เจ้าหนี้ยุ่นของสยามสตริปมิลล์ (SSM) เตรียมยื่นฎีกาแถมขู่รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อม
เจ้าหนี้ กำลังจับตาดูคดีนี้ใกล้ชิด โดยหวังความเป็นธรรมจากศาลฎีกาไทย อ้างคำสั่งศาลล้มละลายกลางไทยก่อนหน้านี้
ที่เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท สร้างความเสียหายให้เจ้าหนี้อย่างมาก
นายโทรุ ทากาฮาชิ (Toru Takahashi) ผู้จัดการกลุ่มบริหารสินทรัพย์และฟื้นฟูกิจการ
ตัวแทน กลุ่มเจ้าหนี้แบงก์ญี่ปุ่นของบริษัท สยามสตริปมิลล์ (SSM) กล่าววานนี้
(13 ส.ค.) ว่าปัจจุบัน SSM กำลังอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ ภายใต้การกำกับดูแลของศาลล้มละลายกลางของไทย
เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ประชุมเจ้าหนี้บริษัท ซึ่งอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท
ต่อมา ศาลเห็นชอบแผนฯ เป็นทางการเมื่อ 17 มิ.ย. แผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวทำให้สิทธิซิตี้แบงก์
เอ็นเอจากแดนมะกัน สาขาโตเกียว อิโตชู คอร์ปอเรชั่น และซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น เจ้าหนี้จากเมืองปลาดิบ
มูลหนี้รวม 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 2.26 หมื่นล้านบาท) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(IFCT)
เป็นเจ้าหนี้มีประกันเสียหายอย่างมาก
เจ้าหนี้เตรียมฎีกาศาลไทย
เขากล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ เจ้าหนี้ญี่ปุ่นจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาไทย เจ้าหนี้ญี่ปุ่นและนิปปอนแอนด์
แอนเวสท์เม้นต์ อินชัวร์รันซ์(เน็กซี่) "หน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งรับประกันการส่งออกของเจ้าหนี้ญี่ปุ่น
ต่างตั้งความหวังว่า คดีนี้จะได้รับพิจารณาอย่างเป็นธรรมจากศาลฎีกาไทย"
แผนฟื้นฟูกิจการ SSM เริ่มจากยื่นคำร้องขอเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2544โดยบริษัทสยามเพาเวอร์
เจนเนอร์เรชั่น จำกัด(ซิปโก้) ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเพื่อจำหน่ายแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์
ทั้ง SSM ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของตน
ซิปโก้ขอรับชำระหนี้สูงเกินเหตุอย่างมากถึง 3.5 หมื่นล้านบาท (830 ล้านดอลลาร์)
อ้างหนี้จากสัญญาให้บริการพลังงาน ที่ทำกับ SSM มี.ค. 2540 และบันทึกความเข้าใจ
(MoU) ที่ทำเวลาต่อมาระหว่างบริษัทดังกล่าว เพื่อยืนยันว่ามีหนี้อยู่จริง
อย่างไรก็ดี ซิปโก้ไม่เคยแสดงให้เห็นว่า เงื่อนไขบังคับก่อนได้ ในการชำระภาระหนี้ตามสัญญาให้บริการพลังงาน
ได้เกิดสำเร็จแล้ว เงื่อนไขดังกล่าว ได้แก่ การหาแหล่งเงินทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า
สร้างโรงไฟฟ้าจนเสร็จ และเริ่มผลิตไฟฟ้าแล้ว
ด้วยเหตุนี้ คำขอรับชำระหนี้ของซิปโก้จึงปราศจากมูลจะกล่าวอ้างได้ แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของไทยก็ยอมรับคำขอรับชำระหนี้ของซิปโก้ทั้งหมด
โดยให้รับเต็มจำนวนที่ขอในการประชุมเจ้าหนี้ 28 พ.ค. ซึ่งทำให้ซิปโก้กลาย เป็นเจ้าหนี้ใหญ่สิทธิ
มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน รวมสูงกว่า 2.63 หมื่นล้านบาท (630 ล้านดอลลาร์)
เป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายไทยของเจ้าหนี้ ญี่ปุ่น และ IFCT รวมกันเสียอีก ด้วยคะแนน
เสียง 58.36% ของคะแนนเสียงทั้งหมด ซิปโก้จึงสามารถขออนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการในที่ประชุม
ได้
