หลายคนบอกว่างานนี้เป็นชัยชนะของแบงก์กรุงเทพ
วันนั้น 30 กันยายน 2534 บอร์ดใหญ่ของบีโอไอซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่งได้ตัดสินให้บริษัท
ทุนเท็กซ์ ไต้หวันเป็นผู้ชนะในโครงการพีทีเอ เฉือนอโมโก้จากสหรัฐอเมริกาไปอย่างลอยลำทั้งที่เดิมอโมโก้เป็นตัวเต็งที่ทุกฝ่ายเห็นว่าเขาจะคว้าชัยชนะในครั้งนี้
เนื่องจากอโมโก้เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและเป็นผู้ครองตลาดพีทีเอ
มากกว่า 50% ของโลก
สำหรับโครงการพีทีเอของไทยนั้นเป็นหนึ่งในโครงการขั้นกลางของปิโตรเคมีระยะที่
2 ซึ่งจะรับพาราไซลีน วัตถุดิบหลักของโรกอะโรเมติกส์ และตัวพีทีเอนั้นเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ
โดยประมาณการว่าต้องการใช้อย่างต่ำ 250,000 ตันต่อปี
เหตุที่ต้องเปิดคัดเลือกเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากบริษัท ไทยพีทีเอ จำกัด
ถอนตัวออกไปโดยอ้างเหตุผลของความไม่คุ้มทุนและสหยูเนี่ยน หนึ่งในผู้ร่วมทุนหลักไม่พร้อมที่จะเพิ่มทุน
บีโอไอจึงเปิดคัดเลือกใหม่ โดยถือหลักการว่าจะไม่เน้นเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประมูลจะเสนอให้รัฐเหมือนคราวแรกแต่จะดูความเป็นไปได้ของโครงการเป็นสำคัญ
ความชำนาญเฉพาะในด้านปิโตรเคมีของอโมโก้จึงเป็นจุดได้เปรียบที่ต่างเล็งกันว่าคงจะนำชัยในคราวนี้
แม้แต่เอ็ดวินชอย ผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังให้ความเห็นต่อนักข่าวหลายคนว่า
ข้อเสนอขงอโมโก้ดีมาก
พอเอาเข้าจริง ทุกอย่างกลับพลิกหน้ามือเป็นหลังเท้า
แต่ก็มีข้อสังเกตอยู่วาโชติ โสภณพนิช กรรมการบริหารของแบงก์กรุงเทพกล่าวว่า
มั่นใจต่อชัยชนะครั้งนี้ถึง 60% ซึ่งสอดคล้องกับคำตัดสนิของบีโอไอ
โดยชีระ ภาณุพงศ์ เลขาธิการบีโอไอกล่าวก่อนหน้านั้นว่าเงื่อนไขพอ ๆ กัน
ตัดสินใจยาก
ถ้าเปรียบเทียบเงื่อนไขที่ทำให้ทุนเท็กซ์ได้โครงการนี้ไป ทั้งที่แหล่งข่าวจากบีโอไอรายหนึ่งกล่าวก่อนการตัดสินว่า
"อโมโก้น่าจะได้รับเลือกอย่างแน่นอน"
นั่นก็เพราะว่า ข้อเสนอของอโมโก้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขาที่บีโอไอกำหนดเมื่อวันนที่
16 กรกฎาคม 2534 หลายประเด็น
เช่น ไม่ขอรับข้อผูกพันที่จะรับซื้อพาราไซลีนจากโรงอะโรเมติกส์ในราคาไม่ต่ำกว่า
1.25 เซ็นต์ต่อปอนด์ไม่ให้คำมั่นว่าจะสร้างโรงงานเสร็จและเริ่มผลิตก่อนโรงอะโรเมติกส์ได้
3 เดือน หรือไม่
ขณะเดียวกัน ก็ผนวกข้อความเพิ่มเติมด้วยว่า ถ้าโรงอะโรเมติกส์สร้างเสร็จช้ากว่าโรงพีทีเอ
อโมโก้จะขอนำเข้าพาราไซลีนจากต่างประเทสด้วยตัวเอง ทำให้บอร์ดบีโอไอรับไม่ได้
นอกจากนี้อโมโก้ยังขอรับสิทธิพิเศษคือขอยกเว้นภาษีวัตถุดิบ 50%
ขณะที่ทุนเท็กซ์เสนอเงื่อนไขได้ตรง และยังเปิดทางให้รัฐบาลเจรจาต่อรองระยะเวลาการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุด
7 ปี และไม่ขอรับสิทธิพิเศษการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ
ข้อเสนอเหล่านี้ทำให้ทุนเท็กซ์ซึ่งแม้จะดูเป็นรายเล็ก แต่ก็เป็นประเภท
"เล็กพริกขี้หนู"
สำหรับทุนเท็กซ์ในไต้หวันนั้นโด่งดังมาก โดยเริ่มกิจการจากอุตสาหกรรมสิ่งทอครบวงจร
ตั้งแต่การผลิตเส้นโพลีเอสเตอร์ ทอ ฟอก ย้อม และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ส่งออกไปทั่วโลก
จากนั้นก็ขยายไปสู่ธุรกิจพัฒนาที่ดินจนเป็นมีชื่อเสียงด้านนี้เป็นอย่างดีในระยะเพียง
