บลจ.เอ็มเอฟซีมีแผนจะร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์นิกโก้ 1 ใน 4 โบรกเกอร์ยักษ์ใหญ่เมืองปลาดิบ
ญี่ปุ่น หุ้นส่วนบริษัทตั้งกองทุนลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยสนใจลงทุนพันธบัตรเอเชีย
(Asia bond) จะประชุมตั้ง ก.ย.นี้ รวมถึงเน้นตั้งกองทุนหุ้น เพราะคาดกระทิงหุ้นไทยยังดุ
แม้ขณะนี้กำลังปรับฐานก็ตาม
ขณะที่ บลจ.เอ็มเอฟซีภายใต้ การนำของกรรมการผู้จัดการคนใหม่ พิชิต อัคราทิตย์
อดีตผู้บริหาร ก.ล.ต. หวังพลิกฟื้นบริษัทกลับมาผงาดในธุรกิจนี้อีกครั้ง ด้วยการใช้เทคนิคบริหารยอดนิยม
Balanced Scoredcard นำเข้าจากแดนมะกัน ผลักดันองค์กรให้เป็นแหล่งรวมคนดี-คนเก่ง
ฝึกปรือ วิทยายุทธ์ผู้จัดการกองทุนไทยเทียบชั้นผู้จัดการกองทุนฝรั่งระดับโลก พร้อมลงทุนในต่างประเทศอนาคต
หลังจากบริษัทนี้ ซึ่งคลังถือหุ้น 16% ชื่อเสียงหายไปจากธุรกิจนี้พักใหญ่ ล่าสุดออกกองทุนผสมแบบยืดหยุ่น
รับประกันเงินต้น ยอดขายกว่า 1.7 พันล้านบาท ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ด้านบลจ.กสิกรไทย
จ่ายปันผลไปแล้วกว่า 4 พันล้านบาท 7 เดือนแรกปีแพะ
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการจัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่าการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเงินมูลค่า
500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท) ให้กองทุนไทยลงทุนต่างประเทศได้
ถือเป็นโอกาสการลงทุนเพิ่มขึ้น และช่วยพัฒนาธุรกิจกองทุนรวมไทย บริษัทสนใจจะตั้งกองทุนดังกล่าว
ขณะเดียวกันนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจจะลงทุนพันธบัตรเอเชีย ซึ่งริเริ่มโดยนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งปัจจุบัน บลจ.เอ็มเอฟซี ทำหน้าที่บริหารกองทุนให้บริษัทดังกล่าว
MFC บริหารกองทุนที่ระดมจากนักลงทุน ต่างชาติแถบยุโรป สหรัฐ และสิงคโปร์ เพื่อจะลงทุนตลาดหุ้นไทย
7 กองทุน มูลค่ารวม 1.78 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 40% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 44,579.27
ล้านบาทของบริษัทปัจจุบัน
นอกจากนี้ บริษัทบริหารกองทุนรวมเพื่อลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Fund-FIF)
ปัจจุบันมูลค่า 811 ล้านบาท ขณะนี้ อยู่ระหว่างขยายกองทุนเพิ่ม โดยจะให้สิทธิผู้ถือหน่วยกองทุนเดิม
ก่อนเปิดโอกาสผู้ถือหน่วยรายใหม่ โดยกองทุนฯ นี้ จะสิ้นสุดอายุ ก.ย.นี้ ขณะนี้
อยู่ระหว่างยื่นขออนุญาตกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขยายกองทุน FIF ดังกล่าว อีกประมาณ
880 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินรอบ 2 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติ
เขากล่าวว่า ภายใต้การบริหารของ MFC ณ 30 มิ.ย. บริษัทมีกองทุนทุกประเภทภายใต้การบริหาร
101 กองทุน มูลค่ารวม 7.84 หมื่นล้านบาท เฉพาะกองทุนรวม มูลค่า 4.45 หมื่น ล้านบาท
ช่วงครึ่งหลังปีนี้ บริษัทจะเสนอขายกองทุน รูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจากการออกกองทุน
SPOT1 และ 2 ที่กำหนดอัตราผลตอบแทนล่วงหน้า 25% ระยะเวลา 3 ปี เน้นลงทุนตลาดหุ้นไทย
บริษัทสามารถบริหารด้วยอัตราผลตอบแทนตามที่กำหนด คือกองทุน SPOT1 ผลตอบแทน 27.01%
ใน 2 ปี 4 เดือน
ส่วนกองทุน SPOT 2 ผลตอบแทน 25.47% ใน 11 เดือน กองทุน SPOT 3 คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
ในระยะเวลาเร็วกว่าเดิม
เน้นกองทุนหุ้น
สาเหตุที่บริษัทออกกองทุนเน้นลงทุนหุ้น เนื่องจากเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น
