ในแวดวงวรรณกรรมโดยทั่วไปรู้จักนามชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ ดีอยู่แล้ว ด้วยฐานะของนักเขียนผู้มีผลงานอันโดดเด่นเกี่ยวกับเรื่องของป่าเขาและชีวิตในพงไพร
เรื่องสั้นชื่อ "ทางเสือผ่าน" ของเขาเคยได้รับการแปลเป็นภาษารัสเซียมาแล้ว
แนะนวนิยายอย่าง "ไพรผาดำ" "ไพรายา" "เสือสมิง"
"สมิงไพร" หรือสารเคมีอย่าง "ผจญภัยในป่าสูง" "ตระเวนไพร"
"ป่ากับปืน" ฯลฯ ผลงานเหล่านี้ล้วนยืนยันได้ดีถึงการเป็นนักเขียนผู้เจนจัดทางด้านป่าพงไพร
ตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบันชาลีมีผลงานในแนวเรื่องป่าออกมาสู่บรรณพิภอย่างไม่ขาดสาย
ในขณะที่ผลงานอีกแนวหนึ่งที่เขาเริ่มสนใจในภายหลังคือสารคดีเกี่ยวกับอดีตก็มีปรากฏอยู่สม่ำเสมอเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น "เมืองไทยสมัยก่อน" "สยามในอดีต" "แลหลังบางกอก"
ฯลฯ รวมทั้งเคยเป็นคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับมาแล้ว
โดยทั่วไปงานเขียนแนวป่าของชาลีถ้าไม่เสนอผ่านรูปแบบนวนิยายก็จะเป็นสารคดีโดยตรง
ซึ่งอาศัยประสบการณ์ทั้งทางตรงและอ้อมมาเป็นวัตถุดิบเพราะชาลีถือได้ว่าเป็นนักเที่ยวไพรผู้
"ถึง" ซึ่งเสน่ห์ของป่ามากคนหนึ่งได้ร่วมบุกป่าฝ่าดงกับเพื่อนพ้องและนักนิยมไพรระดับประเทศมาแต่วัยหนุ่มหลายครั้งหลายครา
มีโอกาสได้พบเห็นและรู้ถึงความเป็นไปของป่าแห่งต่าง ๆ ด้วยตนเองมากเท่า ๆ
กับที่ได้ยินได้ฟังจากบรรดามิตรสหายหรือพรานไพร ณ หลาย ๆ พื้นที่ตามเส้นทางที่บุกฝ่าไปถึง
และมิตรคนหนึ่งที่เป็นทั้งเพื่อนร่วมเที่ยวและเป็นแหล่งของเรื่องราวเกี่ยวกับป่าดงพงไพรให้กับชาลีก็คือดำรงค์
แสงชูวงศ์ ผู้ย่ำป่าในแผ่นดินไทยมาทุกผืนแล้วก็ว่าได้
ทั้งสองเพิ่มร่วมกันเขียนหนังสือ "ป่าในอดีต" ขึ้น ตีพิมพ์ออกมาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
เป็นเรื่องราวเชิงสารคดีที่ว่าด้วยชีวิตของพรานไพรและสัตว์ป่าอันสะท้อนถึงภาพป่าสมบูรณ์จากอดีตที่ไม่มีเหลืออีกแล้วในปัจจุบัน
"เรื่องป่าเขียนไว้หลายร้อยเรื่องจึงเป็นเรื่องเก่า เรื่องของความหลังที่ผ่านมาแล้วถึง
40 ปี เรื่องของยุคที่ป่ายังเป็นป่าและพรานยังเป็นพราน อดีตบางครั้งก็เป็นสิ่งที่น่าคิดถึงเพราะป่าที่เคยเห็น
ต้นไม้ที่เคยชม ดงที่เคยนอน บัดนี้อันตรธานไปโดยสิ้นเชิงแล้ว ป่าเปลี่ยนสี"
ด้วยน้ำมือของมนุษย์ผู้เจริญแล้ว" นั่นคือทัศนะที่ชาลีกล่าวเอาไว้ในส่วนนำของหนังสือ
ในแง่ของการเป็นนักเขียนชาลีเริ่มต้นจริงจังเมื่อสมัยเป็นนักเรียนชันมัธยม
