ได้เข้าเป็นกรรมการบริหารตะวันออกฟายแน้นซ์ซึ่งเป็นลูกหนี้

ส่วนรุ้งเรืองและม.ร.ว.วุฒิสวัสดิ์ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทเจ้าหนี้ก็ได้เข้าเป็นกรรมการบริษัทลูกหนี้ อีกทั้งบริษัทลูกหนี้ได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ใต้ร่มไม้ชายคาเดียวกับบริษัทเจ้าหนี้ที่หัวมุมถนนบริษัมอโศก- ดินแดงอีกด้วย

รุ้งเรืองและ ม.ร.ว. วุฒิสวัสดิ์ เป็นกรรมการจนถึงปี 2527 จึงลาออกแต่กับเข้าใหม่ในปี 2528 และในปี 2530 กระดาษศรีสยามก็ย้ายออกไปหาสำนักงานของตัวเองใหม่ที่อาคารพญาไท

ปรากฏว่าผลการดำเนินงานของบริษัทศรีสยามนั้น จนถึงปี 2531 มีการขาดทุนสะสมรวมทั้งสิน 68.42 ล้านบาท แม้เพิงจะทำการจดทะเบียนอีก 20 ล้านบาทในปี 2528 ก็ตามทั้งนี้หนี้สินตัวที่หนักที่สุดของบริษัทเห็นจะได้แก่เงินกู้ระยะสั้นที่จำนวนถึง 93.5 ล้านบาท

ในระยะ 5 ปีที่ไม่ปรากฏว่าบริษัทกระดาษศรีสยามมีการขยายกิจการแต่อย่างไร ไม่มีรายงานว่าจำนวนเงินกู้ระยะสั้นจำนวนนั้นถูกเอาไปใช้แต่อย่างไร และเมื่อพิจารณาผลการประกอบการในปี 2531 ปรากฏว่าบริษัทสามารถทำกำไรสุทธิได้ 221,029,21 บาท

เป็นเรื่องที่น่าฉงนที่บริษัทสามารถทำกำไรสุทธิได้ แม้จะเป็นจำนวนที่ไม่มากนัก แต่ต้องมีภาวะเงินกู้และการขาดทุนสะสมมากมายขนาดนี้ โดยที่ไม่ปรากฏอยู่ในรายละเอียดในรายงานของผู้สอบบัญชีแต่อย่างไร

"ผู้จัดการ" ไม่อยากที่จะคาดเดาว่าเงินกู้จำนวนนี้เป็นเงินกู้เพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือไม่ ? เนื่องจากไม่มีหลักฐานแต่ที่แน่ ๆ หนึ่งคือที่ดินโรงเรือนและเครื่องของกระดาษศรีสยามปัจจุบันติดจำนองอยู่กับตะวันออกฟายแน้นซ์เพื่อเป็นหลักทรัพย์คำประกันเงินกู้

กรณีกระดาษศรีสยามและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเป็นเพียงกรณีหนึ่งของการปล่อยกู้และการสร้างพันธะหนี้เสียให้กับตะวันออกฟายแน้นซ์ ซึ่งแน่นอนว่ากำไรสุทธิของบริษัทกระดาษศรีสยามทำได้ในแต่ละปีนั้นไม่เพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ดอกเบี้ยโดยไม่ต้องคิถึงเงินตนแต่อย่างใด

ลูกหนี้ทำนองเดียวกับบริษัทกระดาษศรีสยามของตะวันฟายแน้นซ์นั้นยังมีอีกหลายราย ซึ่งรวม ๆ กันแล้วคิดเป็นยอดลูกหนี้พันกว่าล้านบาท แต่ถ้าว่าตะวันออกฟายแน้นซ์โชคดีประการหนึ่งที่หลักทรัพย์คำประกันเงินกู้ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ๆ ตลอดเวลา

กระนั้นข้อที่นับว่าโชคดีประการนี้ อาจจะไม่นับว่าเป็นโชคสักเท่าไหล่นักในทัศนะของผู้บริหารและผู้ที่สนใใจเข้าซื้อกิจการ เพราะมานเป็นหลักทรัพย์ที่มีค่าและมีพันธะกับเจ้าหนี้หลายราย มิใช่แต่ตะวันออกฟายแน้นซ์เพียงแห่งเดียว

