ตลาดเงินและทุนกำลังมีปัญหาเพราะเมื่อพูดถึงระบบการเงินของไทย ปัญหาใหญ่
ๆ ที่ผมอยากจะหยิบยกมาพูดถึงในที่นี้ เป็นปัญหาซึ่งอาจจะเห็นไม่ชัดเจนนัก
และไม่รีบด่วนให้ต้องแก้ไขเฉพาะหน้า แต่ก็เป็นปัญหาสำคัญในเชิงโครงสร้าง
ที่ผมเห็นว่าสำคัญต่อประสิทธิภาพและความมั่นคงของสถาบันการเงินในระยะยาวก็คือ
ปัญหาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมาตรฐานการจัดการของสถาบันการเงินปัญหานี้สำคัญมากที่เดียว
และเป็นข้อจำกัด (CONSTRAINT) สำคัญของการดำเนินนโยบายการเงินของทางการ รวมถึงการดำเนินนโยบายของธุรกิจของคู่แข่งขันในระบบสถาบันการเงินแม้ว่าจะมีการปรับตัวของสถาบันการเงินครั้งใหญ่ไป
2-3 ครั้ง ในช่วงเงินตึงตัว เมื่อปี 2522 วิกฤตการณ์เงินทุน เมื่อปี 2526
และธนาคารพาณิชย์หลางแห่งประสบปัญหาในการดำเนินการในช่วง 2527-2528 ซึ่งปัญหาเลห่านี้ได้มีการแก้ไขไปบ้างแล้ว
แต่ผมก็คิดว่าเรายังคงมีปัญหานี้อยู่อีกมาพอสมควร สถาบันการเงินในประเทศไทยยังมีความแตกต่างกันอยู่อีกมากในด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
และมาตรฐานการจัดการ (ซึ่งรวมถึงคุณภาพ จริยธรรม และความเนมืออาชีพ ของผู้บริหาร)
ความแตกต่างเช่นนี้ เมื่อทุกสถาบันการเงินต้องดำเนินงานอยู่ภายใต้ระบบและกฎเกณฑ์อันเดียวกัน
ก็เป็นตัวฉุดรั้งไม่ให้สถาบันการเงินที่แข็งแรง มีความสามารถ มีความคิดก้าวหน้า
สามารถทำอะไรได้มากนักเพราะติดขัดที่กฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งยังต้องคำนึงถึงสถาบันการเงินที่ยังไม่ค่อยมั่นคง
ในส่วนของสถาบันการเงินเอง ทำให้ไม่สามารถเสนอบริการที่จะสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่
ต้นทุนการดำเนินงานสูงกว่าที่ควร ส่วนลูกค้าก็จะต้องรับภาระที่จ่ายต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น
ไม่มีโอกาสเลือกเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมเท่าที่ควร ในวงกว้างเมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติสถาบันการเงินต่าง
ๆ ไม่สามารถมีบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจได้เท่าที่ควร
มิหนำซ้ำบางครั้งทางการยังต้องคอยปกป้องอุ้มชู หรือแม้แต่แก้ไขปัญหาให้สถาบันการเงินที่หย่อนประสิทธิภาพเหล่านี้เสียอีก
ปัญหาความไม่ยืดหยุ่นของอัตราดอกเบี้ยแม้จะมีการผ่อนคลายข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวไปบ้างแล้ว
แต่ภาพโดยรวมของโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยก็ยังกล่าวได้ว่า ไม่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวเท่าที่ควร
ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่สภาพคล่องสูงอัตราดอกเบี้ยเงิฝากก็จะปรับตัวลงค่อนข้างช้าขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะปรับตัวลงเร็วกว่ามาก
ดังเช่นเมื่อ 2 ปีก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ INTERBANK ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเกือบตลอดเวลา
ในทางตรงกันข้าม เมื่อถึงช่วงที่สภาพคล่องตึงตัว อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะปรับตัวอย่างรวดเร็ว
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้จะปรับตัวได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะจะติดปัญหาเพดานสูงสุดตามกฎหมายอุปสรรคที่ขัดขวางการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยมีอยู่หลายประการด้วยกัน
มาตรฐานการจัดการของแต่ละสถาบันการเงินที่แตกต่างกันก็เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง
ซึ่งทำให้บางสถาบันการเงินดำเนินนโยบายที่ไม่สมเหตุสมผลทางธุรกิจ นอกจากนั้น
ก็คงจะเป็นความไม่ยืดหยุ่นของกฎหมายเอง ที่มีการกำหนดเพดานสูงสุดไว้ ซึ่งเปลี่ยนแปลงลงได้ยาก
ปัญหาตลาดเงินยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรตลาดเงินบ้านเรายังค่อนข้างด้อยพัฒนา
แม้จะมีความพยายามพัฒนาตลาด BIBOR (BANGKOK INTERBANK OFFER RATE) ขึ้น แต่ขนาดของตลาดก็จำกัดอยู่มาก
ทำให้การลงทุน หรือการกู้ยืมในตลาดเงินไม่คล่องตัว ไม่ว่าจะในด้านของระยะเวลาการลงทุน/กู้
ประเภทของตราสารที่จะนำมาซื้อขายในตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่เป็นไปตามสภาพแท้จริงของตลาด
ปัญหาทำนองนี้ ทำให้สถาบันการเงินมีปัญหาในการปรับสภาพคล่องของตน ต้องพึ่งพาตลาดพันธบัตรซื้อคืน
(ซึ่งก็มีขนาดจำกัด ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย)
หรือมิฉะนั้นก็ต้องปรับสภาพคล่องของตน ต้องการซื้อขายเงินตราต่างประเทศแทน
ซึ่งก็จะต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนตามมา
ตลาดเงินที่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรเช่นนี้เป็นอุปสรรคทำให้ขาดอัตราดอกเบี้ยที่เป็นมาตรฐานอ้างอิง
