"กระทรวงการคลังกับบรรษัทฯมีข้อตกลงผูกพันกันมานาแล้ว ในประเด็นการจ่ายเงินชดเชยผการขาดทุนจกอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อข้อตกลงนี้ถูกปฏิบัติด้วยความเย็นชาด้วยเหตุผล
เพื่อต้องการเตือนให้ผู้บริหารบรรษัทฯหันมาตรวจสอบสถานภาพและบทบาทของตัวเอง
ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันด้วยเหตุผลที่ว่านี้
มองในอีกมุมหนึ่งก็มีการสร้างภาพให้มองเห็นว่าการที่กระทรวงการคลังเย็นชาต่อความรับผิดชอบในผลข้อตกนั้นเพื่อต้องการใช้
วิถีทางการเมืองมีบรัดให้ประธานฯและผู้บริหารระดับสูงบรรษัทฯลาออก…
ปีนี้ บรรษัทฯจะมีอายุครบ 30 ปีพอดีถ้าเปรียบเทียบกับปุถุชนธรรมดา ๆ แล้วก็นับว่าอยู่ในวัยฉกรรจ์ที่มีกำลังวังชาสูงขีดสุด
พร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มั่นคง แข็งแรงได้ นับเนื่องมากถึงทุกวันนี้
บรรษัทฯมีผู้จัดการทั่วไปรับผิดชอบด้านการบริหารมาแล้ว 7 คน ผ่านการมีประธานกรรมการ
ที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทางการเติบโตมาแล้ว 8 คน
ศุกรีย์ แก้วเจริญ เป็นผู้จัดการทั่วไปคนปัจจุบัน (คนที่ 7) ขณะที่สมหมายฮุนตระกูล
เป็นประธานกรรมการ ความสัมพันธ์ของบุคคลทั้ง 2 ถูกยกเปรียบเปรยตามวัฒนธรรมของไทยว่า
เป็นเหมือนปู่กับหลาน ที่คอยอุ้มชูเลี้ยงดูกัน แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังว่า
กล่าวคือ ศุกรีย์ เคยเป็นลูกน้องสมหมายมาก่อน สมัยบุคคลทั้ง 2 เป็นเจ้าหน้าที่อยู่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อ
15 ปีก่อน และเมื่อสมัยปี 2521 ที่ศุกรีย์ลาออกจากผู้จัดการทั่วไปตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมหมายซึ่งขณะนั้นเป็นประธานกรรมการบรรษัทฯในฐานะตัวแทนกระทรวงการคลัง ก็เป็นผู้สนับสนุนและชักชวนให้ศุกรีย์มากินตำแหน่งรองผู้จัดการทั่วไป
และผู้จัดการทั่วไปบรรษัทฯ ในที่สุดเมื่อปี 2522 หลังจากวารี พงษ์เวช ผู้จัดการทั่วไปบรรษัทฯคนก่อนได้เสียชีวิตลงเนื่องจากโรคมะเร็งมองจากภูมิหลังนี้
ศุกรีย์เป็นคนที่โชคดีมาก ๆ ในหน้าที่การงาน
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นความโชคดีของศุกรีย์ที่มีสมหมายคอยให้การสนับสนุนอยู่
แต่เนื่องจากประสบการณ์ที่คลุกคลีมากับงานในลักษณะเป็น "ผู้ควบคุม"
ในฐานะเป็น "นายธนาคารกลาง" และ "ผู้กำหนดกติกาการลงทุนในตลาดหุ้น"
มากกว่า "ผู้เล่น" ก็นับว่าเป็นจุดร่วมในสถานการณ์ที่ต้องมาเป็นผู้กุมบังเหียนในสถาบันการเงินอย่างบรรษัทฯ
ยามที่ต้องประสบมรสุมจากวิกฤติการณ์การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะความเคยชินกับการติดยึดกับกฎระเบียบมากเกินไป
ย่อมจำกัดการตื่นตัวและปรับตัวอย่างรวดเร็ว ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
กรณีการบริหารหนี้เงินกู้คงค้างนอกสกุลบาทจำนวน 14,000 ล้านบาท เป็นตัวอย่างที่แจ่มชัดที่สุด
ศุกรีย์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า การคุ้มครองความเสี่ยง (HEDGING)
จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไม่เป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องทำเท่าไรนัก เพราะบรรษัทมีเครื่องมือด้านการตั้งสำรองความเสี่ยงไว้แล้วในสัดสวน
1.5-2.5% ของยอดหนี้และอีกประการหนึ่ง การทำคุ้มครองความเสี่ยงหนี้ระยะยาวเป็นเรื่องที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสูง
ทำให้ต้นทุนสินเชื่อของบรรษัทฯสูงเกินไป ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่บรรษัทฯจะสามารถคิดจากลูกค้าได้ในอัตราที่ต่ำกว่าตลาดอยู่แล้ว
"บรรษัทฯมี NET PROFIT MARGING จริง ๆ เพียง 0.3% เท่านั้น ซึ่งนับว่าต่ำมาก"
แนวคิดแบบนี้ว่าไปแล้ว อาจจะสวนทางกับวิธีปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สถาบันการเงินอย่างธนาคารพาณิชย์
หรือบริษัทน้ำมันใหญ่ ๆ อย่างไทยออยล์ ปตท.ปฏิบัติกันอยู่
ชาญชัย ตุลยเสถียร ผู้จัดการแผนกบริหารการเงินของไทยออยล์ ซึ่งมีหน้าที่หลักหาเงินกู้ระยะยาวที่มีต้นทุนต่ำสุดมาให้ฝ่ายปฏิบัติการใช้
ได้กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า การบริหารความเสี่ยงในหนี้ที่เป็นเงินกู้ระยะยาวนอกสกุลบาท
กล่าวในส่วนของไทยออยล์ ต้องทำคุ้มครองความเสี่ยง (HEDGING) ไว้ทุกระยะ ขณะเดียวกันก็จัด
CURRENCY PROTFOLIO POSITION ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทอยู่ตลอดเวลา
"ต้นทุนทำ HEDGING สกุลเยนในเวลานี้จริง ๆ แล้วไม่เกิน 0.4% เท่านั้น
ซึ่งนับว่าคุ้มกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น"
การระดมทุนระยะยาวมาหาผลประโยชน์จากตลาดเงินทั่วโลกของไทยออยล์ ว่าไปแล้วก็ไม่แตกต่างจากวิธีการหาเงินทุนระยะยาวมาปล่อยกู้หาผลประโยชน์ของบรรษัทฯแต่อย่างใด
มิหนำซ้ำ ถ้ามองในแง่หลักประกันคุ้มครองความเสี่ยงของต้นทุนเงินทุนด้วยแล้ว
บรรษัทฯดูจะได้เปรียบกว่าไทยออยล์อย่างเทียบกันไม่ติด เพราะบรรษัทมีกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้
ซึ่งถ้าหากว่า บรรษัทฯประสบปัญหาขาดทุนจริงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนไปกระทรวงการคลังก็จะออกเงินชดเชยให้ตามที่ระบุไว้ในมาตรา
25 ของ พ.ร.บ.บรรษัทฯและตามข้อผูกพันในบันทึกข้อตกลงระหว่างศุกรีย์ แก้วเจริญ
ผู้แทนบรรษัทฯ กับรมต. คลัง สุธี สิงห์เสน่ห์ที่ลงนามตกลงกันเมื่อ 22 มกราคม
2523
ขณะที่ไทยออยล์ไม่มีใครค้ำให้ทั้ง ๆ ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ (49%) ของไทยออยล์เป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
(ปตท.)
