"เอสโซ่เป็นบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย ถูกปรับ 70 ล้านบาท
เพราะกลั่นน้ำมันเกินกว่าที่จะได้รับอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรม แต่เอสโซ่กลับเจรจาขอจ่ายเป็นเงินบริจาค
เพราะอ้างว่าทำไปเพื่อสนองนโยบายของรัฐ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครเชื่อ และกลับคิดว่านี่เป็นกลยุทธ์ใหม่ของเอสโซ่ต่างหาก..!
เสือน้ำมันฉายาพลังสูงหรือบริษัทเอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทน้ำมันต่างชาติเก่าแก่ในเมืองไทยที่มีอายุกว่า
90 ปีแล้ว ที่พัฒนาจากโรงยางมะตอยมาเป็นโรงกลั่นน้ำมัน จึงเป็นต่างชาติรายเดียวที่มีโรงกลั่นของตัวเองอย่างเบ็ดเสร็จในขณะนี้
เอสโซ่เป็นบริษัทที่มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีแผนเชิงรุกเงียบและรวดเร็วเสมอ
ที่เห็นชัดก็คือ การเคลื่อนไหวชิงการอนุมัติเพื่อขอตั้งโรงกลั่นจากรัฐบาลที่จะอนุมัติเพียงรายเดียวในช่วงปี
2530
ตอนนั้นเอสโซ่ได้ให้ประมุข บุณยะรัตเวช รองกรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหารที่ดูแลด้านจัดหาน้ำมัน
(ปัจจุบันเกษียณแล้ว) ให้เป็นรองกรรมการผู้จัดการเพียงตำแหน่งเดียวเพื่อดูแลและผลักดันโครงการขยายกำลังกลั่นโดยเฉพาะ
และให้สมิทธิ์ เทียมประเสริฐ ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงกลั่นอยู่ขึ้นมาเป็นกรรมการบริหารและดูแลด้านจัดหาแทน
กรณีนี้เป็นที่รู้กันในวงในว่า เอสโซ่มีแผนและเล็งขอขยายกำลังกลั่นก่อนหน้านั้นแล้ว
แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านพลังงานไม่เอื้ออำนวย หลังจากที่มีการลดค่าเงินบาทในปี
2527
เอสโซ่อยู่ในฐานะได้เปรียบ ด้วยเหตุว่ามีโรงกลั่นอยู่แล้ว การขยายกำลังกลั่นนั้นทำได้ง่ายกว่าที่จะลงทุนสร้างใหม่
ขณะเดียวกัน ประมุขเป็นเพื่อนกับพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งมียศพลตรีในเวลานั้น
ยังไม่รวมถึงความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหรัฐที่ผูกพันกันยาวนาน
ซึ่งจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนอีกด้านหนึ่ง
ดังที่กร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในปีนั้นได้กล่าวถึงการขยับตัวของบริษัทน้ำมันต่อโครงการนี้ว่า
"ทางเอสโซ่ได้ยื่นหนังสือ (ขอขยายกำลังกลั่นมาแล้ว) แต่เชลล์ไม่เคยยื่นอะไรเลย"
ขณะที่ฝ่ายเชลล์บอกว่ากำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่
คราวนั้นมีคนสนใจโครงการขยายกำลังกลั่นของประเทศมาก ประกอบกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ศึกษาแนวโน้มดีมานด์ซัพพลายน้ำมันของไทยใหม่
และเห็นว่าควรจะใช้นโยบายให้มีปริมาณซัพพลายเท่ากับหรือมากกว่าดีมานด์ แทนที่จะใช้หลักให้ซัพพลายน้อยกว่าดีมานด์เล็กน้อย
นัยว่าเพื่อช่วยเร่งให้โรงกลั่นแข่งขันกับน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้าเร็วขึ้นจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงนโยบายเปิดให้เชลล์
คาลเท็กซ์ ตั้งโรงกลั่นใหม่ รวมถึงเอสโซ่ที่พลอยฟ้าพลอยฝนได้รับอนุมัติให้ขยายกำลังกลั่นจาก
63,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 185,000 บาร์เรลต่อวัน จนเป็นที่มาของนโยบายเปิดโรงกลั่นเสรีในที่สุด
กว่าเอสโซ่จะตกลงเงื่อนไขสัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรมได้ โดยใช้หลักการเดียวกับเชลล์
คือต้องจ่ายผลประโยชน์ให้รัฐทันที 350 ล้านบาท ซึ่งเอสโซ่เจรจาขอจ่ายแค่
200 ล้านบาทโดยอ้างว่าเอสโซ่ขอในรูปของการเพิ่มกำลังกลั่นที่มีอยู่ ต่างจากเชลล์ที่ตั้งโรงกลั่นใหม่
แต่สุดท้ายเอสโซ่ต้องจำยอมจ่ายเท่ากับเชลล์จ่าย
นอกจากนี้ เอสโซ่ยังได้ขอยกเว้นกฎเกณฑ์เรื่องสัดส่วนหุ้นที่จะนำเข้ากระจายในตลาดหลักทรัพย์
25% โดยอ้างว่าในระยะ 4-5 ปีข้างหน้าเป็นช่วงที่ต้องนำหุ้นของโรงกลั่นทั้งเชลล์และคาลเท็กซ์เข้าตลาดฯ
จึงเกรงว่าประชาชนอาจจะไม่มีอำนาจซื้อเพียงพอ ดังนั้นควรจะให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นแทนซึ่งก็โดนกระทรวงอุตสาหกรรมบอกปัดไปพร้อมทั้งให้เหตุผลว่า
ถ้าประชาชนไม่มีกำลังที่จะซื้อหุ้น รัฐบาลจะเป็นผู้แก้ปัญหาในตอนนั้นเอง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นตัวแทนของรัฐที่เข้าไปถือหุ้นในเอสโซ่ 12.5%
ต่างจากเชลล์ที่กระทรวงอุตสาหกรรมโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นแทน
นั่นก็หมายความว่า "เอสโซ่จะได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องมีคนของรัฐเข้าไปรับรู้ความเป็นไปขององค์กรเพราะทางคลังจะไม่ชำนาญด้านน้ำมัน
ทั้งที่หลักการที่รัฐเข้าไปมีส่วนก็เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของไทยต่อไป
นับเป็นความชาญฉลาดของเอสโซ่" แหล่งข่าวชี้ถึงเขี้ยวเล็บของเอสโซ่ตลอดช่วงของการเจรจาขยายโรงกลั่น
แต่ที่ดูฮือฮาและยืดเยื้อที่สุดก็คือ กรณีที่เอสโซ่ถูกกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งปรับ
70 ล้านบาทฐานกลั่นน้ำมันเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต จนวันนี้เรื่องก็ไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงในรูปใด
ดูเหมือนว่าประเด็นปัญหานี้กลับจะบานปลายออกไป เมื่อผู้ค้าน้ำมันรายอื่นต่างกำลังจับตาเอสโซ่อย่างไม่กระพริบ
โดยเฉพาะเมื่อวิษณุ เครืองาม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว
สรุปความเห็นว่า "กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะคู่สัญญามีอำนาจที่จะยกเว้นค่าปรับให้แก่เอสโซ่
แต่เพื่อมิให้กระทรวงอุตสาหกรรมถูกครหา เห็นควรเสนอ ครม."