10 ปี ยังไม่รวมไปถึงการขยายไปสู่ธุรกิจค้ารถยนต์ ธุรกิจค้าปลีกในรูปของดีพาร์ตเมนสโตร์หรือซูเปอร์มาร์เก็ต
ตลอดนถึงธุรกิจท่องเที่ยว
เฉพาะด้านสิ่งทอและปิโตรเคมีนั้น ทุนเท็กซ์ได้ก่อตั้งบริษัททุนเท็กซ์ (ประเทศไทย)
ขึ้นมาดำเนินการโรงงานผลิตโพลีเอสเตอร์ ซึ่งจากใช้วัตถุดิบคือ อีจีและพีทีเอ
การณ์ครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของทุนเท็กซ์ที่จะขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่น
ซึ่งไทยนับเป็นอันดับที่ 4 หลังจากที่ทุนเท็กซ์ได้ลงทุนในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย
และสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้
โรงงานพีทีเอในไทยนั้น ชอยยืนยันว่า "จะเริ่มผลิตได้ภายในปี 2537
แน่นอน โดยจะมีลักษณะและรุปแบบเช่นเดียวกับโรงงานพีทีเอในไต้หวันที่กำลังเริ่มดำเนินการ
วิธีการนี้จะช่วยย่นระยะเวลาให้น้อยลงอีกหนึ่งปีเป็นอย่างน้อย จะใช้เทคโนโลยี
MONTEDISON ของอิตาลีซึ่งได้รับถ่ายทอดจากอโมโก้อีกต่อหนึ่งและจะเปิดคัดเลือกผู้รับเหมาในกลางปี
2535"
ดังนั้น ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีแล้วก็ไม่ต่างกัน
แต่อโมโก้จะเสียเปรียบในประเด็นว่า ไม่มีประสบการณ์ในย่านนี้มาก่อน จึงไม่มีโรงงานที่จะเป็นแบบมาสร้างในไทยได้ทันทีอย่างทุนเท็กซ์
ถ้าจะยกแบบจากยุโรปมาใช้ในไทย จากสภาพที่ต่างกันทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและองค์ประกอบของโรงงาน ซึ่งต้องเพิ่มทั้งต้นทุนและเสียเวลามากขึ้นอีกหลายเท่า
โดยเฉพาะปัจจัยด้านเวลา ทำให้อโมโก้ไม่แน่ใจว่าตนจะสร้างโรงงานได้เสร็จทันเวลาที่บีโอไอกำหนดหรือไม่
ทางด้านกำลังการผลิต ทุนเท็กซ์กำหนดไว้ 350,000 ตันต่อปี 40% จะป้อนบริษัทของตน
และอีก 60% จะขายให้โรงงานเส้นใยสังเคราะห์รายอื่นในประเทศเป็นหลัก
ส่วนอโมโก้เสนอไปที่ 250,000 ตันต่อปีและจะเพิ่มอีกปีละ 50,000 ตันต่อปีใน
2 ปีแรก ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตรวมเป็น 350,000 ตันต่อปีเช่นเดียวกับทุนเท็กซ์
ความต่างของข้อเสนอสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องราคา
ชอยยืนยันว่า ทุนเท็กซ์พร้อมที่จะรับซื้อพาราไซลีนจากโรง อะโรเมติกส์ในราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาตลาดโลกไม่เกิน
1.25 เซ็นต์ต่อปอนด์ เทียบกับราคาพาราไซลีนที่ซื้อขายในภูมิภาคนี้ปัจจุบันต่ำกว่าราคาตลาดโลกระหว่าง
1.25 ถึง 3 เซ็นต์ต่อปอนด์ "เป็นราคาต้นทุนที่บริษัทรับได้แน่นอน ไม่อย่างนั้นเราคงไม่รับเงื่อนไข"
ขณะที่อโมโก้ขอต่อรองเงื่อนไขราคาเพราะไม่แน่ว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า ราคาพาราไซลีนอาจจะต่างจากปัจจุบัน
หากรับเงื่อนไขก็เท่ากับผูกมัดตนเอง จึงเป็นธรรมดาของบริษัทใหญ่ทำธุรกิจมาช้านาน
จำเป็นต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ
"นี่เป็นความต่างของบริษัทใหญ่จากฝั่งสหรัฐฯและยุโรป เขาจะรับหลักการและข้อตกลงที่มั่นใจว่าทำได้เรียกว่าต้องแน่นอน
แต่อย่างไต้หวันก็มีแบบฉบับของตนเองตามแบบของประเทศที่พัฒนาใหม่ในอุตสาหกรรมหนัก
จะเรียกว่าไม่มีแบบแผนก็ไม่เชิงแต่จะละเอียดน้อยกวา เรียกว่าขอให้ได้ก่อน
เงื่อนไขใดทำไม่ได้ก็ค่อยต่อรองกันทีหลัง ก็เป็นสไตล์แบบไทย ๆ และจีน ๆ "
แหล่งข่าวจากวงการปิโตรเคมีเปิดเผย "ผู้จัดการ"
