" ผมไม่มีจิตใจที่จะผูกขาด "


นิตยสารผู้จัดการ( กันยายน 2532)



กลับสู่หน้าหลัก

ถ้าจะบอกว่าผมผูกขาด ประเด็นแรกจะต้องให้คำจำกัดความมันเสียก่อนว่าผูกขาดคืออะไร ในมุมที่การผูกขาดคือผู้ซื้อไม่มีข้อต่อรอง อันนี้ตราบใดที่ซัพพลายไม่ขาด ซัพพลายไม่น้อยกว่าดีมานด์ไม่ถือว่าเป็นการผูกขาด ไม่จำเป็นว่าการผลิตจะต้องกระจายสู่ผู้ลงทุนหลาย ๆ คนหรือไม่

ไม่ต้องเอาอะไรมาก เอาญี่ปุ่น สมัยก่อนคล้ายกับว่าสินค้าอะไรจะขายออกนอกประเทศนี่จะต้องให้มิตซูบิชิเป็นคจัดหรือจะต้องให้ซุมิโตโมเป็นจัด มีไม่กี่กลุ่ม นั่นแหละก็เหมือนการผูกขาดเหมือนกันแต่เจตนาเขาไม่ต้องการให้ผูกขาด เจตนาเขาต้องการให้รวมศูนย์ในการบริหารการส่งออกแต่จริง ๆ แล้วมันก็คือการผูกขาด ก็หมายความว่าในญี่ปุ่นสมัยก่อนนี้ ใครจะขายอะไรออกนอกประเทศนี่ขายเองไม่ได้จะต้องให้คนนี้ขาย คือคนนี้มีอภิสิทธิ อย่างนี้ถือว่าผูกขาดหรือไม่ ก็เหมือนกันกับผมเป็นผู้ผลิตผมก็รวมศูนย์ในกาผลิต แต่วาผมไม่มีจิตใจที่จะผูกขาด จะถือว่าผมผูกขาดหรือไม่ คำว่าผมไม่มีจิตใจที่จะผูกขาดคือหมายความว่า ผมมีกระจกให้มากมาย ผมมีเอเยนต์ผมขายราคาของผมให้แก่เอเยนต์ในราคาที่เป็นธรรม ถ้าอย่านี้จะถือว่าผูกขาดหรือไม่ มันพูดยาก

ในด้านราคาก็เช่นเดียวกัน ผมเทียบให้ได้เฉพาะราคาที่ผมขายให้แก่เอเยนต์ คือราคาปลีกนี่นะ มันเป็นการกำหนดกันยากเหลือเกินว่าปลีกคืออะไร อย่างที่เป็นตึกใหญ่ ๆ นี่นะราคาก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่ว่าถ้าเป็นอย่างบ้านช่อง อย่างสมมติว่าคุณสร้างบ้านก็แล้วกัน คุณใช้กระจกหกแผ่นอย่างนี้ดีไม่ดีค่าขนส่งแพงกว่ากระจก

ทีนี้กระจกแผ่น ถ้าเผอิญคุณใช้ให้เขาออกแบบเป็นมาตรฐานที่ผมขายอยู่ในท้องตลาด ราคามันก็ไม่แพงเท่าไหร่ แต้ถ้าเผอิญคุณต้องตัดให้มันเล็กลง เพื่อให้เข้ากับแบบของคุณ สมมติว่ากระจกมาตรฐานของผมสูง 10 นิ้ว แต่คุณจะเอาแค่ 8 นิ้ว เขาก็ตัด 2 นิ้วทิ้ง นี่ 20% แล้วนะที่เขาต้องตัดทิ้งไปเปล่า ๆ ฉะนั้นเขาก็ต้องคิดเงินคุณฉะนั้นมันเป็นการยากเหลือเกินว่าราคาผู้ใช้นี่จะศึกษากันอย่างไร

ฉะนั้น มันแล้วแต่จะมองกัน ผมก็พยายามที่จะขยาย เอเยนต์ของผมออกไปเรื่อย ๆ ยัดกระจกให้เขามาก ๆ เมื่อยัดกระจกให้เขามาก ๆ เขาก็ต้องขายแข่งกัน เมื่อแข่งขันเขาก็ต้องลดาคา ทีนี้เมื่อเขาขายลดลงไปแล้วนี่ จะให้รู้ราคาถึงผู้ติดตั้งนี่ยาก ว่าจะควบคุมอย่างไร

