"โอกาสที่ราคาจะไต่ถึง 1000 จุด ต้องใช้เวลาคงไม่ใช่ 3 - 4 เดือน

โดย Winslow "Bud" Johnson
นิตยสารผู้จัดการ( กุมภาพันธ์ 2533)



กลับสู่หน้าหลัก

การที่ดัชนีราคาหุ้นไทยต้นปีไม่ขึ้นถึง 900 มันมีสาเหตุอยู่ 3 - 4 สาเหตุด้วยกัน ประการที่หนึ่งปีที่แล้วดัชนีเราขึ้นมาถึง 127 เปอร์เซนต์ ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในย่านนี้ และหลาย ๆ คนมองว่ามันขึ้นเร็วเกินไป จนกลัวจะเกิด COLLAPSE

ประการที่สอง ตลาดใหญ่ ๆ ของโลกคือตลาดโตเกียวและนิวยอร์ค ในช่วงต้นปีนี้มีความผันผวนค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นจึงส่งผลให้ตลาดเล็กติดไข้ไปด้วย ทำให้ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จึงต้องใช้เวลา CONCENTRATE หรือ FOCUS ในตลาดใหญ่ 2 แห่ง ส่วนตลาดเล็กก็คงจะ TAKE ACTIVE น้อยลง

ประการที่สาม เรื่องภายในประเทศของเราเอง ทุกคนก็ทราบดีถึงความผันผวนทางการเมืองเกิดขึ้น และยิ่งมองว่าต้นปียิ่งมีสูง และปัญหาอื่น ๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยก็ดีหรือราคาน้ำมันก็ดี และเรื่องการปั่นหุ้นก็ดีหลาย ๆ เรื่องเป็นปัญหาของเราเอง เพราะฉะนั้นช่วงนี้จึงมีความผันผวนสูงและสาเหตุหลักทั้งสามประการ ก็เลยทำให้นักลงทุนหลาย ๆ กลุ่มเริ่มถอยมาหยุดดูบ้าง หรือถ้ามีอยู่ก็คงไม่ซื้อเพิ่ม หรือซื้อเพิ่มน้อยลง และมีแนวโน้มจะขายเสียมากกว่า ก็แล้วแต่จังหวะ

อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นที่น่าสนใจในย่านนี้คนก็ยังมองว่า มาเลเซียกับไทยยังเป็น TOP และอินโดนีเซียก็ยังเป็นตลาดที่มีโอกาสมาก เนื่องจากปีที่แล้วเขามีการ LIST บริษัท INDOCEMENT ซึ่งใหญ่มาก

เพราะฉะนั้นก็คงใช้เวลาช่วงหนึ่งที่จะให้ตลาดของเขา ABSORB หุ้นอันใหญ่มหาศาลนี้เพราะว่าดูดเงินเข้าไปเยอะเหมือนกัน ประมาณ 340 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะฉะนั้นหุ้นเขาจึงไม่ค่อย ACTIVE แต่ตอนนี้มีแนวโน้มว่า MOVE ขึ้นเหมือนกัน เพราะตอนนี้พวกซีเมนต์เริ่มขาดแคลน

ดังนั้นตัวนี้เป็นตัวดึงดัชนีได้เหมือนกันในตลาดอินโดนีเซีย

สรุปแล้ว ตลาดในย่ายเอเชียแปซิฟิคก็ยังมองว่า ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์ก็น่าจะไปได้ดี ส่วนฮ่องกงและฟิลิปปิ้นส์ยังมีความไม่แน่นอนทางการเมืองค่อนข้างสูง ด้านไต้หวันและเกาหลีไม่ต้องพูดถึงเพราะเป็นตลาดปิด

