เพียง 7 ปี ฟิลาเท็กซ์ก็ถูกกลุ่มเอกธนกิจเทคโอเวอร์ไปเรียบร้อย ในราคากว่า
200 ล้านบาท หลังจากประสบปัญหาขาดทุน เอกธนกิจนำฟิลาเท็กซ์ซื้อท่าจีนต่อในราคา
255 ล้าน โดยคาดหวังว่าทรัพย์สินของท่าจีนจะสามารถทำกำไรให้แก่ฟิลาเท็กซ์ปีละกว่า
10 ล้าน ฟิลาเท็กซ์เป็นบริษัทในตลาดหุ้นขณะที่เอกธนกิจเข้าไปเกี่ยวขอ้งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ถึงร้อยละ
35 ของพอร์ตโฟริโอ ประเด็นคือกลุ่มเอกธนกิจซื้อฟิลาเท็กซ์ไปทำไม….
วิลเลียม เช็อกส์เปียร์เคยเขียนนวนิยาย "โรเมโอแอนด์จูเลียต"
ไว้สุดแสนโรแมนติกยิ่งนัก ฉากเหตุการณ์เมื่อตัวละครเอก โรเมโอต้องพลัดพรากจากจูเลียต
สาวคนรัก สร้างความรู้สึกปวดร้าวในจิตวิญญาณของผู้อ่านได้ดีมาก
เช็อกส์เปียรืได้สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนไหวทางจิตวิญญาณที่เป็นธาตุแท้ของมนุษย์ว่า
ในห้วงภวังค์ของความรัก การได้สัมผัสใกล้ชิดกับสิ่งที่รัก เป็นปิติทางจิตวิญญาณที่ทุกคนอยากได้รับและเมื่อต้องพลัดพรากจากกัน
ก็เป็นสิ่งที่ปวดร้าว
พูดแบบชาวพุทธก็ต้องบอกว่า สัจธรรมที่เช็กส์เปียร์เสนอไว้ในนิยายเรื่องนี้
เป็นเพราะคนเรามักตกอยู่ในเงามืดของกิเลสมีการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนรัก
เมื่อต้องพลัดพราก ก็เศร้าเสียใจ
ชาวพุทธจึงเสนอว่า การละวางซึ่งกิเลส และการหลุดพ้นจากจิตใจที่ยึดมั่นถือมั่น
คือมรรควิธีที่จะนำไปสู่ความสงบทางจิตวิญญาณในทุกสภาวะ
แต่โลกธุรกิจ มักมีข้อเท็จจริงที่สวนทางกับชาวพุทธเสมอขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เช็กส์เปียร์สร้างไว้ในฉากนิยายอมตะของเขาหลายเรื่อง
ไม่ว่าจะเป็น "พ่อค้าแห่งนครเวนิช" ที่เช็กส์เปียร์ได้สร้างตัวละครอย่าง
"ไชล้อค" พ่อค้ายิวที่แสนจะละโมบจิตวิญญาณเต็มไปด้วยกิเลส
ปัญหาของโลกธุรกิจที่เกิดขึ้นในทุกตลาด มักเหมือนกันในประเด็นที่ว่าจะมีหนทางอย่างไรที่จะสร้างระบบธุรกิจให้ตั้งอยู่บนรากฐานของความสมดุล
ระหว่างความต้องการกำไรกับข้อเรียกร้องทางศีลธรรม
บางกรณี อาจพบนักธุรกิจอย่างสมพงศ์ นครศรีแห่งกลุ่มอุตสาหกรรมบางกอกเคเบิลบุญยงค์
ว่องวาณิชแห่งกลุ่มอุตสาหกรรมแอลพีแลบอราตอรี่ ที่กำลังดำเนินธุรกิจบนรากฐาน
ของความสมดุลระหว่างความต้องการกำไรกับข้อเรียกร้องทางศีลธรรมได้อย่างกลมกลืนน่าพิศวง
ทั่วไปแล้ว สังคมธุรกิจจะเต็มไปด้วยการแสวงหากำไรซึ่งเป็นผลทางรูปธรรมที่แสดงออกของความผูกมัดต่อผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นในฐานะเจ้าของบริษัท
และสิ่งนี้คือมาตรฐานของความถูกต้องที่ใช้วัดถึงคุณธรรมที่ผู้บริหารแสดงออกต่อสังคมภายนอก
เหตุการณ์การเข้าซื้อกิจการบริษัทฟิลาเท็กซ์ของปิ่น จักกะพากแห่งกลุ่มเอกธนกิจเมื่อต้นตุลาคม
จุดมุ่งหมายสำคัญก็อยู่ที่การแสวงหาผลประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นของกลุ่มเอกธนกิจ