2 โรงเรียนวัดปรินายก โดยได้ออกหนังสือในชั้นเรียนชื่อปรินายกสาร ขึ้นร่วมกับเพื่อน
ๆ ส่วนวัยเด็กนั้นเขามีบ้านเกิดอยู่ที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีบิดาที่เป็นนักสะสมหนังสือและเป็นนักเขียน
ที่บ้านจึงเต็มไปด้วยหนังสือและสมุดภาพเก่าจำนวนมากอันเปรียบประดุจเป็นคลังแห่งปัญญาและเป็นฐานรากสำคัญที่สร้างความเป็นนักประพันธ์ขึ้นมา
ผลงานชิ้นแรกที่ออกสู่สาธารณะจริง ๆ นั้นชื่อเรื่อง "ความรักลอยลม"
ลงอยุ่ในหนังสือ "ดาวนคร"
ส่วนชีวิตของดำรงนั้นก็ได้เริ่มคลุกคลีกับธรรมชาติตั้งแต่วัยเยาว์ โดยที่ย่านปทุมวันที่เขาอาศัยอยู่
สมัยนั้นยังเต็มไปด้วยร่องสวนดอกไม้ ผลไม้มีลำคลองหลายสายให้เด็กชายวัยซุกซนวิ่งวุ่นจังแมลง
แทงปลาหรืองมกุ้ง ฯลฯ ดำรงค์จึงติดตราตรึงใจกับการผจญภัยประกอบกับได้พบเห็นบิดาร่วมไปเที่ยวป่ากับคณะผู้ใหญ่เป็นประจำ
และเมื่อเติบใหญ่ขึ้นได้มีโอกาสติดตามไปในบางครั้งก็พบว่า ตนเองชื่นชอบในสิ่งนี้จน
"เข้ากระดูกดำ" จึงตั้งปณิธานใฝ่ฝันไว้เป็นมั่นเหมาะเสมอมาว่าจะต้องใช้ชีวิตผจญไปในไพรกว้างให้มากที่สุด
จากความมุ่งมั่น ดังนั้นเองดำรงค์จึงไม่สนใจที่จะหาคู่ชีวิตครองเรือน ไม่สนใจที่จะทำอาชีพการงานอันมั่งคงอันใดแต่กลับมุ่งหน้าออกท่องเที่ยว
ยึดอาชีพเลี้ยงชีวิตไปตามความเหมาะสมในแต่ละช่วง เคยตั้งโรงงานทำดินประสิว
ทำหวาย ทำไม้ รับจ้างสำรวจป่า ทำแผนที่ ฯลฯ งานอิสระและเสี่ยงภัยเช่นนี้ดำรงค์ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น
สำหรับชาลี เขามิได้ใช้ชีวิตเกี่ยวเนื่องแบบแน่นไปกับพงไพรเสมือนกับดำรงค์ผู้เป็นเพื่อนรุ่นน้องแต่มักได้ร่วมขบวนไปท่องป่าด้วยเสมอ
ๆ ยามที่ว่างจากภารกิจและต้องการพักผ่อน
แท้จริงแล้วชาลีก็ไม่เคยคิดที่จะเขียนเรื่องป่ามาก่อน จนกระทั่งครั้งหนึ่งอาณัติ
บุนนาคเพื่อนผู้เป็นช่างภาพส่วนพระองค์ เดินทางกลับมาจากป่าพร้อมกับนำบันทึก
15 วันในป่ากระเหรี่ยงมาให้ ชาลีก็ได้จัดการเรียบเรียงออกมาใหม่เอาตีพิมพ์ใน
"พิมพ์ไทยรายวัน" ซึ่งปรากฏว่าได้รับการรับรองจากคนอ่านและนักเขียนเรื่องป่ารุ่นอาวุโสอย่างน้อย
อินทนนท์หรือมาลัย ชูพินิจก็กล่าวชมเชยถึง จึงทำให้เขาเริ่มสนใจงานแนวนี้อย่างจริงจัง
ในสมัยก่อนมีนักนิยมไพรอยู่ไม่ใช่น้อยที่อยู่ในแวดวงนักเขียน ที่ขึ้นชื่ออย่างมากก็คือมาลัย
ชูพินิจ นั่นเอง นอกจากนั้นนักนิยมไพรก็มักจะเป็นเจ้านายฝ่ายต่าง ๆ ที่ออกป่าไปเพื่อเรียนรู้ป่าและลิ้มรสความแปลกใหม่ของชีวิตบางครั้งอาจจะมีการล่าสัตว์บ้างแต่ย่อมไม่ใช่เรื่องหลัก
"เราไปพักผ่อนกันมากกว่าจะไปล่าสัตว์เวลาไปด้วยกันก็ไปเฮฮา ทำกับข้าว
