เศรษฐกิจไทย พลาดสู่วิกฤติ. ศุภวุฒิ สายเชื้อ-ถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง พิมพ์ครั้งที่
2 ราคา 99 บาท
หนังสือเล่มนี้เตะตา เพราะเขียนโดยผู้รู้ในวงการที่เด่นที่สุดจากสถาบันวิจัย
ของภัทรธนกิจต่อมาเป็นบริษัทหลักทรัพย์เมอร์ริล ลินช์ภัทร จำกัด
หนังสือมีเนื้อหาบรรจุตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่ถูกนำเสนออย่างเต็มที่ความ
ยาว 151 หน้า มีภาคผนวก 3 ภาคด้วยกัน ซึ่งพลาดไม่ได้เลย ภาคผนวก แรกคือ ทฤษฎีว่าด้วยผลกระทบของการเปิดเสรีทางการเงินต่อนโยบาย
เศรษฐกิจมหภาค ภาคผนวก ที่สองคือ ปรส.บทเรียน ที่ควรจดจำ ภาคผนวก ที่สาม
การแก้ไขปัญหาหนี้เสียในประเทศสวีเดน
เหตุ ที่ผมเลือกนำหัวข้อภาคผนวก ทั้งสามขึ้นมากล่าวถึงเสียก่อนก็ เพราะการจับหลักของเนื้อหา
ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้โยงยึดอยู่กับคำอธิบายใน ภาคผนวกทั้งสาม
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปิดหน้าแรกผู้อ่านจะพบ "ปรัชญาการบริหารหมู่บ้านไทย"
ของนายวิโรจน์ นวลแข ที่อธิบายภาพรวมของภูมิปัญญาไทย โดยเขียน สั้นๆ ว่า
"เคารพผู้เฒ่า เมตตาผู้น้อย ช่วยกันทำ แบ่งกันกิน อบรมลูกหลาน ให้เป็นคนดี
ร่วมกันระแวดระวังภัย ขจัดคนชั่วออกจากหมู่ ส่งเสริมลูกบ้าน ให้ดี ให้เด่นเกินตน"
ผมสังเกตอย่างหนึ่งว่านี่เป็นปรัชญาบริหารขององค์กรบริหารธุรกิจ ที่เป็น
หลักของภัทรธนกิจ ซึ่งปัจจุบันเราพยายามชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยกำลังถอยห่างจากปรัชญานี้ไปทุกวัน
อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้จะอธิบายด้วยข้อมูล และสนับสนุนด้วยการตี แผ่ปัญหาอันเป็นปัจจัยทำให้เราเห็นวิกฤติเศรษฐกิจ
ที่สังคมไทยเผชิญหน้าตั้งแต่ยุคเฟื่องฟู และบทเรียนจากเศรษฐกิจ ที่เป็นฟองสบู่
จนกระทั่งเกิดเหตุของ การเปิดเสรีทางการเงิน และหนี้ต่างประเทศก่อตัว จนเกิดอันตราย
ซึ่งเห็นได้ชัด แต่รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรทำ จนเกิดความอ่อนแอของภาคการธนาคาร
และลึกไปจนถึงภาคการผลิตโดยรวม
ปัญหาความอ่อนแอเหล่านี้หากเกิดด้วยเหตุปัจจัยใด ก็ต้องไปดูการใช้นโยบาย
ซึ่งนำไปสู่การให้สัญญาณ ที่นักเก็งกำไรใช้เป็นแนวทางเข้าโจมตีค่า เงินบาท
โดยกลยุทธ์ ที่ใช้นั้น ก็ถูกนำมาอธิบายจนเห็นภาพ ที่ชัดเจน
การลอยตัวของค่าเงินบาทช่วงวันที่ 2 ก.ค.2540 มีความหมายอย่างไรนั้น ต้องมองให้ทะลุ
และจะเข้าใจถึงเศรษฐกิจไทย ที่ต้องตกอยู่ภายใต้ไอเอ็มเอฟ และการพลิกฟื้นตัวในช่วงปี
2542 ตลอดจนแนวโน้มปี 2543 ซึ่งผู้เขียนได้อธิบาย และให้คำวิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายมหภาค
ว่ายาก ที่ใช้กับ ประเทศไทยนั้น รุนแรงเกินไปหรือไม่ และนโยบายฟื้นฟูสถาบันการเงิน
ที่เรานำมาใช้มีเหตุผลอย่างไร โดยสรุปในช่วงท้ายว่า อนาคตเศรษฐกิจจะต้องเผชิญ
อะไรบ้าง และต้องเผชิญหน้ากับสรรพปัญหาอย่างไร
สำหรับผู้อ่านทั่วๆ ไปก็จะเข้าใจง่ายๆ ว่า เศรษฐกิจไทยมีโฉมหน้า อย่างไร
และนิยามพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ ที่ว่า การจัดสรรทรัพยากร ที่มีอยู่จำกัด
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดนั้น เ ราทำกันอย่างไร
