ทรานสแพ็ค-เวสต์บรู๊ค บุกไทย


นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

นอกจากการขาดสภาพคล่องของบริษัทแล้ว ทัศนคติความเป็นมิตรของประเทศไทย ที่มีการปฏิบัติต่อบริษัทต่างชาติอย่างเท่าเทียมกับบริษัทท้องถิ่นในประเทศ เป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในรูปแบบร่วมลงทุน (venture capital) จากต่างประเทศถ่ายเทเข้ามาในประเทศมากขึ้น

เศรษฐกิจกำลังฟื้น การออกมาสู่การลงทุนในรูปแบบ venture capital ในไทยเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมตามความถนัดของเหล่ากิจการผู้ถือหุ้น เนื่องด้วย อัตราการเติบโตอันล่อตาล่อใจ

ปัจจัยสำคัญการเข้ามาลงทุน คือ ปัจจัยระดับประเทศ ซึ่งจะพิจารณา ความเสี่ยงของประเทศ (country risk) ซึ่งมีความสำคัญต่อธุรกิจ venture capital มากเพราะเป็นการลงทุนโดยตรง ที่อาศัยระยะเวลายาวนาน

อีกทั้งปัจจัย ที่แสดงถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คือ ระบบเศรษฐกิจ และตลาดทุน ซึ่งนักลงทุนจะให้ความสำคัญด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมบรรดา venture capital จึงรอโอกาส ที่จะเข้าลงทุนอย่างเช่นในไทย ทั้งในแง่ของ จำนวนบริษัท และมูลค่า การลงทุน เหตุผลคือ ความมั่นคง และจังหวะ ที่เริ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นช่วง ที่ไทยกำลังฟื้นตัว

"ปี 1997-1998 ตอนนั้น ยังไม่มีเวลาลงทุน แต่ช่วงนี้เป็นเวลาลงทุน และน่าสนใจ" อลัน ซี วาย แคม (Alan C. Y. Cam) ผู้จัดการใหญ่ทรานสแพ็คประจำประเทศไทยกล่าว

ล่าสุด ทรานสแพ็ค แคปปิตอล (Transpac Capital) แห่งสิงคโปร์ และ เวสต์บรู๊ค เอเชีย แอล แอล ซี (West brook Asia L.L.C) บริษัทลูกของ เวสต์ บรู๊ค พาร์ทเนอ ร์ แอล แอล ซี (West brook Partner L.L.C) แห่งอเมริกา เข้าลงทุนในประเทศไทย

ฝ่ายแรกทุ่มทุนกว่าล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการลงทุนในบริษัทสยามทูยู จำกัด ผู้ที่ให้บริการเว็บท่าแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่เน้นกลยุทธ์การให้บริการ อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่บนไซต์ท่า siam 2you.com

ฝ่ายหลังเข้าร่วมลงทุนใน บมจ. อัมรินทร์ พลาซ่า (AMARIN) ผู้ดำเนินธุรกิจให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้า และสำนักงาน และบริหารธุรกิจ โรงแรม โดยลงทุน 32.76 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,245 ล้านบาท) ผ่านการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของอัมรินทร์

ความแตกต่างของทั้งสองบริษัท คือ นโยบายการลงทุน โดย ทรานสแพ็คในอดีตจะเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมอะไรก็ได้ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ แต่ช่วงหลังๆ หันมาลงทุนในกิจการเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และธุรกิจ ที่กำลังปรับโครงสร้างหนี้หรือกำลังเพิ่มทุน หรือแม้ธุรกิจ ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บริหาร

ขณะที่เวสต์บรู๊คมีนโยบายการร่วมลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเดียว ซึ่งการเข้ามาลงทุนในอัมรินทร์ถือเป็นครั้งแรกสำหรับการทำธุรกิจในไทย โดยมีนโยบายเลือกการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่มีผลตอบแทนที่ดีที่สุด คือ จะเข้าลงทุนในช่วง ที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุด และสังเกตเห็นการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ "เมื่อเห็นสิ่งเหล่านี้ จะเข้าไปลงทุน" สุชาติ เจียรานุสสติกรรมการผู้จัดการเวสต์บรู๊ค เอเชีย บอก

บริษัท ทั้งสองเลือกลงทุนย่อมมีศักยภาพในการเติบโตสูง การพิจารณากลุ่มอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญโดยตรงต่อกิจการนั้น ๆ ถ้าอุตสาหกรรม นั้น มีการเติบโตก็น่าจะส่งผลถึงกิจการด้วย แต่ถ้าหากเป็นอุตสาหกรรม ที่โตเต็มี ที่แล้ว แม้ว่าการบริหารมีศักยภาพไม่มากก็ยังพอใจกับมาร์จินได้

จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมนักลงทุนจึงพิจารณากลุ่มอุตสาหกรรมก่อน ส่วนผลกำไร และ turnover นั้น ไม่ใช่สิ่งที่คำนึงถึงมากที่สุด

สำหรับการเลือกลงทุนของ ทรานสแพ็ค และเวสต์บรู๊คข้อกำหนดทั่วไป มุ่ง ที่กิจการที่มีศักยภาพ และความเป็นไปได้ในอนาคตในการเพิ่มยอดขาย และกำไร ในส่วนของขนาดกิจการ (size) ยังไม่มีความชัดเจน