(REFERENCE RATE) สถาบันการเงินไม่สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยของบริการได้ดีเช่นที่ควร
เพราะขาดอัตราดอกเบี้ยที่สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของตลาดไป
ปัญหาขอบข่ายการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ปัจจุบันนี้คงเห็นชัดแล้วว่าการแข่งขันในตลาดการเงินกำลังสูงขึ้นเรื่อย
ๆ ซึ่งจะเป็นตัวบีบให้ธนาคารพาณิชย์ได้รับส่วนต่างของัตราดอกเบี้ยน้อยลง
ธนาคารพาณิชย์อยู่ในฐานะเสียเปรียบ หากจะยังทำธุรกิจธนาคารดั้งเดิม (รับฝากแล้วปล่อยกู้)
อยู่ ทางออกอย่างหนึ่ง ซึ่งธนาคารในต่างประเทศได้ทำมาแล้ว ก็คือหันไปทำธุรกิจประเภท
INVESTMENT BANKING หรือ MERCHANT BANKING มากขึ้น เพื่อแสวงหารายได้ประเภทค่าธรรมเนียมมาชดเชย
รายได้ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดน้อยถอยลง ยกตัวอย่างการทำธุรกิจคัสโดเตียนใบหุ้นของแบงก์พาณิชย์
ความจริงกฎหมายแบงก์ไม่ได้ระบุไว้ว่าทำได้หรือไม่เพราะเป็นวิวัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้
แม้ความจริงในที่สุดจะทำได้ก็ตาม แต่เป็นคำอนุญาตให้ของแบงก์ชาติเฉพาะเรื่องนี้เท่านั้น
ผมก็คิดว่าบริการใหม่ ๆ เหล่านี้เป็นแนวโน้มหลีกเลี่ยงไม่พ้นวิวัฒนาการเช่นที่ว่านี้
ขณะนี้บังเอิญเศรษฐกิจกำลังดี มีอัตราการเติบโตสูงส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เคยลดลงมาก
เมื่อปี 2529 จึงขยับสูงขึ้นอีก และทำให้ดูเป็นปัญหาน้อยลง แต่ในระยะยาวแล้วคงเป็นเรื่องที่จะต้องคิดให้ดี
เพราะเกี่ยวพันกับความมั่นคงของสถาบันการเงินโดยพื้นฐานทีเดียว การปรับเปลี่ยนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกิจได้กว้างขวางขึ้นจะเป็นหัวใจสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยตอบปัญหานี้ได้
ปัญหาการกำกับดูแลตลาดทุน ขณะนี้การลงทุนต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในตลาดทุนบ้านเรามากขึ้นเรื่อย
ๆ อย่างเช่นในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินจากต่างประเทศที่นำเข้ามาเพื่อลงทุนซื้อหุ้น
(PORTFOLIO INVESTMENT) ถึงประมาณ 35,000 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์อยู่แล้วถึงหนึ่งเท่าตัว
การที่ต่างประเทศเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นเช่นนี้เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นบ้านเราเฟื่องฟู
และขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหาพึงระมัดระวังตามมาก็คือ เราจะมุ่งแต่ในเชิงปริมาณไม่ได้และควรจะเน้นการพัฒนาตลาดทุนในเชิงคุณภาพให้มากขึ้น
เพราะตลาดทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแท้จริงนั้น ควรจะเป็นตลาดของผู้ลงทุนจริง
ๆ ไม่ใช่ตลาดของนักเก็งกำไร ขณะเดียวกันก็ควรที่จะมีการเตรียมตัวให้พร้อมด้วยว่า
เงินทุนต่างประเทศที่เข้ามามาก ๆ นั้น หากวันหนึ่งข้างหน้า ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอันใด
เกิดไหลออกไปมาก ๆ เราจะมีมาตรการหรือวิธีการอย่างไรบ้าง ที่จะป้องกันหรือลดทอนผลกระทบที่จะเกิดต่อตลาดหุ้น
ตลอดจนสภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม
เรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญและควรจะหาทางป้องกันไว้เสียแต่เนิ่น ๆ โดยพยายามเลือกสรรเงินลงทุนจากต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนระยะยาวอย่างแท้จริง
ไม่ใช่เงินทุนประเภทฉาบฉวยเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น ๆ หรือเอาเข้ามาเพื่อปั่นตลาด
ในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเรายังไม่ได้เตรียมพร้อมเท่าที่ควร ที่ทำไปแล้ว อย่างเช่นสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนประเภท
CLOSE-END FUND เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ควบคุมได้เฉพาะกองทุนที่ขออนุญาตผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นยังมีการลงทุนซื้อหุ้นจากต่างประเทศอีกมากที่เข้ามาในลักษณะ
OPEN END FUND โดยทางการไม่อาจจะควบคุมได้ แน่ละ การควบคุมเข้มงวดมากจนขาดความยืดหยุ่น
และสูญเสียโอกาสที่ดีในการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินออมในประเทศ
จุดนี้คือสิ่งที่ผมเห็นว่าหน่วยงานของรัฐจะต้องเพิ่มบทบาทในการกำกับและดูแลการพัฒนาตลาดทุนอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
โดยเร่งสร้างกลไกมาตรการตรวจสอบ และควบคุมที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันผลกระทบจากการไหลเข้าออกอย่างรวดเร็วของเงินทุนต่างประเทศ
ตลอดจนการปั่นตลาดโดยนักเก็งกำไรในรูปแบบต่าง ๆ ธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นเองก็ควรที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
และทำธุรกิจอย่างมีจรรยาไม่เป็นเครื่องมือในการฉ้อฉลหรือฝ่าฝืนกฎหมาย