การกลับมาอีกของแบงก์ยักษ์ในธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์


นิตยสารผู้จัดการ( พฤษภาคม 2532)



กลับสู่หน้าหลัก

ในรอบไตรมาสแรกของปี 2532 ได้เกิดปรากฎการณ์อย่างหนึ่งที่ส่อให้เห็นทิศทางการก้าวเดินของธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ในบ้านเรา

นั่นคือการต้อนรับสถาบันการเงินต่างชาติให้เข้ามาซื้อหุ้นร่วมทุนของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บางแห่ง

โดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนกิจออกมาเซ็นสัญญาขายหุ้นให้ธนาคารอินโดสุเอซในนามบริษัทหลักทรัพย์ดับบลิวไอ.คาร์ จากฝรั่งเศสเป็นแห่งแรกตามมาด้วยบริษัทหลักทรัพย์เอฟซีไอขายหุ้นให้ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ในนามของบริษัทหลักทรัพย์ชินตง

และล่าสุดคือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จีเอฟขายหุ้นให้ออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด แบงกิ้ง กรุ๊ป ลิมิเต็ด (เอเอ็นแซด)

สถาบันการเงินต่างชาติเหล่านี้ถือหุ้นไว้แห่งละ 25%

ทั้งนี้เงื่อนไขการซื้อขายที่คล้ายคลึงกันของบงล.ทั้งสามก็คือสถาบันการเงินต่างชาติเหล่านั้นต้องให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดโนว์-ฮาวและดึงเครือข่ายลูกค้าต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ

เพราะบงล.เหล่านี้ต่างมุ่งหวังที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อก้าวไปสู่ตลาดวาณิชธนกิจและการเป็นสถาบันการเงินเพื่อให้คำปรึกษาและจัดหาเงินทุนเพื่อการลงทุน (INVESTMENT BANKING) ซึ่งมีดีมาด์เพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะนี้และยังจะมีต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาจะมีสถาบันการเงินต่างชาติหลายแห่งเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อร่วมทุนกับบริษัทหลักทรัพย์บ้างแล้วก็ตาม

เช่น ธนาคารเชสแมนฮัตตันถือหุ้นในบงล.ร่วมเสริมกิจ 4.93% (ณ 31 ธันวาคม 2531) ธนาคารไดอิาชิคังเงียวถือหุ้นในบงล.ทิสโก้ 7.74% แลธนาคารไดวาถือหุ้นเป็นบงล.เอ็มซีซี 10% เป็นต้น

แต่การถือหุ้นเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่ออาศัยใช้บงล.เหล่านี้เป็นหูเป็นตาและเครือข่ายให้บริการแก่ลูกค้าของตนในประเทศที่มีธุรกิจในเมืองไทย และเป็นเพียงการลงทุนระยะยาวโดยมุ่งหวังเงินปันผล

ปรากฎการณ์เหล่านี้ นับเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับบงล.ในการที่จะได้ทำธุรกิจสมดังเจตนารมณ์ของการก่อตั้งอย่างแท้จริงตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2522

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หาใช่ว่าบล.หรือบงล.เหล่านี้ อยู่ ๆ ก็ลุกขึ้นมาจับมือกับสถาบันการเงินต่างชาติแล้วตั้งเป้าหมายทำ INVESTMENT BANKING ได้ง่าย ๆ ไม่

แต่เป็นเพราะมีปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจหลายประการในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาซึ่งเทียบไม่ได้กับในอนาดตก่อนหน้านั้น

ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งเพิ่มสูงมากระหว่าง 8-10% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และในอีก 3 ปีข้างหน้าคาดหมากว่าจะขยายตัวประมาณ 7.5% ต่อปี

ความเติบโตของการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล เช่น โครงการปิโตรเคมี, โครงการอิสเทิร์นซีบอร์ด, ออฟฟิศบิลดิ้ง เป็นต้น

การขยายตัวของตลาดหลักทรัพย์และที่สำคัญคือการผ่อนปรนกฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินต่างชาติในประเทศไทย

ปัจจัยเหล่านี้เอื้ออำนวยให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หลายแห่งสามารถขยายกิจการได้มากกว่าที่เคยทำมา

นั่นคือ ในด้านของเงินทุนก็ไม่ได้มุ่งเน้นแต่ธุรกิจการให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนและการค้า (COMMERCIAL LENDING) และการกู้ยืมเพื่อเช่าซื้อรถยนต์ (HIRE PURCHASE)

