บทบาทของ อนันตชัย คุณานันทกุลในฐานะประธานสภาหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ
บวกกับความเป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจมูลค่านับพันล้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหล็ก
"สยามสตีลกรุ๊ป" ทำให้วันนี้อนันตชัยต้องออกมาเต้นคัดค้านนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม
ที่จะย้ายโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการทั้ง 500 แห่ง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษ
แผนปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขสิ่งแวดล้อมนี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่ออนันตชัย
เนื่องจากมีการระบุประเภทโรงงานที่อยู่ในข่ายก่อมลพิษไว้ 4 ประเภทคือ หนึ่ง
- กลุ่มโรงงานที่เกี่ยวกับโลหะเช่นการหล่อหลอมโลหะ สอง - กลุ่มโรงงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โลหะเช่นชุบ
อบสีหรือเคลือบสี สาม - กลุ่มโรงงานเกี่ยวกับอาหารสัตว์เช่นโรงฆ่าสัตว์ หมักหรือฟอกหนังสัตว์และทำอาหารทะเลกระป๋อง
สี่ - กลุ่มโรงงานสิ่งทอฟอกย้อมและพิมพ์ผ้า
"จริงอยู่ แม้โรงงานบางส่วนจะเป็นที่มาของมลพิษ ที่สำคัญน่าจะมีการศึกษาหาแนวแก้ไขก่อนที่จะตัดสินใจให้ย้ายโงงาน
ซึ่งเป็นวิธีการที่กระทบกระเทือนโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดอย่างรุนแรงไม่เฉพาะกับโรงงานที่ถูกย้ายโดยตรง
แต่รวมถึงธุรกิจต่อเนื่องธุรกิจบริการหรือประชาชนทั่วไปก็เดือดร้อน"
นี่คือทุกข์ที่ระบายออกจากปากของประธานหอการค้า ฯ อนันตชัย
34 ปีเต็มที่สามพี่น้องชาวจีนแคะตระกูล "คุณานันทกุล" ดิ้นรนต่อสู้ให้สยามสตีลกรุ๊ปขึ้นมามีวันยิ่งใหญ่
ณ วันนี้ได้จากธุรกิจร้านทำเฟอร์นิเจอร์ไม้เล็ก ๆ ย่านคลองเตยที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นเฟอร์นิเจอร์เหล็กตั้งหจก.ศรีเจริญอุตสาหกรรมมีโรงงานตั้งอยู่ปู่เจ้าสมิงพรายจ.สมุทรปราการ
ผลิตภัณฑ์เฟอร๋นิเจอร์เหล็กภายใต้เครื่องหมายการค้า LUCKY และ KINGDOM ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาและแตกขยายกิจการไปสู่ธุรกิจอื่น
ๆ
กลุ่มธุรกิจ "สยามสตีลกรุ๊ป" ของอนันตลัยทั้ง 8 แห่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับ
"เหล็ก" ทั้งสิ้นได้แก่
- บริษัทศรีเจริญอุตสาหกรรม (1979) ที่ทำการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- - ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. สยามโลหะภัณฑ์ ที่มีโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กที่ปู่เจ้าสมิงพราย
- - บริษัทไทยดีคอรา เป็นโรงงานผลิตM ELAMINE DECORATIVE LAMINATED SHEET
หรือที่นิยมเรียกว่าแผ่น FORMICA ยี่ห้อ "TD-BOARD" อนันตชัยเริ่มร่วมทุนกับกลุ่มอื่นที่บริษัทนี้เป็นแห่งแรก
- - บริษัทสหไทยสตีลไพพ์ที่ตั้งในปี 2510 ก็เป็นโรงงานผลิตเหล็กรูปรีดเย็น
เช่น ท่อเหล็กชุบสังกะสี ท่อประปา ท่อร้อยสายไฟ - - บริษัทสหจักรยานไทยตั้งในปี
2511 ผลิตจักรยานและชิ้นส่วนยี่ห้อ "U.C.I." ทำขายในและต่างประเทศ
- - บริษัทไทยอัมพ์สติลเกิดขึ้นจากการร่วมทุนกับชาวฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์โดยมีวันชัย
พี่ชายคนที่สองของอนันตชัยเป็นประสานงานบริษัทนี้ผลิตเหล็กรูปรีดร้อน - -
บริษัทยูเนียน ออโตพาร์ทส แมนูแฟคเจอริ่ง ที่ร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นโอกายา
ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ป้อนให้แก่ลูกค้าสำคัญคือโรงงานประกอบรถมอเตอร์ไซค์เช่น
ซูซูกิ ฮอนด้า ยามาฮ่าและคาวาซากิ - - บริษัทศูนย์บริการเหล็กสยาม ที่ได้รับเทคนิคช่วยเหลือจากนิปปอนสตีลของญี่ปุ่น
โรงงานจะผลิตชิ้นส่วนตามความต้องการของลูกค้าและมาตรฐานอุตสาหกรรมประเภทต่าง
ๆ - และบริษัทศรีเจริญบ้านและที่ดิน ซึ่งเป็นก้าวแรกของอนันตชัยที่พัฒนาที่ดิน
200 ไร่ ย่าน
เทพารักษ์ กม.ที่ 5 ให้เป็นหมู่บ้านศรีเจริญวิลล่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว
การเติบใหญ่ทางธุรกิจมูลค่าไม่ต่ำกว่าพันล้านบาทของอนันตชัยจึงมีฐานสำคัญอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นส่วนใหญ่
บทบาททางสังคมของอนันตชัยเริ่มขึ้นเมื่อเขาได้รับเลือกเป็นกรรมการหอการค้าจังหวัด
และทวีความสำคัญขึ้นเมื่อเขาได้เป็นประธานหอการค้าจังหวัด
วันนี้บทบาทของประธานหอการค้าจังหวัดกำลังถูกท้าทายและต้องต่อสู้กับแนวความคิดของสิปปนนท์
เกตุทัต รมว.อุตสาหกรรมที่ยืนยันนโยบายดังกล่าว และเตรียมออกมาตรการจูงใจโรงงานขนาดกลางและเล็กที่สร้างปัญหามลภาวะย้ายเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเช่นยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
3 ปี หรือการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม ฯ (ไอเอฟซีที)
รวมทั้งผ่อนผันการเก็บเงินเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อมด้วย และถ้าหากใครไม่สามารถพัฒนาระบบบำบัดของเสียให้ดีขึ้นได้ก็จะถูกระงับการต่อใบอนุญาตโรงงาน
"นโยบายดังกล่าวเป็นการผลักภาระความรับผิดชอบ โดยไม่พยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้เต็มที่เสียก่อน
เราก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือบรรเทาปัญหามลพิษที่เป็นอยู่ ซึ่งรัฐบาลก็มีส่วนก่อขึ้นเหมือนกันคือไม่ให้ความดูแลอย่างเพียงพอ"
อนันตชัยให้ความเห็นถึงมาตรการแก้ปัญหาที่รัฐต้องหน้าที่รับผิดชอบสร้างศูนย์กำจัดกากอุตสาหกรรม
โรงบำบัดน้ำเสียและเตาเผาขยะตามจุดที่มีปัญหาหนาแน่น
จากการสำรวจของอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการปี 2533 พบว่า ในจำนวนโรงงานทั้งหมด
3,315 แห่ง มีโรงงานที่เป็นบ่อเกิดมลพิษกระจายอยู่ 5 อำเภอ แยกเป็นโรงงานที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย
740 แห่ง อากาศเสีย 860 แห่งและมลพิษด้านเสียงอีก 580 แห่ง
รวมทั้งสิ้น 2,180 โรง
"แต่ละปีรัฐบาลก็จัดเก็บภาษีจากจังหวัดสมุทรปราการได้ถึง 12 ,000
ล้านบาท แต่จังหวัดได้เงินช่วยเหลือปีละไม่ถึง 0.9% ของภาษี พอเกิดปัญหาก็จะมาขับไล่ออกไป
มันก็ไม่ถูกต้อง และคิดดูสิว่าถ้าหากจะแก้ปัญหาด้วยระบบบำบัดของเสียใช้เงินพันล้านบาทแต่ถ้าหากย้ายโรงงาน
500 โรงออกไปตั้งที่ใหม่ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท ทางนี้รัฐบาลควรจะแก้ปัญหาส่วนที่สามารถทำได้ก่อน
ดีกว่าจะคิดย้ายเราออก" ประธานหอการค้าอนันตชัยให้ความเห็นในที่สุด
กระแสความตื่นตัวกับนโยบายนี้ก่อให้เกิดภาวะสับสนในอนาคตของกลุ่มเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมในสมุทรปราการ
ต่างไม่กล้าขยายโรงงานออกไป เพราะอาจจะโดนสั่งย้ายได้ ขณะเดียวกันข่าวร้ายนี้อาจเป็นทางบีบให้ต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะกรณีเร่งขอตั้งโรงงานใหม่หรือขยายโรงงานได้เรียกว่าถูกบีบทั้งบนและล่าง
คนที่ถูกกระทำมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ อนันตชัย คุณานันทกุล นั่นเอง !!