หนุ่มนักเรียนนอกผู้นี้หมายมั่นปั่นมือว่าเมื่อเรียบจบออกมาจะเป็นตำรวจ
แต่ความตั้งใจที่มีอยู่เดิมต้องแปรเปลี่ยนไปด้วยเหตุผลส่วนตัวบางประการ ในขณะที่ความสามารถขณะนั้น
ได้ผลักดันให้เขาเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการกองนิติการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ประภัสร์ จงสงวนเป็นบุตรชายของส่องศรี-สุพจน์ จงสงวนซึ่งรับราชการอยู่กระทรวงการต่างประเทศโดยมีตำแหน่งในปัจจุบันเป็นอัครราชทูตไทยประจำประเทศบรูไน
และเป็นพี่ชายของณัฐศิลป์ จงสงวน กรรมการผู้จัดการบริษัทมอร์แกนเกรนเฟลล์
ไทย
ประภัสร์เรียนจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่
CALIFORNIA STATE UNIVERSITY AT FRESNO ในสาขาอาชญากรโดยที่ประภัสร์คิดว่าเป็นวิชาที่ตรงที่สุดกับความตั้งใจที่จะออกมาเป็นตำรวจ
และแล้วความคิดที่จะสมัครเป็นตำรวจที่แคลิฟอร์เนียหลังจากเรียนจบก็ต้องยกเลิกไปเมื่อประภัสร์ถูกแม่ขอร้องให้กลับประเทศไทย
พร้อมกับความตั้งใจจะกลับมาเป็นตำรวจเมืองไทย
แต่เมื่อกลับมาแล้วเห็นว่าไม่ไหวจึงเปลี่ยนใจเพราะคิดว่าคงไม่เหมาะสมกับตนเอง
จึงได้สมัครเข้าทำงานกับสำนักงานทนายความของอังกฤษ มงคลนาวินในปี 2523 รับผิดชอบทางด้านงานที่ปรึกษากฎหมายทั่วไปอย่างเช่นสัญญาเช่าหรือสัญญาจำนอง
ในขณะเดียวกันก็รับผิดชอบงานด้านสิทธิบัตร (เครื่องหมายการค้า) อยู่ที่บริษัทเทพศรีหริศ
ซึ่งเป็นสำนักงานทนายความเก่าแก่ที่อังกฤษซื้อกิจการมาจากเจ้าของเดิม
ในช่วงขณะนั้นเองได้มีคดีหนึ่งเกิดขึ้น โดยที่สำนักงานทนายความของอุกฤษเป็นทนายให้กับทางบริษัทผู้รับเหมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทางพิเศษฯ
ในเรื่องการก่อสร้างทางด่วนดินแดง ทำให้ประภัสร์ได้มีโอกาสรู้จักกับ จุลสิงห์
วสันตสิงห์ ที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับการทางพิเศษฯ
ในขณะนั้น
จุลสิงห์ได้ชักชวนให้ประภัสร์มาทำงานที่การทางพิเศษฯ ด้วยเห็นว่าหน่วยก้านดี
และที่สำคัญคือความสามารถทางด้านภาษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทางพิเศษฯขณะนั้น
ประภัสร์ตัดสินใจมาทำงานที่การทางพิเศษฯ จากความเห็นชอบของครอบครัวที่ต้องการให้ลูกชายเข้ารับราชการ
"ตอนนั้นคิดว่าจะมาช่วยเขาจริง ๆ เนื่องจากขณะนั้นการทางฯ รับผิดชอบทางด่วน
มีผู้รับเหมาต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะเงินกู้เพื่อการพัฒนาจาก OECF
ความจำเป็นในเรื่องของภาษาจึงเกิดขึ้น ในขณะที่ปัญหาของการทางฯ ช่วงนั้นนักกฎหมายแท้
ๆ ที่สามารถโต้ตอบภาษาอังกฤษได้อย่างทันทีทันควันขาดแคลน ผมทราบเรื่องนี้จากคุณจุลสิงห์จึงคิดว่ามาช่วยเขาได้ก็เลนมา"
ประภัสร์กล่าวถึงเหตุผลของการตัดสินใจมาอยู่การทางฯ
ประภัสร์เข้ามาร่วมงานกับการทางฯ ในตำแหน่งนิติกรระดับ 7 เมื่อปี 2528
เพียงระยะเวลาปีครึ่งก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองนิติการ จากนั้นอีกปีครึ่งจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกองนิติการเมื่ออายุได้เพียง
33 ปี นับเป็นผู้อำนวยการกองที่มีอายุน้อยที่สุดในการทางฯ