ในตลาดหุ้นเมืองไทย เท่าที่ผมดูมีแต่ข่าวค่อนข้างลบทั้งนั้น ไม่ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ดีหรือว่าการขึ้นราคาน้ำมันก็ดี หรือเรื่องการเมืองที่มีความไม่แน่นอน สับเปลี่ยนรัฐมนตรีก็ดี และมีข่าวลือว่าคนนั้นจะมีทำอย่างนั้นอย่างนี้ มันเป็นข่าวไม่ดีสำหรับตลาดทั้งนั้น แต่ผมคิดว่าทั้งหมดคงจะเป็นชั่วครั้งชั่วขณะเท่านั้น หลังจากที่รัฐบาลตัดสินใจซื้ออัตราดอกเบี้ยหรือขึ้นราคาน้ำมัน หรืออาจจะผ่านพ้นวาระประชุมทางด้านสภาฯไปแล้วภาพต่าง ๆ ก็คงชัดขึ้น ถึงเวลานั้นตลาดก็คงมีทิศทางแน่นอนมากกว่านี้

การที่ดัชนีราคาหุ้นจะไต่ขึ้นเป็นพันจุดผมคิดว่าคงใช้เวลา ซึ่งก็ไม่ใช่ภายใน 3-4 เดือน คงเป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้น ผมก็ว่าอันตรายเหมือนกัน คือดัชนีจะไต่ไปที่ระดับไหนก็แล้วแต่ประการที่หนึ่ง ผลการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะมีการประกาศออกมาและ CONFIRM ว่าบริษัทยังโตอยู่ ไม่งั้นเราจะไม่ทราบทิศทางที่แน่นอน

ถ้าดัชนีไต่ไปสูง แต่บริษัทประกาศออกมา ปรากฏว่าผลการดำเนินงานไม่โตอย่างที่คาดไว้หรือกลับตกลงไป คนก็ผิดหวังและคงขายที่ทำให้ดัชนีก็คงตก

ทางด้านการเก็งกำไร มันเป็นทุกตลาด มันต้องมีกลุ่มผสมกันระหว่างนักเก็งกำไร นักลงทุนระยะกลางและระยะยาว พวกเก็งกำไรต้องมีเพื่อหล่อเลี้ยงตลาดให้มีสภาพคล่อง ถ้าทุกคนถือกลางก็อาจจะมีหมุนเวียนน้อยมาก เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีผสมกันไป

สัดส่วนนักเก็งกำไรในบ้านเราค่อนข้างเยอะกว่านักลงทุนระยะกลางและระยะยาว ก็ทำให้ตลาดเราผันผวนได้เร็วเหมือนกัน ผมคิดว่าถ้าได้สัดส่วนนักเก็งกำไร นักลงทุนระยะยาว เป็น 60:40 ผมว่าตลาดยังพอใช้ได้ แต่ปัจจุบันผมเชื่อว่าตลาดเราเป็น 80:20 เป็นลักษณะนั้น

การที่นักลงทุนชาวต่างประเทศชะลอการซื้อของเป็นเพราะคนหลายกลุ่มยังมองว่าจะมี RECESSION ในสหรัฐฯ และคุณดูดัชนีดาวโจนส์ช่วงนี้มันค่อนข้างขึ้น-ลงหวือหวาพอสมควร บางวันขึ้นลงเป็น 1-2 เปอร์เซ็นต์ก้ฒี ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง เช่นเดียวกับตลาดญี่ปุ่นซึ่งประสบปัญหาแบบเดียวกัน ฉะนั้นสองตลาดใหญ่นี้ขึ้นลงเร็วและมาก ทำให้ทุกคนค่อนข้างกังวล และผมเชื่อว่ายังมีความไม่แน่นอนจนกระทั่งถึงปลายเดือนมกราคมนี้

จำนวนนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาซื้อขายในไทย เป็นรายบุคคลก็มาก เป็นลักษณะสถาบันค่อนข้างสูง ถ้าคิดเป็นเงินก็สูง ผมเชื่อว่า TURNOVER ต่างประเทศคิดเป็นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์คือมีทั้งซื้อกระดานไทยกระดานเทศปนกันไปหมด