จุดแตกต่างที่เป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันนี้เองที่เป็นเหตุผลให้ศุกรีย์กล่าวถึงการบริหารเงินกู้นอกสกุลบาทไว้เช่นนั้น
ด้วยความเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในสถานะของเงินกู้ ก็มีกระทรวงการคลังรับผิดชอบอยู่แล้ว
จึงเป็นเหตุให้ศุกรีย์ชะล่าใจในการบริหารหนี้เงินกู้ และเป็นจุดให้กรรมาธิการงบประมาณบางคนอย่าง
พีรพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ ซึ่งมีอดีตเป็นผู้จัดการฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศของแบงก์กรุงเทพ
หยิบยกเอาจุดนี้มาคัดค้านการเอาเงินงบประมาณแผ่นดินที่ประมวล สภาวสุ รมต.คลัง
ตั้งขอมาจำนวน 763 ล้านบาท ไปชดเชยผลาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนปี 2530 ให้บรรษัทฯ
"การบริหารเงินตราต่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ มันเป็น ASSET ที่ต้องดูแลอย่างจริงจัง
มันมีความเสี่ยง เราต้องบริหารกันให้ถูกต้อง โดยเฉพาะเวลานี้ ค่าของเงินบาทใน
BASKET มันลอยไปลอยมาตามความผันผวนของค่าเงินสกุลอื่น ๆ ด้วยแล้ว ผู้บริหารบรรษัทฯต้องรับผิดชอบจะมาบอกฉันไม่รับรู้ไม่ได้"
พีรพงศ์กล่าววิจารณ์ศุกรีย์ ให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
ผลการดำเนินงานปี 2530 ของบรรษัทฯ เป็นครั้งแรกที่ประสบปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
763 ล้านบาท และขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงอีก 6320 ล้านบาท
ผลการขาดทุนนี้ ทางผู้บริหารบรรษัทฯให้เหตุผลว่า เป็นผลจากการแข็งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของค่าเงินเยน
ดอยซ์มาร์กและฟรังส์ ซึ่งมีแนวโน้มแข็งตัวขึ้นมาตลอดนับตั้งแต่กระทรวงการคลังได้เปลี่ยนระบบการเทียบค่าของเงินบาทไว้กับเงินสกุลต่าง
ๆ ในตะกร้า (MULTI - CURRENCY SYSTEM) เมื่อปี 2527
ปี 2526 ค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินเยนตก 9.96 บาท พอมาปี 2530 ค่าเงินบาทเทียบกับเงินเยนอ่อนตัวลง
20.42 บาทต่อ 100 เยน
มันอ่อนตัวลง 100 กว่าเปอร์เซ็นต์
เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ดอยซ์มาร์ก เยอรมนี และสวิสฟรังซ์ ก็เช่นกัน เมื่อเทียบกับเงินบาท
มีแนวโน้มแข็งตัวขึ้นตลอด
ดังนั้น เงินกู้ที่คลังไปกู้มาให้บรรษัทฯจากสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
ก่อนปี 2521 ซึ่งเป้นเงินสกุลเยนดอลลาร์สหรัฐฯ และมาร์กเยอรมนี และมีเทอมเงินกู้ระยะยาว
20 ปีขึ้นไป จึงไม่รอดที่จะต้องประสบปัญหาการขาดทุน
"ช่วงไปกู้มาระหว่างปี 2506-2520 เงินเยน 100 เยนเทียบกับบาทมีค่าไม่ถึง
1 บาทด้วยซ้ำ แต่พอปี 2521 เยนเทียบกับบาท มันแข็งขึ้นมาทันทีเป็น 10 บาท
เงินกู้ผูกพันที่เป็นสกุลเยน 13,500 ล้านเยนมันก็ขาดทุนหลีกเลี่ยงไม่ได้"
แหล่งข่าวนักวิจัยในบรรษัทฯให้ความเห็น
ปี 2521 เดือนมีนาคม สมัยรัฐบาลเกรียงศักดิ์ มีการแก้ไขพ.ร.บ.เงินตรามาตรา
8 ยกเลิกการเทียบค่าเสมอภาคเงินบาทกับทองคำ เป็นเงินสกุลอื่น ๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯแทน
ด้วยเหตุนี้ค่าของเงินบาทที่เคยอิงอยู่กับทองคำ และมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
ก็เริ่มอิงอยู่กับดอลลาร์สหรัฐฯอย่างมั่นคง และเมื่อดอลลาร์สหรัฐฯปรับค่าตามเงินสกุลเยนและมาร์กเยอรมนี
เงินบาทไทยก็เลยต้องเปลี่ยนค่าประจำวัน (DAILY FIXING) ตามฐานที่เปลี่ยนไป
จะเป็นความบังเอิญหรือเปล่าไม่ทราบ ในช่วงที่เงินสกุลบาทเปลี่ยนฐานอิงจากทองคำเป็นดอลลาร์สหรัฐฯในปี
2521 ก็เป็นปีที่ศุกรีย์เข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงในบรรษัทฯพอดี ขณะที่สมหมายเป็นประธานฯและเป็นผู้จัดการใหญ่อยู่ที่ปูนซิเมนต์ไทย
ว่ากันว่าช่วงตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาศุกรีย์และสมหมายในบรรษัทฯเปรียบเหมือนแม่ทัพในบรรษัทฯ
ที่เป็นที่ยอมรับในนานาประเทศแล้ว
สมหมายเคยเป็น รมต.คลังในสมัยอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกฯเมื่อปี
2517-18 ขณะเดียวกันก็เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ด้วยในเวลาหลังจากนั้น
กอปรกับเคยเป็นนักเรียนเก่าญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยเคโอะ
สายสัมพันธ์กับสถาบันการเงินนานาประเทศโดยเฉพาะจากญี่ปุ่นจึงแน่นแฟ้น และมีบารมีพอที่จะดึงเงินทุนดอกเบี้ยถูก
ๆ และเทอมชำระคืนยาว ๆ ได้ไม่ยาก