แต่ไดขยายไปในด้านธนาคารเพื่อการลงทุน่และวาณิชธนกิจ (INVESTMENT & MERCHANT BANKING) คือให้บริการวางแผนทางการเงินหรือการบริหารการเงินแก่ลูกค้า บริการในการเป็นตัวกลางเพื่อซื้อขายกิจการระหว่างกันของลูกค้าหรือการควบกิจการ (MERGER & ACQUISITION)

นอกจากนี้บงล.ใหญ่ ๆ หลายแห่งยังได้ร่วมทำ SYNDICATED-LOAN กับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศให้กับลูกค้าที่ต้องการวงเงินกู้ขนาดใหญ่ได้ด้วย

ส่วนในด้านของธุรกิจหลักทรัพย์นั้น เริ่มทำทางด้านจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (UNDERWARTER) และเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์เพื่อบัญชีการลงทุนของบริษัทเอง (PORTFOIO) และค้าใหักับนักลงทุนชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจตลาดหุ้นของไทยอย่างมาก

นอกจากนี้ยังมีการหานักลงทุนชาวต่างชาติทั้งเป็นรายบุคคล และประเภทกองทุนเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหุ้นไทด้วยโดยอาศัยสายสัมพันธ์จากการร่วมุทนและเครือข่ายทางธุรกิจอื่น ๆ

บทบาทเหล่านี้เริ่มเพิ่มสูงมากขึ้นในหมู่บริษัทหลักทรัพย์และเงินทุนหลักทรัพย์ขนาดกลางที่ขวนขวายเร่งอัตราการเติบโตไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวของตลาดหลักทรัพย์ฯและตลาดทุน

นี่เป็นเหตุผลสำคัญสำหรับอธิบายการร่วมทุนของ 3 บล.และบงล.ข้างต้น

ก่อนหน้าที่ธนาคารอินโดสุเอซ (ดับบลิว. ไอ. คาร์) จะเซ็นสัญญาซื้อหุ้นของบงล.นวธนกิจนั้น อิโดสุเอซให้ความสนใจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตะวันออกฟายแน้นซ์ จำกัด ซึ่งอยู่ในโครงการ 4 เมษาฯ

หลังจากที่ยื่นข้อเสนอ แต่ไม่ได้รับคำตอบจากกระทรวงการคลังและแบงก์ชาติ อินดดสุเอซก็หันไปพิจารณาบงล.อื่นคือนวธนกิจ โดยได้รับคำแนะนำจากดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ประธานกรรมการฯบงล.นวธนกิจและเป็นกรรมการที่ปรึกษากรรมการบริหารธนาคารทหารไทยอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

อันที่จริงมีสถาบันการเงินต่างชาติรายอื่นที่ให้ความสนใจจะซื้อหุ้นนวธนกิจด้วยเหมือนกันคือธนาคารเครดิต ลีอองเนส์ ซึ่งในที่สุดได้หันไปทาบทามบงล.ไอทีเอฟ

และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาคืออินโดสุเอซ เพราะมีสายสัมพันธ์กับดร.ศุภชัยมาแต่สมัยอยู่แบงก์ชาติ

ดร.ศุภชัยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า ธนาคารอินโดซุเอซได้พูดถึงข้อจำกัดในการประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ในฐษนะที่เป็นธนาคารต่างชาติ ทั้งนี้เขาต้องการขยายธูรกิจการเงินให้มากขึ้น และครบวงจร นั่นคือต้องการทำ INVESTMENT BANK ดังนั้นเขาจึงหาทางออกมาในแง่การซื้อหุ้นนวธนกิจ

ธนาคารอินโดสุเอซมีเป้าหมายที่จะพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ใหมากคือทำทั้งการซื้อขายหุ้นและเรื่องการประกันการจำหน่ายหุ้น

ในการนี้อินโดสุเอซมีดับบลิว.ไอ.คาร์เป็นเครือข่ายด้านธุรกิจค้าหลักทรัพย์ระดับสากลมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอนดอนและมีสาขาอยู่ทั่วเอเซีย

ดับบลิว.ไอ.คาร์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่เข้ามาเปิดสำนักงานตัวแทนเพื่อทำข้อมูลด้านตลาดทุนในไทยตั้งแต่เมื่อปลายปี 2531 แต่ไม่มีใบอนุญาตซื้อขายหลักทรัพย์ ดับบลิว.ไอ.คาร์ และบริษัทโบรกเกอร์ต่างประเทศอื่น ๆ อีกรวม 7 บริษัทก็พยายามที่จะซื้อกิจการด้านหลักทรัพย์