บริษัทเอกภาคและเอกธนกิจคือ 2 บริษัทที่เข้าซื้อฟิลาเท็กซ์ในสัดส่วนหุ้นร้อยละ
74 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด การซื้อขายครั้งนี้ได้กระทำผ่านตัวแทนผู้ซื้อคือเจเอฟ
ธนาคมและตัวแทนผู้ขายคือธนชาติ
การซื้อขายตกลงกันในราคาหุ้นละ 30.50 บาท ซึ่งหมายความว่าเอกภาคและเอกธนกิจ
ได้ลงทุนซื้อทรัพย์สินและหนี้สินของฟิลาเท็กซ์ด้วยวงเงินประมาณ 230 ล้านบาท
การชำระเงินค่าหุ้นคงจะกระทำกันเสร็จสิ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้านับจากวันเซ็นสัญญาตกลงในหลักการ
เอกภาคลงทุนซื้อในสัดส่วนสูงสุดประมาณร้อยละ 64 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นของเอกธนกิจ
ความจริงแล้ว เอกภาคมีความสัมพันธืเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเอกธนกิจในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นกลุ่มเดียวกัน
ผู้ถือหุ้นของเอกภาคทั้งหมดเป็นสถาบันคือบริษัทร่วมบริหารธุรกิจและบิลบิส
(ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนของเอกธนกิจที่จัดตั้งขึ้น) บริษัทเอกธนกิจ และพาริบาส์
เอสอีเอ (สิงคโปร์)
เอกภาคจัดตั้งขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียนสูงถึง 150 ล้านเพื่อใช้เป็นแขนขาในการลงทุนในธุรกิจอื่น
ๆ ที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมการเงินให้เอกธนกิจ เนื่องจากกฎหมายเงินทุนไม่อนุญาตให้บริษัทเอกธนกิจสามารถลงทุนในกิจการอื่น
ๆ นอกเหนือจากการเงินมากกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนในกิจการนั้น ๆ ด้วยเหตุผลเพื่อมิให้ภาระความเสี่ยงจากการลงทุนเกิดขึ้นกับเอกธนกิจมากเกินไป
กระนั้นก็ตามเนื่องจากเอกภาคและเอกธนกิจมีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน ผู้ซื้อฟิลาเท็กซ์
ที่แท้จริงก็คือเอกธนกิจที่มีปิ่นจักกะพากเป็นหัวเรือใหญ่นั่นเอง
ปิ่น โดยพื้นฐานเป็นวาณิชธนการที่สั่งสมประสบการณ์มาจากฝ่ายธนาคารสถาบัน่ของเชสแมนฮัตตันแบงก์(กรุงเทพฯ)
ก่อนหน้าที่เขาจะเข้ามารับผิดชอบเต็มตัวในบริษัทเงินทุนยิบอินซอยของครอบครัวเมื่อ
10 ปีก่อน
และด้วยประสบการณ์ที่มองธุรกิจการเงินในอนาคตว่าวาณิชธนกิจจะเป็นสิ่งสำคัญในตลาดการเงินที่ความต้องการในตลาดจะมีสูงขึ้น
ทำให้เขาเห็นลู่ทางการสร้างบริษัทเงินทุนยิบอินซอยให้มีช่องทางเฉพาะ (MARKET
NICHE) ของตัวเอง โดยวิธีการจับคู่กับพาร์ตเนอร์ต่างประเทศที่มีเครือข่ายและความชำนาญในธุรกิจวาณิชธนกิจ
สิ่งนี้คือที่มาของการฟื้นกิจการบริษัทเงินทุนยิบอินซอยเมื่อปี 2527 หลังจาก
"กลุ่มพาริบาส์" แห่งฝรั่งเศส เข้าร่วมลงทุนประมาณ 17% ในบริษัทเงินทุนยิบอินซอย
และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเงินทุนเอกธนกิจหรือที่เรียกกันติดปากในตลาดการเงินว่า
"ฟินวัน"