ศุกรีย์ กล่าวยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่า ในช่วงสมัยปี 2521 ที่สมหมายเป็นประธานบรรษัทฯ
ภาพพจน์ของบรรษัทฯในสายตาสถาบันการเงินนานาชาติดีมากบรรษัทฯอยู่ในสถานภาพที่สามารถออกหาแหล่งเงินกู้มาใช้ได้เอง
ภายใต้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งมา ตั้งแต่ปี
2502
"การหาเงินกู้เองของบรรษัทฯในช่วงตั้งแต่ปี 2521 กระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกัน
เพียงแต่ให้ความเห็นชอบเท่านั้นแต่ความรับผิดชอบในความเสี่ยงขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนนอกสกุลบาท
กระทรวงการคลังต้องรับผิดชอบอยู่ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับบรรษัทฯ" ศุกรีย์
กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
จากการสืบค้นของ "ผู้จัดการ" พบว่า ในปัจจุบัน สัญญาเงินกู้ต่างประเทศของบรรษัทฯที่ยังคงค้างอยู่มี
35 สัญญาเป็นสัญญาที่กระทรวงการคลังค้ำประกันอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ 7 สัญญา
มีมูลค่าเทียบเป็นเงินบาท 8,600 ล้านบาท เป็นสัญญาที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกันแต่เห็นชอบด้วย
28 สัญญา จำนวน 5,400 ล้านบาท รวมแล้ว หนี้สัญญาเงินกู้บรรษัทฯคงค้างมีประมาณ
14,000 ล้านบาท
เงินกองทุนของบรรษัทฯ (สิ้นปี 2530) มีอยู่ 3,010 ล้านบาท ตรงนี้เป็นข้อต่อที่สำคัญของบรรษัทฯเพราะ
หนึ่ง-หนี้ที่บรรษัทฯก่อขึ้นเองในสมัยสมหมายศุกรีย์ตั้งแต่ปี 2521 ถูกมองว่า
ทั้ง 2 คนต้องรับผิดชอบไม่ใช่กระทรวงการคลังเนื่องจากหนี้จำนวน 5,400 ล้านบาทนี้ส่งผลขาดทุนจริงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ณ สิ้นปี 2530 523 ล้านบาท
"การขาดทุนจริงในส่วนนี้ กรรมาธิการงบประมาณ ยอมตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังไม่ได้
เพราะเกิดจากการบริหารหนี้ที่ผิดพลาดของศุกรีย์และสมหมายเอง" กรรมาธิการท่านหนึ่งให้ความเห็น
กรรมาธิการงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ได้ประชุมลงมติเมื่อ 19 ธันวาคม ศกนี้
ที่จะอนุมัติเห็นชอบการชดเชยขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนให้บรรษัทฯของกระทรวงการคลังเพียง
240 ล้านบาทซึ่งเป็นผลขาดทุนจริงที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้ของคลังเองก่อนมีนาคม
2521
สอง - เงินชดเชยส่วนที่เหลือ 523 ล้านบาท ที่กระทรวงการคลังเห็นชอบด้วยมีผลที่แจ่มชัดว่า
ประมวล สภาวสุ รมต.คลัง จะดองเรื่องนี้ไว้ ไม่ยอมนำเข้าที่ประชุมครม. เพื่อขอความเห็นชอบ
ดึงเงินจากงบกลาง
"ประมวลแกดึงเรื่องไว้ เพราะต้องการใช้เป็นเกมต่อรองเดินหากการเมืองกับฝ่ายค้านคือ
บุญชู ซึ่งบุญชูเองก็มีเป้าหมายต้องการเล่นงานสมหมายให้กระเด็นออกจากประธานบรรษัทฯ"
แหลางข่าวในสถาบันการเงินแห่งหนึ่งวิเคราะห์ให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
ถ้าการวิเคราะห์ของคนในบรรษัทเป็นเช่นว่าจริง ศุกรีย์ก็คือเหยื่อที่ถูกเขาวางยาไว้
ตรงนี้ มีการปล่อยข่าวออกมาว่าประมวลต้องการปลดทั้งสมหมายและศุกรีย์ออก
เพื่อเอาคนของพรรคชาติไทยหรือคนนอกพรรคชาติไทยที่ตนเองควบคุมได้มาสวมแทน
เหตุผลของประมวลเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ถูกร่างขึ้นด้วย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในสำนักงานเศรษฐกิจการคลังคนหนึ่งในสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ชื่อ "นิพัทธ์ พุกกะณะสุต" ที่ว่ากันว่าเป็นคนอัจฉริยะมากในการพูดจาโน้มน้าวให้นายอย่างประมวลซึ่งไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจการเงิน
การคลังดีพอ เชื่อถือคล้อยตาม
นิพัทธ์กับศุกรีย์ เป็นเพื่อนกันมาก่อน ศุกรีย์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ว่าเขาเชื่อว่า ปัญหาของบรรษัทฯที่เผชิญอยู่ ส่วนสำคัญมาจากนิพัทธ์ที่ปล่อยข่าวเล่นงานเขาอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
เป็นต้นมา
เรื่องนี้ว่าไปแล้ว ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ เป็นสิ่งที่ยากต่อการพิสูจน์เพราะบางทีประเด็นปัญหาของบรรษัทฯ
อาจถูกโยงเข้าหาการเมืองที่ต้องการชำระหนี้แค้นกันส่วนตัว แทนที่จะเป็นประเด็นเรื่องความผิดพลาดในการบริหาร
เข้าทำนองปัดสวะให้พ้นตัว โดยโยงเอาเรื่องอื่น ๆ ที่เผอิญเข้ามาเกี่ยวข้องให้ดูเป็นเรื่องราวว่า
เป็นเรื่องเดียวกัน…
