จากสภาพเกือบจะล้มละลายเมื่อ 12 ปีก่อนด้วยภาระหนี้สินร่วม 3,000 ล้านบาท
จากเจ้าหนี้กว่า 20 ราย ที่ร่วมกันกระโดดเข้าไปควบคุมกิจการและเป็นพี่เลี้ยงในการบริหาร
จนวันนี้บริษัทไทยเกรียงปั่นทอฟอกย้อม (TDT) ผู้ผลิตผ้าและเส้นด้าย "ตราข้าวโพด"
สามารถไถ่ถอนความเป็นไทแก่ตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการหาคำตอบสำหรับคำถามที่ว่าอะไรคือหลักประกันว่าไทยเกรียงจะไม่ถอยหลังลงไปในคลองอีกครั้งหนึ่ง
ภายใต้ภาวะการแข่งขันอย่างดุเดือดพล่านอย่างเช่นปัจจุบัน เป็นปมประเด็นอีกจุดหนึ่งที่มีตามมาสำหรับอนาคตของไทยเกรียง
ไทยเกรียงการทอ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นไทยเกรียงปั่นทอ และเปลี่ยนเป็น
ไทยเกรียงปั่นทอฟอกย้อม (THE THAI DURABLE TEXTILE CO.LTD หรือ TDT) ผู้ผลิตผ้าผืนและเส้นด้ายภายใต้เครื่องหมายการค้า
"ตราข้าวโพด" ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ขึ้นชื่อในตลาดเมืองไทยนั้นก่อตั้งขึ้นมาบนริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระประแดงเมื่อปี
2503 โดย จืองิ้ม แซ่เตีย
จืองิ้ม แซ่เตีย ก็คือ จรินทร์ ติรชัยมงคล หรือ "ซีลี่" หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไทยเกรียงคนปัจจุบันนั่นเอง
จืองิ้ม แซ่เตีย รวบรวมสมัครพรรคพวกที่เป็นชาวจีนแคระจากซัวเถาในเมืองไทยแถบท่าม่วง
กาญจนบุรีได้ร่วม 20 คนรวมทั้ง ชุงคิม แซ่เท้น ช่วยกันลงขันก่อตั้งบิรษัทไทยเกรียงการทอขึ้นมา
โดยร่วมกับทุนใหญ่อีกกลุ่มอย่าง สมาน โอภาสวงศ์ พ่อค้าข้าวมีชื่อระดับแนวหน้าในวงการพ่อค้าของเมืองบางกอกในยุคนั้น
และยุคปัจจุบัน
ชุงคิม แซ้เท้น หุ้นส่วนใหญ่คนสำคัญของไทยเกรียงที่ร่วมกันก่อตั้งมานั้นก็คือ
อดุลย์ ธัญญะวุฒิ ซึ่งกลายเป็นพ่อค้าอะลูมิเนียมรายใหญ่ย่านบางพลีในปัจจุบัน
จืองิ้ม แซ่เตีย เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการรวบรวมสมัครพรรคพวกและถือหุ้นใหญ่ที่สุด
ทั้งที่ไม่ค่ยจะมีใครรู้จักเขาดีนักว่าเขาเป็นใครมาจากไทย และความเป็นเจ้าของที่แท้จริงของไทยเกรียงของเขาได้นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือที่คนในโรงงานและพ่อค้าย่านสำเพ็ง-หาหุรัดเรียก
"ซีลี่" อันเป็นชื่อตำแหน่งแทนชื่อเขาจนติดปากจนทุกวันนี้ แม้เขาจะเปลี่ยนชื่อเป็น
จรินทร์ ติรชัยมงคลแล้วก็ตาม (โปรดอ่าน จรินทร์ ติรชัยมงคล "ซีลี่"
แห่งไทยเกรียงและตารางสัดส่วนการถือหุ้นของไทยเกรียง)
"ซีลี่" มีความหมายในภาษาจีนว่าหัวหน้าใหญ่ หรือเจ้านายใหญ่
หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่ แล้วแต่ว่าใช้เรียกในกิจกรรมใด แต่ความหมายนั้นจะออกไปในทางที่ยิ่งใหญ่เอามาก
ๆ
ส่วน สมาน โอภาสวงค์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อีกคนหนึ่งและค่อนข้างเป็นคนกว้างขวางในสังคมนั้นถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการ
และ ชุงคิม แซ่เท้น หรืออดุลย์ ธัญญะวุฒิ นั้นนั่งเป็นรองประธานกรรมการ
การบริหารงานเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านโรงงานและการค้าจรินทร์เป็นคนที่รับผิดชอบเองทั้งหมด
ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แต่คนส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยได้เกี่ยวข้องกับไทยเกรียงมักจะเข้าใจว่าไทยเกรียงเป็นของสมาน
โอภาสวงศ์ หรือบางคนหนักเข้าไปกว่านั้นที่ไปเข้าใจว่าไทยเกรียงเป็นบริษัทในเครือของแบงก์กรุงเทพ
ไทยเกรียงการทอก่อกำเนิดขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท แบ่งออกเป็น
1,000 หุ้น หุ้นละ 10,000 บาท แต่ชำระกันจริง ๆ เพียง 40% หรือจะเรียกว่าเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นนั้นมีจริง
ๆ 4 ล้านบาทเท่านั้น
แต่กว่าโรงงานทอผ้าไทยเกรียงที่ริมฝั่งเจ้าพระยาจะสามารถเดินเครื่องและส่งผ้าผืนออกสู่ตลาดได้จริง
ๆ ในต้นปี 2505 นั้นต้องใช้เงินทั้งสิ้นถึง 13 ล้านบาทเข้าไปแล้ว ฉะนั้นส่วนที่เกินจาก
4 ล้านบาทขึ้นไปนั้นจึงล้วนแล้วแต่เป็นเงินกู้ทั้งสิ้น
เรียกว่าเริ่มต้นก็ใช้เงินกู้ไปแล้วกว่า 2 เท่าตัวของเงินทุน หรืออีกนัยหนึ่ง
DEBT TO EQUITY มีสัดส่วน 2:1
โรงงานทอผ้าไทยเกรียงที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณบ้านของจรินทร์ที่พระประแดงนั้น
เริ่มด้วยเครื่องทอผ้าเพียง 200 เครื่อง แต่ก็ถือว่าเป็นโรงงานที่ใหญ่ติดอันดับในยุคบุกเบิกอุตสาหกรรมสิ่งทอของเมืองไทยทีเดียว
ต่อมาภายหลังจึงได้มีการเพิ่มเครื่องทอ และเครื่องปั่นด้วยเข้ามาอีกเรื่อย
ๆ พร้อม ๆ กับการขยายพื้นที่ดินที่จรินทร์ซื้อเข้ามาไว้จนล่าสุดมีพื้นที่กว้างขวางถึง
98 ไร่
ก่อนที่เจ้าหนี้จะเข้าควบคุมกิจการและช่วยบริหารนั้น โรงงานไทยเกรียงที่พระประแดงมีเครื่องทอผ้าถึง
1,500 เครื่อง และมีเครื่องปั่นด้ายอีกร่วม 100,000 แกน ซึ่งมีกำลังการผลิตผ้าผืนสูงถึง
3,000,000 หลาต่อเดือน และเส้นด้ายอีกเดือนละ 3,000,000 ปอนด์ พร้อมกับโกดังเก็บฝ้ายในพื้นที่เดียวกันนั้นอีกจนเต็ม
98 ไร่
แม้ในช่วง 2-3 ปีแรกยอดขายจะพุ่งขึ้นสูงเป็นเท่าตัวในแต่ละปี จากยอดขายเพียง
7 ล้านบาทในปี 2505 เพิ่มขึ้นเป็น 14 ล้านในปี 2506 และสูงถึง 24 ล้าน ในปี
2507 ก็ตาม แต่ผลประกอบการของบริษัทก็ยังขาดทุนอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่มากนักตามรายงานของบริษัทเองบอกว่าเมื่อสิ้นสุดปี
2507 นั้น บริษัทยังคงขาดทุนสะสมอยู่ประมาณ 9 แสนกว่าบาท
ทั้งนี้เพราะต้นทุนวัตถุดิบราคาค่อนข้างแพงและที่สำคัญอีกประการหนึ่งนั้นคือต้นทุนทางด้านดอกเบี้ยจากยอดเงินกู้ที่สูงถึง
22 ล้านบาทนั้นก็เป็นตัวเลขที่สำคัญที่ทำให้กิจการของบริษัทยังคงขาดทุนอยู่
พร้อม ๆ กับยอดขายที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจให้ต้องการขยายกิจการเพิ่มขึ้นอย่างมากแล้วภาวะบีบคั้นกทางด้านต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ทำให้ผู้บริหารของบริษัทต้องเรียกชำระทุนเพิ่มขึ้นอีกให้เต็มตามจำนวนที่จดทะเบียนไว้
10 ล้านบาท และมีมติเพิ่มทุนเป็น 14 ล้านบาทในปี 2507 เพื่อเตรียมการขยายงานครั้งแรกของไทยเกรียงในปี
2508 โดยการเพิ่มเครื่องปั่นด้วยเข้ามา ก่อนที่จะกระโดดขยายงานสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขึ้นในปีถัดมา
"ช่วงนั้นคู่แข่งขันเราก็น้อย ผลิตออกไปเท่าไหร่ก็ขายได้หมด โรงงานของเราเริ่มมีชื่อยู่ในระดับแนวหน้า
ในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยกัน การขยายงานของเราครั้งแรกก็เจอเอากับช่วงที่เศรษฐกิจมันบูมพอดีในปี
2509 ผ้าผืนของเราขายดีมากในเวลานั้น และจากนั้นมาเราก็มีกำไรมาตลอด"
สันติ เรืองวิริยะ ผู้จัดการโรงงานคนปัจจุบันบอกกับ "ผู้จัดการ"
ถึงอดีตช่วงบุกเบิก
สันติบอกว่าตลาดสิ่งทอในช่วงนั้นเฉพาะผลิตขายในประเทศก็แทบจะผลิตไม่ทันกันแล้ว