"ปิ่นเป็นคนที่ทำธุรกิจเชิงรุกมาก ๆ" นักการเงินคนหนึ่งพูดถึงสไตล์ของปิ่น
ตัวอย่างการตอบตกลงกับแบงก์ชาติเพื่อเข้าซื้อกิจการ(หุ้น) 96% ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนานันต์ซึ่งประสบปัญหาหนี้เสียกว่า
2000 ล้านบาทและต้องใช้เงินลงทุนสูงนับพันล้านบาทภายใต้สถานการณ์ตลาดหุ้นตกต่ำ
ขณะที่รายอื่นถอยออกมาหลังจากรับทราบถึงสถานะทางการเงินของธนานันต์ เป็นกรณีคลาสสิกที่แสดงความกล้าหาญของปิ่นที่ทุกคนในตลาดการเงินยอมรับ
ปิ่นได้รับการยอมรับจากตลาดการเงินวาณิชธนกิจของกรุงเทพฯ ในช่วง 2 ปีมานี้
ว่าเป็นคนที่ใช้ความชำนาญด้านอินเวสเมนต์แบงกิ้ง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ของเอกธนกิจได้เก่งที่สุดคนหนึ่ง
"การลงทุนในหุ้นบริษัทอื่น ๆ มีถึง 10 บริษัท ส่วนใหญ่จะอยู่ในธุรกิจหลักทรัพย์สังหาริมทรัพย์และเกี่ยวเนื่อง
"นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทวิจัยแบร์ริ่งกรุงเทพฯ เปิดเผยการลงทุนในตลาดอิควิตี้ของเอกธนกิจ
สินทรัพย์สิ้นปี 2533 ของเอกธนกิจประมาณ 9 พันล้านบาทการตัดสินใจเข้าซื้อกิจการธนานันต์เป็นสปิงบอร์ด
ที่ทำให้มูลค่าของสินทรัพย์เอกธนกิจพุ่งสูงขึ้นเกือบ 20,000 ล้านบาท ใหญ่ที่สุดในอุตสหากรรมเงินทุนและหลักทรัพย์ของไทย
หลังจาก 10 ปีก่อนอยู่ในอันดับเกือบท้ายสุดของอุตสาหกรรมนี้
การเข้าซื้อกิจการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ เป็นวิธีการที่ปิ่นใช้เป็นกลยุทธืดำเนินการมาตลอด
หลังการปรับทิศทางฟินวันเมื่อปี 2527
5 ปีก่อน ปิ่นเข้าซื้อกิจการบริษัทหลักทรัพยืโกลด์ฮิลขณะที่อุตสาหกรรมตลาดหุ้นกำลังตกต่ำอย่างขีดสุด
เขาร่วมลงทุนครั้งนั้นกับกลุ่มแบงก์กสิกรไทย จากนั้นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรงก็เริ่มขึ้น
โดยมีภควัฒน์ ฏดวิทพัฒนพงศ์อดีตนักเรียนทุนเอ็มบีเอาร์ตันของกสิกรไทยที่ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิแบงก์กสิกรไทยเป็นกรรมการผู้จัดการ
การดันเอกธำรงเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสำเร็จในอีก 3 ปีถัดมา
ทำให้ "กำลังประสาน" เกิดขึ้นกับธุรกิจของเอกธนกิจทันที
ตลาดหุ้นในปี 2532 ปีเดียวกับที่เอกธำรงเข้าตลาดหุ้น กำลังอยู่ในช่วงเริ่มกลับมาร้อนแรง
ปิ่นทำกำไรเข้าเอกธนกิจจากการค้าหลักทรัพยืโดยผ่านเอกธำรงที่เป็นทั้งนายหน้าและอันเดอร์ไรเตอร์หลักทรัพย์มากมาย
เป็นเวลาเกือบ 20 เดือนนับจากต้นปี 2532 อุตสาหกรรมที่เฟื่องฟูที่สุดเวลานั้นมีอยู่
2 อย่างคือ ตลาดหุ้นและเรียลเอสเตท ธุรกิจทั้ง 2 อย่างนี้ดำเนินไปอย่างคึกคักภายใต้วิธีการเดียวกัน
คือเก็งกำไรกันอย่างสนุกสนาน
ปิ่นมองปรากฎการณ์เนื้ออก เขาสร้างกำไรส่วนใหญ่เข้าเอกธนกิจบนฐานของธุรกิจ
2 อย่างนี้เช่นกัน
ในอุตสหกรรมเรียลเอสเตท ปิ่นใช้บริษัทเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นก่อนหน้านี้