ทำให้รัฐบาลยุคอานันท์ ปันยารชุน ในยุคที่ผ่านมาดูจะไม่โปร่งใสเสียแล้ว..!
นั่นก็คือ จากข้อมูลที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับในเบื้องต้น เอสโซ่ได้กลั่นน้ำมันเกินตั้งแต่ช่วงมิถุนายน
2533 - กรกฎาคม 2534 รวมทั้งสิ้น 1,667 ล้านบาร์เรลโดยขออนุญาตล่าช้า
ตามข้อตกลงที่ทำกับกระทรวงอุตสาหกรรม เอสโซ่จะกลั่นน้ำมันในระดับ 63,000
บาร์เรลต่อวัน แต่ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน 2528 - 18 มีนาคม 2533 ได้ขออนุมัติกลั่นเฉลี่ยที่
68,000 บาร์เรลต่อวัน (โปรดดูตาราง "ปริมาณน้ำมันที่เอสโซ่กลั่นเกิน")
ตามเงื่อนไขที่ว่าถ้าจะกลั่นเกิน จะต้องขออนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมก่อน
แต่ช่วงระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน 2533 - 10 กรกฎาคม 2534 เอสโซ่ได้กลั่นเกินซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นที่
77,500 บาร์เรล โดยเพิ่งจะทำหนังสือลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 แจ้งต่อกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งผิดข้อตกลงที่จะต้องขออนุญาตก่อนแล้วจึงกลั่นเพิ่มทีหลัง
เมื่อผิดสัญญาที่ให้ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะต้องถูกปรับเป็นเงิน 10%
ของมูลค่าราคาน้ำมันดิบ เฉพาะส่วนน้ำมันดิบที่กลั่นเกินคิดเป็น 70 ล้านบาท
หรือมีมูลค่าราคาน้ำมันดิบที่กลั่นเกินประมาณ 700 ล้านบาท
อันที่จริง เอสโซ่ได้ขอกลั่นเกินมาตลอด และได้รับอนุญาตทุกครั้ง นัยว่าเพื่อประหยัดเงินตราในประเทศ
แทนที่จะนำน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามา ก็ให้นำน้ำมันดิบเข้ามากลั่นแทน
โดยให้เหตุผลว่า ที่แจ้งช้าเนื่องจากเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่หรือลืมไปนั่นเอง..!
เอสโซ่มองว่าตนน่าจะได้รับการผ่อนปรน เนื่องจากไม่ใช่ความผิดใหญ่ แต่ยังสนองนโยบายของรัฐบาลที่ว่าให้กลั่นสูงสุดและสำรองน้ำมันไว้โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตอ่าวเปอร์เซียเพื่อเป็นหลักประกันว่าน้ำมันจะไม่ขาดแคลน
เอสโซ่ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2534 เพื่อขอยกเลิกค่าปรับโดยอ้างเหตุผลต่าง
ๆ มากมาย
ด้วยหลักคิดอย่างนี้ เอสโซ่โดยสมิทธิ์ เทียมประเสริฐ กรรมการบริหาร DAVID
H. LEDLIE กรรมการผู้จัดการจึงได้ร่วมประชุมหารือกับ ไพจิตร เอื้อทวีกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานอนุกรรมการนโยบายปิโตรเลียม (บอร์ดเล็ก)
ขณะนั้น ศิววงศ์ จังคศิริ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สิปปนนท์ เกตุทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
และ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผอ. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
กระทั่งมีแนวคิดใหม่ออกมา ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่ามีอะไรอึมครึม
โดยเอสโซ่อยากให้รัฐบาลยกเว้นค่าปรับ 70 ล้านบาท แล้วจะบริจาคเงินส่วนหนึ่งให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรม
เพื่อตอบแทนรัฐบาลที่งดค่าปรับ ในฐานะที่เอสโซ่ทำผิดสัญญา
สิปปนนท์เองก็ไม่กล้าตัดสินใจ จึงเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ดเล็ก
โดยทางบอร์ดเล็กซึ่งมีไพจิตรเป็นประธานเห็นว่า ถ้ากระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่าควรปรับก็ไม่ต้องส่งเรื่องมาอีก
แต่ถ้าจะยกเว้น ก็ให้ส่งเรื่องที่วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียแล้วค่อยส่งขึ้นมา
และทางบอร์ดเล็กจะช่วยพิจารณาอีกทอดหนึ่ง
กระทั่งต้องโยนเรื่องกลับไปที่กระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้ง
จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้สะท้อนให้เห็นว่า บอร์ดเล็กมีความเห็นขัดแย้งกับสำนักงานเลขาธิการ