ก่อนประชุมเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ญี่ปุ่นและเน็กซี่ แสดงความกังวลต่อรัฐบาลไทย เกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ของซิปโก้
และการขาดความยุติธรรม และโปร่งใส ในการดำเนินงาน อย่างไรก็ดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไทยยอมรับคำขอชำระหนี้
ของซิปโก้ เป็นเงินจำนวนเต็มตามที่ขอ โดยเห็นว่าเอ็มโอยูเป็นหลักฐานสมบูรณ์ ถูกต้องในการยืนยันถึงหนี้ดังกล่าว
เอ็มโอยูดังกล่าว ลงนาม 24 พ.ย. 2544 เพียง 2 วัน หลังจากวันที่ซิปโก้ยื่นฟ้องเอสเอส
เอ็ม คดีแพ่ง ตามสัญญาให้บริการพลังงาน เรียก ร้องค่าเสียหายเป็นเงิน 2 แสนล้านบาท
ตามเอ็ม โอยู เอสเอสเอ็มตกลงจะจ่ายเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ซิปโก้ถอนฟ้องคดีดังกล่าว
เอสเอสเอ็มและซิปโก้ เป็นบริษัทเครือเดียวกัน กรรมการชุดเดียวกัน ในเวลาที่ลงนาม
เอ็มโอยู ฉะนั้น ความสมบูรณ์ของเอ็มโอยูจึงควรได้รับการตรวจสอบด้วยความระมัดระวังเป็น
พิเศษ เห็นชัดจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน และเวลาเพียง 2 วันระหว่างลงนามเอ็มโอยูกับการที่ซิปโก้ยื่นฟ้องเอสเอสเอ็ม
การจะมองว่า การขอรับชำระหนี้ของซิปโก้เป็นเงิน 3.5 หมื่นล้านบาทจากเอสเอสเอ็ม
ชอบด้วยกฎหมายไทย เป็นไปได้ยาก เมื่อซิปโก้ยังไม่ได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นมูลฐานการขอรับชำระหนี้
เจ้าหนี้ญี่ปุ่นเชื่อมั่นว่า แผนฟื้นฟูกิจการเอสเอสเอ็ม ไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหนี้บางราย
ในแง่ชำระหนี้คืน รวมทั้งการลดลงของมูลค่าปัจจุบันของเงินที่จะได้รับชำระหนี้คืนอนาคต
ตลอดจนยังเป็นปัญหาความไม่แน่นอน และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญอีกด้วย
เจ้าหนี้ญี่ปุ่นคัดค้านแข็งขันต่อแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว โดยแสดงพยานหลักฐานต่าง
ๆ สนับสนุนจุดยืนของตน เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ และการชำระหนี้ตามแผนฯ อย่างไม่เป็น
ธรรม การประเมินราคาสินทรัพย์ไม่ถูกต้อง ตลอดจนความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดจากการฟื้น
ฟูกิจการ
อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่เจ้าหนี้ญี่ปุ่นเสนอ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการพิจารณา เจ้าหนี้ญี่ปุ่นจะอุทธรณ์คำสั่งเห็นชอบแผนฯ
ต่อศาลฎีกาต่อไป ทั้งนี้ ต้องขึ้นกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ของอธิบดีศาลล้มละลายด้วย
หากคำวินิจฉัยของศาล ล้มละลายชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่น่าจะมีเหตุผลใดจะปฏิเสธไม่ให้ศาลฎีกาตรวจสอบคำวินิจฉัยดังกล่าว
กลับกัน หากคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายไทย ควรต้องทบทวน เพื่อให้เกิด
ความยุติธรรม ฉะนั้น การจะปฏิเสธไม่อนุญาต ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลฎีกา ย่อมจะสร้างบรรทัดฐานไม่ดี
จำกัดสิทธิเจ้าหนี้
ตลอดเวลากระบวนการฟื้นฟูกิจการเอสเอสเอ็ม เน็กซี่ ในฐานะผู้รับประกันของเจ้าหนี้ญี่ปุ่น
แสดงความห่วงใยอย่างยิ่ง เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการที่ตัดหนี้ถึง 80% ของสิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้
มีประกัน ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และบรรยากาศการลงทุนโดยทั่วไปในประเทศไทย
ย่อมสำคัญยิ่งยวดต่อการส่งเสริมการลง ทุนของต่างประเทศในไทย ฉะนั้น เน็กซี่ รัฐบาล
ญี่ปุ่น และวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในญี่ปุ่น จะเฝ้าจับตาผลคดีนี้ใกล้ชิด