เช่นบริษัทร่วมคณะไทยธุรกิจ บริษัทท่าจีน บริษัทเอกภาคเข้าซื้อที่ดินแปลงงาม
ๆ และอาคารสำนักงานในย่านใจกลางเมือง โดยอาศัยการไฟแนนซ์จากเอกธนกิจและการจัดหาทุนจากตลาดเงินในฮ่องกง
การเข้าซื้ออาคารที่อยู่อาศัยอิเมอรัล (เดิมเป็นของพร - วนิดา สิทธิอำนวย)
บนถนนวิทยุในราคาประมาณ 600 ล้านจากแบงก์กรุงเทพ (เจ้าหนี้ที่ยึดทรัพย์จากพร)
ของบริษัทท่าจีน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น "เอกอาคาร" ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานให้เช่า
และการซื้อสิทธิเช่าที่ดินว่างเปล่าอีก 1 แปลงขนาด 1 ไร่ครึ่งจากสำนึกงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นตัวอย่างของการเข้ามาไฟแนนซ์และจัดหาเงินทุนให้ของเอกธนกิจ
"ท่าจีนใช้แหล่งเงินกู้จากฮ่องกงเกือบ 500 ล้านในการลงทุนซื้อทรัพย์สินเหล่านี้"
แหล่งข่าวในธุรกิจเรียลเอสเตลเล่าให้ฟัง
เอกธนกิจเข้าเสี่ยงในอุตสาหกรรมเรียลเอสเตทมากไม่ใช่น้อยประมาณการว่าประมาณ
30-35% ของฟอร์ตโฟริโอสินเชื่อถูกปล่อยให้แก่บริษัทลูกค้าที่ทำธุรกิจเรียลเอสเตท
ปิ่นฉลาดพอที่จะรู้ถึงความเสี่ยงในอุตสาหกรรมเรียลเอสเตทนี้ดี นี่คือเหตุผลหนึ่งที่เขานำเอกธนกิจเข้ามาเกี่ยวข้องในบริษัทธนายงซึ่งเป็นบริษัทเรียลเอสเตทจดทะเบียนในตลาดหุ้นประมาณ
5% ด้วยวิธีการสวอปหุ้นกัน แม้ราคาจะถูกมากก็ตาม
ปิ่นนำเอกธนกิจลงมาลึกพอสมควรในอุตสหากรรมเรียลเอสเตท เขาจึงรู้ดีว่าภาระการตกต่ำและเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมนี้มีวงจรสลับไปมาที่ใช้เวลาแต่ละรอบไม่น้อยกว่า
5 ปี การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จึงต้องหวังผลระยะยาวในยาวที่ตลาดตกต่ำ
เรียลเอสเตทตกต่ำมาปีกว่าแล้วนับตั้งแต่การเกิดวิกฤติการณ์ในอ่าวเปอร์เซีย
นั่นหมายความว่ารอบการเฟื่องฟูจะกลับมาต้องใช้เวลาอีกกว่า 3 ปี
การเสริมสร้างฐานเงินทุนให้แข็งแรงและการรักษาที่ดินเปล่าอยู่ในมือให้ตลอดรอดฝั่ง
จึงเป็นกลยุทธ์ของการรอคอยที่เหมาะสม
ปิ่นมองตรงนี้ทะลุ การตัดสินเข้าซื้อธนานันต์ เป็น STRA-TEGIC MOVE ตามเหตุผลนี้ด้วยเช่นกัน
นอกเหนือจากเหตุผลที่ธนานันท์มีเครือข่ายสาขาถึง 14 แห่งที่จะเป็นฐานสำหรับการระดมเงินออมและใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ครบ
กล่าวคือธนานันต์มีทรัพย์สินในรูปที่ดินว่างเปล่าในมือมากมายประมาณ 1400
ไร่ในเขตกรุงเทพฯ แต่ลแปลงอยู่ในบริเวณไพร์มแอเรียที่ราคาที่ดินกำลังขึ้นสูงมากเรื่อย
ๆ ทั้งสิ้น เช่น ย่านถนนรามอินทรา และถนนบางนาตราด
"การทำโครงการพัฒนาที่ดินจากนี้ไปจะลำบากมากขึ้นการวางแผนทางการเงินอย่างรัดกุมจะเป็นหัวใจสำคัญ"
สุทธิพงศ์ จิราธิวัมน์ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาที่ดินกลุ่มเซ็นทรัลพูดถึงเทคนิคการบริหารโครงการที่ดินในอนาคต