ครม. จะเห็นว่าบอร์ดเล็กมีแนวโน้มว่าน่าจะปรับไปตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มากกว่า
โดยให้สิทธิ์ขาดแก่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นคนตัดสิน ขณะที่สำนักงานเลขาธิการ
ครม. มีความเห็นในเชิงว่า "ควรยกเว้น"
ถ้าดูตามข้อตกลงระหว่างเอสโซ่กับกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าในสัญญาได้ระบุเงื่อนไขเหล่านี้ไว้ชัดเจน
มีการเซ็นชื่อรับกันอย่างถูกต้อง อีกทั้งเอสโซ่จะต้องจ่ายค่าปรับภายใน 30
วัน หลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกระทรวงอุตสาหกรรม
จะเห็นว่า แม้ตอนหลัง สิปปนนท์จะยืนยันอย่างแข็งขันว่า จะไม่ผ่อนปรนค่าปรับก็ตาม
แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นคำสรุปตัดสินสุดท้าย ขณะที่เอสโซ่ก็ยืนกรานที่จะขอผ่อนปรน
เพราะเห็นว่าไม่ใช่ความผิดที่ก่อความเสียหายแก่ประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงต่อของการเปลี่ยนรัฐบาลและ
ครม. ชุดใหม่ ซึ่งก็ยังไม่แน่นักว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะพิจารณาออกมาในลักษณะใด
"เอสโซ่หวังว่าการยืดเวลาออกไปจะทำให้เขาได้รับการผ่อนปรนในที่สุด
เรียกว่าเป็นการซื้อเวลานั่นเอง" แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมชี้ถึงท่าทีของเอสโซ่
"ทีนี้ ถ้ารัฐมนตรีคนใหม่เกิดยกเว้นโทษให้ก็จะยุ่งเหมือนกัน ในเมื่อสิปปนนท์ได้ตัดสินใจไปแล้ว
เพราะเอสโซ่ถือว่าการปฏิบัติของตนนั้นเป็นการทำความดีด้วยซ้ำไป เนื่องจากอยู่ในช่วงวิกฤตอ่าวเปอร์เซียก็ยิ่งเป็นประโยชน์ที่ช่วยกลั่นน้ำมันให้ได้มากที่สุดซึ่งสอดคล้องกับประโยชน์สูงสุดของเอสโซ่ด้วย"
แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องวิจารณ์ พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า พอรู้ว่าจะถูกปรับเอสโซ่ไม่พอใจมากเพราะ
ถึงยังไงกระทรวงอุตสาหกรรมก็ต้องอนุญาตเหมือนทุกครั้ง ถ้าเพียงแต่เอสโซ่ไม่ทำหนังสือขออนุญาตช้าซึ่งถือว่าผิดกติกา
พอเป็นอย่างนี้ เอสโซ่ได้ทำหนังสือชี้แจงด้วยคำพูดที่ต่อว่ากระทรวงอุตสาหกรรม
ว่าเหมือนกับทำคุณบูชาโทษ ซึ่งถ้าเอสโซ่จะใช้ท่าทีอ่อนโยน ขอโทษยอมรับผิด
เชื่อว่าเหตุการณ์คงคลี่คลายกว่านี้มาก ไม่ต้องกลายเป็นข่าวยืดเยื้อ เพราะกระทรวงอุตสาหกรรมใช้อำนาจพิจารณายกโทษได้เต็มที่อยู่แล้ว
แหล่งข่าวอีกรายกล่าวถึงที่มาของภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากโดยปกติแล้ว
เอสโซ่เป็นบริษัทที่มีท่าทีนุ่ม ประนีประนอม จะไม่พยายามทำให้เกิดความขัดแย้งกับใครโดยเฉพาะกับภาครัฐบาล
ขณะที่แหล่งข่าวกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า เอสโซ่อาจจะได้รับอนุญาตจนเคยชิน
จึงคิดว่ายังไงตนก็ต้องได้รับอนุญาตในงวดต่อไปอีก เพราะปริมาณซัพพลายของโรงกลั่นน้อยกว่าความต้องการใช้น้ำมันในระดับวันละกว่าสี่แสนบาร์เรลอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งอยู่แล้ว
ยิ่งในกรณีที่รัฐบาลขอความร่วมมือแล้ว เมื่อผิดพลาดก็ควรให้อภัย
อย่างไรก็ตาม ในวงการน้ำมันไม่เชื่อกันว่าเอสโซ่กลั่นเกินในช่วงหลังนั้นเป็นเพราะความพลั้งเผลอของเจ้าหน้าที่ที่ทำหนังสือขออนุญาตช้า
เนื่องจากภาพของเอสโซ่ที่ออกมานั้นเป็นภาพบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงมากที่สุด
จึงถูกมองว่าไม่น่าจะพลาดในเรื่องเล็กๆ ขนาดนี้ ยิ่งถ้าบอกว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ด้วยแล้ว
ก็เป็นการบอกด้วยเช่นกันว่า การบริหารของเอสโซ่อาจจะมีช่องโหว่อยู่ จึงทำให้มีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้น
ขณะที่โรงกลั่นรายอื่นที่มีอยู่อย่างไทยออยล์หรือบางจากปิโตรเลียม (บางจากฯ)
กลับไม่มีปัญหาอย่างนี้ ซึ่งอาจจะอ้างได้ว่าเพราะไทยออยล์และบางจากฯ ไม่ถูกกำหนดปริมาณการกลั่น
จะกลั่นเกินก็ไม่ถูกปรับ เพราะบางจากฯ เป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนไทยออยล์นั้นเป็นของกระทรวงอุตสาหกรรม