อย่างกรณีอาคารร้าง 12 ชั้นพื้นที่ 700 ตารางวาหลังตึกตะวันออกฟายแน้นซ์ปัจจุบันปรากฏว่ามีเจ้าหนี้ถึง 3 รายด้วยกัน โดยตะวันออกฟายแน้นซ์เป็นเจ้าหนี้อันดัน 3 รองลงมาจากธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกรุงไทย

กว่าจะตามทวงหนี้แต่ละราย ๆ ได้ ก็เล่นเอาเจ้าหนีหืดขึ้นคอ

นี้คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตะวันออกฟายแน้นซ์ไม่อาจหลุดจากโครงการ 4 เมษาฯ เสียที แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่น ๆ ในโครงการแล้วตะวันออกฟายแน้นซ์ได้รับการทาบทามเจรจาของซื้อจากนักลงทุนหลายราย หลังจากที่คณะกรรมการแผนงานแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน ฯ ไม่อนุญาตให้ผู้บริหารเดิมกลับมาซื้อเมื่อสิ้นโครงการฯ เมื่อปีที่ผ่านมา

ข้อที่ตะวันออกฟายแน้นซ์น่าจะได้เปรียบกว่าคือการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์(หมายเลข1) ตั้งนี้มูลค่าที่ประมูลเข้าเป็นสมาชิกฯ ก็ตกประมาณ 60 กว่าล้านบาทแล้ว และมีหลักทรัพย์คำประกันที่มีมูลค่าคุ้มหนี้ โดยหลักทรัพย์เหล่านี้ส่วนมากเป็นพวกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เช่นที่ดินบริเวณ สุขาภิบาล 1 และ 2บริเวณถนนรามคำแหงโรงแรมที่พัทยา และโรงงานกระดาษ (บริษัทกระดาษศรีสยาม จำกัด )

ว่ากันว่าอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ก็คือส่วนของผู้บริหารชุดเก่าได้เอาเงินของบริษัทตะวันออกฟายแน้นซ์ไปซื้อหาเอาไว้ เมื่อ ตะวันออกฟายแน้นซ์เข้าร่วมในโครงการทรัสต์ 4 เมษาฯ แล้ว ธนาคารทหารไทยได้มีการจัดให้ลงนามในหนังสือ 2 ฉบับกับผู้บริหารชุดเดิมคือหนังสือแสดงความตกลงและยินยอม และหนังสือตกลงสละสิทธิ์ไล่เบี้ย

ใจความที่สำคัญประการหนึ่งในหนังสือดังกล่าวคือ ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นหลักคำประกันเพื่อกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการของตะวันออกฟายแน้นซ์การไล่เบี้ย และสละสิทธ์ในการเข้ารับช่วงสิทธ์บรรดาที่เจ้าหน้าที่มีอยู่เหนือตะวันออกฟายแน้นซ์ด้วย นอกจากนี้ผู้บริหารชุดเดิมของตะวันออกฟายแน้นซ์ยังจะต้องจัดหาทรัพย์สินมาจำนองหรือจำนำเป็นประกันตะวันออกฟายแน้นซ์ หรือโอนกรรมสิทธ์เพื่อชำระหนี้แทนลูกหนี้ของตะวันออกฟายแน้นซ์เอง

แหล่งข่าวในคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสถาบันหารเงินฯกล่าวว่าหนี้ของตะวันออกฟายแน้นซ์เป็นหนี้ที่ทำสัญญาสละสิทธ์ไล่เบี้ยไว้แล้ว ดังนั้นไม่ว่าใครจะเข้ามาฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ หนี้จำนวนนี้ก็จะไม่มีปัญหา เพราะหากใครจะมาฟ้องร้องก็จะต้องบังคับเอากับเจ้าของประกันเอาเอง ซึ่งเวลานี้ธนาคารกรุงไทยเป็นเจ้าของหลักประกันเหล่านี้

ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งคือตะวันออกฟายแน้นซ์เป็นบริษัทที่ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อื่นๆ ในโครงการฯ โดยมีสินทรัพย์โดยรวมเมื่อสิ้นปี 2531 เท่ากับ 2,431.89 ล้านบาท ขณะที่ตัวหนี้สินจริงๆแม้จะอยู่อยู่เป็นพันล้านบาทก็มีหลักทรัพย์คุ้มหนี้ และมีหนี้ที่เป็นปัญหาจริงๆอีก 283 ล้านบาท