สุทธิพงศ์เป็นน้องคนที่สิบเอ็ดของสัมฤทธิ์ประธานกลุ่มเซ็นทรัลอายุ 32 ปีมีพื้นฐานการศึกษาระดับบริหารธุรกิจเอ็มบีเอจากมหาวิทยาลัยลองส์ไอแลนด์
สหรัฐฯ เขาเข้าร่วมงานกับครอบครัวเมื่อต้นปี 2530 โดยเป็นผู้จัดการโครงการพัฒนาที่ดินของเซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา
"โครงการเซ็นทรัลพาร์คเพลสที่ถนนสาธร และโครงการวอเตอร์ฟร้อนที่ร่วมทุนกับกลุ่มโค้วยู่ฮะที่ภูเก็ต
คือ 2 โครงการที่ผมรับผิดชอบอยู่" เขากล่าวถึงงานที่ทำกับครอบครัว
สุทธิพงศ์เล่าให้ฟังว่า ในช่วงเรียลเอสเตทเฟื่องฟู โครงการบางโครงการถูกเปิดขายเพื่อนำรายได้จากการขายมาไฟแนนซ์โครงการทั้งที่เจ้าของโครงการยังจ่ายค่าที่ดินไม่หมดเลยก็มี
หรือในอีกกรณีหนึ่ง โครงการมีทุนจดทะเบียนต่ำขณะที่การไฟแนนซ์โครงการสูงมาก
ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูงถึง 10 เท่า
เขาชี้ให้เห็นว่าโครงการเหล่านี้ บริหารท่ามกลางความเสี่ยงที่สูงลิ่ว "เผอิญที่รอดตัวกันมาได้เพราะช่วงเวลานั้นแรงซื้อมีสูงมากซึ่งถ้าแรงงานซื้อตกเหมือนเวลานี้
รับรองไปไม่รอด"
สุทธิพงศ์เคยมีประสบการณ์ร่วมลงทุนกับกลุ่มของปิ่นในโครงการพัฒนาอาคารเอนกประสงค์ที่วอยอรรถการประสิทธิถนนสาธร
มูลค่าประมาณเกือบ 5000 ล้านเมื่อต้นปี 2533
โครงการนี้กระทำขึ้นในนามบริษัทสิริธนสมบัติ ซึ่งเกิดจากการร่วมทุน 2 ฝ่ายคือกลุ่มของปิ่นในนามบริษัทเอกภาค
เอกธนกิจและถนัด คอมันต์กับกลุ่มของเซ็นทรัล "ที่ดินแปลงนี้มีอยู่ 10
ไร่เซ็นทรัลกับถนัด คอมันต์เป็นเจ้าของที่ดินถือกันคนละครึ่ง" สิทธิพงศ์กล่าวถึงการร่วมเป็นพาร์ตเนอร์ครั้งแรกระหว่าง
กลุ่มเซ็นทรัลกับเอกธนกิจ
แต่การเกิดสงครามในอ่าวเปอร์เซียและความตกต่ำของอุตสาหกรรมเรียลเอสเตท
ทำให้โครงการนี้ตอ้งเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด "เราทำโครงการนี้มาถึงขั้นออกแบบเสร็จเตรียมขอนุญาตก่อสร้างจากกรุงเทพมหานครแล้ว"
สุทธิพงศ์พูดถึงขั้นตอนของงานในโครงการที่ต้องหยุดลงเมื่อปิ่นวางแผนซื้อฟิลาเท้กซ์
จึงดึงสุทธิพงศ์เข้าร่วมลงทุนและบริหารด้วย โดยเป็นทั้งกรรมการและกรรมการผู้จัดการฟิลาเท้กซ์ร่วมกับประภา
สุมทรโคจรผู้บริหารระดับสูงคนหึ่งของเอกธนกิจ
สุทธิพงศ์รับผิดชอบบริหารฟิลาเท็กซ์ในธุรกิจเรียลเอสเตทขณะที่ประภาดูทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรมยางยืด
ฟิลาเท้กซ์เข้าเป็นบริษัทรับอนุญาตในตลาดหุ้นเมื่อกลางปีที่แล้วหลังจากเปิดดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางยืดมาตั้งแต่ปี
2528
บริษัทฟิลาเท็กซ์ประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นบ่อยครั้งมาก กลุ่มที่ก่อตั้งจริง
ๆ เมื่อปี 2527 คือพงศ์อิทธิ์ มโนมัยอุดมร่วมกับบริษัทไมวอลท์ อินเวสท์เม้นต์ของอิตาลี
