ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการช่องข่าว "เนชั่นชาแนล" ทางช่อง
8 ของยูบีซี ท่ามกลางอุณหภูมิความขัดแย้งไอทีวี
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า สัญญาณแรกของช่องข่าว "เนชั่น ชาแนล" จะถูกแพร่ภาพ
ทางช่อง 8 ของยูบีซี เวลาเ ที่ยงตรงของวันที่ 1 มิถุนายน
สมาชิกของยูบีซีจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด มีเงื่อนไขว่า
จะต้องเป็นสมาชิกแบบโกลด์แพ็กเกจเท่านั้น ซึ่งสมาชิกประเภทนี้ก็คิดเป็นสัดส่วน
90% ของสมาชิกทั้งหมด
แต่เดิมยูบีซีตั้งใจจะเก็บค่าดูจากสมาชิกเพิ่มเดือนละประมาณ 200- 300 บาท
เป็นในลักษณะของช่องพิเศษ แต่มาช่วงหลังเกิดเปลี่ยนแผนใหม่ เพราะเนชั่นเองก็กลัวว่า
การผลิตข่าวในเคเบิลทีวีคนดูก็จำกัดอยู่แล้ว หากเก็บเงินเพิ่มแล้ว ก็ยิ่งเป็นการจำกัดจำนวนคนดูมากขึ้นไปอีก
และการจะให้สมาชิกควักเงินเพิ่มคงเป็นเรื่องยาก ลำพังแค่เพิ่มยอดสมาชิกในแต่ละเดือน
ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนหน้านี้ยูบีซีเองก็เคยจะทดลองทำมาแล้วแต่ก็ต้องล้มเลิก
ไปในที่สุด
"ถ้าต้องเสียสตางค์เพิ่มคนไม่ค่อยดู ตอนแรกสองจิตสองใจ เกือบจะมาเป็นช่องพรีเมียม
แต่ดูไปดูมา บอกไม่เอาหรอก ซึ่งถ้าทำแบบนี้ ก็เท่ากับว่า เราช่วยเขาด้วย"
ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป บอกกับ
"ผู้จัดการ"
ข้อตกลง ที่ทำไว้ ก็คือ เนชั่นจะเป็นผู้ลงทุนในด้านการผลิตข่าวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรอุปกรณ์
เพื่อ ที่จะได้มีอิสระในการดำเนินงานเอง 100%
"ยูบีซีเขาให้เรา 1 ช่อง และเราใส่ content และเขาช่วยค่าใช้จ่ายเรา เพราะเราไม่มีค่าสมาชิก
ฉะนั้น เขาต้องช่วยเรา ซึ่งเราก็ตกลงกันมาหลายเดือนแล้ว"
สมพันธ์ จารุมิลินท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มยูบีซี เล่าว่า การที่นำเอาช่องข่าว
"เนชั่น ชาแนล" มาอยู่ในโกลด์แพ็กเกจ จะต้องให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ข่าวต่างประเทศเดิม
อย่างซีเอ็นเอ็นยินยอมก่อน เนื่องจากช่องข่าวของเนชั่น จะมีข่าวต่างประเทศรวมอยู่ด้วย
แต่ ที่นำมาอยู่ นโกลด์แพ็กเกจก็ไม่ได้ผิดสัญญา ที่ทำกับช่องข่าวเหล่านั้น
ส่วนผลประโยชน์ ที่จะได้รับนั้น สมพันธ์บอกแต่เพียงว่า เป็นการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน
ซึ่งไม่ได้บอกรายละเอียดว่า จะมาจากทางใดบ้าง แต่ส่วนหนึ่งจะมาจากการหาผู้สนับสนุนรายการ
และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้สนับสนุนรายการ
ด้วยเหตุนี้ เนชั่นชาแนลจึงกำหนดช่วงไพรม์ไทม์ของช่องไปอยู่ ที่เวลา 3 ทุ่ม
เพื่อไม่ต้องการชนกับช่วงข่าวของฟรีทีวี ที่เริ่มต้นตั้งแต่ 6 โมง เย็น จนถึง
2 ทุ่ม
และโจทย์ของเนชั่น ก็คือ จะทำอย่างไรกับสมาชิกของยูบีซี ที่มีอยู่ 3 แสนราย
ให้หันมาดูช่องข่าวของเนชั่นชาแนล คำตอบของเนชั่นก็คือ การมุ่งเน้นการเป็นสถานีข่าวสำหรับชุมชน
และเน้นรูปแบบการเป็น Interactive ทีวี นั่นก็คือ การที่ต้องให้คนดูมีส่วนร่วม
ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น หรือการทำโพล
กองบรรณาธิการข่าวของเนชั่นชาแนลจะเน้นเอาผู้สื่อข่าว ที่มีประสบการณ ์
ที่ผ่านงานมาจากหลายสำนัก โดยจะมีอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนากิจ อดีตบรรณาธิการบริหารของกรุงเทพธุรกิจเป็นบรรณาธิการบริหาร
จะว่าไปแล้ว การจัดตั้งทีมข่าวนี้ ก็คล้ายกับการเริ่มต้นทีมข่าวของไอทีวี
ที่ทีมงานนั้น มาจาก สำนักข่าวหลายสังกัด และวิธีการทำข่าว ก็เหมือนกับการทำข่าวในหนังสือพิมพ์
แต่แพร่ภาพทางทีวี
ยกเว้นทีมผู้ประกาศข่าวเท่านั้น ที่จะเป็นหน้าใหม่ ที่สุทธิชัย หยุ่น ตั้งใจจะปั้นให้เป็นทีมงานข่าว