และเปิดให้ดำเนินการในรูปของการเช่า ซึ่งที่สุดแล้วก็ต้องเป็นของรัฐ
แต่เอสโซ่ถูกกำหนดขนาดการกลั่นไว้ไม่เกิน 63,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากช่วงที่ไทยออยล์ขยายโรงกลั่นคือหน่วยกลั่นที่
3 (TOC-3) นั้น รัฐบาลเกรงว่าถ้าให้โรงกลั่นอื่นกลั่นเพิ่มได้ตามอำเภอใจ
จะทำให้ไทยออยล์และบางจากฯ อาจจะขายน้ำมันได้ไม่หมด แต่เวลานี้ตลาดน้ำมันต่างไปจากตลาดเมื่อ
10 ปีก่อนที่ดีมานด์ขยายตัวอย่างรวดเร็วประมาณปีละ 10%
ด้วยภาพพจน์ของเอสโซ่ที่เป็นบริษัททรงประสิทธิภาพ จึงไม่อาจทำให้เชื่อได้ว่าเป็นเพราะพลั้งเผลอ
ดังทีรังสรรค์ สุภาพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์กล่าวว่า "ก็ต้องมีพลาดกันบ้าง"
ดังที่สุภาษิต "สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง"
ประเด็นนี้ดูจะสอดคล้องกับแหล่งข่าวจากเอสโซ่และกระทรวงอุตสาหกรรมอีกรายหนึ่งกล่าวว่า
"โดยนโยบายของ EXXON ซึ่งเป็นบริษัทแม่แล้ว เขาจะไม่ให้บริษัทลูกทำผิด"
เพราะการทำผิดจะทำให้บริษัทเสียชื่อ โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ด้วยแล้วน่าที่จะรักษาชื่อเสียงมากกว่าที่จะเล็งกำไรด้วยลูกเล่นต่างๆ
"แม้ว่าสไตล์อเมริกันจะมุ่งผลประโยชน์สูงสุดในธุรกิจ แต่ก็ต้องทำอย่างมีหลักการและจรรยาบรรณ"
แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งกล่าว "หรือไม่อีกทีถ้าจะทำผิดกฎระเบียบก็ต้องทำแบบแนบเนียน"
"ช่วงนั้นมาร์จิ้นส่วนต่างของน้ำมันดิบกับน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้าจะสูงมากถึง
3 เหรียญต่อบาร์เรลซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดวันเดียวจะได้ส่วนต่างกำไรตรงนี้อย่างแย่ๆ
ก็ไม่น้อยกว่า 4 หมื่นเหรียญต่อวัน คิดเป็นเงินไทยก็ตกเดือนละ 30 ล้านบาท
ถ้าเป็นปีก็ตกกว่า 300 ล้านบาท" แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมชี้ถึงตัวเลขกำไรที่ดึงดูดใจ
ส่วนใหญ่คนในวงการจึงเชื่อว่า เอสโซ่เจตนาแจ้งขออนุญาตล่าช้า เรียกว่าจะปรับก็ยอม
เพราะถ้าต้องจ่ายค่าปรับ 70 ล้านบาท จากการกลั่นที่ 63,000 บาร์เรลต่อวันเพิ่มเป็นปริมาณ
77,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบค่าปรับ 70 ล้านบาทกับกำไรที่ได้ก็คุ้มต่อการที่น่าจะเสี่ยงแจ้งช้าอยู่มาก
แต่ก็จะต้องยอมเสียชื่อส่วนหนึ่ง
เพื่อมิให้มีประวัติการทำผิด เอสโซ่จึงเสนอขอจ่ายเป็นเงินบริจาค นั่นก็เท่ากับเอสโซ่ไม่มีความผิด
ปัญหามีว่าถ้าเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคแทน ผู้ตรวจสอบบัญชีจะยอมหรือไม่
แล้วกระทรวงการคลังจะมีความเห็นอย่างไร เพราะเงินค่าปรับต้องส่งเข้าคลัง
แต่ถ้าเป็นเงินบริจาคก็ต้องเข้ากระทรวงอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ถ้าแม้เอสโซ่ได้รับการผ่อนปรนจ่ายเป็นเงินบริจาค ไม่เพียงแต่เอสโซ่ยิ่งจะเสียภาพพจน์
ทางรัฐบาลก็จะโดนข้อครหาด้วย สู้ยอมรับจ่ายค่าปรับไปดีกว่า แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งข้อสังเกต
"จะเห็นว่าที่ผ่านมาทางบอร์ดเล็กเองก็ไม่อยากยุ่งเรื่องนี้ จึงโยนลูกกลับมาให้กระทรวง
แต่กระทรวงเองก็ไม่กล้าตัดสินใจ ถ้าเข้า ครม. ก็คงลำบากอีกเช่นกัน อยู่ที่ว่า
พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะยอมเสี่ยงในเรื่องนี้หรือไม่
ขณะที่ตอนนี้ตนก็มีปัญหารุมเร้าอยู่มากแล้ว"
ที่สำคัญ ด้วยระบบการกลั่นที่เอสโซ่ยืดหยุ่นได้มาก คือจะกลั่นได้ตั้งแต่
40,000 - 80,000 บาร์เรลต่อวัน โดยระยะหลังนี้ จะกลั่นอยู่ระหว่าง 70,000
- 76,000 บาร์เรลต่อวัน แล้วแต่ว่าช่วงไหนควรจะเลือกกลั่นเท่าไร ด้วยน้ำมันดิบชนิดไหนที่จะให้ประโยชน์สูงบนฐานต้นทุนที่ต่ำที่สุด
เพราะบางช่วงการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอาจจะได้กำไรมากกว่าการกลั่นในประเทศ
งานนี้ เอสโซ่จึงไม่อาจทำให้เข้าใจได้ว่าเกิดขึ้นด้วยความพลั้งเผลอ แต่เชื่อกันว่าเป็นลูกเล่นอีกวิธีหนึ่งมากกว่า..!