แต่อย่างไรก็ตาม รากฐานของความจริงที่บรรษัทฯในสมัยศุกรีย์ เป็นผู้จัดการทั่วไป
กระทำต่อนิพันธ์ในปี 2527 ก็ดำรงอยู่จริง กล่าวคือ…
บรรษัทฯได้ฟ้องร้องต่อศาลเมื่อ 5 เม.ย.2527 กล่าวหาบริษัท THAI PURE GAS
ที่มีพ่อของนิพัทธ์ชื่อคนิศร์ เป็นประธานฯ เบี้ยวการชำระหนี้ที่กู้จากบรรษัทฯมา
51 ล้านบาท เมื่อ 18 เม.ย. 2521 แม้ศาลชั้นต้นจะยืนยันตามฟ้องว่า บริษัท
THAI PURE GAS ผิดจริง เมื่อ 25 ก.พ. 2531 แต่เรื่องนี้มีการอุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์กันอยู่…
สาเหตุนี้ว่ากันว่า ทำให้นิพัทธ์ถึงกับไม่พอใจเป็นการส่วนตัวกับศุกรีย์
และมีการโยงเรื่องนี้มาเชื่อมเข้ากับกระแสข่าวปัญหาของบรรษัทฯว่าเป็นฝีมือของนิพัทธ์ที่ปล่อยข่าวนี้
โดยป้อนข้อมูลทั้งกับสื่อมวลชนบางฉบับและบุญชู
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าศุกรีย์จะอ้างถึงกรณีบรรษัทมีปัญหาจนบานปลาย เนื่องจากมีการใช้เล่ห์ทางการเมือง
เข้ามาแทรกแซงการพิจารณาปัญหาของบรรษัทจนบิดเบี้ยวไปจากความจริง แต่ปัญหาของบรรษัทที่ประสบอยู่ทุกวันนี้
ศุกรีย์และสมหมายที่หลีกไม่พ้นจากความรับผิดชอบไปได้ด้วยมาตรฐานเส้นวัดจริยธรรมของนักบริหารอาชีพ
แม้ในข้อเท็จจริงด้านหนึ่ง ศุกรีย์และสมหมายจะสามารถบริหารงานบรรษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพในผลดำเนินงานก็ตาม
"ตัวเลขของกำไรสุทธิ ณ 30 กันยายนปีนี้เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มจาก
205 ล้านบาทเป็น 259 ล้านบาท" งบกำไร-ขาดทุนของบรรษัท 9 เดือนปีนี้ได้ระบุไว้เช่นนั้น
นอกจากนี้ ประสิทธิภาพการบริหารสินเชื่อของศุกรีย์ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี อัตราส่วนหนี้สูงต่อยอดสินเชื่อคงค้าง
ณ สิ้นปี ในแต่ละปี มีอัตราเพียงเฉลี่ยร้อยละ 0.02-0.7 และเมื่อวัดจากยอดเงินเบิกกู้สะสมหนี้สูญมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเพียง
0.05-1.01 เท่านั้น
ผู้ใช้บริการเงินกู้จากบรรษัทนับตั้งแต่ก่อตั้งมาปี 2502 ถึงกันยายน ปีนี้
มีนับ 1,000 ราย ประมาณ 70% เป็นลูกค้าขนาดย่อม 8% เป็นลูกค้าขนาดใหญ่ และที่เหลือ
22% เป็นลูกค้าขนาดกลาง
มองในแง่นี้แสดงว่าศุกรีย์บริหารการจัดสรรเงินทุนเพื่ออุตสาหกรรมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งที่เน้นอุตสาหกรรมขนาดย่อมและกลาง
แต่กระนั้นก็ตามถ้ามองในแง่ปริมาณเงินที่บรรษัทจัดสรรเงินกู้ออกไปตลอด 29
ปีที่ผ่านมา กลับปรากฎชัดว่า มีการกระจุกตัวไปที่โครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มากเกินไป
ระหว่างปี 2503 - กันยายน 2531 บรรษัทปล่อยกู้โครงการลงทุนอุตสาหกรรมขนาดเกิน
50 ล้านบาทขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 10,843 ล้านบาทเทียบกับยอดเงินปล่อยกู้ทั้งหมด
21,613 ล้านบาท คิดเป็น 50% ของทั้งหมด
ตรงนี้แหละ ที่ศุกรีย์ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงว่า บริหารงานจัดสรรทรัพยากรการเงินเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมบิดเบี้ยวไป
ลูกค้าที่ลงทุนโครงการขนาดเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ถูกมองด้วยสายตาว่าเป็นกลุ่มที่บรรษัทไม่จำเป็นต้องเข้าไปสนับสนุนด้านเงินทุน
เพราะ หนึ่ง - ลูกค้ารายใหญ่พวกนี้แข็งแรงอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องอาศัยเงินกู้ระยะยาวและดอกเบี้ยต่ำกว่าทอ้งตลาดจากบรรษัท
และ สอง - ลูกค้ารายใหญ่พวกนี้ ไม่มีปัญหาการขาดแคลนเงินทุน เพราะสามารถกู้ยืมเอาได้จากสถาบันการเงินอย่างแบงก์พาณิชย์ได้สบาย
ๆ อยู่แล้ว
แต่แม้สายตาจะถูกมองไปเช่นนั้นศุกรีย์กล่าวโต้กับ "ผู้จัดการ"
ว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องควาาแตกต่างความคิดมากกว่าเพราะการพัฒนอุคสาหกรรมนั้นไม่ช่จะจำกัดเพียงแค่อุตสาหกรรมเล็กรหือกลางเท่านั้น
มันกินรวมความถึงอุตสาหกรรมใหญ่ด้วย มันเป็นพื้นฐานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเล็กมีต้นทุนสูง
การบริหารสินเชื่อของบรรษัทต้องนำรายได้ดอกเบี้ยจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาชดเชยรายได้ดอกเบี้ยจากอุตสาหกรรมเล็ก
ๆ ด้วย
"โครงการใหญ่ ๆ เช่น ผาแดง ถ้าบรรษัทไม่ช่วยสนับสนุนโครงการ โครงการผลิตสังกะสีของผาแดงย่อมเกิดไม่ได้
เพราะการเกิดอุตสาหกรรมหนักต้องใช้เงินกู้ระยะยาว และเงินที่บรรษัทปล่อยไปกับอุตสาหกรรมรายใหญ่