การผลิตในปีแรกด้วยกำลังผลิตเพียงเดือนละ 47 ตัน ก็ประสบปัญหาต้องหยุดการผลิตลงชั่วคราวเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น
โดยพงศ์อิทธิ์ได้ขายหุ้นทั้งหมดให้กับอรรณพอัสโสรัตน์กุล พ่อค้ายางแห่งบริษัทไทยรับเบอร์เทรด
หลังจากอรรณพเข้าเทคโอเวอร์ก็เริ่มเดินเครื่องผลิตใหม่แต่ก็เจอปัญหาน้ำยางข้นขาดแคลนทำให้การผลิตต้องหยุดลงอีกเป็นครั้งที่สอง
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ผู้ถือหุ้นอิตาลีขายหุ้นทั้งหมดของตนให้อรรณพ
การผลิตเริ่มกลับเข้ามาใหม่ในช่วงปี 30-32 ในกำลังการผลิตเดือนละ 150 ตันสามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรกติดต่อกัน
2 ปีถึง 21 ล้าน หลังจากการผลิตช่วง 2 ปีแรกประสบการขาดทุนสูงถึง 17 ล้านบาท
ทำให้บริษัทเริ่มมีกำไรสะสมอยู่ 4 ล้าน
เมื่อการผลิตฟื้นตัวใหม่อย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปี ทำให้อรรณพมั่นใจในตลาดมาก
เขาเพิ่มทุนจาก 75 ล้านเป็น 90 ล้านเพื่อซื้อเครื่องจักรขยายการผลิตอีก 2
สายการผลิตในปี 2532
1 สายการผลิตได้เพิ่มขึ้นในปีนั้น ทำให้กำลังผลิตเพิ่มเป็นเดือนละ 300
ตันปรากฎว่าในปีนั้นเอง เขาทำกำไรได้สูงถึง 12 ล้านบวกกำไรสะสมอีก 4 ล้านบาท
ทำให้สิ้นปีนั้น ฟิลาเท้กซ์มีกำไรสะสมอยู่ถึง 16 ล้านบาท ทุน 90 ล้าน
อรรณพเตรียมนำฟิลาเท็กซ์เข้าตลาดหุ้นทันทีในปีรุ่งขึ้น โดยให้กลุ่มธนชาติ
(ประกอบด้วยธนชาตเอกชาติ บริษัทสุพรรณิกา) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น
(43%) ของฟิลาเท็กซ์ เป็นคนวางแผนทางการเงินและอันเดอร์ไรเตอร์
พร้อมกันนี้ สายการผลิตที่ 3 ซึ่งจะทำให้กำลังผลิตรวมเพิ่มเป็นเดือนละ
450 ตัน อรรณพวางแผนจะเดินเครื่องผลิตได้ในเดือนกันยายน ซึ่งมันจะสอดคล้องกันพอดีกับจังหวะเวลาที่บริษัทเข้าตลาดหุ้น
อรรณพมั่นใจแผนการนี้มาก ถึงกับประมาณกำไรของฟิลาเท็กซ์ในปี 33 ว่าจะสูงถึง
20 ล้านาบาท
"หุ้นของฟิลาเท็กซ์เหมาะต่อการลงุทนระยะยาวเนื่องจากอนาคตเส้นด้ายยางยืดแจ่มใส
และความได้เปรียบด้านแหล่งวัตถุดิบ" อรรณพกล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน"
เมื่อกลางปีที่แล้วอย่างมั่นใจในอนาคตของธุรกิจฟิลาเท็กซ์
แต่แล้วความหวังของอรรณพและธนชาติที่ปรึกษาก็พังทลายหลังหุ้นเข้าตลาดได้ไม่นาน
สงครามตะวันออกกลางที่อ่าวเปอร์เซียก็ระเบิดขึ้น ราคาด้ายยางยืดในตลาดโลกดิ่งวูบลง
อรรณพต้องเลื่อนสายการผลิตที่ 3 ออกไปอย่างไม่มีกำหนดเกิดความระสั่าระสายในบริษัทเมื่อพนักงานระดับคีย์แมนคนหนึ่งในโรงงาน
ลาออกไปพร้อมกับนำเทคโนโลยีการผลิตด้ายยางยืดไปขายต่อให้คู่แข่งชาวมาเลย์
ผลการประกอบการของฟิลาเท็กซ์สิ้นปี 33 มีกำไรเพียง 140,000 บาทเท่านั้น
ไม่ถึง 10% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 20 ล้านด้วยซ้ำ และในปี 34 นี้คาดว่าจะกลับมาขาดทุนอีก
14 ล้านบาท