ที่ผมเห็นว่านี่เป็นต้นแบบของการมองปัญหา โดยมิได้มุ่งวิจารณ์ "ผู้สร้าง
ความเสียหาย" เป็นแนวการเขียน ที่ไม่ล่าหาผู้ผิดแต่เป็นการนำหลักการมา ศึกษาให้ตัวเลขข้อมูล
และตีแผ่จุดเปลี่ยน แปลงต่างๆ ในเชิงนโยบาย
เราทุกคนล้วนเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจช่วง 10 ปีที่ผ่านมาทุกคน และ เราหลงเชื่อว่าความเข้มแข็งของไทยนั้น
กำลังเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยไปสู่ ความเป็นเสือเศรษฐกิจ ที่ตามขึ้นไปสู่ระดับการก้าวหน้าพัฒนาอย่างถาวร
โดยลืมคิดไปว่าการเตรียมการในระดับพื้นฐานของเรามีปัญหา เราออกวิ่ง แล้วเร่งฝีเท้าโดยไม่รู้ตัวเองหรือออมแรง
ขยับฐานของตัวเราอย่างรอบคอบ กระทั่งเกิดวิกฤติจึงรู้ว่าภาพ ที่เรามองนั้น
แท้จริงเป็นปรากฏการณ์ลวงตา เท่านั้น
ศุภวุฒิ สายเชื้อ และถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านประสบการณ์อยู่วงในของตลาดทุนไทย
รู้ข้อมูล และแลกเปลี่ยนทัศนะกับนัก เศรษฐศาสตร์ ทั้งใน และนอกประเทศได้เข้าไปสัมผัสองค์กรการเงินระหว่างประเทศ
ผู้บริหารรัฐ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ธนาคารกลาง องค์กรธุรกิจเอกชน
กล่าวได้ว่านี่คือ ข้อเขียน ที่ตกผลึกจากประสบการณ์ และใช้ข้อมูลตัวเลข
ที่เป็นจริงทั้งเล่ม เขียนอธิบาย โดยไม่จำเป็นต้องชี้นิ้วกล่าวโทษใครหรือ
นโยบายใครออกมาอย่างที่เราพบเห็นในวิธีการเขียนหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
"ผู้เขียนตั้งใจจะประมวลเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ในหนังสือเล่มเดียว เพื่อให้
เกิดความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด เนื่องจากภาระหน้าที่การ
งานของผู้เขียนมีหน้าที่โดยตรงในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ และระบบการเงิน
ทำให้ได้สัมผัส และเห็นพัฒนาการของปัญหาท ี่เกิดขึ้นทั้งในช่วงก่อน และ ระหว่างวิกฤติการณ์"
นี่เป็นปฐมบทอธิบายจากแง่มุม ผู้เขียน และหนังสือเล่มนี้ก็เริ่มต้นด้วย
บทสรุป เพื่อฉายภาพประเทศไทย ว่าความรุ่งเรืองของไทยนั้น มีเหตุปัจจัย มาจากการย้ายฐานการผลิตมาสู่เอเชีย
ซึ่งก่อผลให้ภูมิภาคนี้มีการ "ขยาย ตัวอย่างต่อเนื่อง" และเป็นรากฐานของการเริ่มต้นแห่งยุคฟองสบู่
เราผ่านความร้อนแรงของฟองสบู่ มาเป็นลำดับชั้น ด้วยปัจจัยภายนอก จริงๆ คือ
วิกฤติอ่าวเปอร์เซีย และถาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ใน ช่วงปี 2531-2533
จุดเริ่มต้นแห่งหายนะเริ่มปี 2535 เมื่อเราตัดสินใจเปิดเสรีทางการเงิน โดยหลักการในขณะนั้น
ก็ เพื่อ "ปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจ ให้เราก้าวขึ้นไปเป็น ประเทศ ที่พัฒนาสู่ยุคอุตสาหกรรม
โดยเรามีความคิดว่าต้องเปิดรับทุน ที่เข้ามา
แต่จุดเริ่มต้นนี้กลายเป็นข้อผิดพลาด ที่สำคัญยิ่ง ส่งผลให้เราล่มสลาย อีก
5 ปีต่อมา เพราะการเปิดเสรี ควบกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคง ที่ ทำ ให้เกิดการ
"บิดเบือน" ในการจัดสรรทรัพยากรเราลงทุนเกินต้องการ หนี้ถูก ก่อขึ้น โดยยืมเงินมาลงทุน
ที่ให้ผลตอบแทนเป็นเงินบาท และใช้เงินกู้ระยะสั้น มาลงทุนในโครงการระยะยาว