ๆ ความจริงแล้วก็ตามข้อผูกพันที่บรรษัทมีกับแหล่งเงินกู้ที่ให้บรรษัทกู้มาปล่อยเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก"
ศุกรีย์ย้ำถึงเหตุผลการปล่อยสินเชื่อแก่โครงการอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ กับ "ผู้จัดการ"
ศุกรีย์เคยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าจริงอยู่แม้บรรษัทจะได้รับยกเว้นพิเศษจากกระทรวงการคลัง
ไม่ต้องเสียภาษีการค้าและได้รับการปกป้อง คุ้มครองความเสี่ยงจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
แต่ข้อได้เปรียบ 2 สิ่งนี้ ก็ไม่ได้ส่งผลถึงประสิทธิภาพการประกอบการของบรรษัทมากนัก
"บรรษัทมีกำไรสุทธิจากการปล่อยสินเชื่อเพียง 0.3% เท่านั้น" กำไรสุทธิที่เล็กน้อยนี้เกิดจากปัจจัย
2 ประการ คือ หนึ่ง - อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของบรรษัทต่ำกว่าตลาด ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของบรรษัทอยู่แล้ว
และ สอง - ต้นทุนการบริหารความเสี่ยงจากหนี้สูญสูงเพราะบรรษัทต้องสำรองเงินทุนที่ปล่อยกู้ไว้หลายรายการ
กระนั้นก็ดี ก็มีบางคนให้ข้อสังเกตว่าบรรษัทอาจมีกำไรสุทธิต่อหน่วยต่ำ
แต่การหางเงินทุนมาหาผลประโยชน์ในรูปการปล่อยกู้ยืมบรรษัทอยู่ในจุดที่ ได้เปรียบกว่าสถาบันการเงินอื่น
ๆ อยู่แล้ว
"เงินทุนระยะยาวที่บรรษัทได้มาจากการระดมมากับระยะเวลาชำระหนี้ของลูกค้ามันเหลื่อมล้ำกันอยู่
ตรงจุดเหลื่อมกันนี่แหละ ผู้บริหารบรรษัทนำรายได้ส่วนนี้มาหาประโยชน์โดยการปล่อยกู้ทั้งในตลาด
INTER BANK และตลาดสินเชื่อระยะปานกลางต่ออีกรอบหนึ่ง" แหล่งข่าวในสถาบันการเงินรายใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟัง
ตรงนี้ "ผู้จัดการ" จะขออรรถาธิบายให้ฟังดังนี้ว่า….แหล่งเงินทุนของบรรษัทส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาเช่น
OECF, KFW, ADB เวลาที่บรรษัทไปกู้ยืมมา มิได้หมายถึงไปเอามาทั้งก้อนวงเงินทันทีเลย
บรรษัทจะทยอยเบิกยืมมาใช้ตามความต้องการของสินเชื่อที่บรรษัทมี CONTACT กับลูกค้าเป็นงวด
ๆ ไป
เทอมการกู้ยืมของบรรษัทจากแหล่งเงิน มีระยะเวลายาวนาน 20 ปีขึ้นไป ขณะที่เทอมการปล่อยกู้ของบรรษัทแก่โครงการอุตสาหกรรมต่าง
ๆ มันสั้นกว่ามาก ดังนั้นรายได้จากดอกเบี้ยและต้นเงินจากสินเชื่อที่เกิดขึ้น
บรรษัทไม่จำเป็นต้องรีบไปชำระคืนแก่เจ้าหนี้ เพราะยังไม่ถึงกำหนดเวลา
ศุกรีย์ยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่าเงินรายได้ส่วนนี้ บรรษัทจะนำไปหมุนขยายสินเชื่อต่อเรียกว่า
CREDIT ROLL-OVER
ซึ่งลักษณะพิเศษการบริหารสินเชื่อแบบนี้ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณเงินที่จะปล่อยสินเชื่อของบรรษัทได้สูงกว่า
สถาบันการเงินอื่น ๆ
ความสำคัญที่จะวัดประสิทธิภาพการบริหารของศุกรีย์อยู่ที่ อัตราส่วนหนี้สูญต่อสินเชื่อคงค้างต่ำที่สุด
ไม่ใช่ PROFIT ABILITY
จุดนี้ ถ้ามองพัฒนาการของบรรษัทตลอดช่วง 29 ปีที่ผ่านมา ต้องให้คะแนนผ่านเกรด
A กับผู้บริหารบรรษัททุกคนที่สามารถบรรลุเป้าหมายเจตนารมณ์ในการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นและเติบโตในประเทศนี้
ตัวอย่างเมื่อ 14-15 ปีที่แล้วบริษัทโรยัล เซรามิค มีโครงการผลิตกระเบื้องเซรามิกใช้ในประเทศ
ผู้บริหารกลุ่มนี้เอาโครงการนี้ไปขอการสนับสนุนเงินทุนจากแบงก์พาณิชย์หลายแห่ง
แต่ไม่มีใครสนใจนัยว่า สินค้ากระเบื้องเซรามิกแทบจะไม่มีใครเชื่อว่าจะมีอนาคต
คนรู้จักก็น้อยมากในสมัยนั้น……
การเติบโตของโรยัล เซรามิค ทุกวันนี้ มีพื้นฐานมาจากบรรษัทที่ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่แรกนั่นเอง
แม้แต่กลุ่มเสถียรภาพก็เช่นกัน ถึงทุกวันนี้ กลุ่มนี้จะล้มละลายถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้หลายแห่งเป็นจำนวนเงินนับ
1,000 ล้านบาท
สมัยก่อนประมาณ 29 ปีก่อน ตระกูล "จุลไพบูลย์ เจ้าของกลุ่มบุกเบิกอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เซรามิกในไทย
บรรษัทเป็นเจ้าแรกที่ปล่อยสินเชื่อแก่กลุ่มบริษัทนี้
"บรรษัททำหน้าที่ส่งเสริมด้านเงินทุนแก่พัฒนาการอุตสาหกรรมไทยมาตลอดได้ดีไม่มีที่ติ
มันไม่ยุติธรรมเลยที่จะนำเรื่องการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนมาโยงเข้ากับฐานะการดำรงอยู่ของสมหมายและศุกรีย์
จนเป็นเงื่อนไขต่อรองแลกกับเงินชดเชยตามข้อผูกพันของกระทรวงการคลัง"
วิโรจน์ นวลแข จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