ความต้องการทางด้านปริมาณค่อนข้างสูง ราคาก็ดี จึงทำให้โรงงานไทยเกรียงเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นมาเรื่อย
ๆ
คนเก่าแก่ในวงการสิ่งทอบอกว่า ในยุคบุกเบิกอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อทดแทนการนำเข้านั้นความต้องการของตลาดในประเทศสูงพอที่จะทำให้อุตสาหกรรมประเภทนี้เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
และคำว่าตลาดในประเทศนั้นว่ากันที่จริงแล้วยังหมายความรวมถึงตลาดในลาว เวียดนาม
เขมร รวมอยู่ในตัวด้วย เพราะพ่อค้าในสำเพ็งและเจ้าของโรงงานเองก็ไม่รู้ตัว
และเชื่อกันว่าตัวกระตุ้นที่สำคัญที่ทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้มีอำนาจซื้อมากมาย
ทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นคือฐานทัพของทหารอเมริกันที่อยู่ในประเทศเหล่านั้น
รวมทั้งประเทศไทยด้วย
"พวกผ้าได้ถูกระบายออกไปสู่ตลาดอินโดจีน ลาว เวียดนาม เขมร จำนวนมาก
ๆ โดยพ่อค้าชายแดนเข้ามาซื้อจากกรุงเทพฯไปส่งออกเอง" สันติ เรืองวิริยะ
ผู้คร่ำหวอดในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอมากกว่า 30 ปีกล่าว
อุตสาหกรรมสิ่งทอจึงได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและขึ้นสูงสุดในปี 2514-2516
ซึ่งปรากฏว่ามีโรงงานทอผ้าขนาดย่อม ๆ เกิดขึ้นกันเป็นจำนวนมากจากแรงจูงใจดังกล่าว
ยิ่งทำให้ความต้องการเส้นด้ายอันเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการทอผ้าพุ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
จรินทร์ ติรชัยมงคล เถ้าแก่อย่างเขาย่อมจะมองเห็นความต้องการของตลาดเส้นด้ายนี้ได้ดี
การขยายงานของไทยเกรียงในช่วงต่อมาส่วนใหญ่จึงเป็นการขยายไปทางด้านอุตสาหกรรมปั่นด้ายมากกว่าโรงงานทอผ้า
ในปี 2516 มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 350 ล้านบาทเป็น 480 ล้านบาทในปี
2517 เพียงปีเดียวต่อมาไทยเกรียงก็เพิ่มทุนขึ้นอีก 120 ล้านบาทเป็น 600 ล้านบาท
เพื่อการขยายงานที่จะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีก 80,000 แกนสำหรับเครื่องปั่นด้าย
และจำนวน 4,000 เครื่องสำหรับเครื่องทอผ้า โดยบริษัทได้แตกหุ้นอกไปจากหุ้นละ
10,000 บาท เป็นหุ้นละ 100 บาท จำนวน 6,000,000 หุ้น
แต่ก็ไม่ใช่จรินทร์เท่านั้นที่มองเห็นอนาคตของสิ่งทอไทยว่าควรจะหันไปทางด้านการผลิตเส้นด้ายมากกว่าการทอผ้าผืน
เพราะปรากฎว่ามีโรงงานปั่นด้ายในประเทศเกิดขึ้นจำนวนมากจนรัฐบาลต้องประกาศงดให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทนี้ในปีเดียวกันนั้น
เพราะรัฐบาลเกรงว่าถ้าปล่อยให้การแข่งขันกันมาก ๆ จะทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาได้
นอกจากการขยายงานจนเต็มพื้นที่ขนาด 98 ไร่ บนริมน้ำเจ้าพระยาฝั่งพระประแดงแล้ว
จรินทร์ยังมีโครงการใหญ่ที่จะเปิดโรงงานเพิ่มขึ้นอีกในกำลังการผลิตสูงขึ้นอีกเท่าตัวของที่มีอยู่เดิมด้านฝั่งบางปูสมุทรปราการ
เขากว้านซื้อที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งบางปูสมุทรปราการได้ถึง 200 ไร่
เพื่อรองรับการขยายงานครั้งใหญ่ของเขา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการขยายงานครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขาก็ว่าได้
และก็น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตของเขาอีกด้วย เพราะถึงวันนี้วัยของจรินทร์ได้ย่างเข้าสู่วัยเลย
70 ปีเสียแล้ว
สำหรับโรงงานที่จะตั้งขึ้นใหม่ที่บางปูจรินทร์สั่งซื้อเครื่องปั่นด้ายเข้ามาอีกร่วม
100,000 แกนและเครื่องทอผ้าอีก 5,000 เครื่อง รวมทั้งเครื่องฟอกย้อมที่พร้อมจะรับกำลังผลิตใหม่นี้อย่างครบวงจรของอุตสาหกรรมสิ่งทอได้อย่างสบาย
ๆ
"ที่ดินที่บางปูนั้นซื้อมาตารางวาละ 20,000 บาท ส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งซื้อมาตารางวาละ
30,000 บาท ในสมัยนั้นก็นับว่าแพงมาก" คนใกล้ชิดของจรินทร์คนหนึ่งบอกกับ
"ผู้จัดการ"
ซึ่งถ้าซื้อขายกันในราคาที่ว่านั้นจริง ๆ จรินทร์ก็ต้องใช้เงินเกือบ 2,000
ล้านบาท จึงจะได้ที่ 200 ไร่นั้นมา
แต่คนเก่าคนแก่ที่เป็นเจ้าของที่ดินย่านนั้นมากกว่า 30 ปี บอกกับ "ผู้จัดการ"
ว่า ที่ดินชายฝั่งทะเลเรียบถนนสุขุมวิทในย่านนั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
5 ทรงโปรดประกาศให้เป็นที่ดินของกรมชลประทาน เพื่อทำคูกั้นนำเค็มที่มันจะทะลักเข้ามาในพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร
ซึ่งต่อมาคูดังกล่าวก็ได้กลายเป็นถนนสุขุมวิท แต่แนวเขตตามพระบรมราชโองการก็ยังใช้บังคับอยู่
"เพราะฉะนั้นผมก็ไม่ทราบว่าทางไทยเกรียงและโรงงานอีกหลายโรงงานในย่านนั้นได้ดฉนดมาได้อย่างไร
เพราะชาวบ้านจริง ๆ ในแถบนี้ก็ยังเดือดร้อนอยู่กับการขับไล่ของเจ้าหน้าที่กรมชลประทานชนิดที่เรื้อรังมานานหลายสิบปีแล้ว"
แหล่งข่าวคนเดียวกันกล่าว
จึงมีคนตั้งข้อสังเกตว่า เหตุนี้น่าที่ไทยเกรียงคงจะใช้เงินไม่ถึง 2,000
ล้านบาทอย่างที่กล่าวอ้างในการที่จะให้ได้โฉนดทีดินแปลงนี้มา
เริ่มมีการปรับพื้นที่และสร้างโรงงานที่บางปูไปแล้วบางส่วน เครื่องจักรส่วนที่เหลือก็กำลังทยอยกันส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ประมาณว่าเฉพาะเครื่องจักรที่สั่งซื้อมานั้นราคาร่วม ๆ 600 ล้านบาท โดยการออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตของธนาคารกรุงเทพ
กรุงศรีอยุธยา กรุงไทย กสิกรไทย และสหธนาคาร
"ในขณะที่เครื่องจักรกองอยู่ที่คลองเตยมูลค่าหลายร้อนล้านบาทก็เกิดสิ่งที่เราเองก้ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นคือเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในลาว
เขมร เวียดนามต่อเนื่องกัน และประเทศเหล่านั้นก็ปิดชายแดน ติดตามด้วยการถอนฐานทัพออกไปของทหารอเมริกันในไทย
และก็เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทันทีทันใดก็ส่งผลกระทบกระเทือนถึงเราด้วย"
สันติ เรืองวิริยะ กล่าวถึงสัญญาณการล่มสลายของไทยเกรียงขณะนั้น
ยงยุทธ์ ติรชัยมงคล ลูกชายและเลขานุการของจรินทร์บอกกับ "ผู้จัดการ"
ว่าของที่กองอยู่ในท่าเรือนั้นไม่สามารถจะเอาออกมาได้เลย เครื่องจักรที่กำลังสั่งเข้ามาเพิ่มเรื่อย
ๆ ถูกสั่งงดไปหมด โรงงานที่กำลังก่อสร้างต้องหยุด โครงการใหม่ที่บางปูทุกอย่างหยุดสนิท
เพราะว่าธนาคารเจ้าหนี้ดึงวงเงินสินเชื่อคืนไปหมด
แหล่งข่าวในไทยเกรียงเองบอกว่าในการขยายงานของไทยเกรียงครั้งสำคัญนี้ล้วนแต่ใช้เงินกู้ธนาคารเกือบทั้งสิ้น
เพราะพูดถึงจรินทร์แล้วเขาเป็นคนที่มีเครดิตดีมาก ๆ คนหนึ่งสำหรับผู้บริหารธนาคารในยุคนั้น
"ซีลี่ท่านเป็นคนที่มีเครดิตดีมาก พูดง่าย ๆ ว่าแบงก์เขาให้ไม่อั้นในสมัยนั้น
โดยเฉพาะแบงก์กรุงเทพแล้วต้องการเท่าไหร่ก็ให้" ยงยุทธพูดถึงเครดิตผู้เป็นพ่อของเขา