ผู้จัดกรรายเดือน พฤษภาคม 2535 หน้า 133-139
ชื่อเรื่อง "ทำไม "เอสโซ่" จึงยอมเสีย 70 ล้านบาท"
คอลัมน์
ผู้เขียน วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
"เอสโซ่เป็นบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย ถูกปรับ 70 ล้านบาท
เพราะกลั่นน้ำมันเกินกว่าที่จะได้รับอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรม แต่เอสโซ่กลับเจรจาขอจ่ายเป็นเงินบริจาค
เพราะอ้างว่าทำไปเพื่อสนองนโยบายของรัฐ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครเชื่อ และกลับคิดว่านี่เป็นกลยุทธ์ใหม่ของเอสโซ่ต่างหาก..!
เสือน้ำมันฉายาพลังสูงหรือบริษัทเอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทน้ำมันต่างชาติเก่าแก่ในเมืองไทยที่มีอายุกว่า
90 ปีแล้ว ที่พัฒนาจากโรงยางมะตอยมาเป็นโรงกลั่นน้ำมัน จึงเป็นต่างชาติรายเดียวที่มีโรงกลั่นของตัวเองอย่างเบ็ดเสร็จในขณะนี้
เอสโซ่เป็นบริษัทที่มีเขี้ยวเล็บแหลมคม มีแผนเชิงรุกเงียบและรวดเร็วเสมอ
ที่เห็นชัดก็คือ การเคลื่อนไหวชิงการอนุมัติเพื่อขอตั้งโรงกลั่นจากรัฐบาลที่จะอนุมัติเพียงรายเดียวในช่วงปี
2530
ตอนนั้นเอสโซ่ได้ให้ประมุข บุณยะรัตเวช รองกรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหารที่ดูแลด้านจัดหาน้ำมัน
(ปัจจุบันเกษียณแล้ว) ให้เป็นรองกรรมการผู้จัดการเพียงตำแหน่งเดียวเพื่อดูแลและผลักดันโครงการขยายกำลังกลั่นโดยเฉพาะ
และให้สมิทธิ์ เทียมประเสริฐ ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงกลั่นอยู่ขึ้นมาเป็นกรรมการบริหารและดูแลด้านจัดหาแทน
กรณีนี้เป็นที่รู้กันในวงในว่า เอสโซ่มีแผนและเล็งขอขยายกำลังกลั่นก่อนหน้านั้นแล้ว
แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านพลังงานไม่เอื้ออำนวย หลังจากที่มีการลดค่าเงินบาทในปี
2527
เอสโซ่อยู่ในฐานะได้เปรียบ ด้วยเหตุว่ามีโรงกลั่นอยู่แล้ว การขยายกำลังกลั่นนั้นทำได้ง่ายกว่าที่จะลงทุนสร้างใหม่
ขณะเดียวกัน ประมุขเป็นเพื่อนกับพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งมียศพลตรีในเวลานั้น
ยังไม่รวมถึงความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหรัฐที่ผูกพันกันยาวนาน
ซึ่งจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนอีกด้านหนึ่ง
ดังที่กร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในปีนั้นได้กล่าวถึงการขยับตัวของบริษัทน้ำมันต่อโครงการนี้ว่า
"ทางเอสโซ่ได้ยื่นหนังสือ (ขอขยายกำลังกลั่นมาแล้ว) แต่เชลล์ไม่เคยยื่นอะไรเลย"
ขณะที่ฝ่ายเชลล์บอกว่ากำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่
คราวนั้นมีคนสนใจโครงการขยายกำลังกลั่นของประเทศมาก ประกอบกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ศึกษาแนวโน้มดีมานด์ซัพพลายน้ำมันของไทยใหม่
และเห็นว่าควรจะใช้นโยบายให้มีปริมาณซัพพลายเท่ากับหรือมากกว่าดีมานด์ แทนที่จะใช้หลักให้ซัพพลายน้อยกว่าดีมานด์เล็กน้อย
นัยว่าเพื่อช่วยเร่งให้โรงกลั่นแข่งขันกับน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้าเร็วขึ้นจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงนโยบายเปิดให้เชลล์
คาลเท็กซ์ ตั้งโรงกลั่นใหม่ รวมถึงเอสโซ่ที่พลอยฟ้าพลอยฝนได้รับอนุมัติให้ขยายกำลังกลั่นจาก
63,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 185,000 บาร์เรลต่อวัน จนเป็นที่มาของนโยบายเปิดโรงกลั่นเสรีในที่สุด
กว่าเอสโซ่จะตกลงเงื่อนไขสัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรมได้ โดยใช้หลักการเดียวกับเชลล์
คือต้องจ่ายผลประโยชน์ให้รัฐทันที 350 ล้านบาท ซึ่งเอสโซ่เจรจาขอจ่ายแค่
200 ล้านบาทโดยอ้างว่าเอสโซ่ขอในรูปของการเพิ่มกำลังกลั่นที่มีอยู่ ต่างจากเชลล์ที่ตั้งโรงกลั่นใหม่
แต่สุดท้ายเอสโซ่ต้องจำยอมจ่ายเท่ากับเชลล์จ่าย
นอกจากนี้ เอสโซ่ยังได้ขอยกเว้นกฎเกณฑ์เรื่องสัดส่วนหุ้นที่จะนำเข้ากระจายในตลาดหลักทรัพย์
25% โดยอ้างว่าในระยะ 4-5 ปีข้างหน้าเป็นช่วงที่ต้องนำหุ้นของโรงกลั่นทั้งเชลล์และคาลเท็กซ์เข้าตลาดฯ
จึงเกรงว่าประชาชนอาจจะไม่มีอำนาจซื้อเพียงพอ ดังนั้นควรจะให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นแทนซึ่งก็โดนกระทรวงอุตสาหกรรมบอกปัดไปพร้อมทั้งให้เหตุผลว่า
ถ้าประชาชนไม่มีกำลังที่จะซื้อหุ้น รัฐบาลจะเป็นผู้แก้ปัญหาในตอนนั้นเอง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นตัวแทนของรัฐที่เข้าไปถือหุ้นในเอสโซ่ 12.5%
ต่างจากเชลล์ที่กระทรวงอุตสาหกรรมโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นแทน
นั่นก็หมายความว่า "เอสโซ่จะได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องมีคนของรัฐเข้าไปรับรู้ความเป็นไปขององค์กรเพราะทางคลังจะไม่ชำนาญด้านน้ำมัน
ทั้งที่หลักการที่รัฐเข้าไปมีส่วนก็เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของไทยต่อไป
นับเป็นความชาญฉลาดของเอสโซ่" แหล่งข่าวชี้ถึงเขี้ยวเล็บของเอสโซ่ตลอดช่วงของการเจรจาขยายโรงกลั่น
แต่ที่ดูฮือฮาและยืดเยื้อที่สุดก็คือ กรณีที่เอสโซ่ถูกกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งปรับ
70 ล้านบาทฐานกลั่นน้ำมันเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต จนวันนี้เรื่องก็ไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงในรูปใด
ดูเหมือนว่าประเด็นปัญหานี้กลับจะบานปลายออกไป เมื่อผู้ค้าน้ำมันรายอื่นต่างกำลังจับตาเอสโซ่อย่างไม่กระพริบ
โดยเฉพาะเมื่อวิษณุ เครืองาม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว
สรุปความเห็นว่า "กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะคู่สัญญามีอำนาจที่จะยกเว้นค่าปรับให้แก่เอสโซ่
แต่เพื่อมิให้กระทรวงอุตสาหกรรมถูกครหา เห็นควรเสนอ ครม."