มูลค่าตลาดตอนนี้ประมาณ 26 BILLION US DOLLARS (ประมาณ 650,000 ล้านบาท) ก็ถือว่าอยู่ในสัดส่วนที่โตขึ้นมาได้เร็วดี ผมเชื่อว่ายังขยายต่อไปได้ แต่ผมอยากให้ขยายต่อในแง่ที่มีหุ้นที่ดี ๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่ขยายต่อเพราะหุ้นเก่าแพงขึ้นอย่างนั้นมันไม่ดีเท่าไหร่ มันอันตราย

หุ้นบางตัวที่ดูราคาเป็นหลักพันหลักหมื่นอาจจะไม่แพงเท่ากับหุ้นเล็ก ๆ บางตัวที่ราคาเป็นหลักร้อย แต่ผลการดำเนินงานมีกำไรนิดหน่อยและอาจจะโตช้า มันดูที่ราคาตัวหุ้นอย่างเดียวไม่ได้แต่ต้องดูปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ผลดำเนินงานเป็นอย่างไร โครงการขยายงาน คู่แข่งเป็นอย่างไร และตลาดเขาจะถูกกระทบโดยการ SLOW DOWN ของสหรัฐฯหรือเปล่า หรือกระทบโดยปัญหายุโรปรวมตัวกันในปี 1992 หรือไม่

ทีนี้หันมาดูปัญหาภายในตลาดหุ้นของเราปัญหาซับโบรกเกอร์นั้นถ้าทางการเห็นอะไรที่พิรุธหรือไม่ดีต่อเสถียรภาพของตลาดในระยะยาว ผมก็คิดว่าดีนะครับที่เขาเข้ามาตรวจสอบ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ

ในเรื่องการเก็บภาษีหุ้น (CAPITAL GAIN TAX) ผมไม่อยากให้เก็บ คงเป็นผลลบต่อตลาด เพราะไม่มีตลาดไหนที่เป็นคู่แข่งเราเขาเก็บกัน คือถ้าต้องการตัดการเก็งกำไรของตลาด ผมว่าน่าจะหามาตรการจับนักปั่นหุ้นหรือมาตรการต่าง ๆ ที่ทางการเคยทำมาแล้ว เช่นเรื่อง SETTLEMENT ซึ่งซื้อหุ้นปุบก็จ่ายวันรุ่งขึ้น จ่ายเงินเร็ว อันนั้นก็คงเป็นกลไกที่น่าจะได้ผลมากกว่า

การขึ้นป้ายของตลาดฯในระยะหลัง ๆ ว่าผมเชื่อว่าก็คงได้ผลบ้าง ที่ผ่านมาคนก็เริ่มดูเหมือนกันหลังจากกรณีซับโบรกเกอร์ถูกตรวจสอบ

ในความเห็นของผมคิดว่า การให้คนส่งข้อมูลและทำตามระเบียบตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะดีหลายครั้งผมคิดว่าปัญหาของเราก็คือ ข้อมูลวงในจะสังเกตเห็นได้ว่า ถ้าดูราคาการเปลี่ยนแปลงของหุ้นจะรู้ว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะมีอะไรบางอย่าง ที่ทำให้หุ้นขึ้นอย่างรวดเร็ว ลักษณะอย่างนี้เป็นการเล่นข้อมูลวงในมาเอาเปรียบกัน

อีกประการหนึ่ง ผมยังเชื่อว่าทางการน่าจะสร้างฐานช่วยนักลงทุนให้มากขึ้น ผมยังอยากให้บริษัทประกันหรือสถาบันใหญ่ ๆ เข้ามามีบทบาทในตลาดหุ้นมากกว่านี้ ผมว่าเป็นการถ่วงดุลระหว่างนักเก็งกำไรและนักลงทุนระยะยาว ผมว่าน่าทำลักษณะนี้ดีกว่า

หรือแม้กระทั่งเรื่องที่พูดกันมานานคือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพน่าเข้ามาซื้อหุ้นได้มากขึ้นในตลาดฯหรือประกันภัยน่าจะมีการลงทุนหรือ ACTIVITIES ลงทุนในหุ้นได้มากกว่านี้ ควรมีการแก้กฎหมายเพื่อการนี้ ทำให้สัดส่วนนักเก็งกำไรกับนักลงทุนระยะยาวได้สมดุลมากขึ้น

