จากประสบการณ์และข้อมูลที่เก็บสะสมมาตลอด 3 ปีของการเป็นผู้สื่อข่าว อดีตนักข่าวของสำนักข่าวไทยผู้นี้
กำลังจะผันตัวเองจากลูกจ้างไปเป็น "เถ้าแก่" ในธุรกิจดอทคอม
"ผมลาออกแล้ว จะมาทำธุรกิจส่วนตัว" เขาบอกกับผู้บริหารของบริษัท venture
capital คนหนึ่งสั้นๆ ในงานพบปะระหว่างนักธุรกิจดอทคอมกับ venture capital
ซึ่งครั้งนี้ชีพธรรม คำวิเศษณ์ไม่ได้มาร่วมงานในฐานะของผู้สื่อ ข่าวเหมือนเช่นเคย
แต่เขามาในฐานะของผู้ที่กำลังเป็นเจ้าของธุรกิจดอท คอม
ก่อนหน้านี้ ชีพธรรมทำงานเป็นผู้สื่อข่าวให้กับสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
ทำรายการวิทยุไอที 100.5 และเป็นพิธีกรในรายการด้านไอที ช่วง เช้าตรู่ของช่อง
9 มาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีเต็ม
ในฐานะของผู้สื่อข่าว ทำให้เขาต้องติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารใหม่ๆ ตลอดเวลา
เพื่อนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ให้กับผู้ฟัง ยิ่งในโลกของอินเทอร์เน็ตด้วยแล้ว การติดตามข่าวสารให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่อง
ที่จำเป็นมาก
"จัดรายการวิทยุ ทำให้ผมรู้เยอะมาก เพราะรายการมีเวลาให้ถึง 2 ชั่ว โมง
ทุกวันผมต้องหาข้อมูล ต้องอ่ านหนังสือเยอะ ฟอร์จูน บิสซิเนสวีค ซึ่ง เขาจะนำเสนอข่าวเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตมาสรุปให้คนอ่านฟัง
เพื่อให้เขาได้รับรู้ข้อมูลใหม่"
การรับรู้เรื่องราวของ venture capital ก็เกิดขึ้นภายในกระบวนการหาข้อมูล
เพื่อการทำข่าวเหล่านี้ เนื้อหาในหนังสือต่างประเทศมีรายงานข่าวเกี่ยวกับบทบาทของ
venture capital ที่มีต่อธุรกิจดอทคอมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และก็เป็นช่วงเวลาเดียวกับ
ที่เว็บไซต์ sanook. com ของปรเ มศวร์ มินศิริ ก็เพิ่งถูก บริษัทเอ็มเว็บ
ประเทศไทยซื้อไป ทำให้ชีพธรรม เริ่มเสาะแสวงหาคำตอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง
"เพราะอย่างที่รู้กัน yahoo เองก็มี venture capital เป็นคนให้เงินทุนมาก่อน
ที่จะเติบโตมาได้ขนาดนี้ ช่วงนั้น มีธุรกิจอินเทอร์เน็ตใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา
ผมก็เริ่มเห็นแล้วว่า venture capital เป็นยังไง ก็มาศึกษาเกี่ยวกับการทำ
business plan ว่าเขาทำยังไง"
ใครจะรู้ว่า ด้วยข้อมูลที่เขาสะสมมา และประสบการณ์เหล่านี้จะกลายเป็นช่องทาง
ที่ทำให้ชีพธรรมก้าวไปสู่การเป็น "เถ้าแก่" ในธุรกิจดอทคอม ที่เปิดกว้างเสมอสำหรับคนที่มีไอเดียที่ดี
ไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนก้อนใหญ่ เป็นโอกาส ที่โลกธุรกิจใบเก่าไม่มี
ชีพธรรมเริ่มมาพบว่า ด้วยข้อจำกัดในเรื่องกฎระเบียบของการเป็นองค์กรราชการของช่อง
9 ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ รวมถึง เหตุผลในเรื่องของเงินเดือนข้าราชการที่น้อยมาก
โอกาส ที่เขาจะสร้างเนื้อสร้างตัวในอาชีพนักข่าวจึงเป็นเรื่องยาก ทำให้ชีพธรรมต้องเลือกเส้นทางใหม่
สิ่งที่เขาค้นพบก็คือ ข้อมูลกับการมาของ venture capital และประสบการณ์