อย่างไรก็ตาม สันติ เรื่องวิริยะ คนที่จรินทร์ ให้ความไว้วางใจมากคนหนึ่งบอกกับ
"ผู้จัดการ" ว่าในสมัยนั้นถ้าจะว่ากันเฉพาะโรงงานไทยเกรียงที่พระประแดงแล้วมันก็ยังสามารถมีรายได้เลี้ยงตัวมันเองอยู่ได้สบาย
ๆ
มรสุมกระหน่ำไทยเกรียงหนักเข้าไปอีกเมื่อเกิดปัญหาแรงงานติดตามมา อันเนื่องมาจากไทยเกรียงเป็นโรงงานที่มีกำลังกรรมกรมากที่สุดในยุคนั้น
และก็มีปัญหามากที่สุด มีการเชื่อมโยงต่อกันเข้าระหว่างกรรมกรในโรงงานกับขบวนการนักศึกษาจากกรุงเทพฯอย่างช่วยไม่ได้
และมันได้กลายเป็นกลุ่มพลังที่มีเกลียวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น
คนงานในไทยเกรียง ยุคนั้นจึงมักเป็นหัวหอกสำคัญในการเคลื่อนไหวในทุก ๆ
เรื่อง จากเรื่องสภาพการจ้างในโรงงานได้ขยายออกไปสู่การเคลื่อนไหวเพื่อขบวนการกรรมกรโดยรวม
จองิ้ม แซ่เตีย หรือ จรินทร์ ติรชัยมงคล ซึ่งเคยได้รับบทเรียนมาแล้วอย่างเจ็บปวดเมื่อคราวปฏิวัติครั้งใหญ่โดยขบวนการชาวนาและกรรมกรในจีนของเหมาเจ๋อตุง
และมันก็กลายเป็นอดีตที่ตามหลอกหลอนเขาอยู่ตลอดเวลา เมื่อมาเจอเหตุการณ์ละม้ายคล้ายกันในเมืองไทย
จรินทร์ถึงกับหลั่งน้ำตานองหน้า เพราะความหวาดกลัวจนไม่รู้จะทำฉันใดดี
เหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวนี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า วันแล้ววันเล่าในโรงงานไทยเกรียง
จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 2519 โรงงานไทยเกรียงจึงได้พลอยสงบลงบ้าง แต่ก็เหมือนผีซ้ำด้ำพลอยเพราะบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่างก็ยื่นคำขาดที่จะไม่ผ่อนปรนหนี้อีกต่อไป
พร้อมกับประกาศที่จะเข้ายึดโรงงานดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
ตัวเลขทางบัญชีล่าสุดของบริษัทในปี 2518 ซึ่งเป็นปีตกต่ำอย่างถึงขีดสุดของไทยเกรียงนั้น
ปรากฎว่ามีภาระหนี้สินค้างชำระอยู่ถึง 1,400 กว่าล้านบาทขณะที่มีเงินกองทุน
600 ล้านบาท ยอดขายตำต่ำลงเหลือเพียง 483 ล้านบาทในขณะที่ต้นทุนสูงถึง 649
ล้านบาท ทำให้มีผลต่อยอดขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 234 ล้านบาท
"บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายซึ่งนอกจากจะถอนวงเงินกันหมดแล้วยังเตรียมจะรุมฟ้องให้ล้มละลายไปเลยทีเดียว"
แหล่งข่าวในไทยเกรียงกล่าวถึงอดีตที่ขมขื่นเมื่อ 14 ปีก่อน
แหล่งข่าวคนเดียวกันบอกว่าถ้าไม่มี ชิน โสภรพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพในยุคนั้น
กระโดดเข้ามาช่วยไว้ก้คงจะต้องถึงกาลอวสารของไทยเกรียงตั้งแต่บัดนั้นไปแล้ว
ชินรับปากที่จะให้การช่วยเหลือแก่จรินทร์ทั้งในฐานะเพื่อนและลูกค้ารายใหญ่
ซึ่งถ้าปล่อยให้จรินทร์และไทยเกรียงต้องล้มละลายไปก็ต้องกระทบถึงธนาคารกรุงเทพด้วยอย่างช่วยไม่ได้
"เฉพาะแบงก์กรุงเทพและสถาบันการเงินในเครือรวมกันก็ตกเกือบ ๆ 2,000
ล้านบาท คุณชินต้องต่อสู้กันทั้งบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกันแล้วยังต้องมาต่อสู้กับผู้บริหารงานภายในแบงก์กรุงเทพเอง
ซึ่งมีข่าวว่าจะจับมือกับผู้ถื้อหุ้นของไทยเกรียงอีกกลุ่มหนึ่งจะเข้าฮุบกิจการของไทยเกรียงเป็นของตัวเอง
แต่ด้วยบารมีที่สูงส่งของนายห้างชิน การเจรจากันระหว่างเจ้าหนี้จึงเกิดขึ้น
คนที่อยากได้โรงงานไทยเกรียงของคุณจรินทร์ก็เป็นอันต้องถอยห่างออกไป"
แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์เมื่อ 14 ปีก่อนเล่าให้ "ผู้จัดการ"
ฟัง
ว่ากันว่าจรินทร์ ติรชัยมงคล ถึงกับน้ำตาพรากกับน้ำมิตรยามยากที่เขาได้รับจากชิน
โสภณพนิช คราวนั้น จรินทร์พูดอยู่คำเดียวว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็แล้วแต่ชีวิตนี้ทั้งชีวิตได้ฝากความเป็นความตายอยู่กับชินคนเดียว
บรรดาเจ้าหนี้ได้ประชุมกันเพื่อสะสางหนี้รายนี้เป็นเวลาปีเศษ ๆ จนตกถึงต้นปี
2520 จึงสามารถสรุปยอดหนี้รวมออกมาได้ชัดเจน ซึ่งปรากฏว่ามีรวมกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสูงประมาณ
3,000 ล้านบาท ซึ่งต่อมาได้แบ่งหนี้ออกเป็น 2 ส่วนระหว่างหนี้ของโรงงานใหม่ที่บางปูกับโรงงานที่พระประแดงคนละครึ่ง
ชิน โสภณพนิช เป็นคนบอกกับคณะกรรมการเจ้าหนี้เองว่าให้ ดำหริ ดารกานนท์
กรรมการผู้อำนวยการของกลุ่มสหยูเนี่ยนเข้าดำเนินการกิจการโรงงานที่บางปูต่อจาก
จรินทร์ ติรชัยมงคล
ดำหริเองก็จำต้องรับโรงงานนี้เข้ามาอยู่ในเครืออย่างไม่ได้ตั้งใจ เพราะทั้งหมดนั้นเกิดจากการขอร้องของชิน
โสภณพนิช นายแบงก์ที่ดำหริให้ความเคราพนับถือมาก ๆ
8 มิถุนายน 2520 จึงได้มีการลงนามในสัญญาข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้ 25 ราย
อันมี
9
ธนาคารกรุงเทพและกลุ่มสถาบันการเงินในเครือเป็นหัวเรือใหญ่ กับ ผู้บริหารของไทยเกรียงซึ่งร่างขึ้นมาโดยสำราญ
กัลยาณรุจ กรรมการเลขานุการและที่ปรึกษากฎหมายของธนาคารกสิกรไทย
ฝ่ายผู้บริหารของบริษัทไทยเกรียงนั้นประกอบด้วย จรินทร์ ติรชัยมงคล อดุลย์
ธัญญะวุฒิ และสมาน โอภาสวงศ์
ข้อความในข้อตกลงแก้ไขหนี้ร่วม 3,000 ล้านบาทของบริษัทไทยเกรียงพอสรุปย่อ
ๆ ออกมาเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกที่เป็นโครงการโรงงานใหม่ที่บางปูบนเนื้อที่ 200
ไร่นั้นให้ตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อเข้าไปดำเนินกิจการโรงงานบางปูด้วยทุนจดทะเบียนอย่างน้อย
300 ล้านบาท ซึ่งจะต้องชำระทุนให้เต็มตามที่จดทะเบียนไว้ภายใน 3 ปี เพื่อเข้ารับกิจการและบริหารโรงงานใหม่ที่บางปู
บริษัทใหม่ที่จะตั้งขึ้นมานั้นจะต้องให้ ดำหริ ดารกานนท์ แห่งกลุ่มสหยูเนียนเป็นผู้ดำเนินการ
ดังนั้นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาใหม่ตามสัญญานี้ก็คือบริษัทอุตสาหกรรมสิ่งทอหนึ่งในเครือสหยูเนี่ยนจนทุกวันนี้นั่นเอง
ในข้อตกลงส่วนนี้กำหนดให้ยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอรับซื้อเครื่องจักรพร้อมอุปกรร์ซึ่งสั่งซื้อเข้ามาโดยการสนับสนุนเลตเตอร์
ออฟ เครดิต ของธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีฯ กสิกรไทย และสหธนาคาร มูลค่ารวมกันประมาณ
800 ล้านบาท
โดยการรับซื้อเครื่องจักรไปตามสัญญานี้ บริษัทใหม่จะต้องรับหนี้จำนวนนี้ไปด้วย
โดยให้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ต่าง ๆ ตามสัดส่วนหนี้ของแต่ละราย
นอกจากนี้ก็ให้บริษัทที่ตั้งขึ้นมาใหม่รับซื้อที่ดินจำนวน 200 ไร่พร้อมกับสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินอื่น
ๆ ด้วย เว้นแต่พวกวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูปในราคา 500
กว่าล้านบาท โดยให้บริษัทใหม่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่จ่ายเป็นระยะ ๆ
เป็นเวลา 12 ปีเช่นกัน ทั้งนี้ให้แบ่งออกเป็นงวด ๆ ละ 6 เดือน และให้จ่ายดอกเบี้ยในอัตรา