ตอนนี้เราเตรียมการที่จะขยายเอเยนต์ไปถึงต่างจังหวัดแล้ว ไปสร้างศูนย์ที่ขอนแกนถ้าขอนแก่นไม่มีปัญหา ก็จะขยายไปสู่เมืองใหญ่ต่าง ๆ โดยเร็ว อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้การบริหารดีขึ้น และราคาก็ฮั้วกันยากขึ้นคือเรามีมาตรการของเรา เรารู้ตัววาเราผลิตคนเดียวเรากำลังหาทางไม่ให้คนอื่นเขาไปฮั้วราคากันได้ส่วนตัวเราขายออกราคาเท่าไหร่เรารู้ว่ายุติธรรมหรอืไม่ แต่วิธีการที่จะควบคุมคนอื่นไม่ให้ฮั้วกันได้ก็หมายความว่าการบังคับกระจกไม่ให้ขาดแคลนกลไกมันก็มีแค่นี้ และผมก็คิดว่าคงไม่มีกลไกที่ดีกว่านี้

ราคาที่เราขายส่งให้แก่เอเยนต์เราก็กำหนดตายตัวแล้วแต่สภาพเศรษฐกิจ แต่ของเราเวลานี้ 3 ปีแล้วที่ไม่ได้ขยับราคาเลย ยังคงยืนยันอยู่ที่ตันละ 535 เหรียญหรือ 14,445 บาท ถึงแม้เศรษฐกิจจะสูงขึ้น แต่ทางผมก็ทำประสิทธิภาพให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ เราก็ได้กำไรจากส่วนที่ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น โดยไม่ต้องปรับราคา ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่สินค้าที่รัฐบาลเข้ามาควบคุมราคา

ราคากระจกเราไม่ได้แพงที่สุดในโลกอย่างที่มีการกล่าวอ้าง

เราไม่ได้ทอดทิ้งในเรื่องหน้าที่รับผิดชอบก็หมายความว่าเราจะต้องมีกระจกให้แก่ผู้ใช้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าคุณดูตามประวัติแล้วนี่จะมีการขยายล่วงหน้าอยู่ตลอดเวลา ไม่มีคำว่ากระจกขาดแคลน คือถ้ากระจกไม่ขาดแคลนแล้ว คือผมปล่อยให้เอเยนต์ผมมาก ๆ นี่เขาก็เกิดการแข่งขันเองในตัว เพราะมันเป็นเรื่องของการค้า ตราบใดที่โอเวอร์ซัพพลายราคามันก็คงที่ได้ ถ้ามันขาดเมื่อไหร่ราคามันถึงจะขึ้น

ทีนี้ทางผมนี่มีนโยบายคือว่าอันดับแรกกระจกต้องไม่ขาดแคลน เพราะฉะนั้นตลอดเวลาคุณจะไม่เคยได้ยินคำว่ากระจกขาดแคลน บางโอกาสเท่านั้นเองที่กระจกบางชนิดขาดแคลน เพราะว่ากระจกสีนี่คุณต้องเข้าใจนะว่ากระจกสีนี่เราทำเพียงเดือนเดียวนี่เราขายให้ปีหนึ่งเลยความต้องการยังต่ำมาก ฉะนั้นที่ผมทำขณะนี้ใช้ระบบ ออน-ออฟ คือทำแล้วก็หยุด ๆ ๆ ทีนี้พอทำเริ่มต้นก็แยะใช่ไหม พอขาย ๆ ๆ ๆ ไป หดไปถึงจุดหนึ่งนี่บางขนาดขาดแล้ว แต่ไม่ได้ขาดทั้งหมดนะครับ บางขนาดเท่านั้นเอง แต่พอถึงจุดนั้นแล้วเราก็เริ่มผลิตใหม่แล้ว

นอกจากนี้แล้วผมไม่เคยปล่อยให้กระจกขาดแคลนเลย

ทีนี้การที่จะทำให้มันเสรีมันจำเป็นต้องมีผมไม่ได้คัดค้านว่าปูนใหญ่ฯทำไม่ได้ แต่ขอให้สภาวะตลาดมันอำนวยให้ก่อน คือเข้ามาแล้วอย่างปูนซิเมนต์ไทยนี่ สมมติว่าปูนซีเมนต์นี่เวลานี้ความต้องการมัน 16 ล้านตัน เกิดมีนาย ก.เข้ามาสร้างโรงงานดีซะว่าปีหนึ่ง 1.6 ล้านตัน ก็พึ่ง 10% ของความต้องการทั้งหมด ถ้าอย่างนี้ทางโรงปูนเก่า ๆ ไม่เดือดร้อน เพราะเขาเพียงแต่ลดส่วนผลิตของเขาเพียงแต่นิดเดียวซึ่งเขาไม่เดือดร้อน อย่างนี้มันเกิดขึ้นได้ และทุกคนก็อยู่ได้ก็แข่งขันบริการกันไป แต่จะฮั้วกันไม่ได้