ดังนั้นตะวันออกฟายแน้นซ์จึงเป็นบริษัทฯในโครงการฯที่น่าสนใจมากแห่งหนึ่ง แน่นอนว่านักลงทุนหลายกลุ่มมองเห็นข้อได้เปรียบนี้ เอากันแค่ว่าการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์และมีใบอนุญาตประกอบกิจการด้านเงินทุนและหลักทรัพย์ครบทุกประการ แค่นี้นักลงทุนต่างก็ "น้ำลายหก" กันแล้ว

ด้วยเหตุนี้เมื่ออนุญาตให้นักลงทุนที่สนใจทำแผนฟื้นฟูตะวันออกฟายแน้นซ์ส่งให้ธนาคารชาตินั้นปรากฎว่ามีผู้ให้ความสนใจนับสิบราย แต่ที่มีท่าทีสนใจอย่างจริงจังและเปิดเผยตัวในเวลาต่อมามีเพียงธนาคารอินโดสุเอซและกลุ่มของโกศล ไกรกฤกษ์เท่านั้น

ต้นปี 2531 ธนาคารอินโดสุเอซออกแถลงข่าวใหญ่โต ว่ากำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับกระะทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อขอซื้อตะวันออกฟายแน้นซ์และจะสามารถเจรจาซื้อได้สำเร็จในช่วงปีนั้น

อันที่จริงธนาคารอินโดสุเอซเข้ามาทาบทามตั้งแต่สมัยที่ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ยังกำกับดูแลโครงการอยู่ แต่ ดร.ศุภชัยก็ชิงพ้นหน้าที่ไปเสียก่อน ข้อเสนอต่างของธนาคารอินโดสุเอซที่ได้รับการเปิดเผยในเวลาต่อมานั้น ปรากฏว่า "ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ" และที่สำคัญแหล่งข่าวที่เสนอซื้อตะวันออกฟายแน้นซ์รายหนึ่งให้ความเห็นว่า "เป็นเพระนโยบายของกระทรวงการคลังที่ต้องการเจรจากับนักลงทุนไทยก่อน หากจะต้องมีการต่อรองเงื่อนไขในการทำธุรกิจกัน"

เหตุผลเพียงแค่นี้ก็พอเพียงที่จะทำให้ธนาคารอินโดสุเอซถูกมองข้ามไป ซึ่งในแง่ของธนาคารฯเองก็จะดูไม่ทุกข์ร้อนนอกจากจะเสียหน้าเล็กน้อย แล้วก็หันไปเจรจาต้าอวยกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นวธนกิจ จำกัด ในเครือของธนาคารทหารไทยที่ ดร.ศุภชัยนั่งแป้นเป็นกรรมการที่ปรึกษาฯอยู่จนสำเร็จ และลงนามร่วมทุนกันเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว

ทางด้านนักเลงโบราณ-โกศล ไกรฤกษ์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าผมเคยเสนอเข้าไปฟื้นฟูกรุงไทยทรัสต์ตั้งแต่ยังไม่มีโครงการ 4 เมษาฯ แต่ที่มาเลือกตะวันออกฟายแน้นซ์ก็เพราะมันเหมาะกับกำลัง ที่ไม่เอาธนานันต์หรือเอราวัณฯเพราะมันใหญ่โตเกินไป รู้คร่าวๆว่าจำนวนหนี้สินเยอะโดยว่าฐานะที่เราจะได้รับเท่านั้นเอง

ความคืบหน้าในการเสนอซื้อของกลุ่มโกศลครั้งนี้ "ได้ตกลงกันหมดแล้วกับคณะกรรมการฯ ไม่มีอะไรเป็นเงื่อนไขต่อกันและกันแล้ว ถ้าเป็นไปตามนี้ก็คอยให้รัฐมนตรีคลังอนุมัติ" ทั้งนี้หมายความว่าโกศลได้ทำการเซ็นต์ MOU ( MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ) กับคณะกรรมการฯไปเรียบร้อยแล้วถึง 2 ฉบับ