ปิ่นมองฟิลาเท็กซ์ตาเป็นมันทันที เขาศึกษาฐานะงบดุลขิงฟิลาเท็กซ์และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอย่างละเอียด
หลังจากแจ้งให้ธนชาติทราบว่าเขาสนใจจะซื้อฟิลาเท็กซ์
จากการศึกษาปิ่นพบว่า ปัญหาหลักของฟิลาเท็กซ์ไม่ได้อยู่ที่ภาระหนี้สิน
แต่อยู่ที่ควาไมม่มีประสิทธิภาพในการทำกำไร
วาณิชธนกรมือเซียนอย่างปิ่นรู้ดีว่า ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการซื้อกิจการฟิลาเท็กซ์เลย
"คุณต้องเข้าใจว่าสินทรัพย์ซ่อนเร้นที่สำคัญของฟิลาเท็กซ์คือการเป็นบริษัทอยู่ในตลาดหุ้นเพียงคุณตกแต่งบัญชีมันใหม่ให้สวยงาม
แล้วเพิ่มทุนมันเข้าไปเพียงเท่านั้นมันก็จะกลายเป็นแหล่งระดมทุนขนาดใหญ่ที่ไม่มีดอกเบี้ยได้ทันที"
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากแบริ่งรีเสิร์ชวิเคราะห์เหตุผลเบื้องหลังการเข้าเทคโอเวอร์ฟิลาเท็กซ์ของปิ่น
เมื่อ 4 เดือนก่อน คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเรียลเอสเตทมีอาการหวั่นไหวกันมาก
เมื่อทราบว่าตลาดหลักทรัพย์เข้มงวดเป็นพิเศาในการพิจารณารับบริษัทเรียลเอสเตทเข้าตลาดหุ้นเนื่องจาก
เห็นว่าธุรกิจนี้มีช่องทางในการโยกย้ายถ่ายเททรัพย์สินเข้ากระเป๋าส่วนตัวผู้ถือหุ้นและสร้างราคาด้วยวิธีการบันทึกบัญชีรับรู้รายได้หลายวิธีอย่างแยบยล
บางบริษัทอย่างกลุ่มบ้านบ้านฉาง ยังไม่มีการก่อสร้างโครงการอะไรเลย มีแต่ที่ดินเปล่า
ก็ขอเข้าตลาดหุ้น แต่ก็ถูกปฏิเสธออกมา
บางบริษัทอย่างภูเก็ตยอช์ทคลับ เข้าตลาดหุ้นไปแล้วก็ซื้อขายหุ้นเพื่อเทคโอเวอร์กันเองในกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลุ่มเดียวกันเริ่มจากยูไอซีของเลียมกรุ๊ปซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มเฟิร์ส
แพ็คขายหุ้นภูเก็ตยอช์ทคลับทั้งหมด 35% ให้เฟิร์สแพ็คแลนด์แอนด์พาร์ทเนอร์"
ก็ขายหุ้นภูเก็ตยอช์ทคลับทั้งหมดให้ "ผู้ถือหุ้น" เฟิร์สแพ็คแลนด์แอนด์พาร์เนอร์ก็ขายหุ้นตนเองทั้งหมดกลับคืนให้บริษัทภูเก็ตยอช์ทคลับอีกต่อหนึ่ง
กระบวนการซื้อขายแบบนี้ยิงกระสุนนัดเดียวได้นก 2 ตัวคือผู้ถือหุ้นกลุ่มเฟิร์สแพ็คได้กำไรจากการซื้อขายหุ้นแต่ละช่วงขณะเดียวกันบริษัทเฟิร์สแพ็คแลนด์ฯ
ก็สามารถเข้าตลาดหุ้นได้ภายใต้ร่มธงของภูเก็ตยอช์ทคลับ หลังจากเคยยื่นเรื่องเข้าตลาดหุ้นก่อนที่จะถูกปฏิเสธออกมาเนื่องจากคุณสมบัติไม่เข้าข่ายเพราะทำธุรกิจเพียงซื้อมาขายไปเท่านั้น
เมื่อบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความเข้มงวดในการรับบริษัทเรียลเอสเตทเข้าตลาดหุ้น
การคาดหวังที่จะใช้ช่องทางตลาดหุ้นในการระดมทุนมาทำโครงการเรียลเอสเตทก็ตีบตัน
นอกจากนี้ทางแบงก์ชาติก็สั่งให้แบงก์พาณิชย์ห้างปล่อยสินเชื่อแก่โครงการเรียลเอสเตทและการค้าที่ดิน
การคาดหวังว่าจะอาศัยแหล่งเงินไฟแนนซ์จากแบงก์มาทำโครงการหรือทุนหมุนเวียนในการบริหารโครงการก็ตีบตันอีก
