ABN AMRO แบงก์อัญมณี กำลังมาที่กรุงเทพ


นิตยสารผู้จัดการ( ตุลาคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

ธนาคาร ABN หรือ ALGEMENE BANK NEDERLAND NV สัญชาติดัตต์ไม่เป็นที่คุ้รหูคนไทยสักเท่าใด แต่กับผู้ที่ติดต่อค้าขายในเนเธอร์แลนด์และบรรดานักค้านักอุตสาหกรรมเพชรพลอยอัญมณีต้องรู้จักเป็นอย่างดีในนามของ DIAMOND BANK

ABN เป็นธนาคารพาณิชย์เก่าแก่ มีชื่อในด้านให้สินเชื่ออุตสาหกรรมอัญมณีรายใหญ่ที่สุดในโลกมากกว่า 50 ปี มีสวนแบ่งในตลาดสินเชื่อด้านอัญมณีของโลกมากกว่า 25 % ABN อยู่ระหว่างการรวมตัวกับธนาคาร AMRO หรือ AMSTERDAM ROTTERDAM BANK ธนาคารพาณิชย์ใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ให้การสนับสนุนธุรกิจเครื่องประดับเพชรพลอยในกรุงอัมสเตอร์ดัมมาเป็นเวลามากกว่า 100 ปี

เมื่อการวมตัวของธนาคารทั้งสองสำเร็จลงในเดือนตุลาคมจะใช้ชื่อว่า ABN AMRO BANK และเกิดเป็นธนาคารที่วัดจากมูลค่าสินทรัพย์จำนวน 199 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใหญ่สุดเป็นอันดับ 16 ของโลก

ขณะที่ยังครองอันดับ 1 ในการให้สินเชื่อเพื่ออุตสาหกรรมอัญมณีของโลก

NICO VAN DER KLUGT ผู้จัดการทั่วไปของแผนก IDO หรือ INTERNATIONAL DIAMOND DIVISION ของธนาคาร ABN เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ในคราวที่เดินทางมาเตรียมการประชุมผู้เกี่ยวข้องในวงการค้าอัญมณี ซึ่งธนาคารฯมีการจัดการประชุมเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอ 2 ปี/ครั้งและสำหรับและปีนี้ได้ใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่จัดงานว่า "ธนาคารฯให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมอัญมณีในที่ต่างๆ ทั่วโลก เมื่อ 10 ปีก่อนจึงมีการตั้งแผนก IDD ขึ้นมาเพื่อดูแลอุตสาหกรรมนี้ในทั่วโลกเป็นการเฉพาะ ผมต้องดูแลให้เจ้าหน้าที่ของแผนก ฯ ซึ่งมีเพียง 5 คน เท่านั้น ก้าวทันกับแนวโน้มทางการค้า อุตสาหกรรม การพัฒนาสินค้าอัญมณีใหม่ๆ และให้คำแนะนำปรึกษาแก่ลูกค้าของธนาคารฯ"

ว่าไปแล้ว IDD ก็คือแผนกสินเชื่อในอุตสาหกรรมอื่นๆของ ABN

VAN DER KLUGT ซึ่งร่วมงานกับธนาคารฯมานานกว่า 40 ปี และมีความเชี่ยวชาญใในอุตสาหกรรมเพชรพลอยอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งกล่าวว่า" เมื่อมีผู้ขอสินเชื่อในธุรกิจอัญมณี แผนก IDD จะร่วมกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารฯ เพื่อดูแลลูกค้ารายนั้นๆ แผนกฯไม่มีอำนาจใดๆ ทั้งสินในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ แต่เราเป็นผู้รับรองลูกค้าและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อจะเป็นผู้อนุมัติวงเงินกู้ตามการรับรองของเรา"

ปกติแล้วงานประชุมของธนาคารฯจะมีสาขธนาคารในประเทศที่ใช้เป็นสถานที่จัดงานเป็นผู้ดูแลเตรียมการประชุม แต่ในครั้งนี้ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 6 ธนาคารฯเลือกจัดที่กรุงเทพซึ่งธนาคารฯไม่มีสำนักงานตัวแทน VAN DER KLUGT จึงต้องมาดูแลด้วยตนเอง

NICO VAN DER KLUGT เปิดเผยว่า "เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ABN เคยยื่นอนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อที่จะเข้ามาตั้งสาขาและเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาธนาคารฯก็ยื่นความจำนงเข้ามาอีกครั้งหนนึ่งแต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการพิจารณา"

ผู้จัดการชาวดัตช์ไม่ทราบสาเหตุที่ไม่ได้รับการพิจารณาและเขาก็เพิ่งจะททราบว่าหลังจากที่ธนาคารแห่งอเมริกาและธนาคารซีคิวริตี้ แปซิฟิค เอเชี่ยน รวมตัวในต่างประเทศแล้วใบอนุญาตเปิดสาขาต่างประเทศจะว่างลง 1 ใบ เพราะธนาคารฯทั้งสองต่างถือใบอนุญาตฯด้วยกันทั้งสองแห่ง เมื่อรวมกันและเหลือเพียงธนาคารแห่งอเมริกา ใบอนุญาตก็จะเหลืออีก 1 ใบ เขายังไม่ทราบว่าคณะผู้บริหารธนาคารฯจะสนใจอย่างไรหรือไม่