15% ต่อปีทุกปีแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายเฉลี่ยตามสัดส่วนของแต่ละราย
ตั๋วสัญญาใช้เงินทุกใบที่บริษัทยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอออกเพื่อชำระหนี้เป็นระยะ
ๆ แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นจะต้องสลักหลักอาวัลโดยบริษัทไทยเกรียงปั่นทอฟอกย้อม
สรุปในส่วนแรกนี้ก็คือให้โอนกิจการของไทยเกรียงในโครงการใหม่ที่บางปูไปให้แก่สหยูเนี่ยนซึ่งรวมทั้งทรัพย์สิน
คนงาน และหนี้สินซึ่งทางสหยูเนี่ยนจะต้องชำระเป็นงวด ๆ นานถึง 12 ปี ให้อัตราดอกเบี้ย
15% ต่อปี โดยที่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ต้องเข้าไปควบคุมดูแลกิจการเช่นกับส่วนที่
2 ที่เป็นโรงงานไทยเกรียงเก่าที่พระประแดง
กลุ่มสหยูเนี่ยนจึงได้โรงงานที่บางปูไปดำเนินการต่อโดยไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใด
ๆ ทั้งสิ้น ถ้าเผื่อว่าผลการดำเนินงานมันประสบความล้มเหลว นั่นเป็นเพราะความไว้วางใจในความสามารถและความซื่อสัตย์สุจริตของนายห้างชิน
โสภณพนิช ที่มีต่อดำริ ดารกานนท์ อย่างยากที่ใครจะมีโอกาสเช่นนี้
ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ชินผิดหวังเลยแม้แต่น้อยสำหรับความไว้วางใจที่เขามีต่อดำริ
เพราะแม้ระยะเวลาเพียง 4-5 ปีต่อมาโรงงานใหม่ที่ทางสหยูเนี่ยนรับไปดำเนินการนั้น
ได้ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างมากจนเกือบจะไปไม่รอด อันเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจตกต่ำในปี
2522 จนถึงปี 2528 ซึ่งดำหริเคยบอกว่าขณะนั้นยูเนี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งทอมีภาระหนี้สินอยู่ถึง
1,500 ล้านบาทต้องการทำการเพิ่มทุนขึ้นมาอีกถึง 1,000 ล้านบาทและไม่มีใครอยากจะซื้อหุ้นที่เพิ่มเลย
สุดท้ายดำหริก็ต้องซื้อไว้เองเกือบทั้งหมด
จนกระทั่งปัจจุบันนี้ดำหริก็สามารถกู้สถานการณ์ให้คืนสู่สภาพที่แข็งแรงและกลายเป็นบานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของกลุ่มสหยูเนี่ยนเวลานี้
ส่วนที่สองจากยอดหนี้ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 1,500 ล้านบาทรวมทั้งดอกเบี้ยถูกจัดให้เป็นยอดหนี้ของโรงงานไทยเกรียงเก่าบนฝังพระประแดง
ตกลงกันว่าให้ทางบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายตั้งกรรมการเข้าไปควบคุมและดำเนินการบริหารอย่างใกล้ชิด
พร้อมทั้งเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาดปัญหาต่าง ๆ ถ้าหากจะมีขึ้น
ในการเข้าไปของบรรดาตัวแทนเจ้าหนี้ในโรงงานไทยเกรียงฝั่งพระประแดงนั้น
กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมจะต้องยอมโอนหุ้นครึ่งหนึ่งให้แก่ตัวแทนเจ้าหนี้ถือไว้ตามสัดส่วนจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้แต่ละรายโดยตีราคา
10 หุ้นต่อหนึ่งบาท ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหนี้มีอำนาจเต็มในการเข้าไปดำเนินการบริหาร
โดยเจ้าหนี้ตกลงว่าจะขายคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาพาร์หรือราคาตามที่จดทะเบียนไว้คือหุ้นละ
100 บาท ถ้าหากบริษัทสามารถชำระหนี้คืนได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งภายในเวลา 5
ปีแรก แต่ถ้าต้องซื้อคืนหลังจากล่วงเลยเวลา 5 ปีไปแล้วผู้ถือหุ้นเดิมจะต้องซื้อคืนในราคาพาร์บวกด้วยอัตราดอกเบี้ย
10% ต่อปีจนกว่าจะซื้อคืนได้ตามเงื่อนไข
สำหรับยอดหนี้ประมาณ 1,500 ล้านบาทนั้นบริษัทไทยเกรียงปั่นทอฟอกย้อมจะต้องชำระคืนเงินต้นเป็นงวด
ๆ ละ 6 เดือนจำนวน 55 ล้านบาทเป็นเวลา 10 ปี โดยเริ่มชำระงวดแรก ณ สิ้นปี
2520 และเมื่อส่งชำระเงินต้นเสร็จสิ้นแล้วจึงให้ส่งชำระยอดดอกเบี้ยค้างที่พักไว้
ณ สิ้นงวด 2519 จำนวน 400 กว่าล้านบาท โดยชำระเป็นงวด ๆ ละ 6 เดือนและจำนวนอย่างน้อยเท่ากับอัตราที่เคยส่งเงินต้นมา
ในสัญญาตกลงกันอีกว่าถ้าหากผลประกอบการประสบการขาดทุนมาก หรือมีความจำเป็นอื่นๆ
ที่จะต้องลดทุน ก็ให้ลดทุนได้ให้เหลืออย่างน้อย 20% ของทุนเดิมก็ได้แล้วจึงทำการเพิ่มทุนใหม่เข้าไป
และถ้าหากปรากฎพภายหลังว่าบริษัทไทยเกรียงยังมีภาระหนี้สินอื่นขึ้นมาอีกภายหลังที่ทำสัญญาข้อตกลงทางผู้บริหารเดิมหรือกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่
3 รายอันได้แก่ จรินทร์ ติรชัยมงคล อดุลย์ธัญญะวุฒิ และสมาน โอภาสวงศ์ จะต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัวด้วย
และห้ามดำเนินการฟ้องร้องคดีใด ๆ ทางกฎหมายอีกเว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเจ้าหนี้
สรุปว่าการแก้ไขปัญหายอดหนี้ส่วนที่สองนี้ เจ้าหนี้จะเข้าไปดำเนินกิจการเองเกือบทั้งหมดโดยเจ้าหนี้หยุดคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้เดิมพักไว้ให้ส่งชำระเงินต้นหมดก่อนจึงส่งชำระดอกเบี้ยที่พักไว้ทีหลัง
ในการเข้าไปควบคุมกิจการ และดำเนินการบริหารของโรงงานไทยเกรียงฝั่งพระประแดงนั้น
บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายก็ได้ส่งตัวแทนของตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการร่วมในการดุแลบริหารอย่งถ้วนหน้า
ซึ่งก็มี ชาญ เลิศลักษณา จากธนาคารกรุงเทพเป็นประธานกรรมการบริษัท ธรรมนูญ
ดวงมณี จากสหธนกิจไทย (ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ไทยค้า)
ปรีชา วสุธาร จากธนาคารกรุงเทพ สุทร อรุณานนท์ชัย จากสินเอเซีย ชนะ สัตสุต
จากกสิกรไทย สุเจตน์ เสกสรรค์จากสหธนาคาร เกื้อ สวามิภักดิ์ จากกรุงไทย (ปัจจุบันเกษียณไปแล้ว)
และก็มี รัตนา สุทธิพงษ์ชัย พิพัฒน์ ปุสยานนท์ สุทธิพันธ์ จารุมณี เป็นกรรมการ
ส่นกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมอย่าง สมาน โอภาสวงศ์ให้เป็นรองประธานกรรมการ จรินทร์
ติรชัยมงคลก็ยังคงเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่เช่นเดิม แต่ตามระเบียบของบริษัทที่ออกมาภายหลังจากที่เจ้าหนี้เข้าไปแล้วนั้นกรรมการผู้จัดการแทบจะไม่มีอำนาจในการบริหารอะไรอีกต่อไปเลย
สุนทร อรุณานนท์ชัย ซึ่งเป็นตัวแทนเจ้าหนี้กลุ่มเครือธนาคารกรุงเทพ ถูกกำหนดตัวให้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการฟื้นฟูกิจการนั้นให้นั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร
ทำหน้าที่ในการบริหารกิจการของบริษัทโดยตรง
คนที่เข้ามารับบทบาทร่วมกับสุนทรนั้นก็เช่นชนะ สัตสุต ปรีชา วสุธาร และ
สุทธิพันธ์ จารุมณีทั้ง 4 คนนี้นอกจากจะได้รับแต่งตั้งให้นั่งเป็นกรรมการบริหารแล้วยังมีหน้าที่โดยตรงในการปรับปรุงระบบการทำงานภายใน
รวมทั้งมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทอีกด้วย
ในการจัดสรรอำนาจการตัดสินใจได้แบ่งกรรมการและกลุ่มผู้ถือหุ้นออกเป็น 2
ประเภท คือ ประเภท ก. กรรมการของผู้ถือหุ้นเดิมเลือกขึ้นมาส่วนประเภท ข.
