ยูยีน ลี กับบุคลิกที่ปรึกษาทางการเงิน

โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ( กุมภาพันธ์ 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

หนุ่มใหญ่วัยกลางคน รูปร่างผอมสูง ท่าทางใจเย็น ยิ้มแย้มพูดจาสุภาพเรียบร้อย สายตาหลักแหลม สุขุม เมื่อเจรจาด้วยสักพักจะพบว่าบุรุษผู้นี้ผ่านงานการต่อรองทางธุรกิจมาอย่าโชกโชน

เขาชื่อยูยีน ลี เป็นผู้ชำนาญงานด้าน INVESTMENTBANKING และ CORPORATE FINANCE ในย่านเอเชีย เป็นชาวจีนเกิดในสหรัฐฯ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐฯ ปริญญาตรีด้านวิศวะเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และปริญญาโทบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ชีวิตของลีอาจจะไปเป็นนักเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใกสัดแห่งหากเขาหยุดการศึกษาเพียงปริญญาตรี แต่เมื่อเขาเรียนบริหารธุรกิจ เขาก็คงมาทำงานเทคนิค แต่เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองทางธุรกิจที่ความรู้ส่วนมากเกิดจากประสบการณ์ ซึ่งคร่ำหวอดมากกว่าสิบปีในงานที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อการลงทุน การซื้อขายกิจการ (MERGR & ACQUISITION)

ลีนั่งคุยกับ "ผู้จัดการ" ด้วยอัธยาศัยอันดีในเช้าวันหนึ่ง เล่าถึงประสบการณ์และทัศนะทางธุรกิจ อันทำให้ "ผู้จัดการ" มองเห็นคุณลักษณะที่สำคัญซึ่งผู้ที่ทำงานด้านวาณิชยธนกิจจำเป็นต้องมี

ลีเริ่มงานที่ธนาคารเชสแมนฮัตตันในลอนดอน แล้วย้ายมาที่ฮ่องกงจนถึงปี 2528 ย้ายไปทำกับ WARDEY (HK.) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธราคารฮ่องกงและเชี่ยงไฮ้ ตลอดเวลาที่ทำงานในสถาบันการเงิน เขารับผิดชอบด้านวาณิชยะนกิจและคอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ เชี่ยวชาญด้านการซื้อขาย หรือรวมกิจการซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในตลาดการเงินสำคัญ ๆ ของโลก จาก WARDLEY (HK.) เขาก้าวมาสู่เอกธนกิจในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริการระดับสูงขึ้น SEVP รับผิดชอบงารคอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ที่เอกธนกิจจะเริ่มบุกเบิกอย่างเต็มที่ ลีบอกกับ "ผู้จัการ" ว่ามันไม่มีอะไรมากไปกว่าโอกาสที่เขาจะได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่กับตลาดเมืองไทยซึ่งมีช่องว่างมากมายให้ธุรกิจแขนงนี้ได้เติบโต

เขาจึงเป็นศิษย์เก่าเชสฯแบงก์คนล่าสุดที่เข้ามาสู่เอกธนกิจ ชั่วเวลา 3 เดือน เขามีผลงานออกมาแล้ว ชิ้นแรกเป็นการติดต่อนำบริษัท RJPELECTRONICS ในฮ่องกงเข้ามาตั้งโรงงานในนิคมอุตสหกรรม THAI ELECTRONIC CITY (TEC) ที่ตั้งอยู่บางขุนเทียนของ สงคราม ชีวะประวัติดำรงค์ โดยเขาทำหน้าที่ดูแลโครงสร้างการร่วมทุนและการเข้ามาลงทุนของบริษัทนี้

ชิ้นต่อมาเป็นเรื่องการเจรจาซื้อ FIRST PACIFIC SECURITY (HK.) ในราคา 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ความสำเร็จของผลงานเหล่านี้เกิดจากความสามารถของเขา และเครือข่ายความสัมพันธ์กับนักธุรกิจในย่านเอเชียซึ่งเขาติดต่อคุ้นเคยมาเป็นเวลานาน

ลีเล่าว่ากรณีของโรงงานฮ่องกงที่ต้องการกระจายฐานการผลิตอย่างบริษัท RJP ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้บริษัทฮ่องกงจำนวนมากได้เข้าไปตั้งโรงงานในจีน และสามารถสร้างรายได้และกำไรได้เป็นจำนวนมาก ทั้งในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์นองเลือดที่เทียนอันเหมอนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2532 เพราะต้นทุนการประกอบการในจีนถูกมาก โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานที่ต่ำอย่างมาก ๆ