แม้ในหลักการสถานภาพการดำรงอยู่ของบรรษัทจะยังคงมีความจำเป็นในฐานะเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
ทีจะต้องสามารถเลี้ยงตัวเองได้ การนิ่งเงียบของศุกรีย์ให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบต่อข้อตกลงผูกพันกับบรรษัท
เป็นการเรียกร้องที่ชอบธรรมภายใต้กฎเกณฑ์กติกาที่มีอยู่ เพราะการนิ่งเงียบมีความหมายต่อชะตากรรมของบรรษัทและ
cREDIT STANDING ของประเทสหลายประการคือ…..
หนึ่ง - เงื่อนไขเงินกู้ของบรรษัทมีข้อผูกพันกับเจ้าหน้าที่ในทุกสัญญา
ที่เจ้าหนี้สามารถเรียนหนี้คืนได้ทันทีที่เรียก ADVERSE EVENT ในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนความสามารถของบรรษัทในการชำระหนี้คืน
"เพียงกะทรวงการคลังแถลงออกมาว่า ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงที่ทำไว้กับบริษัท
การขดาทุนอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า 6,000 ล้านบาทจะมีผลต่อฐานะทางบัญชีการขาดทุนจริงของบรรษัทฐานะทางบัญชีการขาดทุนจริงของบรรษัททันที
ขณะที่ปัจจุบันบรรษัทมีเงินกองทุนเพียง 3,000 กว่าล้านบาท ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
6,000 ล้านบาท มันก็ล้มละลายแล้ว" เสรี จินตเสรี กรรมการผู้จัดการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์พาราเล่าให้ฟังโดยชี้ว่า
สิ่งนี้จะเป็นสัญยาณที่บ่งชี้ว่าความสามามารถการชำระหนี้ของบรรษัทได้สูญเสียไปแล้ว
ความจริงเรื่องนี้ ศุกรีย์ได้ชี้แจงในกรรมาธิการ งบประมาณต่อหน้าบุญชูและประมวลอย่างละเอียดถึงผลที่จะเกิดขึ้นถ้าหากกระทรวงการคลัง
หรือกรรมาธิการงบประมาณไม่เห็นชอบจ่ายเงินชดเชยตามข้อตกลง
"คุณบุญชูไม่สนใจ แกถือว่านี่เป็นคำขู่มากกว่า ถึงกับพูดว่า อยากจะเห็นเหมือนกันว่าจะมีเจ้าหนี้รายไหนมากล้าทำ
DEFAULT บรรษัท ที่แกพูดเช่นนี้เพราะแกเชื่อว่า เวลานี้ CREDIT STANDING
ของประเทศดีมากเหลือเกิน ใคร ๆ ก็อยากให้กู้" กรรมาธิการท่านหนึ่งเล่าให้ฟัง
กรรมาธิการงบประมาณมีมติให้กระทรวงการคลังใช้งบประมาณ 240 ล้านบาทจ่ายชดเชยขาดทุนให้บรรษัท
แต่อีก 523 ล้านบาท ไม่อนุมัติเพราะเห็นว่ากฤษฎีกาตีความแล้วว่า ค่าเสมอภาคกับค่าของบาทที่เขียนไว้ในข้อตกลงกระทรวงการคลังกับบรรษัท
ความหมายทางกฎหมายแตกต่างกัน เมื่อกระทรวงการคลังได้ยกเลิกค่าเสมอภาคตั้งแต่ปี
2527 การที่ข้อตกลงและกฎหมายบรรษัทที่ประกาศใช้ในรูปประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่
233 ปี 2515 มาตรา 25 ใช้ถ้อยคำว่า ค่าเสมอภาคของเงินบาท แทนคำว่า ค่าของบาท
จึงมีผลในทางกฎหมายด้วย
เรื่องนี้มีที่มาที่น่าเจ็บปวดมากสำหรับบรรษัท มีการแก้ถ้อยคำในมาตรา 25
ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 233 ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เจตนารมณ์ของผู้ร่างกฎหมาย
ตอนที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ในมาตรา 25 นี้ เจตนาต้องการขยายอำนาจของกระทรวงการคลังในการค้ำประกันเงินกู้ของบรรษัทที่มาจากแหล่งเงินกู้ต่าง
ๆ ไม่ได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะแหล่งเงินกู้ ธนาคารโลกเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น
ถ้อยคำที่เกี่ยวกับการเทียบค่าของเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่น ๆ ยังใช้คำว่าค่าของบาทอยู่เหมือนเดิม
เมื่อร่างกฎหมายที่แก้ไขนี้ ผ่านมาที่กอง 3 กฤษฎีกา ที่มีโอสถ โกสิน เป็นประธาน
ก็ยังไม่มีอะไรผิดพลาดไปจากถ้อยคำที่เจตนารมณ์ผู้ร่างต้องการ แต่พอผ่านมาททางระดับสูงในกฤษฎีกาและประกาศใช้คำว่าค่าเสมอภาคมาโผล่แทนคำว่าค่าของบาทได้อย่างไรไม่รู้
เวลานั้นก้ไม่มีใครในบรรษัทสนใจที่จะทักท้วงด้วยเพราะเห็นว่าเป็นสมัยปฏิวัติอยู่
เรื่องนี้มาย้อนเล่นงานบรรษัทเอาก็ตอนที่สมัยคุณสมหมายเป็น รมต.คลัง และเป็นประธานบรรษัทด้วย
หลังจากปี 27 รมต.สมหมายยกเลิกค่าเสมอภาคนิพันธ์ก็นำเรื่องนี้มาให้สมหมายส่งกฤษฎีกาตีความ
"ขณะนั้นสมหมายแกเชื่อคุณนิพันธ์มาก" ศุกรีย์เล่า กฤษฎีกากอง 7
ตีความออกมาว่า ค่าเสมอภาคได้ถูกยกเลิกไปแล้วกระทรวงการคลังไม่จำเป็นต้องมีข้อผูกพันในสัญญาที่ข้อตกลงกับบรรษัทอีกต่อไปแต่ดร.อมร
จันทรสมบูรณ์ เลขากฤษฎีกาได้มีบันทึกเป็นหมายเหตุเพิ่มเติม ท้ายคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาว่า
แม้ผลการวินิจฉัยจะเป็นเช่นนั้น แต่เรื่องนี้เป็นเหตุบังเอิญของการแก้ไขเพิ่มเติม
ไม่ใช่เจตนารมณ์ของผู้ร่าง….