คือกรรมการที่ผู้ถือหุ้นตัวแทนเจ้าหนี้เป็นผู้เลือกขึ้นมา ซึ่งกำหนดไว้ว่ากรรมการประเภท
ข. จะต้องมีจำนวน 2 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมดที่กำหนดไว้ในทะเบียนว่าจะมีได้
12-18 คน
ในการลงคะแนนเสียงเพื่อให้มติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมกรรมการนั้นจะต้องมีเสียงของผู้ถือหุ้นและกรรมการประเภท
ข. เห็นชอบด้วยเกินกว่าครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นมติที่ชอบของบริษัท
แม้แต่การประชุมกรรมการทุกครั้งก็ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องมีกรรมการประเภท
ข. เข้าร่วมประชุมด้วยเกินกว่าครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม
เช่นเดียวกับคณะกรรมการบริหารของบริษัทซึ่งกำหนดให้มี 6 คนนั้นก็จะต้องมีกรรมการประเภท
ข. จำนวน 2 ใน 3 และจะต้องมีคะแนนเสียงของกรรมการประเภท ข. มากกว่าครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นมติที่ชอบ
คณะกรรมการบริหารจะเป็นผู้กำหนดในเรื่องเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง
ตลอดทั้งค่าตอบแทนต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทตั้งแต่ระดับผู้ช่วยผู้จัดการโรงงานขึ้นไปจนถึงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ
ส่วนตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและผู้สอบบัญชีให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำหนด
ให้คณะกรรมการบริหารซึ่งมี สุนทร อรุณานนท์ชัย เป็นประธานอยู่นั้นมีอำนาจในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับการซื้อ
- ขาย การเงิน การบัญชีและบุคลากร
การกู้ยืมเงินหรือการก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่บริษัทแต่ละรายเกินกว่า 1,000,000
บาท และการชำระหนี้เกินกว่า 100,000 บาทขึ้นไปจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารเสียก่อนถึงจะทำได้
รวมทั้งการให้วงเงิน (เครดิต) แก่ลูกค้าแต่ละรายเกินกว่า 500,000 บาทด้วย
จะต้องได้รับอนุมัติเสียก่อนทุกครั้ง
ให้มีการจัดทำแผนงานประมาณการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละปี เกี่ยวกับการผลิต
การขาย รายรับ รายจ่าย และกำไรเสนอคณะกรรมการบริษัท ทุกปี และให้ดำเนินการตามแผนการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
การดำเนินงานตามแผนนั้นให้รายงานประเมินผลให้คณะกรรมการทราบทุก 3 เดือนหากจะมีการเปลี่ยนแปลงแผนการที่วางไว้จะต้องได้รับอนุมัติเสียก่อน
การลงรายมือชื่อในเอกสารหรือสัญญาใด ๆ ที่จะผูกพันบริษัทจะต้องมีกรรมการประเภท
ข. ร่วมลงลายมือชื่อด้วยทุกครั้ง
กำไรของบริษัทในแต่ละปีจะต้องจัดสรรไว้เป็นทุนสำรองของบริษัทอย่างน้อย
20% ทุกปีจนกว่าบริษัทจะมีทุนสำรองถึง 10% ของทุนบริษัท
พูดสั้น ๆ ย่อ ๆ ก็คือ จรินทร์ ติรชัยมงคลกรรมการผู้จัดการใหญ่นั้นไม่ได้มีอำนาจอะไรเลย
นอกจากนั่งทำตาปริบ ๆ แล้วก็ก้มหน้าทำงานหาเงินใช้หนี้ธนาคารตลอดระยะเวลา
10 กว่าปีที่ผ่านมา
สุนทร อรุณานนท์ชัย สั่งให้มีการรื้อระบบบัญชีกันเสียใหม่ทุกประเภท ทั้งในสำนักงานและในโรงงาน
รวมทั้งเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานให้เกิดความคล่องตัว แต่รัดกุมง่ายต่อการตรวจสอบมากขึ้น
เพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นลงและอุดรอยรั่วของเงินและสิ่งของ
ปรีชา วสุธาร ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการตัวแทนธนาคารกรุงเทพนั้นต้องเข้าควบคุมการทำงานในโรงงานด้วยตัวเอง
และเชิญ บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ มาเป็นที่ปรึกษาด้านโรงงาน ซึ่งตอนหลังเมื่อปรีชาออกไปก็ให้
ชวลิต บุญยเศรษฐ ตัวแทนจากธนาคารกรุงเทพเข้ามารับช่วงต่อ จนชวลิตออกไปบุญยิ่งก็เข้าไปผู้จัดการโรงงานเป็นคนต่อมา
เมื่อบุญยิ่งก็เข้าเป็นผู้จัดการโรงงานเป้นคนต่อมา เมื่อบุญยิ่งเสียชีวิตลง
สุนทรจึงได้ไปจ้าง MR. HUNG ผู้ชำนาญการด้านการบริหารโรงงานจากไต้หวันมารับช่วงต่อและเป็นคนสุดท้ายจนถึงวันที่เจ้าหนี้ได้ถอนทัพออกไป
"สิ่งหนึ่งที่เราตรวจพบภายหลังจากเข้ามาแล้วก็คือความล้มเหลวของบริษัทไทยเกรียงไม่ได้อยู่ที่การบริหารการเงินและวางแผนการลงทุนผิดพลาดเท่านั้น
หากแต่มีปัญหาเรื่องความรั่วไหลในเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกือบทุกจุดในบริษัท
การนำระบบบัญชีและการจัดการแบบใหม่ที่เป็นระบบเข้ามาจึงสามารถลดต้นทุนที่เรามองไม่เห็นนี้ไปได้มากทีเดียว"
แหล่งข่าวที่เป็นตัวแทนเจ้าหนี้คนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
ส่วน ชนะ สัตสุต กับ สุทธิพันธ์ จารุมณี ตัวแทนเจ้าหนี้ที่มีบทบาทสำคัญอีกสองคนควบคุมงานทางด้านบัญชี
การเงิน และตรวจสอบ และให้วิชัย คุณชยางกูร ตัวแทนจากแบงก์กรุงเทพอีกคนหนึ่งดูแลงานด้านการตลาด
ซึ่งระยะต่อมาได้มีการแต่งตั้งสมาน โอภาสวงศ์ รองประธานกรรมการให้มาเป็นประธานกรรมการด้านการตลาดด้วยคนหนึ่ง
มีการลดจำนวนพนักงานลงจาก 4,200 คน เหลือเพียง 3,000 คนโดยการสร้างแรงจูงใจให้เงินเมตตาจิตแก่พนักงานที่สมัครใจลาออกเอง
ซึ่งก็ปรากฏว่าได้ผลดี แล้วบริษัทจึงประกาศรับพนักงานลูกจ้างชั่วคราวเข้ามาแทนจำนวน
700 คน ซึ่งในจุดนี้ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้มากพอสมควร
ในขณะเดียวกันก็เข้มงวดกับการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น
ในระยะ 3-4 ปีแรกที่บรรดาเจ้าหนี้เข้ามาควบคุมดำเนินการบริหารไทยเกรียงฝั่งพระประแดงนั้น
พอดีเป็นช่วงที่ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอเริ่มฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่ง (2521-2524)
ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรและชำระหนี้คนเจ้าหนี้ได้อย่างสม่ำเสมอ
"วงจรสิ่งทอจะมีระยะการขึ้นลง 4 ปีคือขึ้น 4 ปีลงอีก 4 ปีก็จะขึ้นมาอีกและเวลามันดีมันก็จะดีทุกด้าน
เวลามันไม่ดีมันก็จะเลวร้ายไปเสียหมดมันเป้นวงจรอุตสาหกรรมที่แปลกเวลามันดีหมายถึงสินค้าสิ่งทอขายได้ในราคาดี
ราคาฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมนี้ก็จะมีราคาลดลงกลับกันอย่างสิ้นเชิง
เพราะฉะนั้นเวลามันดีนอกจากจะขายได้ในราคาดีขึ้น ปริมาณมากขึ้นแล้ว ช่วงห่างระหว่างต้นทุนกับราคาขายก็จะห่างกันมาก