ท่าทีของคณะผู้บริหารแบงก์เท่าที่ผ่านมาโดยเฉพาะการปรากฏตัวในเอเชียเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาและเมื่อเร็วๆนี้ทำให้เป็นที่คาดหมายได้ว่า ABN AMRO ขวนขวายพยายามอย่างยิ่งที่จะเข้าสู่ตลาดไทย

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ABN ซื้อใบอนุญาตของ CONTINENTAL BANK ในกรุงไทเป เปิดสำนักงานสาขาขึ้นได้สำเร็จในจังหวะที่ไต้หวันกำลังผ่อนคลายกฏระเบียบทางการเงินและการคลัง รวมทั้งมีการเปิดตลาดหุ้นไต้หวันให้กับนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น

ครั้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ABN ก็ซื้อใบอนุญาตของ CHEMICAL BANK เพื่อเปิดสาขาในกรุงโซล กรายเป็น1 ใน 20 แบงก์ต่างชาติใในเกาหลีใต้ตลาดที่ธนาคารในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์กำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เกาหลีใต้อยู่ในช่วงของการเร่งผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับธนาคารต่างประเทศ จะมีการยกเลิกการควบคุมเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

JOS J.WZWEEGERS ผู้จัดการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือของ ABN AMRO เปิดเผยกับนิตยสารการเงินมีชื่อฉบับหนึ่งว่า "ธนาคารกำลังเข้ามามีบทบาทในเอเชียอย่างรวดเร็ว เราต้องการที่จะเป็นผู้นำในแต่ละตลาดที่เราเข้าไปมีบทบาทอยู่"

แม้จะยังไม่มีใบอนุญาตเปิดสาขา แต่เป็นที่แน่นอนว่าธนาคารฯมีแผนการที่จะมาเปิดสำนักงานตัวแททนที่กรุงเทพ

ผู้จัดการ IDD กล่าวว่า ถึงตอนนี้ยังไม่มีสำนักงานอะไรมันก็ไม่ใช่อุปสรรคที่จะขัดขวางการจัดประชุมที่กรุงเทพ แต่เมื่อผมทราบว่า มีการจัดงานประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกที่นี่ซิ ผมค่อนข้างจะลังเลใจ"

อย่างไรก็ดี การประชุมมีขึ้นในวันที่ 28-29 ตุลาคมหลังงานประชุมเวิลด์แบงก์ ต้องถือว่านี่เป็นการประชุมระดับชาติเช่นกัน โดยมีประธานธนาคาร ABN ประธานบริษัทเดอ เบียรส์ บริษัทค้าเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก และประธานของศูนย์กลาง ซื้อขายอัญมณีหรือที่รู้จักกันในนามของ CENTRAL SELLING ORGANIZING (CSO) พร้อมทั้งตัวแทนผู้ค้าอัญมณี นายธนาคารเหมืองเพชรระดับโลกมาร่วมประชุม

การเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ประชุม หลังจากที่เคยจัดในเมืองใหญ่ๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าเช่น แอนท์เวิร์ป นิวยอร์ก ลอนดอน ฮ่องกงและบอมเบย์ นั้นมีความหมาายเป็นอย่างยิ่ง

VAN DER KLUGT กล่าวว่า "ผมเดินทางมาประเทศไทยหลายครั้งแล้ว ได้มีโอกาสพูดคุยเยี่ยมเยียนบริษัทค้าเพชรโรงงานเจียระไนในไทยหลายแห่ง ผมเห็นว่าอุตสาหกรรมอัญมณีในประเทศไทยกำลังพัฒนาอย่างมาก และกรุงเทพกำลังเติบโตเะป็นศูนย์กลางการผลิตอัญมณีรายสำคัญรายต่อไป"

แต่ ABN ไม่มีลูกค้าอยู่ในไทยโดยตรงเลยแม้แต่รายเดียว จะมีบ้างก็เป็นที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศและพาร์ตเนอร์ต่างประเทศเป็นลูกค้าของธนาคารฯโดยเฉพาะพาร์ทเนอร์ที่อยู่ในแอนท์เวิร์ป

สิ่งที่ ABN AMRO ทำได้ในเวลานี้คือมีธุรกิจโดยทางอ้อม หากลูกค้าในประเทศไทยต้องการติดต่อกับธนาคารฯก็สามารถทำได้โดยทางอ้อมคือผ่านแบงก์พาณิชย์ไทย

ดูช่างเป็นความลำบากยากเย็นที่จะมีธุรกิจในไทยเสียเหลือเกิน !!



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.