อีกเรื่องคือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในตลาดฯ ผมคิดว่ามันจำเป็น ถ้าตลาดเราจะขยายโตขึ้นไป เพราะในแต่ละวัน ORDERS ที่มันยังไม่ COMPLETE ค่อนข้างเยอะ และอาจจะมีข้อผิดพลาดคิวผิด

อันนั้นเป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้นแต่ถ้าเข้าคอมพิวเตอร์ มันอาจจะ FAIR ขึ้น ไม่มีการแซงคิว

และประการที่สอง มันสามารถสร้าง VOLUME ได้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่มี ORDERS ค้างแบบเดิมที่ต้องมาทำต่อตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ในความเห็นของผมคิดว่าเพิ่มแน่ ปัจจุบันช่วงนี้เงียบหน่อย VOLUME 2,000 กว่าล้าน แต่ช่วง PEAK 4,000 กว่าล้าน แต่ผมเชื่อว่าถ้าเปลี่ยนเป็นตลาดคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์จากที่ทำอยู่อย่างสบาย ๆ

ส่วนเรื่องการมี SEC (SECURITIES EXCHANGE COMMISSION) ผมคิดว่าจำเป็น เหมือนอย่างต่างประเทศเขามีกัน เพื่อควบคุมปัญหาการปั่นหุ้น การใช้ข้อมูลวงใน หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมที่ผิดพลาดของดบรกเกอร์บางราย ก็คงจำเป็นต้องมีนักลงทุนต่างประเทศหลายคนเป็นห่วงว่า เอ...ทำไมเราไม่มี SEC เสียที เพราะมันเป็นการได้เปรียบเสียเปรียบ บางคนใช้ข้อมูลวงในเป็นประโยชน์หลายคนเสียเปรียบเพราะเขาอยู่ไกลและไม่มี CONNECTION ถ้าจะให้ FAIR ก็ต้องเป็นลักษณะนี้กรณีกฎหมายควบคุมหรือลงโทษของตลาดฯ ยังไม่มีตราไว้เฉพาะ และที่ใช้อยู่ตอนนี้ก็เบาเหลือเกินน่าจะมีกฎหมายมารับรองและปรับให้ทันยุคทันสมัยสักที เพราะดูเท่าที่เขาปรับกัน มันน้อยเหลือเกิน

เรื่องของชาวไทย ผมคิดว่าถ้าทางการสงสัยเขาคงมีสิทธิ์ตรวจสอบได้อยู่แล้ว ถ้าพบอะไรผิดปกติเขาคงดำเนินการ ผมเชื่อว่าทางตลาดฯคงติดตามมาหลาย CASES ไม่ใช่ CASE นี้อย่างเดียว

แต่ผมก็ว่าแย่นะ...ที่ตลาดฯเรายังเปราะบางตรงข่าวลือ และพวกนักลงทุนหลายคนยังไม่มีจรรยาบรรณสร้างข่าวลือผิด ๆ และทำให้คนตกใจและเสียหาย ผมว่าพวกนี้น่าจะถูกลงโทษ

ผมเชื่อว่านักเล่นหุ้นต้องเปิดหูเปิดตาให้กว้างจำเป็นต้องอ่านาข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อนฝูง แหล่งข่าวต่าง ๆ และสุดท้ายตัวเองต้องเอามากรอง ผมเชื่อว่า นักเล่นหุ้นที่ดี ต้องไม่ใช่คนหูเบา ถ้าหูเบาก็ตกเป็นเหยื่อของเขาทั้งหมด

ขณะนี้นักเก็งกำไรใหญ่ ๆ หลายคนก็คงออกมายืนดูเฉย ๆ อาจจะไม่ได้เข้าไปลงทุนเล่นหุ้นในช่วงนี้ เพราะว่ากลัวว่าจะเกิดปัญหา มันก็เลยทำให้ตลาดหยุดไป แต่ผมก็เชื่อว่า ไม่เป็นไรเสถียรภาพของเราก็ยังดีอยู่



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.