สสว.คลอดแผนแม่บท SMEs ฉบับสมบูรณ์ พร้อมระดมสมองเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการ จัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับโครงการที่เสนอภายใต้
6 ยุทธศาสตร์หลักของการพัฒนา SMEs คาดแผนปฏิบัติการแล้วเสร็จตุลานี้ พร้อมเสนอเข้าครม.อีกครั้ง
วิวัฒน์ วินิจฉัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม
(สสว.) กล่าวว่าสสว.ได้จัดทำนโยบาย และแผนส่งเสริม SMEs ของประเทศเสนอต่อคณะกรรม
การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งขณะนี้แผนการ ส่งเสริม SMEs ของประเทศ
(พ.ศ. 2545-2549) ได้ผ่านความ เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณใช้เป็นกรอบ
นโยบายในการจัดสรรงบประมาณ เมื่อการส่งเสริม SMEs
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บท SMEs ของประเทศ สสว. จะทำหน้าที่ในการประสานและจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม
SMEs โดยร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีระยะเวลาในการจัดทำแผนปฏิบัติการ
จนถึงเดือนตุลาคม 2546
ล่าสุด สสว.มีการระดมสมองอย่างเป็นทางการเพื่อให้ทุก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบแผนว่าขณะนี้แผนการส่งเสริม
SMEs ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว พร้อมทั้งมีการพิจารณาร่างกรอบแผนปฏิบัติ
การปี 2547-2549 ที่จัดทำขึ้น โดยพิจารณาจากโครงการที่หน่วยงานต่างๆ เสนอมากว่า
260 โครงการและแนวคิดโครงการที่เหมาะสม ตลอดจนแนวทางการ จัดสรรงบประมาณตามแผนฯ
"นับจากนี้ต่อไปเรียกได้ ว่าจะเข้าสู่กระบวนการของบประมาณสนับสนุน SMEs
สำหรับปี 2548 แล้ว โดยคาดว่าหลังจากวันที่ 21 กรกรฎาคมไปแล้วทุกหน่วยงานที่ทำโครงการจะเสนองบประมาณเข้ามา
ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่างบประมาณโดยรวมของ SMEs จะอยู่ที่เท่าไร แต่ทั้งนี้ต้องผ่านการพิจารณาก่อนว่าโครงการที่เสนอมามีความเป็นไปได้อย่างไร สอดคล้องกับงบประมาณที่เสมอมาหรือไม่"
ทั้งนี้มีการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 6 กลุ่มยุทธศาสตร์เพื่อ การจัดสรรโครงการเข้ามายุทธ
ศาสตร์เหล่านี้คือ 1. ยุทธศาสตร์ ฟื้นฟู SMEs ด้านการเงิน-การตลาด 2. ยุทธศาสตร์ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและลดอุปสรรค
3.ยุทธศาสตร์สร้าง SMEs ให้เติบโตอย่างยั่งยื่น 4. ยุทธ-ศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจส่งออก
5. ยุทธศาสตร์เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ 6.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
วิวัฒน์ กล่าวว่าจุดมุ่งหมาย ของแผนแม่บทฉบับนี้คือต้อง การสร้างการเชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชนหรือรากหญ้าต่อยอดและผลักดันขึ้นไปสู่การเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม
มีการจดทะเบียนก่อตั้งเป็นบริษัท เท่ากับเป็นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้เกิดขึ้นจากวิสาหกิจชุมชน
นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ขึ้นตามโครง การที่รัฐบาลผลักดัน 5 หมื่นราย
พร้อมทั้งมีขบวนการต่อยอดให้แข็งแรง มีการพัฒนาตลาด และ ก้าวสู่ธุรกิจส่งออกอย่างเต็มตัว
เป็นขั้นบันไดของการพัฒนา SMEs ที่วางไว้
"ในระหว่างขั้นบันไดของการพัฒนานี้จะมีกิจกรรมของการส่งเสริมในแต่ละกลุ่มอย่างโครงการวิสาหกิจชุมชนก็จะมีกิจ
กรรมที่แตกต่างไปจากกลุ่มส่งเสริมส่งออก แต่ละยุทธศาสตร์จะมีการแยกกันว่าจะมีการส่งเสริมอย่างไรซึ่งไม่เหมือนกัน"
ในแผนแม่บท SMEs สสว. จะทำให้หน้าที่เป็นผู้ประสาน ดูแล อำนวยความสะดวก และผลักดันให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องในการจัดทำโครงการเกี่ยวกับ SMEs ได้รับงบประมาณตามกำหนด
โดยแผนปฏิบัติการนี้จะมีการรวบรวมให้เสร็จภายในเดือน ตุลาคมนี้ หลังจากนั้นจะมีการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมฯ เพื่อขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการนี้
หลังจากนั้นจะเสนอเข้าครม.เพื่ออนุมัติอีกครั้งซึ่งในแผนปฏิบัติการนี้จะมีตัวเลขงบประมาณรวมอยู่ด้วย
โดยจะเป็น ต้นแบบในการของบประมาณปี 2548 ฉะนั้นหน่วยงานไหนที่มิได้ มีรายชื่อรวมอยู่ในแผนปฏิบัติ
การนี้ก็จะของบประมาณได้ยาก
"ประมาณการงบประมาณปี 48 ของ SMEs ยังไม่สามารถประมาณได้แต่จากที่ผ่านมามีการ
จัดสรรงบไปตามกระทรวงต่างๆ รวมได้ประมาณ 4-5 พันล้านบาท"
ในส่วนของแผนปฏิบัติการ ที่ต่อเนื่องไปถึงปี 2549 นี้ จะอิงอยู่กับ 6 กลุ่มยุทธศาสตร์หลัก
ซึ่ง สอดคล้องกับแผนแม่บท SMEs ซึ่งเป็นแผนใหญ่ที่ต้องการเพิ่มขีด ความสามารถทางการแข่งขันในระดับประเทศ
พัฒนาคุณภาพสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ สินค้า พร้อมทั้งความต้องการ สร้างผู้ประกอบการใหม่ตามแนว
ทางของภาครัฐอีกด้วย