ทำให้รัฐบาลยุคอานันท์ ปันยารชุน ในยุคที่ผ่านมาดูจะไม่โปร่งใสเสียแล้ว..!
นั่นก็คือ จากข้อมูลที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับในเบื้องต้น เอสโซ่ได้กลั่นน้ำมันเกินตั้งแต่ช่วงมิถุนายน
2533 - กรกฎาคม 2534 รวมทั้งสิ้น 1,667 ล้านบาร์เรลโดยขออนุญาตล่าช้า
ตามข้อตกลงที่ทำกับกระทรวงอุตสาหกรรม เอสโซ่จะกลั่นน้ำมันในระดับ 63,000
บาร์เรลต่อวัน แต่ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน 2528 - 18 มีนาคม 2533 ได้ขออนุมัติกลั่นเฉลี่ยที่
68,000 บาร์เรลต่อวัน (โปรดดูตาราง "ปริมาณน้ำมันที่เอสโซ่กลั่นเกิน")
ตามเงื่อนไขที่ว่าถ้าจะกลั่นเกิน จะต้องขออนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมก่อน
แต่ช่วงระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน 2533 - 10 กรกฎาคม 2534 เอสโซ่ได้กลั่นเกินซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นที่
77,500 บาร์เรล โดยเพิ่งจะทำหนังสือลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 แจ้งต่อกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งผิดข้อตกลงที่จะต้องขออนุญาตก่อนแล้วจึงกลั่นเพิ่มทีหลัง
เมื่อผิดสัญญาที่ให้ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะต้องถูกปรับเป็นเงิน 10%
ของมูลค่าราคาน้ำมันดิบ เฉพาะส่วนน้ำมันดิบที่กลั่นเกินคิดเป็น 70 ล้านบาท
หรือมีมูลค่าราคาน้ำมันดิบที่กลั่นเกินประมาณ 700 ล้านบาท
อันที่จริง เอสโซ่ได้ขอกลั่นเกินมาตลอด และได้รับอนุญาตทุกครั้ง นัยว่าเพื่อประหยัดเงินตราในประเทศ
แทนที่จะนำน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามา ก็ให้นำน้ำมันดิบเข้ามากลั่นแทน
โดยให้เหตุผลว่า ที่แจ้งช้าเนื่องจากเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่หรือลืมไปนั่นเอง..!
เอสโซ่มองว่าตนน่าจะได้รับการผ่อนปรน เนื่องจากไม่ใช่ความผิดใหญ่ แต่ยังสนองนโยบายของรัฐบาลที่ว่าให้กลั่นสูงสุดและสำรองน้ำมันไว้โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตอ่าวเปอร์เซียเพื่อเป็นหลักประกันว่าน้ำมันจะไม่ขาดแคลน
เอสโซ่ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2534 เพื่อขอยกเลิกค่าปรับโดยอ้างเหตุผลต่าง
ๆ มากมาย
ด้วยหลักคิดอย่างนี้ เอสโซ่โดยสมิทธิ์ เทียมประเสริฐ กรรมการบริหาร DAVID
H. LEDLIE กรรมการผู้จัดการจึงได้ร่วมประชุมหารือกับ ไพจิตร เอื้อทวีกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานอนุกรรมการนโยบายปิโตรเลียม (บอร์ดเล็ก)
ขณะนั้น ศิววงศ์ จังคศิริ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สิปปนนท์ เกตุทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
และ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผอ. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
กระทั่งมีแนวคิดใหม่ออกมา ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่ามีอะไรอึมครึม
โดยเอสโซ่อยากให้รัฐบาลยกเว้นค่าปรับ 70 ล้านบาท แล้วจะบริจาคเงินส่วนหนึ่งให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรม
เพื่อตอบแทนรัฐบาลที่งดค่าปรับ ในฐานะที่เอสโซ่ทำผิดสัญญา
สิปปนนท์เองก็ไม่กล้าตัดสินใจ จึงเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ดเล็ก
โดยทางบอร์ดเล็กซึ่งมีไพจิตรเป็นประธานเห็นว่า ถ้ากระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่าควรปรับก็ไม่ต้องส่งเรื่องมาอีก
แต่ถ้าจะยกเว้น ก็ให้ส่งเรื่องที่วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียแล้วค่อยส่งขึ้นมา
และทางบอร์ดเล็กจะช่วยพิจารณาอีกทอดหนึ่ง
กระทั่งต้องโยนเรื่องกลับไปที่กระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้ง
จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้สะท้อนให้เห็นว่า บอร์ดเล็กมีความเห็นขัดแย้งกับสำนักงานเลขาธิการ