กำไรงาม แต่ในทางกลับกันเวลามันเลวร้ายมันก็จะเลวร้ายไปเสียหมด และสิ่งที่มักจะตามมาเป็นเงาตามตัวก็คือปัญหาแรงงาน
เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไป ฝ้ายก็แพง ค่าแรงก็มีปัญหา ในขณะที่ราคาสินค้าตกต่ำ
ซ้ำร้ายขายได้น้อยอีก" แหล่งข่าวที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอมานานอธิบายให้ฟังถึงลักษณะวงจรธุรกิจสิ่งทอ
หลังจากปี 2524 เป็นต้นมาวงจรอุตสาหกรรมสิ่งทอก็หันหัวกลับจมดิ่งลงมาอีกครั้งหนึ่ง
ทำให้โรงงานทอผ้าและปั่นด้ายทั้งหลายต่างก็ประสบปัญหาตาม ๆ กัน
คนในไทยเกรียงเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าสำหรับไทยเกรียง ภายใต้การควบคุมกิจการของเจ้าหนี้ก็ได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย
แต่ก็ไม่มากถึงขั้นจะล้มละลายเหมือนที่ผ่านมา เพราะถ้าคิดเฉพาะรอบบัญชีในแต่ละปีก็ยังพอมีกำไร
เพียงแต่กำไรลดลงไปมากจากที่เคยทำได้ ทั้งนี้มีเหตุผลว่าอาจจะเป็นเพราะว่าไทยเกรียงไม่ได้ขยายงานมาก
ต้นทุนทางด้านเงินลงทุนเพิ่มจึงไม่มี คงคุมแต่เฉพาะค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ก็สามารถที่จะมีเงินชำระหนี้ไปได้เรื่อย
ๆ
ในขณะที่ภาวะวิกฤติได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นั้น จรินทร์ ติรชัยมงคล
ก็ยิ่งเครียดหนักเรื่อย ๆ นั้น จรินทร์ ติรชัยมงคล ก็ยิ่งเครียดหนักสุขภาพของเขาอ่อนแอลงอย่างมาก
ทำให้โรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคประจำตัวของเขากำเริบหนักจนต้องเข้านอนรักษาตัวที่โรงพยาบายเป็นเวลานานแรมเดือน
ช่วงต่อระหว่าง 2526-2527 แม้จะไม่ถึงกับประบกับการขาดทุนอย่างย่อยยับ
แต่ก็มีกำไรน้อยจนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ตามข้อตกลงในสัญญาสำหรับงวดหลังของปี
2526 จึงได้เลื่อนการชำระหนี้ออกไปหนึ่งงวดเป็นต้นปี 2527 แทน
แล้วภาวะวิกฤติต่าง ๆ ก็เริ่มกระเตื้องไปในทางที่ดีขึ้น นับตั้งแต่ปลายปี
2527 ท้องฟ้าเริ่มแจ่มใส
การกลับขึ้นมาดีอีกครั้งหนึ่งของวงจรอุตสหากรรมในรอบนี้ สุนทร อรุณานนท์ชัย
ได้ทีรุกด้านขวัญและกำลังใจพนักงาน เขาเปิดให้มีการจัดตั้งสโมสรพนักงานขึ้น
เพื่อประโยชน์ทางด้านรายได้สันทนาการ ด้านกีฬา ดนตรี และห้องสมุด
ได้มีการจัดส่งพนักงานเข้ารับการอบรมทางด้านเทคนิคของเครื่องจักรที่ประเทศเยอรมนี
ไปดูงานที่ปีนัง มาเลเซีย
มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง แม้จะเริ่มที่ฝ่ายสหภาพแรงงานเป็นผู้เสนอข้อเรียกร้องมาก่อนแต่การเจรจาก็เป็นไปอย่างราบรื่น
มีการเพิ่มสวัสดิการการรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือ เงินเพิ่มพิเศษสำหรับกรณีบิดามารดา
สามีภรรยาของลูกจ้างเสียชีวิตลง
อย่างไรก็ตามมีการกล่าวกันว่าในช่วงการฟื้นตัวของวงจรอุตสาหกรรมในรอบปีนั้นทางกลุ่มผู้บิรหารเดิม
โดยเฉพาะ จรินทร์ ติรชัยมงคล นั้นมีความน้อยอกน้อยใจที่กลุ่มเจ้าหนี้ไม่ยอมให้ขยายงานเพื่อรองรับการฟื้นตัวที่จะเกิดในวงจรของมัน
"มีการกล่าวกันว่าธนาคารมานั่งจ้องจะเอาแต่เงินคนอย่างเดียว ไม่ยอมพัฒนาธุรกิจให้เลยทำให้โรงงานเติบโตช้ากว่าโรงงานอื่น
ๆ เป็นเท่าตัวเขาเข้ามาเอาเงินอย่างเดียวเราก็แย่หน่อย" คนในโรงงานไทยเกรียงพูดกับ
"ผู้จัดการ"
จรินทร์ ติรชัยมงคล ซึ่งว่ากันว่าอึดอัดมากที่สุดนั้นได้แอบไปเปิดโรงงานทอผ้าขนาดย่อม
ๆ 200 เครื่องขึ้นมาอีกแหงหนึ่งชื่อ "ไทยวาสิน" ที่มหาชัย สมุทรสาคร
เพราะเขามีความเชื่อว่าอุตสาหกรรมนี้กำลังบูมก็ต้องรู้จักฉกฉวยไว้บ้าง แต่ปรากฎว่าจรินทร์ทำอยู่ได้ไม่ถึงปีดีก็ต้องขายกิจการไป
ว่ากันหมดเงินไปหลายสิบล้านบาททีเดียว
กระทั่งปี 2529 ซึ่งเป็นปีที่สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้เปิดให้มีการส่งเสริมอุตสหกรรมปั่นด้ายอีกคร้งหนึ่งหลังจากที่ปิดให้การส่งเสริมมานานกว่า
10 ปี ในช่วงนี้จรินทร์ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะอาศัยช่วงจังหวะนี้ขอขยายโรงงานปั่นด้ายของไทยเกรียงต่อเจ้าหนี้
แม้มติของคณะกรรมการจะออกมาว่าอนุมัติให้เขาดำเนินการขอบัตรส่งเสริมจนได้มาก็ตาม
แต่ก็มีกรรมการเจ้าหนี้บางคนก็ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ต้องการให้ไทยเกรียงต้องสร้างภาระขึ้นมาอีก
และอยากจะให้ทำโรงงานที่อยู่ให้ดีที่สุดเสียก่อนค่อยคิดถึงการขยายงานต่อไปเพราะสถานกาณณ์สิ่งทอในอนาคตอันใกล้ก็ไม่น่าไว้วางใจนัก
จรินทร์ได้บัตรส่งเสริมให้ขยายโรงงานปั่นด้ายเพิ่มขึ้นอีก 20,000 แกนโดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ
200 ล้านบาท แต่พอถึงขั้นตอนการอนุมัติสั่งซื้อเครื่องจักรก็เริ่มจะมีปัญหาขึ้นมาอีก
กรรมการเจ้าหนี้บางคนอยากจะให้ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง เรื่องมันก็เลยยืดเยื้อออกไปยาวนานจนกระทั่งทุกวันนี้เพิ่งนำเครื่องจักรเข้ามาเพียงบางส่วน
และยังไม่มีการติดตั้งเดินเครื่องเลย ในขณะที่วงจรอุตสาหกรรมสิ่งทอกำลังหันหัวกลับจะจมดิ่งลงไปอีกครั้งหนึ่งแล้วในขณะนี้
จนถึงกลางปี 2530 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นปีทองของอุตสาหกรรมสิ่งทอรวมทั้งไทยเกรียงด้วย
บริษัทมียอดกำไรก่อนหักภาษีสูงถึง 500 กว่าล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนเกือบเท่าตัว
ส่วนของผู้ถือหุ้นก็เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวกล่าวคือเพิ่มจาก 244 ล้านบาทเป็น
521 ล้านเมื่อสิ้นปี 2530 ในปีนี้จึงเป็นปีที่บริษัทสามารถชำระหนี้สินเงินต้นที่พักไว้ตามข้อตกลงเป็นงวดสุดท้ายสูงถึง
200 ล้านบาท และคงเหลือแต่เพียงหนี้ดอกเบี้ยที่พักไว้ตามข้อตกลงเดียวกันจำนวน
400 กว่าล้านบาท ซึ่งได้มาชำระหมดสิ้นเมื่อปลายปี 2532 ที่ผ่านมานี่เอง
กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมได้เสนอขอซื้อหุ้นคืนจากเจ้าหนี้ในราคาพาร์ หุ้นละ
100 บาท แต่ทางเจ้าหนี้ไม่ยอมโอนขายคืนให้เพราะเลยเงื่อนเวลา 5 ปีตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงว่าถ้าจะซื้อคืนเลย
5 ปีไปแล้วจะต้องบวกดอกเบี้ย 10% ต่อปีเข้าไปในราคาที่จะขายคืนนั้นด้วย
ซึ่งล่าสุดทางฝ่ายผู้ถือหุ้นเดิมก็ต้องเอาตามที่เขียนไว้ในสัญญาข้อตกลง
จึงได้หุ้นกลับคืนมาคนละครึ่ง มากน้อยตามสัดส่วน
จนถึงวันนี้บริษัทไทยเกรียงปั่นทอฟอกย้อมได้เป็น "ไท" แก่ตัวเองอย่างสิ้นเชิง
บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่างก็ได้ถอนทัพกลับจนหมดสิ้นแล้ว
เหลือแต่รัฐอิสระที่ชื่อ "ไทยเกรียง" ซึ่งเคยตกเป็นเมืองขึ้นมายาวนานถึง
12 ปีนั้นจะมีทิศทางของตัวเองอย่างไรในอนาคต และรับประกันได้แค่ไหนว่าจะไม่ถอยหลังลงคลองอีกครั้งในเมื่อเส้นกราฟอุตสาหกรรมสิ่งทอกำลังเริ่มจะหันหัวดิ่งลงมาตั้งแต่ปีที่แล้วจะต่อเนื่องไปอีก
4 ปีถ้านับตามวงจรของมัน ประกอบกับการแข่งขันในตลาดยิ่งเพิ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างเช่นปัจจุบัน
ณ วันสิ้นสุดปี 2531 อันเป็นปีสุดท้ายที่ "ผู้จัดการ" สามารถตรวจสอบฐานะทางบัญชีได้นั้น
ตัวเลขกำลังสวยสดงดงาม ปริมาณสินทรัพย์รวมสูงถึง 1,500 ล้านบาท หนี้ก็ยังเหลือเพียงหนี้ทางการค้าปกติ
ส่วนของผู้ถือหุ้นทวีสูงขึ้นเป็น 785 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท
แม้กำไรประจำงวดจะลดลง เพราะภาวะอุตสหากรรมสิ่งทอกำลังเข้าสู่วงจรดิ่งอีกครั้งหนึ่ง
แต่ก็ยังคงกำไรไว้สูงถึง 260 ล้านบาท
คำถามมีว่าไทยเกรียงในยุคที่จรินทร์ ติรชัยมงคลกลับเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจเต็มอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบันเป็นอย่างไร
แหล่งข่าวในบริษัทไทยเกรียงบอกว่าความสามัคคีกันระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่
3 กลุ่มนั้นเริ่มจะมีน้อยลงเข้าไปทุกที นับตั้งแต่การรับโอนหุ้นคืนมาจากเจ้าหนี้
ฝ่ายจรินทร์เห็นว่าควรเอาเงนบริษัทซื้อคืนแล้วนำาจัดสรรตามสัดส่วนเดิมที่แต่ละคนเคยมีอยู่
ในขณะที่ฝ่ายสมาน โอภาสวงศ์ เห็นว่าควรจะใช้เงินส่วนตัวของแต่ละคนซื้อ ซึ่งจุดนี้จรินทร์คิดว่าจะเกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ที่มีกำลังเงินมากกับคนที่มีกำลังเงินน้อย
ผู้ถือหุ้นบากลุ่มก็เริ่มจะคลายความเชื่อถือศรัทธาในตัวจรินทร์มากขึ้นทุกวัน
โดยอ้างความล้มเหลวในการบริหารงานหลายครั้งที่ผ่านมา และไม่มีแนวทางที่จะพันากิจการของบริษัทให้ใหญ่โตทันคนอื่น
ๆ อย่างชัดเจนพอที่จะเป็นความหวังแก่ผู้ถือหุ้นได้ แม้จะมีหุ้นส่วนน้อยแต่ก็จ้องรวบรวมสมัครพรรคจะเข้ามามีบทบาทในการบริหารบริษัทมากขึ้น
แต่ด้วยความที่จรินทร์คุมหุ้นใหญ่อยู่ค่อนข้างมากทำให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่น
ๆ ล้มเขาได้ค่อนข้างยากวันนี้จรินทร์ได้เข้ายึดครองการบริหารงานชนิดที่เรียกได้ว่าเด็ดขาด
ตั้งแต่ระดับฝ่ายสำคัญ ๆ ในสำนักงานไปจนถึงหัวหน้างานที่สำคัญ ๆ ในโรงงาน
"แต่ก็ต้องยอมรับว่าคนที่จรินทร์เลือกขึ้นมาใช้งานในระดับฝ่ายต่าง
ๆ นั้นถ้าเทียบกับกลุ่มอุตสหกรรมประเภทเดียวกันแล้วยังสู้เขาไม่ได้ เพราะบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในองค์กรและก็เป็นจุดอ่อนที่จรินทร์มีอยู่ในปัจจุบัน
แม้แต่ลูก ๆ ของเขาเองก็ยังโตไม่ทันที่จะรับภาระแทนเขาได้" แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดจรินทร์เล่าให้ฟัง
เพราะในช่วงเวลา 12 ปีที่ผ่านมานั้นความไร้อำนาจของจรินทร์ทำให้เขามีปัญหามากในการสร้างคนขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากิจการสำหรับอนาคตยาว
ๆ ประกอบกับบุคลิกของจรินทร์เองก็ไม่ใช่คนประเภทให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้วด้วยก็ยิ่งทำให้เปราะบางมากยิ่งขึ้น
ตามโครงสร้างการบริหารงานในปัจจุบันซึ่งไม่ซับซ้อนมากนักจะเห็นว่าในระดับฝ่ายล้วนแล้วแต่เป็นคนของจรินทร์เป็นคนคุมการบริหารอยู่
"จะว่างงานบริหารก็ไม่ได้เต็มปากเต็มคำมากนักหรอก เพราะจริง ๆ แล้วงานที่แต่ละคนรับผิดชอบก็คืองานประจำวันที่แต่ละคนจะต้องทำไปแบบวันต่อวันเท่านั้นเอง
การบริหารจริง ๆ ไปรวมศูนย์อยู่กับซีลี่หมด" คนอยู่ใกล้กับไทยเกรียงเป็นคนเล่าให้ฟัง
สายงานใหญ่ ๆ แบ่งออกเป็น 6 สายงานคือโรงงาน จัดซื้อ ขายในประเทศ ขายต่างประเทศบัญชีและการเงิน
คอมพิวเตอร์ และสายงานบุคลากรและเลขานุการกรรมการผู้จัดการ แต่ละสายงานมีผู้จัดการฝ่ายเป็นคนรับผิดชอบ
ฝ่ายขายในประเทศมีทวีศักดิ์ บูรระตระกูลเป็นผู้จัดการฝ่าย ซึ่งว่ากันว่าเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้าและกว้างขวางในวงการพ่อค้าพอสมควรอยู่กับไทยเกรียงมานานหลายปี
และเป็นคนที่จรินทร์ไว้ใจมากคนหนึ่งจึงมอบหมายให้เป็นคนดูแลการขายภายในประเทศซึ่งมีมูลค่าปีหนึ่ง
ๆ เกือบ 2,000 ล้านบาท ฝ่ายขายต่างประเทศจรินทร์มอบหมายให้ วีหิรัญสมบูรณ์
เป็นคนรับผิดชอบ ปีนี้เขาอายุ 39 ปีเข้มาร่วมงานกับไทนเกรียงกว่า 10 ปีมาแล้ว
จบปริญญาตรี BUSINESS ADMINISTRATION PORTLAND STATE OF UNIVERSITY เคยทำงานกับ
HIRAN PORT PORTLAND USA ซึ่งเป็นบริษัทผู้แทนจำหน่ายอะไหล่รถยนต์จากประเทศในยุโรป
ญี่ปุ่น และไต้หวัน
ทศสวัสดิ์ หิรัญสมบูรณ์ เป็นคนของจรินทร์เช่นเดียวกัน ปีนี้เขาอายุ 48
ปี จบ MBA จาก LONGISLAND UNIVERSITY USA เข้าทำงานกับไทยเกรียงมานานถึง
17 ปีเริ่มตั้งแต่รองผู้จัดการฝ่ายขายต่างประเทศ 3 ปีต่อมาขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายขายต่างประเทศ
และย้ายมาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายต่งประเทศและย้ายมาเป็นผู้จัดการรฝ่ายขายก่อนที่จะย้ายมาเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจนถึงปัจจุบัน
ทศสวัสดิ์คุมงานการจัดซื้องทั้งในและต่างประเทศซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางมากพอสมควร
โดยเฉพาะพวกฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ปีหนึ่ง ๆ ใช้เงินร่วม 1,000 ล้านบาท
รวมไปถึงอะไหล่เครื่องจักรกลต่าง ๆ ในโรงงานซึ่งจะต้องมีการจัดซื้อเข้ามาประจำทุกปี
ส่วนอีก 3 สายงานอันได้แก่บุคลากรและเลขานุการกรรมการผู้จัดการกับฝ่ายบัญชีและการเงินกับฝ่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นมา
ยงยุทธและยงเกียรติ ติรชัยมงคล ลูกชายทั้งสองของจรินทร์เป็นคนดูแล
ฝ่ายสุดท้ายที่มีความสำคัญอย่างมกในแง่ของธุรกิจอุตสหากรรมขนาดใหญ่ของไทยเกรียง
จรินทร์ ได้ดึงเอา สันติ เรื่องวิริยะ ลูกน้องเก่าแก่ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงงานทอผ้าไทยเกรียงเมื่อ
30 ปีก่อนตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่ทางสหยูเนี่ยนจะเข้ามาซื้อกิจการดรงงานที่บาวปูไปนั้น
สันตินั่งเป็นผู้จัดการโรงทอ เมื่อมีการขยายงานที่บางปุสันติถูกกำหนดตัวให้ไปรับผิดชอบทางฝั่งนั้น