"เจนเนอเรชั่นใหม่" ที่เตรียมแจ้งเกิดในเวลาไม่ช้านี้
ช่องข่าวเนชั่นชาแนลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมา เพื่อตอบสนองกลไกทางธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เพราะการประสานประโยชน์ร่วมกันในอนาคต
เนชั่นต้องการวางตัวเองเป็น "content provider" ที่ผลิตข่าวป้อนให้ กับ
สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง การลงทุนในไอทีวี และยูบีซี เนชั่นวางบทบาทในเรื่อง
ข่าวแตกต่างกันไป
"ถ้าเปรียบแล้ว ไอทีวีเป็นเหมือน กับ สวนจตุจักร ทุกคนจะเลือกซื้ออะไรก็ได้
เหมือนกับฟรีทีวี ที่ทุกคนจะหาดูอะไรก็ได้ แต่เนชั่นทีวีเหมือนกับห้างเอ็มโพเรี่ยม
ที่นั่นคนต้องมีสตางค์ สินค้าจะมีราคา เป็นห้างติดแอร์ให้เดินดูของ" สุทธิชัย
หยุ่น เปรียบเทียบการลงทุนใน ไอทีวี และการผลิตข่าวในเคเบิลทีวี
การเป็น content provider ของเนชั่น ไม่ได้หมายถึงฟรีทีวี หรือ เคเบิลทีวีเท่านั้น
แต่ยังหมายถึงการผลิต ข่าวดาวเทียมสำหรับป้อนภูมิภาค ไม่ใช่ เพียงแค่ในประเทศเท่านั้น
แต่เป้าหมายในอนาคตของเนชั่น คือ การผลิตข่าว ป้อนตลาดระดับภูมิภาคผ่านทีวีดาวเทียม
เหมือนอย่างที่ CNN หรือ NBC ทำอยู่ในเวลานี้
"เรามองว่า เราไม่ได้เป็นสถานีโทรทัศน์ เรามองว่า เราคือ content provider
ช่องไหนเอาไปใช้ได้หมด เราไม่ได้ไปผูกติดกับเคเบิลทีวี หรือฟรีทีวี เรา ป้อนให้หมด"
ธนาชัยบอก
และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำไม เนชั่นจึงมีข่าวภาคภาษาอังกฤษ ทุกต้นชั่วโมง
ที่ไม่ใช่แค่สร้างความแตกต่าง หรือใช้ content ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เท่านั้น
"ทีวีดาวเทียม ถ้าเราทำได้ ทุนเราจะต่ำ เพราะฟุทเทจเรามีอยู่แล้ว ทำไมต้องให้ต่างประเทศมารู้ข่าวเมืองไทย
หรือดูข่าวภูมิภาคนี้จาก NBC หรือ CNN ถ้าเราทำได้ จะมีฟรีทีวี ที่ให้ต่างประเทศ
และนักท่องเที่ยว ที่มาเมือง ไทย ประเทศอื่นเขามีช่องภาษาอังกฤษ"
สำหรับยูบีซี แน่นอนว่า การเพิ่ม ช่องข่าวเนชั่นชาแนล เ ป็นเพราะยูบีซี
ต้องการให้เป็นทางเลือกใหม่ให้กับสมาชิกเลือกดูข่าว และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยูบีซี
ที่จะทำให้สมาชิกใหม่มีการตัดสินใจสมัครสมาชิกได้เร็วขึ้น
แต่การที่ยูบีซียอมให้มีช่องข่าวใหม่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ยูบีซียังมีช่องข่าวของตัวเอง
และยังคงแพร่ภาพอยู่เหมือนเดิม
แหล่งข่าวในยูบีซีบอกว่า เนื้อหาของช่อง 7 จึงจะเป็นการรายงานข่าว ตามสถานการณ์ทั่วไป
ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ช่อง 8 ของเนชั่น จะเป็นข่าว ประเภทวิเคราะห์เจาะลึกมากกว่า
ตามสไตล์ของ เนชั่น ซึ่งยูบีซีจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่อง เนื้อหา หรือการผลิตข่าวเป็นอิสระของเนชั่น
ที่จะผลิตข่าวได้เองเต็มที่
ต้องไม่ลืมว่า ทีเอ มีโครงข่าย ไฟเบอร์ออพติก และธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่ยังไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเหมือนกับค่ายของชินคอร์ป
จัสมิน ล็อกซเล่ย์
และนี่เอง เป็นสาเหตุที่ทำไมช่อง เนชั่นชาแนลจึงเกิดขึ้น และยูบีซีเอง
ก็พร้อมจะผลักดันอย่างเต็มที่ เพราะไม่ว่าจะเป็นทีเอ ชิน หรือใครต่อใครก็รู้ว่า
สิ่งที่ทุกคนไม่มี ก็คือ content
งานนี้ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ คงไม่ต้องเดินทางไปอาคารเนชั่น
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ก่อนหน้าแถลงข่าว เปิดตัวอย่างเป็นทางการเพียงวันเดียว
เพื่อให้สัมภาษณ์สำหรับการแจ้งเกิดของเนชั่นชาแนลในวันที่ 1 มิ.ย.นี้