นั่นหมายความว่าขนาดไม่ค่อยสำคัญ แต่การทำกำไรสำคัญมาก โดยเฉพาะผลตอบแทนจากการลงทุนหรือ IRR จะมีความสำคัญ ซึ่งทั้งอลัน แคม และสุชาติตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "จะต้องได้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 20%"

ประสบการณ์ ที่ผ่านมาของทรานส แพ็คได้รับผลตอบแทน ที่สูงกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ เช่น ขายหุ้นจากการลงทุนใน บมจ.ล่ำสูง (ประเทศไทย) และ Bangkok Synthetics "เราได้ผลตอบแทนประมาณ 30%" อลัน แคมบอก

สำหรับการพิจารณาถึงบริษัทเป้าหมาย สิ่งแรก ที่มองคือ กิจการต้องมีการบริหารจัดการที่ดี (well ma-nage) ความสามารถของผู้บริหารมีผลต่อการอยู่รอดของกิจการ เนื่องจากการผันแปรสภาพทางธุรกิจนั้น ไม่สามารถคาดเดาได้ และเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หรือเกิดอย่างฉับพลัน ผู้บริหารจึงต้องจัดการต่อสภาวะนั้น หรือปัญหา ที่เกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ดี บางครั้งจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารด้วยแม้ว่านโยบายการดำเนินงานโดยรวมจะไม่เปลี่ยนแปลง " หลังจากเราเข้ามาร่วมทุน กับ อัมรินทร์จะแต่งตั้งกรรมการบริษัท และกรรมการบริหารตามสัดส่วนการถือหุ้น และร่วมกำหนดนโยบาย ที่สำคัญต่างๆ" สุชาติกล่าว

ด้านทรานสแพ็คมีนโยบายว่าหากเป็นการร่วมทุนในบริษัท ที่กำลังปรับโครงสร้างหนี้จะต้องเข้าไปถือหุ้นมากกว่า 50% " เพื่อต้องการควบคุม หรือ ที่เรียกว่า control investing" อลัน แคม กล่าว

สำหรับลักษณะการลงทุนของกิจการ venture capital โดยทั่วไปแล้ว เป็นการลงทุนโดยตรงในกิจการทั้งใน และนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงในระยะเวลา ที่กำหนด ซึ่งระยะเวลายาวนานจะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของผู้ลงทุน ที่จะยอมรับได้

บริษัท ที่เป็น venture capitalist ส่วนใหญ่ภายหลังจากการร่วมลงทุนระยะหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็น 10 ปีจะมีหนทางถอนตัว (exit) เพื่อหากำไรจากการลงทุน "อายุของกองทุนประมาณ 10 ปีเป็นเวลา ที่ไม่นาน อย่าลืมว่าช่วง 1-2 ปีแรกเป็นเวลาลงทุน จากนั้น จะเป็นระยะเวลา ที่สร้างผลตอบแทน ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่ 3-7" เพราะถ้าใช้เวลานานกว่านั้น แล้วไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ "เราจะนอนไม่หลับแน่" สุชาติบอก

ผลของการถอนตัวจะนำมา ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการทำกำไรอย่างระมัดระวัง เพื่อมิให้กระทบต่อราคาของหุ้นในตลาดกรณี ที่ กิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ส่วนความผันผวนของตลาดหุ้นในช่วงนี้ไม่น่าจะมีผลต่อนักลงทุนเหล่านี้ เพราะไม่ได้ต้องการกำไรระยะสั้น ทั้งนี้การลงทุนมิได้มุ่งผลที่ได้จากรายได้ของกิจการ คือ เงินปันผล และดอกเบี้ยรับ

ทว่ามุ่ง ที่ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (capital gains) จะเห็นได้ว่าคล้ายการออกกองทุนปิดโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ดังนั้น นักลงทุนจึงมีความเข้าใจถึงลักษณะการลงทุนเป็นอย่างดี

จุดเด่นของ venture capital อีกอย่างคือ แนวคิดในการลงทุน ที่พิจารณาตลาดแต่ละแห่งในลักษณะ ที่มีสภาวะแวดล้อมต่างกัน เช่น ปัจจัยการเมือง เศรษฐกิจ แนวโน้มของค่าเงิน และ โดยเฉพาะภาวะ ที่เกี่ยวกับนโยบายการเงิน

สำหรับประเทศไทยนักลงทุนเหล่านี้เห็นว่าความโดดเด่นของตลาด คือ ความมีประสิทธิภาพในแง่ของการเคลื่อนย้ายเงินทุน (fund mobilization) เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ผลตอบแทน ที่คาดหวัง ที่ต่างพากันคาดว่าจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลานั้น ๆ เพราะการประเมินค่าจะต่างกันไป ดังนั้น จึงเป็นสิ่งท้าทายในตลาดไทย ที่จะต้องหามูลค่า ที่แท้จริงของบริษัทนั้น ว่าอยู่ระดับใดกันแน่สำหรับการลงทุนระยะยาว ซึ่งความเสี่ยง ที่มีนั้น นักลงทุนย่อมพิจารณาว่าคุ้มกับผลตอบแทน ที่ได้หรือไม่ เพราะความจริงโอกาสทั้งในด้านบวก และลบก็มีสูงเช่นกัน



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.