loyalty.com


นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ เช่น amazon.com หรือ e-Bay มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคาดหวังของผู้บริโภค เช่นเดียวกับอิทธิพลของการเกิดขึ้นของห้างสรรพสินค้าในปี 1970 ส่วนลดคูปอง และโปรแกรมการคืนกำไรแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว

การที่จะสร้างความภักดีต่อสินค้าของผู้บริโภคในยุคที่การตัดสินใจอยู่แค่ปลายนิ้วนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องอาศัยทักษะหรือสิ่งสร้างสรรค์ใหม่ๆ มาช่วย

loyalty.com เขียนโดย Frederick Newell จะแสดงให้เห็นว่าเทคโน โลยีใหม่มีความสำคัญอย่างไรต่อนักการตลาดในทุกภาคธุรกิจ และยังได้นำเสนอเทคนิค ที่ง่ายต่อการปฏิบัติในการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภค (Customer Relationship Management : CRM)

หนังสือเล่มนี้จะประกอบไปด้วยคำอธิบาย ที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ ผู้บริโภค และเทคนิคสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ซึ่งนั่นจะช่วยให้ทราบวิธีการตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการด้วยสินค้า ที่ต้องการขาย และวิธีเอาชนะใจลูกค้า ขณะเดียวกันก็สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้

กรณีศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์ต่างๆ ที่หลายบริษัทนำมาใช้ในการศึกษากลุ่มลูกค้า และสิ่งที่ทำให้กลุ่มลูกค้ามีความภักดีต่อสินค้านั้น ได้ถูก Newell นำมารวบรวมไว้ อาทิ

- ทำไมความภักดีต่อสินค้าของผู้บริโภคนั้น ไม่อาจถูกซื้อได้

- 3 คำถามง่ายๆ ที่ต้องการหาคำตอบให้ได้ในการทำการตลาดบนอินเทอร์เน็ตให้ประสบผลสำเร็จ

- ทักษะใหม่ๆ ที่พนักงานจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อ ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือต่างๆ

- เทคนิคการพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถช่วยให้การสื่อสารข่าวสารสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนเรื่องสิ่งพิมพ์ใน แบบเดิมๆ

- ปริศนา 6 ประการของสภาวะตลาดในยุคปัจจุบัน

- กลยุทธ์ ที่จะเตรียมพร้อมผู้อ่าน เพื่อก้าวสู่ยุคโทรทัศน์แบบ Interactive

- เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภค

- วิธี ที่นักริเริ่มใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการเพิ่มปริมาณลูกค้า มิใช่ แย่งส่วนแบ่งลูกค้าจากร้านค้า ที่มีอยู่

ในปัจจุบันเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สามารถช่วยให้ค้นพบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง Newell จะแสดงให้ผู้อ่านรู้จักวิธีใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ในการศึกษาทำความเข้าใจผู้บริโภค และสามารถนำความรู้นั้น มาใช้สร้างผลกำไร และความสัมพันธ์อันก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างผู้ทำ การ ค้า และผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.