โกศสเล่าย้อนความการเจรจากับคณะกรรมการฯซึ่งมีไพศาล กุมาลย์วิสัย ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธานฯ และมี ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล หัวหน้าส่วนกำกับและพัฒนาสถาบันการเงินเป็นเลขานุการว่า "การเซ็น MOU นั้นเป็นการตกลงตามเงื่อนไขที่แบงก์ชาติเสนอมาคือเราต้องรับสภาพหนี้สินทรัพย์สมบัติทั้งหมด ทั้งลูกหนี้เจ้าหนี้ไปให้หมดต้องอัดฉีดเงินสดลงไปจำนวน 335 ล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มทุนนอกเหนือจากทุนจดทะเบียนที่ปัจจุบันมีอยู่ 200 ล้านบาท ซึ่งได้ใช้ไปหมดแล้ว ส่วนผู้บริหารก็เป็นพวกผมที่เข้าไปทำ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ก็จะมีพวกสถาบันการเงินต่างประเทศและธนาคารพาณิชย์ในประเทศร่วมด้วย"

ในเรื่องของสภาพหนี้ที่เป็นปัญหาหลักของทรัสต์ในโครงการ 4 เมษาฯนั้นโกศลเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังอีกว่า "ผมส่งคนเข้าไปคือจ้างสำนักงานกฎหมายเอสจีวี ณ ถลาง เข้าไปตรวจสอบ ผลออกมาก็แก้ไขกัน ทางคณะกรรมการฯก็ชดเชยให้ในการที่เราจะมีสาขาได้ คือหมายคววามว่าเรายอมรับหนี้สินมาแล้ว แบงก์ชาติอนุญาตให้เราเปิดสาขาได้ประมาณ 10 สาขาทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด"

นั่นเป็นรายละเอียดของการเซ็น MOU ฉบับแรกซึ่งแสดงให้เห็นชัดถึงการผ่อนปรนของธนาคารชาติในการตั้งสาขา ขณะที่การต่อรองในแบบฉบับของนักเลงโบราณเกิดขึ้นตามมาในการเซ็น MOU ฉบับที่ 2 เมื่อโกศลขอต่อรองในเรื่องหนี้สินที่มีปัญหาจำนวน 283 ล้านบาท

หนี้สินจำนวนนี้เป็นหนี้สินที่โกศลเห็นว่ามีปัญหา น่าจะตัดเป็นหนี้สูญได้ ขณะที่ทางฝ่ายแบงก์ชาติกลับมองว่าอย่างไรเสียทรัพย์สินทั้งหลายที่นำมาค้ำประกันนั้นก็มีการสละสิทธ์ไล่เบี้ยไว้แล้ว จึงไม่น่าจะเป็นปัญหาแต่อย่างใด

โกศลเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "ผมทำหนังสือถึงแบงก์ชาติ ยื่นเงื่อนไขไป 2 ข้อว่าถ้าไม่ทำตามนี้ และตอบกลับมาภายใน 15 วันก็ขอให้ยุติการเจรจาของผมได้ พอดี 7 วันก็เรียกไปเจรจาใหม่ว่าอาจจะมีการเข้าใจผิดกัน ให้มาทำความเข้าใจกันใหม่ว่าอะไรเป็นอย่างไร ซึ่งพอเจรจามาก็พอรับกันได้ ผมเห็นว่าจะเกี่ยงกันไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่านิดๆหน่อยๆเองคือผมต้องรับสภาพหนี้ 283 ล้านบาท ซึ่งมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งก็ต้องฟ้องร้องเอา และดูเหมือนว่าเราจะอยู่ลำดับ 3ผมตอบกับเขาด้วยว่าผมต้องการจะมาประกอบธุรกิจการเงิน ไม่ใช่มารับจ้างตามหนี้ พอทำความเข้าใจกันเรื่องเหล่านี้ได้ก็เลยเซ็น MOU ฉบับที่ 2 เป็นอันจบ รอให้รัฐมนตรีคลังอนุมัติอย่างเดียวแล้ว"

เมื่อรัฐมนตรีคลังเซ็นอนุมัติ โกศลเล่าว่าอาจจะต้องเป็นตัวเขาเองหรือราเกซ ศักเสนา ผู้ร่วมทุนกับเขาที่จะเข้าไปบริหารทั้งนี้เงื่อนไขข้อหนึ่งในกรณีของเรือที่กำลังอับปางคือสามารถเอาชาวต่าางชาติเข้าถือหุ้นได้มากถึง 49% ธรรมดากฎหมายให้ชาวต่างชาติถือหุ้นในสถาบันการเงินได้เพียง 25% เท่านั้น โกศลกล่าวว่า "เราพยายามจะให้พวกสถาบันมาเป็นผู้บริหาร อยากได้คนต่างชาติ แต่จะทำได้อีกแค่ไหนนั้นอีกเรื่องหนึ่ง"

