"เดลิเวอรี่หลังการขายเฟื่อง" กลยุทธ์ใหม่ตลาดซอฟต์แวร์ไทย


ผู้จัดการรายวัน(30 กรกฎาคม 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

"เดลิเวอร์รี่หลังการขาย" กลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีในทุกวงการ ล่าสุด "พรอมิเนนท์" ผู้ประกอบการหน้าใหม่ เห็นช่องว่างทางการตลาดผู้ใช้ซอฟต์แวร์ราคาแพง บริการหลังการขายไม่หรูอย่างที่คิด เสนอตัวแก้ปัญหา จับกลุ่มองค์กรขนาดเล็ก ตั้งเป้าปี 46 โตกว่า 400%

ปัจจุบันฟาสต์ฟู้ดข้ามชาติหลายแห่งได้เข้ามาตีตลาดในเมืองไทย และแต่ละแห่งต่างเฟ้นหากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อแย่งชิงฐานลูกค้า จนก่อให้เกิดระบบบริการส่งอาหารถึงบ้านหรือที่ทำงานซึ่งรู้จักกันดีในชื่อของ "เดลิเวอรี่" ที่ขณะนี้มีการนำระบบการันตีสินค้าว่าจะถึงมือผู้บริโภคภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที มาใช้จนเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า แต่เชื่อหรือไม่ว่าขณะนี้ได้มีการนำระบบ "เดลิเวอรี่" มาใช้กับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แล้ว

พิสิฐ อรุณทรัพย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท พรอมิเนนท์ ซิสเต็ม แอพพลิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า ด้วย ความชอบส่วนตัวทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และได้มีโอกาสศึกษาซอฟต์แวร์ ACCPAC ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่นำเข้าจากอเมริกา มีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบข้อมูลโดยรวมขององค์กร ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าความสามารถของซอฟต์แวร์ไม่มีปัญหา จะมีก็แต่การบริการหลังการขาย ที่ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไม่สามารถให้คำปรึกษา หรือกำหนดทิศทางการใช้งานของซอฟต์แวร์ได้ เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยยังขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์อยู่มาก ไม่ว่าองค์กรไหนจะซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพงขนาดไหนแต่หากไม่มีบริการหลังการขายที่ดีพอ การใช้ประโยชน์จาก ซอฟต์แวร์ก็คงสูญเปล่าในที่สุด และจุดนี้เองที่ทำให้มองเห็นช่องว่างทางการตลาดของการบริการหลังการขายซอฟต์แวร์ว่าน่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปได้

บริษัท พรอมิเนนท์ ซิสเต็ม แอปพลิเคชั่น จำกัด จึงถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้นโยบาย "การรักษาสัญญากับลูกค้า" ปีแรกของการทำงานลำบากมาก เพราะเป็นบริษัทใหม่ ความเชื่อถือจากลูกค้าย่อมมีน้อย ประกอบกับซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะมีราคาค่อนแพง ฉะนั้นบริษัทที่จะใช้ซอฟต์แวร์ได้จึงต้องเป็นบริษัทที่ใหญ่พอสมควรซึ่งแต่ละบริษัทก็มีตัวแทนจำหน่ายอยู่แล้ว บริษัทจึงมุ่งหาลูกค้าจากฐานข้อมูลเก่าของตัวแทนจำหน่ายที่มีปัญหา เช่น แก้ปัญหาไม่ตรงจุด หรือสัญญาแล้วไม่สามารถทำได้ ด้วยการเข้าไปเสนอบริการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ ซึ่งเมื่อสามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้แล้ว ลูกค้าก็จะเกิดความไว้วางใจตามมา ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัท 70%-80% มาจากคำบอกเล่าแบบปากต่อปาก

"ขณะนี้บริษัทมีลูกค้าเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก วัดได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ปีแรกบริษัทสามารถทำยอดขายได้ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปีที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านบาท และปีที่ 3 มียอดขายสูงถึง 13 ล้านบาท แต่ในปี 2546 บริษัทตั้งเป้ายอดขาย ไว้ที่ 18 ล้านบาท ซึ่งยอดขายทั้งหมด ของบริษัทมาจากการบริการหลังการขายทั้งสิ้น"

พิสิฐ กล่าวว่า คู่แข่งขันที่จะเข้ามาแย่งชิงตลาดโดยการบริการเช่นเดียวกัน คงไม่สามารถทำได้ง่าย พนักงานในบริษัทต้องให้ความร่วม มือในการทำงานเพื่อการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า แต่ปัญหาการแข่งขันในตลาดเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามประกอบกับไม่มีเครื่อง จักรอะไรอาศัยความสามารถของบุคลากรเป็นหลัก บริษัทจึงเข้าร่วมกับหน่วยงานสวทช. เพื่อวางระบบการจัดการคุณภาพพื้นฐานให้กับองค์กร

TFQS เป็นระบบมาตรฐานการจัดการแบบไทยที่สามารถช่วยยกระดับธุรกิจ SME ให้มีมาตร ฐานการจัดการที่ดี ที่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต ช่วยเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความพึงพอใจในสินค้าต่อลูกค้าในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาะสมธุรกิจขนาดเล็ก ที่ต้องการพัฒนาระบบคุณภาพตนเองเป็นการเตรียมตัวเพื่อพัฒนาคุณภาพในระบบ ISO 9001 ต่อไป ซึ่งในอนาคตหากบริษัทต้อง การทำมาตรฐาน ISO 9000 ก็สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

พิสิฐ กล่าวถึงข้อดีของ TFQS ว่านอกจากข้อกำหนดที่ระบบ TFQS กำหนดให้ทุกองค์กรต้องทำ ตามแล้ว บริษัทยังมีความต้องการเพิ่มเติมคือ การจัดระบบให้เป็นไปตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า เช่น เมื่อลูกค้าโทรศัพท์เข้ามาเพื่อถามปัญหา พนักงานต้องสามารถตอบคำถามให้กับลูกค้าได้ แต่หาก ไม่สามารถตอบได้พนักงานจะต้องพยายามหาคำตอบและโทรศัพท์กลับไปบอกลูกค้าให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งการทำเช่นนี้ดูเหมือนไม่ใช่ เรื่องยาก แต่จริงๆ แล้วการทำงาน เป็นเรื่องซับซ้อนมาก ผู้เชี่ยวชาญที่ สวทช.ส่งเข้ามาได้ช่วยวิเคราะห์ปรับ ระบบงาน พร้อมทั้งปรับระบบเอกสาร ระบบธุรการ การบริการลูกค้าให้มีความสัมพันธ์กัน การทำ งานร่วมกันระหว่างบริษัทและผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้คู่มือคุณภาพที่สามารถนำมาใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับบริษัท

สำหรับแผนงานในอนาคตบริษัทอยากพัฒนาระบบคุณภาพขึ้นพื้นฐานให้ดียิ่งขึ้น โดยอาจจะ เป็นการทำระบบมาตรฐาน ISO หรือ TQM ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัท ขณะนี้รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับอุต- สาหกรรมส่งออกด้วยหวังจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ของประเทศได้ และเชื่อว่ากลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีการ นำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้มากขึ้น และเพื่อเตรียมพร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกในอนาคต บริษัทจึงต้องเร่งจัดทำระบบคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.