และฟื้นตัวแท้จริง แม้ขณะนี้อยู่ในช่วงปรับฐาน แต่คาดว่าจะเป็นไม่นาน ไม่ใช่ปรับตัวขึ้นจากการ
เก็งกำไร จากปัจจัยต่างๆ สนับสนุนความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี
2540 และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงสุดในโลก ตั้งแต่ต้นปีนี้ถึง 18 ก.ค. ผลตอบ
แทนรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 44% รูปเงินบาท 38% เมื่อเทียบตลาดหุ้นอื่นๆ เช่น แนสแดก
สหรัฐ ผลตอบแทนเพียง 28% ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ 25% และอินโดนีเซีย 24% ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจตลาดหุ้นไทยเมื่อพิจารณาสัดส่วนราคา
หุ้นต่อกำไร (พีอี) ตลาดหุ้นไทยขณะนี้ 10 เท่า ขณะที่ตลาดฯเกิดใหม่แถบเอเชีย 11.2
เท่า
เขาวางรากฐานและเป้าหมายเพื่อให้บริษัทกลับมาผงาดอีกครั้ง หลังจากซบเซาตามวิกฤตเศรษฐกิจไทย-เอเชียปี
2540 โดยขณะนี้ เป้าหมายเฉพาะหน้า คือทำให้บริษัทสามารถแข่งขันเชิงธุรกิจกองทุนรวมที่ปัจจุบันแข่งขันกันสูงขึ้น
ทั้งจาก บลจ.ไทย-ลูกครึ่ง
เขากล่าวว่า ช่วงที่เขาลาออกจากสำนักงาน ก.ล.ต. และเริ่มงานในฐานะกรรมการจัดการ
บลจ.เอ็มเอฟซีไม่กี่เดือนที่ผ่านมาพบว่ากิจกรรม ด้านธุรกิจของบริษัทซบเซามาก จากที่เคยยิ่งใหญ่
ในอดีตทั้งที่โดยพื้นฐาน เท่าที่เขาสัมผัส บลจ. เอ็มเอฟซีเป็นองค์กรที่ดีโดยพื้นฐาน
ขณะที่ระบบไอที ที่วางระบบสำหรับซื้อขายหน่วยลงทุนสำหรับลูกค้า ก็เริ่มล้าสมัย
เพราะระบบของบริษัทใช้มากว่า 10 ปีแล้ว
ด้านบุคลากรก็ขาดความกระตือรือร้น โดยเฉพาะฝ่ายบริหารบริษัท เขาจึงต้องเน้นแก้ปัญหาภายในองค์กรเหล่านี้ให้ลุล่วงก่อน
โดยพยายามให้กำลังใจกับพนักงาน ฝึกอบรวมพวก เขาภายใต้การทำงานจริง (one the job
training) เพื่อดันให้ บลจ.เอ็มเอฟซี ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นกว่า 16% ของทุนชำระแล้ว
120 ล้านบาท กลับมาผงาดอีกครั้ง โดยเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรเป็นอันดับแรก
โดยมีเป้าหมายในที่สุด คือทำให้ บลจ.เอ็มเอฟซีเป็นที่รวมของผู้จัดการกองทุนที่ดีและเก่ง
ใช้ Balanced scorecard
ใช้เทคนิค Balanced scorecard บริหาร จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี เช่นเดียวกับที่หลายๆ
องค์กรในไทยและโลก ใช้อยู่ที่มีต้นแบบจากแดนมะกัน เพราะเขาเชื่อว่า ระบบนี้สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางวิทยาศาสตร์
วัดผลสำเร็จของ การบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ บลจ. เอ็มเอฟซีขณะนี้พยายามจัดกิจกรรมเพื่อสังคมควบคู่กัน เช่น จัดสัมมนาให้ความรู้นักลงทุนเรื่องการลงทุนในกองทุนรวม
เป้าหมายอื่นๆ ที่นายพิชิตวาง นอกจากทำให้ บลจ.เอ็มเอฟซีกลับมาแข่งขันในธุรกิจกองทุนรวมได้อีกครั้ง
คือการที่บริษัทสามารถลงทุนในตลาดทุนต่างประเทศในอนาคต ซึ่งเขาเห็นด้วยกับมาตรการผ่อนคลายเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ไฟเขียวให้ 6 องค์กรในประเทศที่เกี่ยวกับตลาดเงิน-ตลาดทุน ลงทุนตลาดทุนต่างประเทศได้ค่อนข้างเสรี
ซึ่งควรอนุญาตให้สถาบันต่างๆ ด้านตลาดเงิน-ตลาดทุนของไทย หาประโยชน์จากผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากต่างประเทศ
ไม่เช่นนั้นจะเสียโอกาส พร้อมกับยังกระจายความเสี่ยงการลงทุนของพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนสถาบันเหล่านี้ด้วย
ขณะนี้ บลจ.เอ็มเอฟซีร่วมลงทุนกับกองทุน รวมต่างประเทศ 7 กองทุน มูลค่ารวมกว่า
1.7 หมื่นล้านบาท (428 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) บริษัท มีเป้าหมายจะขยายขนาดกองทุนเหล่านี้เพิ่มอนาคต