แล้วก็กลายไปเป็นคนสหยูเนี่ยนนานถึง 12 ปี พอเกษียณอายุจรินทร์ก็รีบติดต่อให้มาช่วยงานที่ไทยเกรียงฝั่งพระประแดงต่อทันทีเมื่อเดือนเมษายน
2532 ที่ผ่าน
สันติ เรืองวิริยะ แม้เขาจะอายุมากแล้ว แต่ก็ยังพอเป็นความหวังใหม่ของโรงงานได้ไม่น้อยในขณะที่ตัวจรินทร์เองไม่ค่อยจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับโรงงานเท่าใดนักตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว
นอกจากจะมานั่งร่วมประชุมด้านเทคนิคด้วยอาทิตย์ละครั้งเท่านั้นเอง
"เรื่องความซื้อสัตย์ จงรักภักดี สันติมีอยู่สูงมาก จนพูดไปอาจจะไม่มีใครเชื่อก็ได้ว่ายังมีคนประเภทนี้อยู่ด้วยในสังคมปัจจุบัน
ประกอบกับประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บิรหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการรับผิดชอบการบริหารงานในโรงงานบางปุของสหยูเนี่ยนนานถึง
12 ปีท่านได้อะไรมามากมายเหมือนกันเราจะเห้นความแตกต่างระหว่างสันติเมื่อก่อนกับสันติในวันนี้มากทีเดียว"
เจ้าหน้าที่ระดับบริหารในโรงงานไทยเกรียงกล่าวถึงความเป็นส่วนตัวในนิสัยของสันติ
เมื่อสันติมีอายุครบ 60 ปีจะเกษียณจากสหยูเนี่ยนนั้น ดำหริ ดารกานนท์ กรรมการผู้อำนวยการกลุ่มเครือสหยูเนี่ยนก็ชวนให้สันติอยู่ทำงานต่อ
โดยให้หลายทางเลือก ตั้งแต่ต่ออายุทำงานเก่าต่อไป หรือไม่อยากจะทำอะไรก็จะให้เป็นที่ปรึกษาบริษัท
หรือถ้าไม่อยากอยู่เมืองไทยก็จะส่งไปเป็นที่ปรึกษาประจำโรงงานของกลุ่มในต่างประเทศ
เพราะอยู่ด้วยกันมา 12 ปีดำหริเห็นถึงความนบน้อมถ่อมตน ขยัน อดทน ประหยัด
ซื่อสัตย์สุจริตและเรียนรู้งานได้มากมาย
แต่สันติก็จำใจต้องตอบปฏิเสธดำหรดไปด้วยเหตุผลง่าย ๆ แต่ดำหริฟังแล้วต้องนั่งอึ้งพูดอะไรไม่ออกเหมือนกัน
สันติให้เหตุผลเพยงว่าเขาจำเป้นจะต้องกลับมารับใช้นายเก่าคือจรินทร์ เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณที่เคยเลี้ยงดุกันมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงงาน
ซึ่งกำลังมีปัญหาไม่มีคนช่วย
ดำหริ ดารกานนท์ รับทราบด้วยความซาบซึ้งในตัวบุคคลคนนี้ จนไม่อาจจะพูดชักจูงให้สันติอยู่กับสหยูเนี่ยนต่อไปได้อีก
เพราะจะว่าไปแล้ว ดำหรินั้นก็เรียกกันได้ว่าเป็นมนุษย์ยอดกตัญญุที่หายากยิ่งคนหนึ่ง
คนใกล้ชิดเท่านั้นที่จะรู้เรื่องนี้ดี
สมัยอยู่สหยูเนี่ยนนั้น สันติถูกดำหริส่งไปดูงานครั้งแล้วครั้งเล่าตามแผนงานสร้างบุคลากรของสหยูเนี่ยน
เขาได้สัมผัสและเรียนรู้และซึมซับระบบการทำงานสมัยใหม่จำนวนมากมายโดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว
ซึ่งมันได้มาแสดงออกตอนที่เขามารับงานบริหารที่โรงงานไทยเกรียงฝั่งพระประแดงอย่างเด่นชัด
เรื่องแรกที่สันติลงมือทำทันทีที่เข้ามาถึงคือผนการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบ
โดยยื่นเรื่องของงบประมาณจากจรินทร์ถึง 2,000,000 บาทในปีนี้
สันติลงไปพบกับสหภาพแรงงานอย่างพี่อย่างน้อง ในวังแรงงานปีที่ผ่านมาเขาได้ผลิตหนังสือคู่มือ
"ปัจจัยพื้นฐานในการเพิ่มผลผลิต" เป็นของขวัญวันแรงงานแก่คนงานทุกคน
ซึ่งหนังสือคู่มือฉบับดังกล่าวนั้นว่าด้วยปรัชญา 5 ส. คือสะสาง สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย
ในระยะเวลาเพียง 8 เดือนที่เขามารับตำแหน่งผู้จัดการโรงงาน เขาเร่งโครงการฝึกอบรมหักสูตรผู้นำในองค์กรไปแล้ว
2 หลักสูตร ๆ ละ 3 รุ่น ซึ่งมีพนักงานระดับหัวหน้างานได้ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ไปแล้วกว่า
500 คนโดยลงทุนจ้างวิทยากรจากข้างนอกเข้ามาให้การอบรม
"เมื่อก่อนที่ไทยเกรียงไม่เคยมีเรื่องอย่างนี้แม้แต่ระบบความปลอดภัยเล็ก
ๆ น้อย ๆ ซึ่งตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมาเราเคยเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาเล็ก
ๆ น้อย ๆ แต่ท่านให้ความสำคัญลงมาเอาใจใส่ช่วยแก้ไขให้" คนในโรงงานคนหนึ่งกล่าวอย่างชื่นชมสันติ
เขาประกาศให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีแก่พนักงาน ฟื้นฟูโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ที่ตั้งมานานกว่า
10 ปี แต่ไม่มีใครสนใจเรียน เพราะคนงานส่วนใหญ่มีทัศนคติวาเรียนไปแล้วก็ไม่ได้อะไรดีขึ้นเป็นกรรมกรในโรงงานเหมือนเดิม
แต่ปรากฎว่าสันติสามารถสร้างแรงดึงดูให้คนเข้าเรียนได้เป็นร้อย ๆ คน
ครึ่งหนึ่งของสำนักงานฝ่ายจัดการโรงงานในปัจจุบันกำลังถูกแปรสภาพให้เป็นห้องเรียน
ห้องฝึกอบรมกันอย่างขนานใหญ่ มีโสตทัศนูปกรณ์ครบครันเปิดแผนกที่รับผิดชอบด้านพักงานสัมพันธ์และฝึกอบรมขึ้นมารับผิดชอบงานนี้โดยเฉพาะ
ถึงบรรทัดนี้ ดำหริ ดารกานนท์ ก็ไม่น่าเสียดายที่ปล่อยให้สันติมาฟื้นฟูกิจการไทยเกรียง
เพราะสิ่งที่สันติทำอยู่ทุกวั้นนี้นั้นก็เกิดจากเบ้าหลอมของสหยูเนี่ยนโดยแท้
แต่ประโยชน์เกิดขึ้นกับคนในโรงงานอีกจำนวนมากมาย ที่พวกเขาไม่เคยได้รับอย่างที่พนักงานในสหยูเนี่ยนได้รับมาเลยในชีวิตการทำงานของเขาในไทยเกรียงที่ผ่านมา
"ผมได้รับความร่วมมืออย่างดีจากพนักงานทุกคน เพราะก็ล้วนแต่เป็นเพื่อน
ๆ ที่ผมทำมาด้วยกันสิบยี่สิบปีทั้งสิ้น นอกจากแผนการสร้างคนภายในของเราแล้ว
ผมกำลังสรรหาคนที่มีความรู้ความสามารถด้านนอกเข้ามาร่วมงานด้วย โดยเฉพาะทางด้านวิศวกร
ซึ่งขณะนี้เรายังใช้คนต่างชาติกันอยู่เมหือนกับเมื่อหลายสิบปีก่อนเราก็ทำกันอย่างนี้"
สันติกล่าวถึงแผนงานในอนาคตในการพัฒนาบริหารงานไทยเกรียง
ถึงแม้ทางด้านโรงงานจะพอเบาใจได้ แต่สันติก็อายุมากแล้วในระยะยาวก็คงจะยังเป็นปัญหาสำหรับไทยเกรียงอยู่ต่อไป
ในขณะที่จรินทร์ ติรชัยมงคลก็ได้ประกาศไปแล้วว่าจะนำบริาทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเร็ว
ๆ นี้ ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาการเงิน 3 แห่ง
"พอเราเข้าตลดาหลักทรัพย์แล้วเราพร้อมที่จะให้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดำเนินงาน
ผู้ถือหุ้นอย่างพวกเราพร้อมที่จะนั่งอยู่ห่าง ๆ ให้เขาทำของเขาอย่างเต็มที่"
ยงยุทธ (ลูกชายจรินทร์) พูดถึงเจตนาหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว
เพราะหนทางเดียวเท่านั้นที่จรินทร์เชื่อว่าจะสามารถสร้างฐานะของบริษัทให้โตทันบริษัทอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันได้
ในขณะที่เวลาของจรินทร์นั้นเหลือน้อยเต็มทน