ล็อกซเล่ย์ (LOXLEY) บริษัทเทรดดิ้ง เตรียมออกหุ้นกู้ 2 พันล้านบาท ขายประชาชนทั่วไป
ใช้หนี้ แทนที่จะใช้ขยายกิจการบริษัท จากหนี้สินรวมปัจจุบันของบริษัทกว่า 3.8 พันล้านบาท
ท้าทายทักษิณ ที่สั่งคลังคุมเข้มสถาบันการเงินที่แนะนำลูกหนี้บริษัท ที่แนวโน้มธุรกิจไปไม่ไหว
ออกหุ้นกู้-ตราสารหนี้ อื่นๆ ขายประชาชนเพื่อใช้หนี้ ฉวยจังหวะตลาดทุนไทยบูม
ขณะที่โบรกเกอร์ยัน ยังมีอีกหลายแห่งทำลักษณะเดียวกัน
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ยอมยืดหยุ่นกองทุนหุ้น กำหนดเงินลงทุนหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี
75% ของพอร์ตไม่เกิน 30 ตัว จากปัจจุบันลงทุนหุ้นได้ 25 ตัว ที่เหลือเปิดโอกาสลงหุ้นขนาดเล็ก-กลาง
ทั้งกระดานหลัก และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ มั่นใจ บลจ. ยื่นตั้งเกิน 10 กองทุน แต่หากต่ำเป้า
ขยายได้ไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาทต่อกองทุน
โบรกเกอร์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดของบริษัทจดทะเบียน ที่ท้าทายอำนาจรัฐครั้งนี้
เกิดหลังจากนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สั่งการระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัปดาห์ที่แล้ว
ให้รัฐมนตรีคลัง ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ ควบคุมธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น
ๆ ที่ขณะนี้ พยายามแนะนำให้ลูกหนี้บริษัท ต่าง ๆ ที่ไร้ความสามารถชำระหนี้ จากการดำเนินธุรกิจปกติ
ออกหุ้นกู้ และตราสารหนี้อื่นๆ เพื่อระดมเงินจ่ายหนี้สถาบันการเงินเหล่านี้ แทนที่จะใช้เงินขยายกิจการบริษัท
ดังจุดประสงค์ที่ควรจะเป็น
นางสุกัญญา วีระเกียรติกิจ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารและบัญชี บริษัท ล็อกซเล่ย์
จำกัด (มหาชน) (LOXLEY) แจ้งผลประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ วานนี้ (4 ส.ค.) ดังนี้
อนุมัติออกและเสนอขายหุ้นกู้ครั้งเดียวเต็มจำนวนวงเงิน หรือ เป็นคราว ๆ ขึ้นกับดุลพินิจ
และเงื่อนไขคณะกรรมการบริษัท หรือ คณะกรรมการบริหาร หรือบุคคล ที่คณะกรรมการบริษัท
หรือคณะกรรมการบริหารมอบหมาย หรือ ประธานกรรมการ โดยจะออกเป็นเงินบาท ตามที่บริษัทจะเห็นสมควร
วงเงินรวมไม่เกิน 2,000 ล้านบาท รายละเอียดเบื้องต้นต่อไปนี้
หุ้นกู้มีประกันและหรือหุ้นกู้ ไม่มีประกันทุกประเภท ตามความเหมาะสมของตลาด ขณะที่คณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการ
บริหาร หรือบุคคลที่คณะกรรมการ บริษัท หรือคณะกรรมการบริหารมอบหมาย หรือประธานกรรมการ
จะพิจารณาเห็นสมควร และตามที่จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ตามที่กฎ หมายกำหนดต่อไป
หุ้นกู้เป็นสกุลเงินบาท มูลค่ารวมจะไม่เกิน 2,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ตามที่คณะกรรมการบริษัท
หรือคณะกรรมการ บริหาร หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริษัท หรือ คณะกรรมการบริหารมอบหมาย
หรือประธานกรรมการจะพิจารณากำหนดต่อไป ขึ้นกับสภาพ ตลาดขณะออกและเสนอขายหุ้นกู้
อายุหุ้นกู้ ไม่เกิน 10 ปี เสนอขายประชาชนทั่วไป (Public Offering) และหรือให้บุคคล
วงจำกัด(Private Placement) ทั้งในประเทศ และหรือต่างประเทศ ตามประกาศคณะกรรม การก.ล.ต.