เราตกอยู่ในสภาพ "เสี่ยงต่อผลกระทบของ อัตราแลกเปลี่ยน และสภาพคล่อง" หนี้ต่างประเทศขยายตัวเร็ว
ขณะที่ปัจจัย พื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เข้มแข็ง ดังนั้น การแข็งตัวของค่าเงินบาท
เทียบกับคู่ค้า และประเทศคู่แข่ง เราจึงสูญเสีย "ความสามารถในการแข่งขัน"
กับต่าง ประเทศ
วิกฤติเศรษฐกิจ ที่งอกขึ้นนี้ บั่นทอนความเชื่อมั่น เจ้าหนี้เริ่มไม่มั่นใจ
และเรียกเงินกู้คืน เกิดการไหลออกของเงินทุน
นี่เป็นความผิดในเชิงนโยบายการเงิน ซึ่งตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้คง ที่ แต่ก็ใช้นโยบายการคลังผ่อนปรน
โดยไม่มีวินัยทางการคลัง
เมื่อนักเก็งกำไรค่าเงินบาทโจมตี ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเข้าไปปกป้อง ท้ายสุด
"ขนาดค วามเสียหาย" นั้น เหลือกำลัง ที่เราตั้งรับได้ ไทยเข้าสู่ การต้องเข้า
ไปรับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ
หนังสือได้ชี้ให้เห็นจุดวิกฤติ และความเสียหาย (มีตัวเลข และการประเมิน
จากไอเอ็มเอฟ) หลังจากนั้น ผู้เขียนได้ศึกษาความเฟื่องฟูระหว่างปี 2529-
2533 ซึ่งน่าสนใจที่สุด โดยชี้ว่าเราได้ผ่านช่วง ที่โชคช่วย หรือ "เฮง" เพราะเกิด
ปัจจัย แต่เราก็ "เก่ง" ด้วยในการชะลอความร้อนแรง ไว้ได้
บทเรียน ที่เราได้รับจากจุดนี้ มีราคาเพราะเมื่อเราแก้ไขสถานการณ์ได้ก็เปิดให้เกิดตลาดหุ้น
ที่ขยายตัวเร็ว โดยไม่เกี่ยวกับการแข่งขันกับต่างประเทศ จนเกิดฟองสบู่ตึงตัวเราใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำระหว่างธนาคารลง
(ของ สหรัฐฯ ลดเหลือร้อยละ 3) โดยหุ้นไทยโตขนาดซื้อขายกันวันละหมื่นล้านล้านบาท
การเปิดเสรีการเงินโดยคุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ส่งผลอย่างไรก็อ่าน ในบท
ที่ 5 เงินทุนไหลเข้าออกง่าย ภาคเอกชนกู้เงินนอก ผ่าน BIBF ผู้เขียนชี้ว่า
"หากประเทศใดใช้นโยบายเปิดเสรีการเงิน ควบไปกับใช้อัตราแลกเปลี่ยนคง ที่
ประเทศนั้น จะไม่สามารถใช้นโยบาย การเงินควบคุมภาวะเศรษฐกิจของ ตนได้
หลังจากนี้แล้วผู้อ่านจะพบกับตัวเลขข้อมูล และการล่มสลาย ที่ตามมาอย่างเป็นระบบ
วิธีการนำเสนอแบบตรงไปตรงมา ทำให้หนังสือเล่มนี้มี น้ำหนักที่สุด และใช้ตรรกะในมุมของนักเศรษฐศาสตร์อย่างแจ่มชัดง่ายต่อความเข้าใจ
ผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ย่อมรู้ดีว่านี่คือ สิ่งที่ประมวลข้อมูลที่ชัดเจน
ใช้ตรรกะง่ายต่อความเข้าใจ และใช้สติในการวิพากษ์นโยบายต่างๆ โดยเฉพาะ นโยบายฟื้นฟูสถาบันการเงิน
ที่ผู้เขียนระบุว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย"
ผมอยากให้หนังสือเล่มนี้คนไทยได้อ่านทุกคน นักเศรษฐศาสตร์ย่อมถือว่า นี่เป็นหนังสือเล่มเล็ก
ควรใช้ในการศึกษา ตั้งแต่ระดับชาวบ้าน นักศึกษา นักการธนาคาร ฯลฯ เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยข้อคิด
วิธีประเมิน ความผิดพลาดอันเกิดจากนโยบาย และชี้ให้เห็น "ขนาดของปัญหา" ตลอดจน
ชี้ว่าเรากำลังเผชิญอะไรต่อไปในอนาคต
บทเรียนราคา 99 บาทตามราคานี้ สมราคา และจะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ที่น่าเชื่อถือที่สุดฉบับหนึ่งในอนาคต