ในส่วนของการติดต่อกับสถาบันต่างชาตินั้นราเกซจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทั้งหมด ราเกซกับโกศลโคจรมาพบกันได้เพราะหน้านี้ทั้งคู่ได้ร่วมหุ้นกันทำคอนโดมิเนี่ยมที่พัทยา จึงมีความผูกพันในธุรกิจการค้าต่อกันอยู่ และโดยส่วนตัวราเกซนั้นโกศลเล่าว่าทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับธนาคารแห่งหนึ่ง นอกเหนือไปจากนั่งบริหารอยู่ใน บงล.สหธนกิจไทย จำกัดและทำธุรกิจเวนเจอร์ แคปิตอลในชื่อเอเชียนแปซฟิค กรุ๊ป

ทั้งนี้แม้จะได้มืออาชีพหรือสถาบันต่างชาติมาร่วมบริหารมากน้อยแค่ไหน ก็อาจจะดูเป็นเรื่องสำคัญรองลงมาจากเงื่อนไขทั้งหลายที่โกศลเจรจาต่อรองมาได้ คือเมื่อโกศลอัดฉีดเงินสดเพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียน 335 ล้านบาทแทนที่จะตัดเป็นหนี้สูญนั้น กลุ่มโกศลสามารถต่อรองได้เงื่อนไขที่ดีเอามากๆ ที่กระทั่ง บงล.ที่ไม่ได้อยู่ในโครงการฯอยากจะอิจฉา

นอกจากได้ใบอนุญาตเปิดสาขาเพิ่มมากกว่า 10 แห่งทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดแล้วยังได้รับต่ออายุเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (SOFTLOAN) จำนวน 380 ล้านบาทออกไปอีก 6 ปี ได้รับอนุญาตให้บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 10 แห่ง ที่มีใบอนุญาตทำได้ และเรื่องที่ชาวต่างชาติจะถือหุ้นได้ถึง 49% เงื่อนไขประการหลังนี้จะเป็นสิ่งดึงดูดให้สถาบันการเงินต่างชาติเข้าร่วมลงทุนได้มาก

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนักประการหนึ่งที่แม้กลุ่มโกศลประกาศว่าไม่ต้องการเข้ามาแก้ไข แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องจัดการอย่างเลี่ยงไม่ได้คือการตามทวงหนี้ ในกรณีนี้ "ผู้จัดการ" ใคร่หยิบยกตัวอย่างหนี้สินรายหนึ่งของตะวันออกฟายแน้นซ์ที่กลุ่มโกศลต้องเผชิญเมื่อเข้าไปบริหาร

เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่กลุ่มโกศลกำลังดำเนินการเจรจาขอซื้อตะวันออกฟายแน้นซ์กับคณะกรรมการฯอยู่นั้น ตะวันออกฟายแน้นซ์ตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ธุรกิจด้วยปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่จอดรถของลูกค้ากับบริษัทศรีบุญเรืองวิลเลจ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประมูลได้อาคารและที่ดินบริเวณหลังตึกตะวันออกฟายแน้นซ์ซึ่งตะวันออกฟายแน้นซ์ใช้เป็นที่จอดรถมาเป็นเวลาหลายปี

ทั้งนี้อาคารและที่ดินดังกล่าวเป็นของกลุ่มรุ่งเรืองฯใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้สินกับตะวันออกฟายแน้นซ์ประมาณ 100 ล้านบาทเศษ แต่ทว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธ์อันดับ 1 ในอาคารและที่ดินนี้คือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ประมาณ 80 กว่าล้าน) ส่วนเจ้าหนี้อันดับ 2 คือธนาคารกรุงไทย และตะวันออกฟายแน้นซ์นั้นเป็นเจ้าหนี้อันดับ 3

เมื่อธนาคารไทยพาณิชย์ฟ้องให้มีการขายทอดตลาดอาคารและที่ดินผืนนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์กำหนดราคาไว้เพียง 46 ล้านบาทขณะที่ราคาที่ดินแถบนั้นสูงลิ่วซึ่งหากจะตึฃีค่ากันจริงๆเฉพาะที่ดิน 700 ตารางวาที่ประมูลในครั้งนี้ก็มีค่าร่วม 140 ล้านบาทแล้ว