เผอิญช่วงเวลานั้น บรรษัทไม่ประสบปัญหาขาดทุนจริงจากอัตราแลกเปลี่ยนมันก็ไม่มีอะไรตูมตามออกมา
จนมาแดงเอาตอนนี้ที่บรรษัทประสบปัญหาขาดทุนจริงจากอัตราแลกเปลี่ยน 763 ล้านบาทและกระทรวงการคลังได้ตั้งงบประมาณจ่ายชดเชยให้ตามข้อตกลง
คำถามคือ ทำไมหลังปี 27 ศุกรีย์และสมหมายถึงไม่ดำเนินการอะไรสักอย่างหนึ่งลงไป
เพื่อแก้ไขจุดช่องโหว่ของกฎหมายอันนี้
ปี 28 เป็นต้นมา ค่าเงินเยนและดอยช์มาร์ค เมื่อเทียบกับเงินบาทแข็งตัวขึ้นมา
เพราะเงินบาทในระบบตระกร้าไปอิงไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯค่อนข้างมาก บรรษัทเริ่มมีวิกฤติการณ์ขาดทุนทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยน
แต่ถูกปิดไว้อย่างลับที่สุด
สอง - โอกาสการระดมเงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินในต่างประเทศด้วยเงื่อนไขที่ดีเหมือนอย่างอดีต
หดแคบลง เพราะฐานะของบรรษัทไม่แน่นอนทำให้ CREDIT STANDING ของบรรษัทติดลบ
ด้วยข้อเท็จจริงที่รู้กันว่า แม้บรรษัทจะมีกำไรจากการดำเนินงานแต่การระดมเงินจำนวนมากต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
เมื่อกระทรวงการคลังไม่รับผิดชอบอีกต่อไปจึงเป็นไปไม่ได้ที่เจ้าหนี้ในต่างประเทศจะให้บรรษัทกู้ยืมอีก
"ใคร ๆ ก็รู้ว่า เจ้าหนี้ให้บรรษัทกู้เพราะเห็นว่ามีกระทรวงการคลังค้ำอยู่
ไม่ใช่เพราะเขาเชื่อใน CREDIT STANDING ของบรรษัท" ผู้เชี่ยวชาญเงินกู้ต่างประเทศท่านหนึ่งเล่าให้ฟัง
เมื่อบรรษัทไม่สามารถระดมเงินทุนจากต่างประเทศได้ ขณะที่การระดมทุนในประเทศระยะยาวในรูปการออกหุ้นกู้
ก็มีหุ้นจำกัดอย่างน้อย 2 ประการ คือ หนึ่ง - หุ้นก็มีอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนสูง
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยบรรษัทคิดจากลูกหนี้เงินกู้ต่ำกว่าตลาดอยู่ 2% จึงไม่คุ้มกัน
และอาจมีผลต่อกำไรของบรรษัท และสอง - หุ้นกู้บรรษัทไม่มี INCENTIVE เพียงพอต่อตลาดเพราะไม่สามารถนำไปขายลดให้แก่ทางการในตลาด
REPURCHASE MARKET เหมือนหุ้นหู้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำได้และนอกจากนี้ เงินกู้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำได้และนอกจากนี้
เงินต้นหน้าตั๋วพร้อมดอกเบี้ย ก็ไม่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล
ดังนั้น ภายใต้ข้อจำกัด ทางเดียวที่บรรษัทจะระดมทุนมาปล่อยกู้ได้ก็ต้องเพิ่มทุนอย่างเดียว
ซึ่งคงไม่มีผู้ถือหุ้นสถาบันใดเอาด้วย
"กระทรวงคลัง ให้บรรษัทเพิ่มทุนอีก 1,000 ล้านบาท และให้ลดส่วนกำไรสุทธิในการจ่ายปันผลลง"
แหล่งข่าวในกระทรวงการคลังบอกกับ "ผู้จัดการ" ถึงข้อเสนอของคลัง
แต่ดูเหมือนเป็นไปได้ยาก เพราะประมวลเองก็รู้ว่าข้อเสนอทั้ง 2 เป็นไปไม่ได้
การเพิ่มทุนในขณะที่ราคาหุ้นบรรษัทต่ำกว่าราคาพาร์ 100 บาท และกระทรวงการคลังยังไม่พูดออกมาชัดเจนว่า
จะเอายังไงกับบรรษัท คงไม่มีผู้ถือหุ้นคนไหนเอาด้วยแม้คลังจะบอกว่าพร้อมที่จะเพิ่มทุนในสัดส่วน
15% ที่ถืออยู่ก็ตาม ส่วนสั่งให้ลดส่วนกำไรสุทธิในการจ่ายปันผลก็ยิ่งแล้วใหญ่
มันเป็นไปไม่ได้ ยิ่งทำออกไปราคาหุ้นบรรษัทในตลาดก็ยิ่งตก รวมความแล้วข้อเสนอแบบนี้ก็เหมือนกับกระทรวงการคลังปฏิเสธความรับผิดชอบบรรษัทแล้วนั่นแหละ
เพียงแต่ไม่พูดออกมาตรง ๆ เท่านั้น