ดูธรรมชาติกันว่าเป็นอย่างไร สมัยก่อนนี้ยังอุดมสมบูรณ์ทั่วไปหมด บางทีดำรงค์ก็เอามะขามเอาผักไปโรยตามทางไปไหนก็โรยแค่นั้นเองฟังแฟงแตงกวามันก็ขึ้นเองได้"
ชาลีเล่าถึงเรื่องราวหนหลังจากการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ในป่ามาแล้วกว่า 40
ปี ดำรงค์ได้ผ่านและพบเห็นมาแล้วทั้งยุคสมัยของความอุดมสมบูรณ์และยุคสมัยของความล่มสลายพังทลาย
ตลอดเส้นทางการหดหายของผืนป่าเขาเป็นคนหนึ่งที่รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นแต่ก็ไม่อาจจะทำอะไรได้
ดำรงค์กล่าวว่าการพัฒนานั่นเองคือตัวการหลักที่กินป่าเพราะผู้คนที่หลั่งไหลไปทำไร่ผืนใหญ่
ๆ ถนนหนทางสายแล้วสายเล่าที่ตัดเข้าไปเพื่อสร้างความเจริญและเพื่อความมั่นคงตามพื้นที่ต่าง
ๆ ตลอดจนสนามบินอย่างอู่ตะเภาล้วนแต่ทำให้ป่าย่อยยับลงไปทั้งสิ้น
"สมัยก่อนป่าเขมรกับป่าเราเป็นผืนเดียวกัน เป็นผืนใหญ่กว้างยาวเหยียด
ทั้งทุ่งใหญ่นเรศวรทั้งขาแข้งรวมกันก็ยังไม่ได้สักเท่ากระผีกของป่าภาคตะวันออก
ดงพญาเย็นที่มีอยู่ 3 ตอน ตั้งแต่จังหวัดเลยลงมาใกล้ ๆ กรุงเทพนี่เอง แต่ขนาดนั้นก็ยังหมดไปแล้ว
ถนนผ่าเข้าไปเหมือนอย่างกับใยแมงมุม เฉือนเข้าไปหมด น่าเสียดายที่สุด"
ดงพญาเย็นนับเป็นผืนป่าที่ดำรงค์รู้สึกเสียดายมากที่สุด เพราะถือว่าเป็นป่าดงดิบผืนใหญ่ใจกลางของประเทศ
เป็นสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดิน มีพื้นที่กว้างใหญ่ ส่วนของตอนบนนั้นมีอาณาเขตไล่ลงมาตั้งแต่จังหวัดเลยตามลำน้ำป่าสักหล่มสัก
จังหวัดเพชรบูรณ์ - หนองไผ่ - วิเชียรบุรี-ลำนารายณ์ จรดเส้นทางวะตะแบก-ห้วยยายจิ๋ว-หนองบัวโคก
ส่วนตอนกลางกินพื้นที่ตั้งแต่ลำนารายณ์-ลพบุรี-พุแค-สระบุรี บรรจบแก่งคอย-ผาเสด็จ-มวกเหล็ก-ปากช่อง-คลองไผ่
จนถึงสีคิ้ว และตอนล่างเริ่มมาจากทางตะวันตก ทับกวางมาที่หินกองนครนายก -
ปราจีนบุรี-ประจันตคาม-กบินทร์บุรี จนถึงสระแก้ว
ทั้งหมดนี้คือผืนป่าดงพญาเย็นอันเลื่องชื่อเมื่อก่อนปี 2500 แต่ปัจจุบันไม่ใช่อีกแล้ว
ที่เหลืออยู่ก็เพียงหย่อมเล็กนิดเดียวคือเขาใหญ่ ซึ่งก็มีน้อยคนนักรู้ว่าแต่อดีตเป็นเพียงจุดเล็ก
ๆ ของดงพญาเย็นทั้งหมด ความเกรียงไกรของเขาใหญ่แทบจะไม่มีคามหมายด้วยซ้ำไปเมื่อเทียบกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าทั้งผืน
ป่าอีกผืนหนึ่งที่หมดไปอย่างไม่น่าเชื่อก็คือป่าแถบกาญจนบุรี ซึ่งคือป่าแห่งแรกที่ดำรงค์ใช้เป็นตัวเปิดชีวิตการบุกป่าฝ่าดงของเขา
เพราะความที่อยู่ใกล้กรุงเทพมากและเพียงเหยียบย่างเข้าไปถึงตัวจังหวัดก็พบป่าได้ดังใจแล้ว