ที่เขาได้ตลอด 3 ปีเต็ม คือ คำตอบของการก้าวไปสู่การเป็นเถ้าแก่ในธุรกิจดอทคอม
"คนที่มางาน angle night ทั้งหมด คือ ลูกค้าของผม" คำกล่าวของ ชีพธรรม ที่ยกตัวอย่างถึงกลุ่มลูกค้าในอนาคต
สิ่งที่เขาได้รับรู้จากข้อมูลที่แล้วมา ก็คือ บริษัทดอทคอม ที่กำลังเกิดขึ้น
อีกมากมายในตลาดเมืองไทย เหมือนอย่างที่เคยเกิดในต่างประเทศ ซึ่งเขา จะมีส่วนร่วมในคลื่นลูกใหม่นี้
เว็บไซต์ thaiventure.com เป็นชื่อโดเมนเนม ที่ชีพธรรมไปจดไว้ตั้งแต่ปี
2541 ช่วง ที่เขาเริ่มศึกษาเกี่ยวกับ venture capital ใหม่ๆ และเป็นชื่อ
ที่เขาจะใช้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งชีพธรรมได้รวบรวมสมัครพรรคพวกน้องชาย เพื่อนฝูงอีก
6 คนที่เป็นคนหนุ่มมีประสบการณ์ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตมาร่วมกันจัดตั้งเป็นบริษัท
ความตั้งใจของชีพธรรม คือ ต้องการทำให้เว็บไซต์นี้ เป็นจุดที่จะเชื่อมโยงผู้ประกอบการของไทย
โดยเฉพาะรายย่อยกับแหล่งเงินทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นไอเดีย ที่เขาได้มาจาก
garage.com ในต่างประเทศ ที่ให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการในการที่จะหา venture
capital
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ นอกเหนือจากจากข่าวสารทั่วไป ที่เป็นข่าวเกี่ยวกับ
ไอที เป้าหมายหลักของเว็บไซต์นี้ คือ การเป็นเสมือน tool อย่างหนึ่ง ที่ให้ผู้ประกอบการเป็นห้อง
Netrepreneurs room ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการปรับมุมมอง กับการเปิดรับ vc
เข้ามาลงทุน เช่น แบบทดสอบของความเป็นผู้ประกอบการ หรือตัวอย่างของ business
plane แบบออนไลน์ให้ลองทำ รวมถึงการรวบรวมรายชื่อของบรรดาธุรกิจ start up
ที่มาลงทะเบียนพร้อมกับรวบรวม ที่ปรึกษา ที่จะช่วยแนะนำ
เนื้อหาอีกส่วน จะเป็นเรื่อ งของ Investor room จะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับนักลงทุน
มีรายชื่อของ vc ที่ลงทะเบียน กับ thaiventure.com รวมถึง บริการข้อมูลรายชื่อ
ที่เกี่ยวกับธุรกิจที่ปรึกษาด้านบริหารธุรกิจที่ปรึกษาด้าน บัญชี ธุรกิจ
ประกันภัย ธุรกิจประชาสัมพันธ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ ทำเว็บไซต์
กลุ่มเป้าหมายของเขาคือ เด็กนักเรียนอายุ 15 ปี จนถึงระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงบรรดาผู้ประกอบธุรกิจ
SME ที่มีไอเดียดีๆ ที่ต้องการนำไอเดียไปพัฒนา
"เราจะเป็นตัวกลาง เป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้ประกอบการรายย่อย และ venture
capital ที่จะเข้ามาหาข้อมูล เพื่อ ที่จะลงทุนในไอเดียใหม่ๆ หรือ นักศึกษา
ที่มีไอเดียดีๆ และเมื่อดีลเกิดขึ้น เกิดธุรกิจดอทคอมขึ้นมา เราจะได้มีรายได้จากโฆษณา
และรายได้ต่อเนื่อง ที่กลับเข้ามา"
ชีพธรรมรู้ดีว่า สิ่งที่น่าวิตกที่สุดของธุรกิจดอทคอม คือ มีแต่ไอเดีย แต่ไม่มีทางทำเงินได้
การหารายได้จากโฆษณาเว็บไซต์ จึงไม่ใช่เป้าหมายของเขา
โมเดลธุรกิจ ที่เขาสร้างขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแสวงหารายได้จากธุรกิจบนเว็บไซต์โดยตรง