"ผมว่าประมวลแกกลัวฝ่ายค้านเล่นงานในสภา ตอน พ.ร.บ.งบประมาณ เข้าสภาวาระ
2 และ 3 แกต้องพูดคลุมเครือไว้ก่อนด้านหนึ่งให้ฝ่ายค้าน "จับไต๋"
แก่ไม่ออกว่าแก่ตัดสินใจเรื่องนี้อย่างไร และอีกด้านหนึ่งแก่ปล่อยให้กาลเวลาเป็นตัวกดดันให้ศุกรีย์และสมหมายเป็นคนเล่นลูกเอง
ไม่ใช่แก" แหล่งข่าววิเคราะห์ให้ฟัง
ศุกรีย์เองตลอดเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เขาต้องวิ่ง LOBBY ส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและค้านอย่างเต็มที่
เพื่ออธิบายให้เข้าใจถึงบทบาทสถานภาพของบรรษัท แม้จะรู้ว่างานนี้เขาเจอฤทธิ์การเมืองเข้าเต็มเปาก็ตาม
"ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ฐานะของผมเวลานี้ จะต้องมานั่งวิ่งหมอบคาบเพื่อไหว้วานให้บุคคลต่าง
ๆ เข้าใจบรรษัทหลายวันผมต้องอยู่รัฐสภา แทนที่จะอยู่ที่บรรษัทแต่ผมก็ยอมเพื่อบรรษัท"
ศุกรีย์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงวิธีการเล่นลูกวิธีหนึ่งของเขาอย่างเหนื่อยอ่อน
มันเป็นบทเรียนราคาแพงของศุกรีย์ที่เขาจำไปตลอดชีวิต
การเล่นลูกของศุกรีย์อีกวิธีหนึ่งคือ เขาต้องนั่งร่างแผนปรับปรุงสถานภาพของบรรษัทเป็นธนาคารสินเชื่อระยะยาว
"LONG TERM CREDIT BANK" เพื่อเสนอต่อประมวล ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้
เขาเคยเสนอแนวคิดนี้แก่สุธี สิงห์เสน่ห์ รมต.คลงคนก่อนมาแล้ว แต่เงียบ
มาครั้งนี้เขาต้องลงมือทำอย่างละเอียดถึงแนวคิดและโครงร่างของ "ธนาคารสินเชื่อระยะยาว"
ใช่….เขาชะล่าใจเกินไป ถ้าก่อนหน้านี้เขาลงมือทำสิ่งนี้อย่างละเอียด บางทีบทเรียนที่เจ็บแสบครั้งนี้
อาจไม่เกิดขึ้นก็เป็นได้
แผนการปรับเป็น ธนาคารสินเชื่อระยะยาว ถูกเสนอต่อประมวล เมื่อวันที่ 2
ธ.ค.นี้ แต่ถูกตีลกับให้ไปแก้ไขใหม่
"มันเป็นเกมถ่วงเวลาชัด ๆ " คนในบรรษัทระเบิดอารมณ์กล่าวกับ
"ผู้จัดการ" เป้าหมายในการคลายปัญหานี้อยู่ที่การเมืองที่ต้องการเขี่ยสมหมายและศุกรีย์ออกจากบรรษัท
"เกมที่ประมวลเขาจัดขึ้น โดยมีศุกรีย์เป็นตัวเล่นด้วยความอ่อนหัดในเกมมันเข้าทางของประมวลพอดี"
แหล่งข่าวในสถาบันการเงินให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ"
สมหมาย มีศัตรูทางการเมืองไม่น้อยเรื่องนี้ใคร ๆ ก็รู้ ดุสิต โสภิตชา ส.ส.อุบลราชธานี
พรรคกิจประชาคม กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า สมหมายต้องออกจากประธานบรรษัทเพื่อแสดงความรับผิดชอบในปัญหาที่เกิดขึ้น
ส่วนศุกรีย์ เขาเป็นนักบริหารอาชีพเป็นคนทำงานลูกเดียว รักษาเกียรติยศตัวเองยิ่งชีวิต
ปัญหาของบรรษัททุกวันนี้ แม้จะเกิดขึ้นมาจากความผิดพลาดในการบริหารหนี้ส่วนหนึ่ง
แต่ก็ถูกมองด้วยสายตาจากนักการเมืองฝ่ายค้านบางคนว่าแกดื้อเกินไปที่จะยอมปรับตัว
คำพูดง่าย ๆ ที่ออกมาแสดงอย่างแจ่มชัดถึงความพยายามเรียกร้องให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบในข้อตกลงซึ่งเป็นเส้นวัดทางกฎหมาย
ว่าไปแล้ว เหตุผลทั้งของศุกรีย์และอีกฝ่ายหนึ่งก็ถูกทั้ง 2 สถานการณ์ บรรษัทปัจจุบันอยู่ที่ประมวลต้องแสดงความกล้าหาญทางการเมืองออกมาเล่นลูกบ้าง
ไม่ใช่ปล่อยให้ศุกรีย์เล่นเพียงคนเดียว
จะเอายังไงก็ว่ามาให้ชัด จะปลดทั้งสมหมายและศุกรีย์ด้วยข้อหาอะไรก็ว่ากันออกมา
ความอึมครึมต่าง ๆ จะได้หมดไปเสียที
หรือถ้าไม่ปลด ก็รับเอาแผนปฏิรูปบรรษัทของศุกรีย์ไปเสีย