ดร.เซติ อัคตาร์ อาซิซ ผู้หญิงคนแรกที่คุมทิศทางเงินของมาเลเซีย

โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
นิตยสารผู้จัดการ( มิถุนายน 2543)



กลับสู่หน้าหลัก

เรียกได้ว่าตื่นตาตื่นใจกันพอสมควร!

สำหรับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางของมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia - BNM หรือ Central Bank of Malaysia) ของ ดาโต๊ะ ดอกเตอร์ เซติ อัคตาร์ อาซ ิ Dato"Dr.Zeti Akhtar Aziz) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

ดอกเตอร์เซตินับเป็นผู้หญิงคนแรก ที่ได้รั้งตำแหน่งนี้ หลังจาก ที่มาเลเซียก่อตั้งธนาคารกลางขึ้น เมื่อเดือนมกราคม ปี 2502 โดยผู้ว่าฯ ทั้ง 5 คนก่อนหน้านี้เป็นชายล้วน

แม้ว่าดอกเตอร์เซติจะอยู่กับธนาคารแห่งนี้มานานถึง 15 ปี และได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการเงิน แต่นิตยสารดังอย่างเอเชียวีค (Asiaweek) กลับไม่ได้คาดหมายว่า เธอจะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางของมาเลเซีย กลับไปคาดว่าน่าจะเป็นนายมุสตาปา มูหะหมัด (Mustapa Muhamad) อดีตเบอร์สองของกระทรวงการคลังมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม เมื่อดอกเตอร์ เซติ ได้รับเลือกให้ขึ้นเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางสืบแทนจากตัน ศรี ดาโต๊ะ เสรี อาลี อาบุล ฮัสซัน บิน สุไลมาน (Tan Sri0 Dato"Seri Ali Abul Hassan bin Sulaiman) ซึ่งหมดวาระไป เอเชียวีคก็ยอมรับความผิด พลาดด ังกล่าวอย่างน่าชื่นตาบาน และสรุปว่า ดอกเตอร์เซติ เหมาะสมกว่า นายมุสตาปาด้วยประการทั้งปวง!

ดอกเตอร์เซติคนนี้เอง ที่ประกาศ นโยบายควบคุมการปริวรรตเงินตรา ร่วมกับนายแพทย์มหาเดร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อเดือน กันยายน 2541 ตอนนั้น เธอรักษาการ ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย เนื่องจาก ทั้งนายอะห์มัด ดอน (Ahmad Don) ผู้ว่าการฯ และรอง ต่างลาออก จากตำแหน่งกันหมด เพื่อเป็นการประท้วงแนวทางขอ งมหาเดร์ ท่ามกลาง วิกฤติการเงินในเอเชีย ยามนั้น

คงจำกันได้ว่าพร้อมๆ กันนั้น เอง ก็ถึงกาลแตกหักระหว่างนายกรัฐมนตรีมหาเดร์กับนายอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคลัง ซึ่งขณะนี้กำลังต่อสู้ข้อกล่าวหาต่างๆ อยู่ในเรือนจำของมาเลเซีย

ดอกเตอร์เซติ วัย 52 ปี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "มืออาชีพ" ทางการเงินผู้นี้ เป็นบุตรสาวของอดีตรองประธานมหาวิทยาลัยมาลายา (Malaya University ) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของมาเลเซีย และตัวเธอเองก็จบการศึกษา ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย แห่งนี้ ก่อน ที่จะไปศึกษาต่อจนจบขั้น ปริญญาเอกทางด้านการเงินจากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of P ennsylvania) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย

ดอกเตอร์เซติ จบปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเดียวกันกับดอกเตอร์วีรพงษ์ รามางกูร หรือ "ดร.โกร่ง" นั่นเอง ซึ่งมีแนวความคิด ที่สวนทางกับ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เหมือนกัน!

ผู้ว่าการหญิงคนแรกของธนาคารกลางของมาเลเซียผู้นี้ ได้รับการยอมรับด้านความรู้ในเชิงวิชาการอย่างมากทั้งในมาเลเซีย และจากประชาคมโลก เธอมักจะได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาหรือสัมมนาเชิงวิชาการทางด้านการเงินอยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าโดยปกติเธอจะไม่ใช่คนช่างพูด และมักจะพูดด้วยเสียงอันเบาๆ อีกด้วย

เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว เธอก็ ได้ไปพูดถึงความมั่นคงของเศรษฐกิจ มาเลเซีย ที่สโมสรผู้สื่อข่าวแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวได้ว่าเธอเป็น คนหนึ่ง ที่ตอกย้ำถึงความสำเร็จในการดำเนินนโยบายการเงินของ มาเลเซีย ซึ่งในชั้นต้นมีเสียงคัดค้านอย่างหนัก ที่มาเลเซียทำตัวเป็น "เด็กดื้อ" ต่อไอเอ็มเอฟ ที่รู้ๆ อยู่ว่า มีสหรัฐฯ อยู่เบื้องหลัง!