โดยให้ผู้จัดการกองทุนของบริษัทมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้จัดการกองทุนต่างประเทศ เพื่อฝึกให้ผู้จัดการกองทุนคนไทยความสามารถเทียบเท่าฝรั่ง
คิดและบริหารกองทุนแบบฝรั่ง
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทเสนอขายกองทุนเปิดเอ็มเอฟซีสินทรัพย์มั่นคง (MFC Limited
Rsik Fund-MRF) ซึ่งขายได้กว่า 1.7 พันล้านบาท ภายในเวลาไม่ถึงเดือน สะท้อนว่าผู้มีเงินฝากในแบงก์
ซึ่งปัจจุบันได้ดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริง หลังหักเงินเฟ้อติดลบ ต้องการหาผลตอบแทนสูงขึ้น
เขากล่าวว่าเหตุที่กองทุนฯ นี้ขายดี เพราะคุ้มครองเงินต้น ขณะเดียวกัน ยังมุ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน
โดยลงทุนหุ้นสามัญพื้นฐานดีแบ่งเงินลงทุน 2 ส่วน
ส่วนแรก ลงทุนตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร รัฐบาล-รัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้เอกชนที่มั่นคงสูง
ด้วย อันดับเครดิตไม่ต่ำกว่า BBB และฝากเงินในแบงก์ ส่วนที่ 2 ลงทุนตราสารทุนที่มั่นคงสูง
ผลตอบแทนสูง สภาพคล่องซื้อขายสูง เพื่อสร้าง โอกาสได้ผลตอบแทนสูงขึ้นระยะแรก ลงทุนตราสารหนี้
90% ที่เหลือลงทุนตราสารทุน
ณ 30 มิ.ย. บลจ.เอ็มเอฟซีมีกองทุน ภายใต้การจัดการ 101 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
(NAV)รวม 7.84 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย กองทุนรวมทั่วไป มูลค่า NAV รวม 3.19 หมื่นล้านบาท
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 2-4) NAV 1.34 หมื่นล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ NAV
รวม 3.22 หมื่นล้านบาท และกองทุนส่วนบุคคล NAV รวม 980 ล้านบาท
บลจ.กสิกรไทยจ่ายปันผลกว่า 4,000 ล้านบาท 7 เดือนแรกปีนี้
บลจ.กสิกรไทย ม.ค.-ก.ค. ปีนี้ จ่ายปันผลกว่า 4,000 ล้านบาท นางดัยนา บุนนาค กรรมการผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย เปิดเผยว่าช่วง ม.ค.-มิ.ย. บริษัทจ่ายเงินปันผลแล้ว
17 กองทุน เป็นเงิน 2,792.23 ล้านบาท
29 ก.ค.นี้ บริษัทจะจ่ายเงินปันผลอีก 4 กองทุน คือกองทุนเปิดรวงข้าว จากผลดำเนิน
งาน 1 ก.ค. 2545-30 มิ.ย. 2546 หน่วยละ 66 สตางค์ อีก 3 กองทุนจ่ายจากผลดำเนินงาน
1 ม.ค.-30 มิ.ย.
ได้แก่ กองทุนเปิดรวงข้าวทวีผล หน่วยละ 26 สตางค์ กองทุนเปิดรวงข้าวหุ้นปันผล
36 สตางค์ และกองทุนรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล 27 สตางค์ คิดเป็นเงินรวม 1,287.21 ล้านบาท
ตั้งแต่ต้นปีถึง ก.ค. บริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงิน 4,080.04 ล้านบาท
นางดัยนากล่าวว่า กองทุนทั้ง 4 กอง ผลดำเนินงาน 1 ปีบัญชีที่ผ่านมา สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
กองทุนเปิดหุ้นทุน 3 กอง ได้แก่ กองทุนเปิดรวงข้าว กำไรเพิ่ม 18.72% จากปีก่อน
หน้า
กองทุนเปิดรวงข้าวทวีผล กำไรเพิ่ม 18.62% และกองทุนเปิดรวงข้าวหุ้นปันผล กำไรเพิ่ม
18.72% เทียบดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ช่วง เดียวกัน เพิ่มขึ้น 17.58%
ส่วนกองทุนเปิดรวงข้าวดุลทรัพย์ปันผล กองทุนแบบผสม กำไรเพิ่ม 13.86% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ที่ประกอบด้วย ดัชนีตลาด หลักทรัพย์ กับค่าเฉลี่ย TBDC Government Bond Index (Total
return index) และดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปี เฉลี่ยธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และไทยพาณิชย์
ซึ่งเพิ่มขึ้น 13.26% ช่วงเดียวกัน