อย่างไรก็ดี บรรดาลูกค้าของโรงงานเหล่านี้เริ่มเกิดความวิตกว่าการมีฐานการผลิตเพียงแห่งเดียว อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนัก พวกเขาคิดว่าควรมีการตั้งโรงงานในที่อื่น ๆ บ้าง โดยเฉพาะในที่ซึ่งมีหลักประกันว่าจะไม่มีการแทรกแซงในกระบวนการผลิต และไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นจึงเริ่งมีการมองหาสถานที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่อยู่ในภูมิภาคนี้ มีลักษณะแวดล้อมคล้ายคลึงกับในจีน มีความเหมาะสมในการตั้งโรงงานอย่างเดียวกัน ค่าแรงต่ำสามารถสร้างโรงงานขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีกระบวนการผลิตหลายอย่างอยู่ร่วมกันได้ และจุคนงานจำนวนมากได้ด้วย ซึ่งจากจุดนี้ กรุงเทพฯเป็นเมืองที่เหมาะมาก เพราะมีเสถียรภาพทั้งในแง่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมือง

ลีคิดว่จะมีนักลงทุนจำนวนมากจากฮ่องกงเข้ามาลงุทนในไทย คนที่ลีเคยติดต่อด้วย เคยเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมอิเล้กทรอนิกส์ คนเหล่านี้คิดถึงการเคลื่อนย้ายโรงงานมาตั้งในไทย

นอกจากงานติดต่อนำนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว ลีสามารถติดต่อเรื่องการซื้อขายบริษัทได้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องที่บริษัทไทยต้องการออกไปซื้อกิจการในต่างประเทศไม่วาจะเป็นการซื้อช่องทางการจัดจำหน่าย ซื้อโรงงานหรือซื้อใบอนุญาตต่าง ๆ "ผมมีประสบการณ์เรื่องเหล่านี้ในต่างประเทศ คงจะทำด้านนี้ได้มาก"

แม้ว่าจะคร่ำหวอดอยู่กับธุรกิจอินเวสเม้นท์และคอร์ปอเรทไฟแนนซ์มาสิบกว่าปี ลีไม่เคยรู้สึกเบื่องานเหล่านี้เลย เขากล่าวว่า "มันคงเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่เราจะเบื่องานอะไรสักอย่างซึ่งเราต้องอาศัยเวลาพากเพียรทำอยู่นาน กว่าที่จะเป็นผู้ชำนาญได้ ผมคิดว่าการทำ M&A เป็นเรื่องที่ทำให้เราให้ได้รู้จักพบเห็นผู้คนในด้านที่เป็นส่วนตัวอย่างมาก ๆ ของเขา"

มันไม่เหมือนการซื้อขายหุ้น หรือพันธบัตรที่เป็นเพียงเศษกระดาษเท่านั้น แต่เรื่องที่ลีทำเป็นเรื่องที่เราต้องสัมพันธ์กับคนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนเกี่ยวกับทัศนะของคนที่มีต่อธุรกิจ และพยายามช่วยให้ได้รับความสำเร็จในจุดที่ต้องการ

ลีมีความรู้สึกว่าการทำธุรกิจนี้เป็นสิ่งที่พิเศษจริง ๆ "แต่ละกรณีมีลักษณะเฉพาะอย่างมาก ๆ บางคนต้องการเงิน บางคนต้องการเกียรติยศ หน้าตาชื่อเสียง ความมั่นคง การที่แต่ละกรณีแตกต่างกันก็เพราะคนเราไม่เหมือนกันวัฒนธรรมต่างกัน แต่ผมรู้จักและเข้าใจวิถีทางและสิ่งที่พวกเขาปรารถนามาแล้วจากประสบการณ์ของผม"

สิ่งที่ยากที่สุดในการทำธุรกิจนี้ในทัศนะของลีคือ "เราต้องใช้ความชำนาญบางอย่างเพื่อทำให้คนตกลงกันได้ในเรื่องที่ยากจะตกลง ถ้าคุณเคยผ่านมาแล้ว คุณจะรู้ว่าข้อเสนอหรือการต่อรองอย่างนี้ คนจะไม่ยอมตกลงด้วยแน่คนจะเศร้าใจมาก หรือคนจะอนุโลมผ่อนปรนได้นี่เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ต้องสั่งสมขึ้นมาจากการลงมือกระทำจริง ๆ "

บุคลิกของความยืดหยุ่น การพยายามเข้าใจความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขาย ความสามารถที่จะเจรจาให้คนตกลงกันได้ในสิ่งที่ยากจะตกลงเหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติของที่ปรึกษาทีดี ซึ่งยูยีน ลีมีอยู่ครบถ้วย

เอกธนกิจวันนี้นับว่าได้มือดีมาบุกเบิกงานที่ต้องอาศัยความสามารถอย่างแท้จริง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.