จะเห็นได้จากคำพูดของชอยที่ว่า "ถ้าโรงอะโรเมติกส์เสร็จช้า คิดว่ารัฐบาลคงยอมให้เราพีทีเอเสร็จก่อนโรงอะโรเมติกส์ซึ่งตอนนี้ยังสรุปไม่ได้ว่าจะเอายังไง
รัฐบาลก็ต้องยอมให้นำเข้าพาราไซลีนชั่วคราวจนกวาโรงอะโรเมติกส์จะผลิตไดแต่สไตล์ฝรั่งเขาต้องการคำพูดที่ชัดเจน"
แหล่งข่าวเปรียบเทียบถึงสไตล์ของ 2 ค่าย
ประสบการณ์และสไตล์ที่ต่างกัน จึงทำให้ทุนเท็กซ์และไปโดยปริยาย
เมื่อทุนเท็กซ์ได้รับคัดเลือกแล้ว ก็กำหนดตั้งบริษัททุนเท็กซ์ปิโตรเคมิคัล
(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรับผิดชอบโครงการพีทีเอ
ผู้ถือหุ้นประกอบด้วยบริษัท ทุนเท็กซ์ (ไต้หวัน) 49% และบริษัท ทุนเท็กซ์
(ประเทศไทย) 51%
สำหรับทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ถือหุ้นใหญ่โดยทุนเท็กซ์จากไต้หวัน
49% ทีเหลือประกอบด้วยแบงก์กรุงเทพ โชติ โสภณพนิช บริษัท มารูเบนี่ (ประเทศไทย)
และบริษัท คอนฟิเด้นท์ โฮลดิ้ง รายละ 10% และรายย่อยอื่น ๆ
เท่ากับว่าทุนเท็กซ์ไต้หวันมีหุ้นในบริษัท ทุนเท็กซ์ ปิโตรเคมิคัล (ประเทศไทย)
กว่าครึ่ง ทั้งที่บีโอไอกำหนดเงื่อนไขในข้อ 1.4 ว่าต้องมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า
51% ทำให้มีเสียงวิจารณ์ถึงความไม่รอบคอบของบีโอไอ
ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งก็คือ "ตอนนี้บีโอไอและรัฐบาลรู้สึกว่า ใครจะทำก้ได้
ขอให้มีคนทำก็เอาไปเลย มิฉะนั้นแล้วก็จะถูกวิพาก์อยู่เรื่อยว่า ทำไมโครงการนี้ไม่เกิดสักที
ทั้งที่หลายคนก็ไม่แน่ใจว่าทุนเท็กซ์จะปฏิบัติตามโดยเฉพาะในเรื่องเงื่อนไขราคาได้หรือไม่
ก็คิดกันว่า ขอให้ทำไปก่อน มีปัญหาก็ค่อยแก้ไขทีหลัง" แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ถึงเบื้องหลัง
ทั้งนี้ทุนเท็กซ์จะต้องส่งหนังสือยืนยันว่าจะดำเนินการโรงงานพีทีเอแน่นอนในวันที่
30 ตุลาคม 2534 อีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การที่ตัดสินให้ทุนเท็กซ์ได้ก็ดีไปอย่าง "ภาพของรัฐบาลภายใต้การนำของอานันท์
ปันยารชุน เรพาะสหยูเนี่ยนเป็นหนึ่งในผู้ร่วม ในหลักของอโมโก้" แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว
อีกประเด็นหนึ่งที่คนมองข้ามไปก็คือ เป็นการขยายข่ายธุรกิจการลงทุนและการของแบงก์กรุงเทพไปสู่ปิโตรเคมีเต็มตัวหลังจากที่เคยพลาดโครงการนี้มาแล้ว
พร้อมกันนั้นก็เป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแบงก์กรุงเทพกับไต้หวันและอินโดนีเซียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ก่อนที่กลุ่มนี้จะผงาดบนเวทีธุรกิจปิโตรเคมีในภูมิภาคนี้อย่างทระนง
"จะเห็นว่าแบงก์กรุงเทพไปลงทุนในอินโดนีเซียมาตั้งแต่หลายทศวรราก่อน
เมื่อมีโอกาสก็จับมือกับกลุ่ม พี.ที.บรันตามูเลียกับบุญนำ บุญนำทรัพย์ เจ้าพ่อสิ่งทอรุ่นที่สองของไทยลงทุนโรงงานผ้าใบยางรถยนต์
ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบจากขบวนการปิโตรเคมี ตลอดจนร่วมหอลงโรงกับทุนเท็กซ์ตั้งโรงงานโพลีเอสเตอร์ในนิคมมาบตาพุด
ซึ่งทุนเท็กซ์ได้ไปลงทุนด้านสิ่งทอในอินโดนีเซียก่อนหน้านี้แล้ว ทั้ง 3 ฝ่ายจึงกลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน"
แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว
โครงการนี้จึงกลายเป็นการก้าวกระโดดของแบงก์กรุงเทพในธุรกิจการลงทุนและการเงินด้านปิโตรเคมีอย่าางไม่คาดฝัน