การที่ประภัสร์ก้าวขึ้นมาในตำแหน่งผู้อำนวยการกองอย่างรวดเร็วทำให้ประภัสร์ถูกมองไปว่าเป็น
"เด็กเส้น" ของผู้ใหญ่ในการทางฯ ซึ่งประภัสร์เองก็รู้สึกถึงเรื่องนี้ดี
"ตอนแรกก็มีปัญหาเพราะผู้บังคับบัญชาไม่ค่อยยอมรับ แต่พอเขาเห็นเราทำงานได้การยอมรับก็ตามมา
ผมก็ไม่เชื่อเหมือนกันว่าเมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้คนจะยอมรับ เห็นหน้าอ่อน ๆ
เข้ามาในตำแหน่งสูง ๆ คงคิดว่าต้องเส้นใครเข้ามาทำงานคงไม่เป็น แต่ตอนหลังความคิดก็เปลี่ยนเมื่อเราทำได้เขาก็ยอมรับในที่สุด
เป็นธรรมดาของคน"
สิ่งที่ประภัสร์พยายาทำหลังจากได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการ คือพยายามปรับทัศนคติของพนักงานในกองให้มีความรับผิดชอบต่องาน
ทำอย่างไรให้การดำเนินงานของกองราบรื่นที่สุด และเป็นประโยชน์ต่อคนที่มาใช้บริการของกองนิติการโดยเฉพาะการทำงานที่มีเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะทุกนาทีทุกชั่วดมงหมายถึงดอกเบี้ยที่คิดเป็นตัวเงิน ตราบใดที่ข้อสัญญายังไม่ออก
งานก็ไม่สามารถทำกันได้ ความล่าช้าจะเกิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ความเสียหายก็จะเกิดตามมา
หน้าที่ในความรับผิดชอบของกองนิติการคืองานด้านกฎหมายของการทางฯ ทั้งหมดรวมถึงสัญญาต่าง
ๆ อย่างเช่นสัญญารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 หรือขั้นที่ 3 และขั้นที่
4 ซึ่งอยู่ระหว่างการให้วิศวกรทำการศึกษาความเป็นไปได้
เมื่อพูดถึงภาระหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของการทางฯ ให้มากที่สุด ประภัสร์กลับมองว่า
การรักษาผลประโยชน์ควรให้เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่ายการที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนแน่นอนว่าองค์กรธุรกิจต้องแสวงหากำไร
เพียงแต่ว่ากำไรนั้นควรจะเป็นเท่าไหร่ เงื่อนไขเหมาะสมหรือไม่ เพราะความผูกพันต่อสัญญาแต่ละครั้งยาวนานถึง
30 ปี ถ้าสัญญาไม่ดีบาปจะตกต่อคนรุ่นหลังต่อไปจึงต้องพยายามดูกันอย่างดีที่สุด
การยกร่างสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายเป็นผลงานท่ประภัสร์มีส่วนในความรับผิดชอบอย่างเต็มที่
นอกเหนือจากการออกกฎหมายอื่น ๆ ของการทางฯ
โดยส่วนตัวแล้วประภัสร์ยอมรับว่า เขามีความคิดไม่เหมือนคนอื่น อย่างกรณีของการตัดสินใจเข้ามาอยู่ที่การทางฯ
ทั้ง ๆ ที่ได้รับเงินเดือนเพียงเดือนละ 6-7 พันบาทในขณะที่เคยได้รับจากที่เดิมถึง
2 หมื่นเศษ แต่ประภัสร์กลับกล่าวถึงเรื่องนี้วา "ผมไม่ได้รวย แต่ผมไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเงิน
ผมไม่เคยคิดว่าจะต้องทำงานให้ได้เงินเดือนเป็นแสน ๆ คนเราความสุขมันไม่ได้อยู่ตรงนี้ผสมสามารถรักษาผลประโยชน์ให้กับคนส่วนรวมได้
มันเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งที่ได้เห็นภาพจากการไม่มีอะไร มันผุดขึ้นมาเป็นสะพาน
เป็นทางด่วนและเราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งนั้น ซึ่งผมคิดว่าความภูมิใจอันนี้บางทีเงินก็ซื้อมาไม่ได้"
และดูเหมือนความคิดนี้จะสวนทางกับโรคสมองไหลที่กำลังเกิดขึ้นกับหน่วยงานราชการของรัฐเป็นอย่างยิ่ง