ดอกเตอร์เซติ เริ่มงาน ที่ธนาคารกลางของมาเลเซีย ในปี 2528 และ เคยเป็นผู้แทนของธนาคารไปประจำอยู่ ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่าง ปี 2531 ถึง 2537 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้ว่าการ ในปี 2538 ซึ่งนับเป็นผู้หญิงคนแรกของธนาคารกลาง ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูง และสำคัญขนาดนี้ แต่ตอนนั้น ก็ยังไม่มีใครคิดว่าเธอจะก้าวขึ้นมา เป็นเบอร์หนึ่งของธนาคาร ถึงแม้ว่าจะมีผู้เห็นถึงความสามารถ และสนับสนุนเธออยู่มากก็ตาม

ดอกเตอร์เซติไม่ใช่ว่ามีความสามารถในฐานะผู้หญิงทำงานเท่านั้น ยังหน้าตาสวยงามสมวัยอีกด้วย เรียกได้ว่างามครบเครื่อง!

และถึงแม้ว่าวันนี้ ดอกเตอร์เซติจะได้ขึ้นเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางหญิงคนแรกของมาเลเซีย แต่นักวิเคราะห์ก็มองว่าเส้นทางในตำแหน่งของเธอใช่ว่า จะราบรื่นนัก โดยเฉพาะความไม่ลงรอยกันระหว่างเธอกับ โมฮัมเหม็ด นอร์ ยาคูป (Mohamed Nor Yakoop) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บริหารของธนาคารอยู่เวลานี้ นอร์เคยลาออกจากธนาคารกลางของมาเลเซียไปครั้งหนึ่งในปี 2536 หลังจาก ที่ธนาคารสูญเสียเงินจากการปริวรรตเงินตราไปจำนวนมาก แต่แล้ว นายกรัฐมนตรีมหาเดร์ก็เรียกเขากลับมาดูเรื่องการควบคุมการปริวรรตเงินตรา ในปี 2541 ถึงตอนนี้เมื่อดอกเตอร์เซติขึ้นเป็นเบอร์หนึ่ง ก็เลยมีการ คาดหมายกันไปต่างๆ เกี่ยวกับอนาคตของนอร์

อีกปัญหาหนึ่ง ที่พูดกันมากก็คือ ถึงแม้ดอกเตอร์เซติจะได้ชื่อว่าเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการเงิน แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายต่างๆ ได้ดังใจนึก เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่า นโยบายการเงินของมาเลเซียนั้น แยกไม่ออกจากการเมือง และผู้ที่ถือดาบอาญาสิทธิ์หรือ เป็นผู้ที่คุมนโยบายทาง การเงิน ที่แท้จริง นั้น ก็คือ ตัวนายกรัฐมนตรี มหาเดร์นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ภาระหน้าที่เฉพาะหน้าของดอกเตอร์เซติก็คือ คิด ค้นหาวิธีการต่อไปในการดำเนินการปฏิรูประบบธนาคาร และตลาดทุนของ มาเลเซีย ซึ่งคาดกันว่านโยบายดังกล่าวสามารถประกาศใช้ภายใน เดือนมิถุนายนนี้

ไม่น่าจะเป็นเรื่อง ที่เหลือบ่ากว่าแรงของดอกเตอร์เซติไปได้

ดอกเตอร์เซติเคยกล่าวไว้ในบทสรุปเกี่ยวกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในระบบการเงินระหว่างประเทศว่า โลกท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนเช่นนี้ นับเป็นเรื่องยาก ที่จะทำนายถึงความเสี่ยง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือ ต้องพยายามทำความเข้าใจ และมองให้ออกว่า อนาคตจะเปลี่ยนไปในรูปใด เพื่อ ที่จะได้ ปรับตัว และพัฒนาขีดความสามารถ ให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปในรูปแบบใดก็ตาม ทั้งนี้ก็ เพื่อความอยู่รอด และ การเติบโตแบบยั่งยืน!

สำหรับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางของมาเลเซียนี้ วาระหนึ่งๆ จะอยู่ได้นานสูงสุด 3 ปี แต่กระนั้น ก็สามารถ ที่จะต่ออายุได้ หากผลงานเข้าตากรรมการ

มีผู้กล่าวถึงดอกเตอร์เซติว่า เธอไม่เพียงแต่เป็นอนาคตของมาเลเซียเท่านั้น แต่เธอยังคือ อนาคตของเอเชียอีกด้วย!



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.