แม้แต่จุดที่เป็นที่ตั้งของกองพลทหารราบที่ 9 ในปัจจุบัน ก็เคยมีทั้ง ไก่ป่า
กระต่าย เก้ง กวางมากมายให้ได้เห็น
"มันยากที่จะอธิบายว่าทำไมถึงรักการเที่ยวป่า ถ้าใครไม่เคยผจญก็จะไม่รู้ถึงรสชาติของการได้เข้าไปสัมผัส
ไม่ได้ต้องไปเที่ยวล่าสัตว์ เพียงแต่เข้าไปขึ้นเขาลงห้วย ชมนกชมไม้ ดูฝูงสัตว์ป่า
มีไม้ใหญ่หนาแน่นขจัดจนแสงแดดส่องแทบไม่ถึงพื้น สิ่งเหล่านี้น่าเสียดายที่เด็กรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสได้เห็นนอกจากภาพเก่า
ๆ ที่แขวนไว้ข้างฝา เดี๋ยวนี้พวกเราเองก็ยังไม่ค่อยได้เข้าป่าแล้ว เพราะไม่มีที่จะให้ไป"
ดำรงค์ แสงชูวงศ์กล่าวให้ภาพความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน
เรื่องราวทั้งหลายที่ชาลีร่วมกับดำรงค์หยิบจับมาสื่อด้วยภาษาหนังสือถึงภาพอดีตก็ให้ภาพความสูญเสียที่ชัดเจนเช่นเดียวกัน
ซึ่งก็นับว่าเป็นความจงใจที่ทั้งสองต้องการสื่อถึงคนอ่านเช่นนั้นอยู่แล้ว
"เรากำลังจะออกเป็นเล่ม ๆ ต่อจากป่าในอดีตนี่ก็จะเป็นป่าโบราณ ป่าเปลี่ยนสี
แล้วเล่มปิดท้ายอาจเป็นป่าพรหมจรรย์ จะเขียนถึงป่าที่ไม่มีคนเข้าไปเกี่ยวข้องทำลาย
เปรียบเหมือนกับเป็นผู้หญิงที่บริสุทธิ์ไม่มีใครเคยไปกอดจูบหรือสัมผัสเลย
เราจะพูด ถึงป่าเมื่อยังเป็นพรหมจรรย์อยู่ ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วเพราะถูกทำลายโดยชายโฉด"
ชาลี เอี่ยมกระสิทธุ์เล่าถึงโครงการที่วางไว้ร่วมกับดำรงค์
ปัจจุบันผืนป่าดิบของไทยเหลืออยู่สมบูรณ์เพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นป่า ก็มีแต่ทุ่งใหญ่นเรศวรห้วยขาแข้งและตามแนวตะเข็บชายแดนดิตพม่าซึ่งเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนยากแก่การุกเข้าไปเท่านั้นเอง
ซึ่งก็รับรองไม่ได้ว่าอีกสัก 5 หรือ 10 ปีข้างหน้าจะยังสามารถจัดว่าเป็นผืนป่าสมบูรณ์อีกต่อไปหรือไม่
โดยเฉพาะถ้ามีการสร้างเขื่อนทางแม่น้ำปายหรือยวมในพม่า รวมทั้งขณะนี้ยังมีความพยายามที่จะเข้าไปทำไม้ในแถบนั้นกันมากอีกด้วย
"เขื่อนนี้ไม่เห็นด้วยเลยอย่างน้ำโจนถ้าสร้างขึ้นมาป่าก็หมด เมืองกาญจน์จากที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวมาก่อน
พอมีเขื่อนมาก ๆ กักน้ำแล้วแผ่นดินก็ไหวเลย มันวิกฤตเพราะผิดธรรมชาติมาก
ความวิกฤตของธรรมชาติเกิดขึ้นเนื่องจากความยุ่งยากที่มนุษย์สร้างขึ้นมาในธรรมชาตินั่งเอง"
นั่นคือมุมมองที่เป็นบทสรุปสำหรับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติจากคนที่ผูกพันมากับป่าเขาและพงไพรมาแสนนาน