สามารถเสนอขายเป็นจำนวนเดียวทั้งหมดหรือแบ่งขายหลายครั้งก็ได้ ตามที่คณะกรรมการบริษัท
หรือคณะกรรมการบริหาร หรือ บุคคลที่คณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร มอบหมายหรือประธานกรรมการจะพิจารณาเห็นสมควร ข้อมูลงบการเงินบริษัท ที่รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ สิ้นไตรมาสแรก
หนี้สินรวม 3,758.36 ล้านบาท
ยังมีอีกหลายบริษัททำ
โบรกเกอร์กล่าวอีกว่า การออกหุ้นกู้ของ LOXLEY ถือเป็นการฉวยจังหวะหาแหล่งเงินทุน
ในยามดอกเบี้ยต่ำติดดิน เหมือนกับอีกหลาย ๆ บริษัท ที่ออกหุ้นกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้บริษัท
ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้น LOXLEY ซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,998.07 ล้านบาท 199.80
ล้านหุ้น พาร์ 10 บาท ประกอบด้วย บริษัท เอกภาวี จำกัด 55.44 ล้านหุ้น หรือ 27.75%
ของ ทุนจดทะเบียนบริษัททั้งหมด นายชัชวาลย์ นิ่มพิจารณ์ 9 ล้านหุ้น หรือ 4.51%
BNP Paribas Private Bank Singapore Branch จากฝรั่งเศส 5.81 ล้านหุ้น หรือ 2.91%
State Street Bank Trust Company สิงคโปร์ 5.21 ล้านหุ้น หรือ 2.61% และ Bayerische
Vereinsbank Ag.Singapore 4.08 ล้านหุ้น หรือ 2.05% นอกจากนี้ ยังมีตระกูลล่ำซำถือหุ้นอันดับถัด
ๆ ไป คือนายไพโรจน์ ล่ำซำ นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ และนายบรรยง ล่ำซำ ถือหุ้นคนละกว่า
1%
ราคาหุ้น LOXLEY ปิดวานนี้ (4 ส.ค.) 21.20 บาท เพิ่มขึ้น 30 สตางค์ เพิ่ม 1.44%
มูลค่า ซื้อขาย 110.44 ล้านบาท
ตลท. เปิดช่องกองทุนลงทุนหุ้น 30 ตัว
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่ากองทุนที่
ตลท. จะร่วมตั้งกับ บลจ. สามารถลงทุนหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี สภาพคล่องดี แต่ต้องไม่เกิน
30 ตัว 75% ของขนาดกองทุนฯ อีก 25% จะเปิดโอกาสให้ลงทุนหุ้นได้หลากหลาย บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม
ทั้งกระดานหลัก และตลาดหลักทรัพย์ใหม่
"ตลาดหลักทรัพย์มีความเห็นว่า นักลงทุน ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในกองทุนหุ้นที่ตลาดหลัก
ทรัพย์จัดตั้งขึ้นร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และบริษัทหลักทรัพย์
คงต้อง การเห็นหุ้นที่ลงทุนเป็นหุ้นที่ตนเองรู้จัก เพื่อความสบายใจในการถือหน่วย
ส่วนที่เหลืออีก 25% จะเปิดกว้างให้ บลจ.บริหารจัดการ เพราะสัดส่วนเพียง 25% หากเกิดความผิดพลาดคงไม่กระ
ทบกับเงินออมของประชาชน" นายกิตติรัตน์ กล่าว
หลักการตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ปิดกั้นกระจายความเสี่ยงบริหารจัดการกองทุน ตลาด
หลักทรัพย์ยินดีจะปรับกรอบลงทุนกองทุนฯ ดังกล่าว โดยจะชี้แจงให้ บลจ. ทั้งหมด เข้าใจใน
รายละเอียดอีกครั้ง
เพราะตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องการจะตั้งเงื่อนไขเพื่อให้ บลจ. บริหารกองทุนเพื่อผลตอบ
แทนตลาดฯ รวมถึงเงินที่ร่วมลงทุน ขนาดไม่มากจนถึงกับทำให้ บลจ. ผลดำเนินงานดี หรือคุ้มค่าการดำเนินงานที่ดีทันที
จึงไม่อยากให้ บลจ. ตั้งกองทุนเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ตลาดหลัก ทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว
แต่ต้องการให้ประชาชนมีทางเลือกลงทุนมากขึ้น ด้วยการจัดสรรเงินออมผ่านการลงทุนกองทุน
นายกิตติรัตน์กล่าวว่า โดยหลักการตลาดหลักทรัพย์ อาจมี บลจ.บางแห่งไม่เห็นด้วย
เพราะถือว่าสามารถเลือกสินค้าที่ดีได้อยู่แล้ว แต่เชื่อว่า บลจ.ที่จะตั้งกองทุนร่วมกับโบรกเกอร์
จะมองว่าวิธีการนี้จะเพิ่มทางเลือกผู้มีเงินออม จึงมั่นใจว่า จะยื่นขอตั้งไม่ต่ำกว่า
10 กองทุน แต่ละกองทุน จะได้รับจัดสรรเงินไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท แต่หากขอตั้ง
7-8 กองทุน จากปัจจุบันที่ยื่นขอตั้ง 5 กองทุน คาดว่าแต่ละกองทุนจะได้รับเงินเพิ่มขึ้น
เป็นกองทุนละไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ตลาดหลักทรัพย์เรียกผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม
(บลจ.) มากกว่า 10 แห่ง หารือขั้นตอนและรายละเอียดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนหุ้น บลจ.
เสนอตลาดหลักทรัพย์พิจารณาประเด็นจำนวนหุ้นที่กำหนดให้กองทุนลงทุนได้ไม่เกิน 25
ตัว ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
เพราะบลจ.บางแห่ง นำกองทุนเดิมเสนอขาย มีหุ้นอยู่ในพอร์ตเกิน 25 ตัว หากจะปรับเปลี่ยน
หรือขายหุ้นออก จะกระทบผู้ถือหน่วยปัจจุบัน ที่ประชุมจึงเสนอว่าถ้ากำหนด 25 ตัว
น่า จะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์พอร์ตลงทุนทั้งหมด