แต่คำว่าแข่งขันนี่ไม่ได้หมายความว่าแข่งขันกันให้เจ๊งนะครับ แข่งขันต้องให้อยู่ได้ คำว่าแข่งขันให้อยู่ได้ก็หมายความว่า จะฮั้วราคากันไม่ได้ คือเขาจะเอากำไรเกินควรไมได้พูดง่าย ๆ แต่ต้องไม่ให้เขาขาดทุน เพราะถ้าเขาขาดทุนเมื่อไหร่ ไม่ช้าเขาก็จับมือกัน ขาดทุนมันอยู่ไม่ได้ครับมันเจ๊งนี่

อย่างกระจกนี่ฐานมันใหญ่ไม่พอ ถ้าคุณวิเคราะห์ตัวเลข โรงกระจกของปูนซิเมนต์ไทยที่จะร่วมกับการ์เดี้ยน สมมติมาโครม 2 ปีเสร็จของเขาโรงเดียวเฉพาะในประเทศเขาก็เต็มตลาดแล้ว ก็หมายความว่าโรงเก่านี่ไม่ต้องผลิตเลยนี่ยังไม่ต้องพูดการส่งออก แล้วอย่างนี้มันจะต้องมีโรงใดโรงหนึ่งเจ๊ง ถ้าของผม 2 โรงขายได้หมด แต่ของปูนซิเมนต์ไทยขายไม่ได้เลย เขาก็เจ๊งเพราะเขาไม่รู้จะขายยังไง ถูกแค่ไหนก็ขายไมได้มันไม่มีตลาดนะ

คุณดูซิ ปี 92 นี้ดีมานด์มีถึง 500 ตันต่อวันไหม ถ้าไม่ถึง 500 ตันก็หมายความว่าโรงงานกระจกของปูนซิเมนต์ไทยที่จะสร้างขึ้นมาใหม่นี่โรงเดียวก็สามารถซัพพลายได้ทั้งประเทศแล้ว แล้วอีก 2-3 โรงหละ จะให้เขาไปขายที่ไหน ถ้าตลาดมันไม่มีนะ ให้เปล่าก็ไม่มีใครเอา

ทีนี้เขาบอกเขาจะส่งออกครึ่งหนึ่ง ทุกโรงส่งออกครึ่งหนึ่งก็ยังไม่ได้ เพราะตลาดในประเทศมันไม่พอ พูดง่าย ๆ ของเขา 500 ตัน/วัน ของผมอีก 2 โรง 1,000 ตันก็เป็น 1,500 ตัน/วัน ถ้าส่งออกคนละครึ่งหมด ก็จะเหลือขายในประเทศ 750 ตัน/วัน ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องดูว่าตลาดในประเทศมีถึง 750 ตันหรือไม่ ก็ปรากฎว่ามีแค่ 500 ตัน คำถามก็คือว่าเป็น 250 ตันนั้นจะเอาไปไว้ที่ไหน อีก 250 ตันจะทำอย่างไร ไม่ยากเลยถ้าทำไม่ได้จริง ๆ ก็ลดกำลังผลิตลง ถ้าตลาดในต่างประเทศมีก็ไม่ต้องพูดกัน อันนั้นก็ถือว่าโชคดีไป

ปัญหาที่สองคือว่าส่งออก 750 ตัน/วัน ตลาดในต่างประเทศมีรองรับหรือไม่ ไม่ใช่น้อยนะครับ ที่บอกว่าตลาดอินโดจีนกำลังโต ประเทสอื่นเขาก็กำลังสร้างโรงงานกระจกซึ่งก็จะส่งขายให้อินโดจีนเหมือนกัน เกาหลีก็สร้าง ไต้หวันก็สร้าง อินโดนีเซียก็สร้าง มันไม่ใช่บ้านเราบ้านเดียวที่จะขายกระจกได้

การที่ผมต้องกระโดดเข้าไปชี้แจง ไม่ใช่กีดกันทางปูนซิเมนต์ไทยหรือการ์เดี้ยนเขา แต่เป็นเรื่องความเดือดร้อนและความอยู่รอดของผมอย่างที่เราเห็นกันอยู่ แม้กระทั่งปูนซิเมนต์เองก็ปิดมานานเท่าไหร่แล้ว พอจะมีคนขอเปิดบ้างขนาดปูนซิเมนต์ไทยก็ยังโวยเลยตอนเขาเสนอขเปิดโรงงานกระจก เขาก็บอกว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างจะขยายตัวถึง 17-18% แต่ถึงตอนนี้ก็อกมาพูดแล้ว (อ้างคำกล่าวของ ทวี บุตรสุนทร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่กล่าวในการสัมมนา "แนวโน้มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างของไทยในช่วง 5 ปีข้างหน้า") ว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างจะโตเพียง 7-10% ทีนี้คุณลองคำนวณว่าความต้องการของกระจกจะโตขึ้นเท่าไหร่ ซึ่งผมคิดว่าจะมีไม่เกิน 10% ของอุตสาหกรรมก่อสร้างทั้งหมด



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.