เมื่อแหล่งระดมทุน 2 แหล่งที่เคยได้รับในอดีตถูกปิดกั้นลง การลงทุนพัฒนาโครงการต้องหยุดชะงักลง
ที่ดินที่ลงทุนซื้อไว้ก็ต้องถูกทิ้งไว้อย่างว่างเปล่าเนื่องจากขาดเงินทุนหล่อเลี้ยง
สิ่งเหล่านี้เป็นการสูญเสียที่กำลังเกิดขึ้นกับทุกคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเรียลเอสเตทขณะนี้
ใครที่สายป่านยาวก็ประคับประคองอยู่รอดใครสายป่านสั้นไม่ตายก็ต้องวิ่เร่ขายหาคนมาซื้อกิจการต่อ
ความที่ปิ่นต้องการซื้อฟิลาเท็กซ์เขาจึงมองลู่ทางการยิงกระสุนนัดเดียวได้นก
2 ตัวออก ทันทีที่ลงนามซื้อฟิลาเท็กซ์เรียบร้อยจากอรรรพและกลุ่มธนชาติในต้นเดือนตุลาคมปิ่นก็เอาฟิลาเท็กซ์เข้าซื้อท่าจีนต่อในราคา
255 ล้าน "ถ้าฟิลาเท็กซ์อาศัยรายได้จากยางยืดอย่างเดียวต้องใช้เวลานานถึง
3 ปี กว่าจะมีโอกาสฟื้นจากการขาดทุน เราซื้อท่าจีนเพื่อรายได้จากค่าเช่าตึกเอกอาคารใส่เข้าไปให้ฟิลาเท็กซ์
มันจะช่วยเร่งการฟื้นตัวจากการขาดทุนของฟิลาเท็กซ์เร็วขึ้น" สุทธิพงศ์เล่าให้ฟังถึงเหตุผลปิ่นเข้าซื้อท่าจีน
ท่าจีนเป็นบริษัทของกลุ่มเอกธนกิจที่ถือหุ้นในนามบริษัทคณะไทยธุรกิจเมื่อปิ่นดึงสุทธิพงศ์
จิราธิวัมนืเข้าในฟิลาเท็กซ์ก็ใช้บริษัทคณะไทยธุรกิจเป็นช่องทางโดยสุทธิพงศ์เข้ามาร่วมลงทุนถือหุ้นด้วยเมื่อ
3 เดือนก่อน
ท่าจีนมีรายได้จากการให้เช่าตึกเอกอาคารปีละ 100 ล้านบาทจากพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด
14000 ตารางเมตร การเข้าซื้อท่าจีนของฟิลาเท็กซ์ ทำให้ฟิลาเท็กซ์ต้องเข้ารับภาระหนี้ปีละ
48 ล้านของท่าจีนด้วย "แต่ท่าจีนทำกำไรได้ปีละ 11 ล้านและปีหน้าจะเพิ่มเป็น
19 ล้านหลังหักค่าใช้จ่ายดำเนินการค่าเสื่อมและดอกเบี้ยแล้ว" สุทธิพงศ์แจงตัวเลขท่าจีน
นอกจากนี้สุทธิพงศ์ยังย้ำว่าฟิลาเท็กซ์ซื้อท่าจีนในราคาที่ถูกมากเพียง
255 ล้านจากราคาตลาดเมื่อดิสเคร้าแล้วต้องไม่น้อยกว่า 400 ล้าน
แผนการเพิ่มทุนให้ฟิลาเท็กซ์อีกไม่น้อยกว่า 300 ล้านในอีก 2 เดือนข้างหน้า
ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะต้องนำมาใช้ซื้อท่าจีนและลดหนี้สินของฟิลาเท็กซ์
เมื่อรายจ่ายภาระหนี้ลดลง ค่าเสื่อมยังต้องทยอยตัดไปเรื่อย ๆ ขณะที่รายได้จากธุรกิจของท่าจีนและพรีเมี่ยมจากการเพิ่มทุนถูกใส่เข้าไป
การฟื้นตัวจากการขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้าก็จะเป็นไปได้
หลังการเทคโอเวอร์ฟิลาเท็กซ์ปิ่นได้ส่งงบประมารการกำไร 4 ปีข้างหน้าให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทันทีในงบระยุว่าปี 35 ถึง 37 ฟิลาเท็กซ์จะทำกำไรได้จาก 13 ล้านในปีหน้าเป็น
41 ล้านในปี 37
มันเป็นงบประมาณการทีเปิดเผยถึงกลยุทธ์การสร้างฟิลาเท็กซ์ในอนาคตที่ชัดเจนว่าจริง
ๆ แล้วธุรกิจหลักที่แท้จริงของฟิลาเท็กซ์คือเรียลเอสเตทและเป็น LISTED VEHICLE
ให้กับสินทรัพย์เรียลเอสเตทของกลุ่มเอกธนกิจ