แต่เว็บไซต์ thaiventure.com จะเป็นเพียง "สื่อ" หนึ่งของการเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น
จำเป็นต้องมีสื่อเก่ามาร่วมด้วย
"ยังไงก็ตาม สื่อเก่าก็ยังต้องมีบทบาทเหมือนเดิม ยังไงๆ ธุรกิจดอท คอมเมื่อเกิดขึ้น
ก็ต้องอาศัยสื่อเก่าในการโฆษณา และประชาสัมพันธ์อยู่ดี มันเป็นปรากฏการณ์
ที่เห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณาทีวี หรือ วิทยุ ที่มีโฆษณาดอทคอมเพิ่มขึ้นมาก"
ชีพธรรมจะใช้ประสบการณ์ดั้งเดิมของเขาในการเช่าเวลาสถานีวิทยุ คลื่น 104
เพื่อจั ดรายการวิทยุ เป็นอีก "สื่อ" หนึ่งเกี่ยวกับไอที และ venture capital
จะจัดทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมงเต็ม รายได้จากโฆษณา ที่ได้จากการทำรายการ วิทยุ
นำมาใช้หล่อเลี้ยงเว็บไซต์อีกครั้งหนึ่ง รวมถึงบริการรับจดโดเมนเนมให้เช่า
hosting ซึ่งเขาเชื่อว่า เป็นธุรกิจ "ต้นน้ำ" ของอินเทอร์เน็ต ที่จะมาช่วยสร้างรายได้
นอกจากนี้ กิจกรรม ที่เขาจะทำควบคู่ไปกับการทำ "สื่อ" บนเว็บ และ วิทยุก็คือ
การจัดสัมมนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้น ให้เกิดไอเดียใหม่ๆ
และเป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่าง venture capital และไอเดียแมนเหล่านี้
จะว่าไปแล้ว แนวความคิดของชีพธรรม ไม่แตกต่างไปจากเทคแ ปซิฟิก ของฮ่องกง
ที่ทำธุรกิจเป็นตัวกลางในการที่จะกลั่นไอเดียให้เป็นเงิน เป็นตัวกลางให้ไอเดียแมนได้พบกับ
venture capital และเมื่อมีการลงทุนเกิดขึ้น สิ่งที่เทคแปซิฟิกได้รับ ก็คือ
ส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมของการเป็นตัวกลางของดีล ที่เกิดขึ้น
"ถ้าเป็นในแง่ของ venture capital เราก็เป็นคนกลั่นกรองไอเดียเหล่านั้น
ให้เขาขั้นหนึ่งก่อนว่า ไอเดียเหล่านี้ดีแค่ไหน จากนั้น เป็นเรื่องของ venture
capital ที่จะไปตัดสินใจ ซึ่งถ้าเขาลงทุนเราจะได้เปอร์เซ็นต์มาบางส่วน"
ไอเดียใหม่ๆ ที่เขาจะได้มานั้น จะมาจากเด็กนักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
ทั่วเมืองไทย ซึ่งเขาเชื่อว่า จะยังมีไอเดียที่ดีอยู่อีกมาก และ เขาจะเป็นตัวกลางในการดึงเอาไอเดียแมนเหล่านั้น
มาทำให้เกิดเป็นธุรกิจได้จริง
ชีพธรรม เริ่มต้นธุรกิจด้วยมือเปล่า เงินสะสม ที่มีอยู่ต้องใช้หนี้ให้กับ
อ.ส.ม.ท. ที่เขากู้เงินไป เงินทุนก้อ นแรก 50,000 บาท ที่ใช้ในการเริ่มต้นธุรกิจ
ชีพธรรมได้มาจาก "คนรู้จัก" เงินก้อนนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น
สิ่งที่ชีพธรรมต้องทำต่อ ก็คือ การหา venture capital และหากทำได้สำเร็จ
นอกเหนือจากเ งินทุน ที่ได้มาใช้ในการสร้างธุรกิจ ประสบการณ์นี้จะเป็นใบเบิกทาง
ที่จะใช้ในการทำธุรกิจได้โดยตรง
ชีพธรรมเชื่อมั่นว่า จากประสบการณ์ และ connection จะทำให้เขานำพาธุรกิจไปได้ตลอดรอดฝั่งได้ไม่ยากนัก
แต่หากไม่ประสบความสำเร็จ สำหรับชีพธรรมแล้ว ก็คือ การกลับ ไปเขียนหนังสือ
โดยใช้ประสบการณ์จากความล้มเหลวเป็นวัตถุดิบในการทำ หนังสือขายอีกที เวลาเท่านั้น
จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า อดีตนักข่าววัย 2 8 ปีผู้นี้ จะเป็นเถ้าแก่ธุรกิจดอทคอม
หรือกลับไปนั่งเขียนหนังสือขาย