ครม. จะเห็นว่าบอร์ดเล็กมีแนวโน้มว่าน่าจะปรับไปตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มากกว่า
โดยให้สิทธิ์ขาดแก่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นคนตัดสิน ขณะที่สำนักงานเลขาธิการ
ครม. มีความเห็นในเชิงว่า "ควรยกเว้น"
ถ้าดูตามข้อตกลงระหว่างเอสโซ่กับกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าในสัญญาได้ระบุเงื่อนไขเหล่านี้ไว้ชัดเจน
มีการเซ็นชื่อรับกันอย่างถูกต้อง อีกทั้งเอสโซ่จะต้องจ่ายค่าปรับภายใน 30
วัน หลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกระทรวงอุตสาหกรรม
จะเห็นว่า แม้ตอนหลัง สิปปนนท์จะยืนยันอย่างแข็งขันว่า จะไม่ผ่อนปรนค่าปรับก็ตาม
แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นคำสรุปตัดสินสุดท้าย ขณะที่เอสโซ่ก็ยืนกรานที่จะขอผ่อนปรน
เพราะเห็นว่าไม่ใช่ความผิดที่ก่อความเสียหายแก่ประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงต่อของการเปลี่ยนรัฐบาลและ
ครม. ชุดใหม่ ซึ่งก็ยังไม่แน่นักว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะพิจารณาออกมาในลักษณะใด
"เอสโซ่หวังว่าการยืดเวลาออกไปจะทำให้เขาได้รับการผ่อนปรนในที่สุด
เรียกว่าเป็นการซื้อเวลานั่นเอง" แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมชี้ถึงท่าทีของเอสโซ่
"ทีนี้ ถ้ารัฐมนตรีคนใหม่เกิดยกเว้นโทษให้ก็จะยุ่งเหมือนกัน ในเมื่อสิปปนนท์ได้ตัดสินใจไปแล้ว
เพราะเอสโซ่ถือว่าการปฏิบัติของตนนั้นเป็นการทำความดีด้วยซ้ำไป เนื่องจากอยู่ในช่วงวิกฤตอ่าวเปอร์เซียก็ยิ่งเป็นประโยชน์ที่ช่วยกลั่นน้ำมันให้ได้มากที่สุดซึ่งสอดคล้องกับประโยชน์สูงสุดของเอสโซ่ด้วย"
แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องวิจารณ์ พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า พอรู้ว่าจะถูกปรับเอสโซ่ไม่พอใจมากเพราะ
ถึงยังไงกระทรวงอุตสาหกรรมก็ต้องอนุญาตเหมือนทุกครั้ง ถ้าเพียงแต่เอสโซ่ไม่ทำหนังสือขออนุญาตช้าซึ่งถือว่าผิดกติกา
พอเป็นอย่างนี้ เอสโซ่ได้ทำหนังสือชี้แจงด้วยคำพูดที่ต่อว่ากระทรวงอุตสาหกรรม
ว่าเหมือนกับทำคุณบูชาโทษ ซึ่งถ้าเอสโซ่จะใช้ท่าทีอ่อนโยน ขอโทษยอมรับผิด
เชื่อว่าเหตุการณ์คงคลี่คลายกว่านี้มาก ไม่ต้องกลายเป็นข่าวยืดเยื้อ เพราะกระทรวงอุตสาหกรรมใช้อำนาจพิจารณายกโทษได้เต็มที่อยู่แล้ว
แหล่งข่าวอีกรายกล่าวถึงที่มาของภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากโดยปกติแล้ว
เอสโซ่เป็นบริษัทที่มีท่าทีนุ่ม ประนีประนอม จะไม่พยายามทำให้เกิดความขัดแย้งกับใครโดยเฉพาะกับภาครัฐบาล
ขณะที่แหล่งข่าวกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า เอสโซ่อาจจะได้รับอนุญาตจนเคยชิน
จึงคิดว่ายังไงตนก็ต้องได้รับอนุญาตในงวดต่อไปอีก เพราะปริมาณซัพพลายของโรงกลั่นน้อยกว่าความต้องการใช้น้ำมันในระดับวันละกว่าสี่แสนบาร์เรลอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งอยู่แล้ว
ยิ่งในกรณีที่รัฐบาลขอความร่วมมือแล้ว เมื่อผิดพลาดก็ควรให้อภัย
อย่างไรก็ตาม ในวงการน้ำมันไม่เชื่อกันว่าเอสโซ่กลั่นเกินในช่วงหลังนั้นเป็นเพราะความพลั้งเผลอของเจ้าหน้าที่ที่ทำหนังสือขออนุญาตช้า
เนื่องจากภาพของเอสโซ่ที่ออกมานั้นเป็นภาพบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงมากที่สุด
จึงถูกมองว่าไม่น่าจะพลาดในเรื่องเล็กๆ ขนาดนี้ ยิ่งถ้าบอกว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ด้วยแล้ว
ก็เป็นการบอกด้วยเช่นกันว่า การบริหารของเอสโซ่อาจจะมีช่องโหว่อยู่ จึงทำให้มีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้น
ขณะที่โรงกลั่นรายอื่นที่มีอยู่อย่างไทยออยล์หรือบางจากปิโตรเลียม (บางจากฯ)
กลับไม่มีปัญหาอย่างนี้ ซึ่งอาจจะอ้างได้ว่าเพราะไทยออยล์และบางจากฯ ไม่ถูกกำหนดปริมาณการกลั่น
จะกลั่นเกินก็ไม่ถูกปรับ เพราะบางจากฯ เป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนไทยออยล์นั้นเป็นของกระทรวงอุตสาหกรรม