ผู้ที่เข้าประมูลอาคารและที่ดินผืนนี้มีจำนวนไม่มากนัก และบริษัทศรีบุญเรืองวิลเลจ จำกัด ก็ประมูลได้ไปด้วยราคาเพียง 93 ล้านบาท ซึ่งปรากฏว่าราคานี้ไม่สามารถนำมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ครบทุกรายนั่น หมายความว่าตะวันออกฟายแน้นซ์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อันดับท้ายๆจะไม่ได้รับการชำระหนี้

เตือนใจ ทองเปล่งศรี กรรมการผู้จัดการตะวันออกฟายแน้นซ์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อกรมบังคับคดีขอให้มีการขายทอดตลาดครั้งใหม่ แต่ปรากฏว่าในระหว่างที่เรื่องยังคาราคาซังอยู่นี้ บริษัทศรีบุญเรืองวิลเลจ ผู้ประมูลได้ในครั้งแรกก็ได้ว่าจ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งให้เข้ามาดำเนินการตกแต่งซ่อมแซมอาคาร เตือนใจจึงทำเรื่องร้องไปยังกรมบังคับคดี กรมบังคับคดีส่งเจ้าพนักงานมาตรวจและออกคำสั่งให้ระงับการตกแต่งซ่อมแซมเพราะศรีบุญเรืองวิลเลจไม่มีอำนาจที่จะทำ

มูลเหตุนี้เองจึงทำให้ปิดทางเข้าที่จอดรถยนต์ซึ่งแม้จะเป็นบลริเวณที่ดินทีมีการขายทอดตลาดในครั้งนี้ด้วยก็ตาม แต่ตะวันออกฟายแน้นซ์ได้ใช้เป็นที่จอดรถมาเป็นเวลานานหลายปี และระหว่างที่ทำการขายทอดตลาดกระทั่งประมูลได้แล้ว ตะวันออกฟายแน้นซ์ก็ยังขออนุญาตใช้อยู่

แหล่งข่าวในเรื่องนี้กล่าวว่าพฤติกรรมเช่นนี้ราวกับเป็นการกลั่นแกล้งตะวันออกฟายแน้นซ์ คือสร้างความเดือดร้อนให้กับลูกค้าที่มาทำการซื้อขายหลักทรัพย์ทุกวัน ขณะเดียวกันก็เป็นการก่อความอิดหนาระอาใจกับกลุ่มนักลงทุนที่กำลังเจรจาซื้อเรืออับปางลำนี้อยุ่

โกศลกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมคิดว่ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน ควรจะต้องมีบทบาทมากที่สุดในเรื่องอย่างนี้ ไม่ใช่เฉพาะแต่ตะวันออกฟายแน้นซ์เท่านั้น ที่กองทุนฯต้องดูแลเพราะว่าเงินเหล่านี้เป็นเงินทุนของแผ่นดินทั้งนั้นที่ส่งซอฟท์โลนเข้าไปช่วย เมื่อเกิดเหตุการจะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้อย่างไรเลือกหมูไปแล้วจะเอาเนื้อข้างเขียงมาให้เรามันจะได้อย่างไร"

โกศลวิจารณ์ไปถึงสิ่งที่กองทุนฟื้นฟูฯกรือคณะกรรมการวางแผนแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินในโครงการทรัสต์ 4 เมษาฯควรจะทำ ว่า "ยุคที่ดินราคาดีอย่างปัจจุบันน่าจะมีการตั้งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลไกล่เกลี่ยประณีประนอมให้ถอนหนี้กันได้ นี่ผมหมายรวมถึงทุกทรัสต์ที่อยู่ในโครงการฯเรือทุกลำที่ค่ว่ำอยู่นั่นน่ะ เป็นโอกาสอันดีแล้วปล่อยนาทีทองนี้ไปได้อย่างไร?"

ดูเหมือนนักเลงโบราณจะไม่ครั่นคร้ามกับปัญหานานับประการที่จะต้องเผชิญในการกู้เรืออับปางครั้งนี้ มันเป็นการท้าทายอย่างหนึ่งในชีวิตของนักเลงโกศลผู้ซึ่งทำอะไรมาก็สำเร็จทุกอย่าง!



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.