และเปิดให้ดำเนินการในรูปของการเช่า ซึ่งที่สุดแล้วก็ต้องเป็นของรัฐ
แต่เอสโซ่ถูกกำหนดขนาดการกลั่นไว้ไม่เกิน 63,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากช่วงที่ไทยออยล์ขยายโรงกลั่นคือหน่วยกลั่นที่
3 (TOC-3) นั้น รัฐบาลเกรงว่าถ้าให้โรงกลั่นอื่นกลั่นเพิ่มได้ตามอำเภอใจ
จะทำให้ไทยออยล์และบางจากฯ อาจจะขายน้ำมันได้ไม่หมด แต่เวลานี้ตลาดน้ำมันต่างไปจากตลาดเมื่อ
10 ปีก่อนที่ดีมานด์ขยายตัวอย่างรวดเร็วประมาณปีละ 10%
ด้วยภาพพจน์ของเอสโซ่ที่เป็นบริษัททรงประสิทธิภาพ จึงไม่อาจทำให้เชื่อได้ว่าเป็นเพราะพลั้งเผลอ
ดังทีรังสรรค์ สุภาพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์กล่าวว่า "ก็ต้องมีพลาดกันบ้าง"
ดังที่สุภาษิต "สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง"
ประเด็นนี้ดูจะสอดคล้องกับแหล่งข่าวจากเอสโซ่และกระทรวงอุตสาหกรรมอีกรายหนึ่งกล่าวว่า
"โดยนโยบายของ EXXON ซึ่งเป็นบริษัทแม่แล้ว เขาจะไม่ให้บริษัทลูกทำผิด"
เพราะการทำผิดจะทำให้บริษัทเสียชื่อ โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ด้วยแล้วน่าที่จะรักษาชื่อเสียงมากกว่าที่จะเล็งกำไรด้วยลูกเล่นต่างๆ
"แม้ว่าสไตล์อเมริกันจะมุ่งผลประโยชน์สูงสุดในธุรกิจ แต่ก็ต้องทำอย่างมีหลักการและจรรยาบรรณ"
แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งกล่าว "หรือไม่อีกทีถ้าจะทำผิดกฎระเบียบก็ต้องทำแบบแนบเนียน"
"ช่วงนั้นมาร์จิ้นส่วนต่างของน้ำมันดิบกับน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้าจะสูงมากถึง
3 เหรียญต่อบาร์เรลซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดวันเดียวจะได้ส่วนต่างกำไรตรงนี้อย่างแย่ๆ
ก็ไม่น้อยกว่า 4 หมื่นเหรียญต่อวัน คิดเป็นเงินไทยก็ตกเดือนละ 30 ล้านบาท
ถ้าเป็นปีก็ตกกว่า 300 ล้านบาท" แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมชี้ถึงตัวเลขกำไรที่ดึงดูดใจ
ส่วนใหญ่คนในวงการจึงเชื่อว่า เอสโซ่เจตนาแจ้งขออนุญาตล่าช้า เรียกว่าจะปรับก็ยอม
เพราะถ้าต้องจ่ายค่าปรับ 70 ล้านบาท จากการกลั่นที่ 63,000 บาร์เรลต่อวันเพิ่มเป็นปริมาณ
77,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบค่าปรับ 70 ล้านบาทกับกำไรที่ได้ก็คุ้มต่อการที่น่าจะเสี่ยงแจ้งช้าอยู่มาก
แต่ก็จะต้องยอมเสียชื่อส่วนหนึ่ง
เพื่อมิให้มีประวัติการทำผิด เอสโซ่จึงเสนอขอจ่ายเป็นเงินบริจาค นั่นก็เท่ากับเอสโซ่ไม่มีความผิด
ปัญหามีว่าถ้าเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคแทน ผู้ตรวจสอบบัญชีจะยอมหรือไม่
แล้วกระทรวงการคลังจะมีความเห็นอย่างไร เพราะเงินค่าปรับต้องส่งเข้าคลัง
แต่ถ้าเป็นเงินบริจาคก็ต้องเข้ากระทรวงอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ถ้าแม้เอสโซ่ได้รับการผ่อนปรนจ่ายเป็นเงินบริจาค ไม่เพียงแต่เอสโซ่ยิ่งจะเสียภาพพจน์
ทางรัฐบาลก็จะโดนข้อครหาด้วย สู้ยอมรับจ่ายค่าปรับไปดีกว่า แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งข้อสังเกต
"จะเห็นว่าที่ผ่านมาทางบอร์ดเล็กเองก็ไม่อยากยุ่งเรื่องนี้ จึงโยนลูกกลับมาให้กระทรวง
แต่กระทรวงเองก็ไม่กล้าตัดสินใจ ถ้าเข้า ครม. ก็คงลำบากอีกเช่นกัน อยู่ที่ว่า
พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะยอมเสี่ยงในเรื่องนี้หรือไม่
ขณะที่ตอนนี้ตนก็มีปัญหารุมเร้าอยู่มากแล้ว"
ที่สำคัญ ด้วยระบบการกลั่นที่เอสโซ่ยืดหยุ่นได้มาก คือจะกลั่นได้ตั้งแต่
40,000 - 80,000 บาร์เรลต่อวัน โดยระยะหลังนี้ จะกลั่นอยู่ระหว่าง 70,000
- 76,000 บาร์เรลต่อวัน แล้วแต่ว่าช่วงไหนควรจะเลือกกลั่นเท่าไร ด้วยน้ำมันดิบชนิดไหนที่จะให้ประโยชน์สูงบนฐานต้นทุนที่ต่ำที่สุด
เพราะบางช่วงการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอาจจะได้กำไรมากกว่าการกลั่นในประเทศ
งานนี้ เอสโซ่จึงไม่อาจทำให้เข้าใจได้ว่าเกิดขึ้นด้วยความพลั้งเผลอ แต่เชื่อกันว่าเป็นลูกเล่นอีกวิธีหนึ่งมากกว่า..!