เมื่อธนาคารอินโดสุเซอซตกลงกับธนาคารทหารไทยได้ดับบลิว.ไอ.คาร์จึงมีที่ลง

อภิวัฒน์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบงล.นวธนกิจกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เขาสามารถป้อนลูกค้าให้เราได้มากทีเดียว เพราะก่อนเข้ามาร่วมกับเรานั้นเขาก็ซื้อหุ้นผ่านทางธนชาติและสินเอเซียอยู่แล้วและเขาสามารถเสริมสร้างทีมงานของเราให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวิเคราะห์และการประกันการจำหน่ายหุ้น"

"นอกจากนี้เขาอาจจะทำตราสารการเงินใหม่ ๆ ออกมาให้เราขายให้เราเล่นได้อีกมากเช่นตอนนี้กำลังทำเรื่อง PERPETUAL BOND เสนอรัฐบาลอยู่รวมทั้งการกู้เงินต่างประเทศ ถ้านวฯต้องการ เราจะได้เรทดี"

ทั้งนี้อภิวัฒน์อ้างถึงธนาคารอินโดสุเอซซึ่งเปิดาขาทำธุรกิจในไทยมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว อินโดสุเอซรับจัดไฟแนนซ์ให้กับโครงการใหญ่ ๆ หลายโครงการรวมทั้งมีประสบการณ์ออกตราสารการเงินใหม่ ๆ ในฝรั่งเศส

ดังนั้นย่อมเป็นที่แน่นอนว่านวฯจะได้รับประโยชน์ด้านเงินทุนจากอินโดสุเอซด้วย

เพียงแค่โนว์-ฮาวและแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ ที่บงล.จะได้เมื่อร่วมทุนกับสถาบันการเงินต่างประเทศก็นับว่ามีประโยชน์มากพอแล้วสำหรับจะมาเสริมฐานของตนเองให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

อภิวัฒน์เปิดเผยวาจำนวนหุ้นที่อินโดสุเอซซื้อไปนั้นมี 1 ล้านหุ้นหรือ 25% คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 330 ล้านบาท ซึ่งอินโดสุเอซได้ชำระเงินเรียบร้อยแล้วและนวนก็กันเข้ไว้เป็นเงินสำรองของบริษัทเรียบร้อยแล้วเช่นกัน

ทางด้านบล.เอฟซีไอ ก็จะได้รับผลประโยชน์ ที่คล้ายคลึงกันกันวธนกิจจากบริษัทหลักทรัพย์ชินตง คือในเรื่องของการพัฒนาความรู้ความสามารถในธุรกิจค้าหลักทรัพย์ วมทั้งการช่วยหาลูกค้าต่างประเทศเข้ามาเพราะบล.ชินตงเป็นบริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ชั้นนำอันดบ 1 ในของฮ่องกง

ทั้งนี้แหล่งข่าวในบล.เอฟซีไอเปิดเผยว่าชินตงและเอฟซีไอนั้นร่วมเป็น CO-MANAGEMENT กันอยู่ก่อนแล้ว โดยทางชินตงเป็นลีดเดอร์

อย่างไรก็ดีในด้านของเงินทุน เอฟซีไอก็สามารถร่วมมือกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เอตรืได้ เพราะธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์นั้นก็เหมือนกับธนาคารอินโดสุเอซ คือเปิดสาขาดำเนินธุรกิจการเงินในไทยมาเป็นเวลานาน มีเครือข่ายลูกค้าต่างชาติที่จะดึงเข้ามาลงทุนในไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินทุนหรือหลักทรัพย์ก็ตาม

เอฟซีไอขายหุ้นให้ชินตง 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 250,000 หุ้น ซึ่งจะต้องขายมากกว่าราคาพาร์หุ้นละ 100 บาทเป็นแน่

และเป็นที่คาดหมายว่าชินตงจะต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมเป็นกรรมการผู้จัดการหรือกรรมกรบริหารตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง

สำหรับบงล.จีเอฟซึ่งเริ่มจะมีบทบาทโดดเด่นเอามาก ๆ ในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของตัวหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาด หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการทำธุรกิจเงินทุนเพื่อผู้บริโภค CONSUMER LENDING ก็ทำสัญญาขายหุ้นร่วมุนกับเอเอ็นแซดเอเสริมความสมบูรณ์ในธุรกิจเหล่านี้มากยิ่งขึ้น

เอเอ็นแซดซื้อหุ้นจีเอฟ 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 30 ล้านหุ้น เดิมจีเอฟมีทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาทแบ่งออกเป็น 15 ล้านหุ้นราคาหุ้นละ 10 บาทก่อนหน้าที่จะมีการเซ็นสัญญาซื้อขายหุ้นกับเอเอ็นแซดนั้น จีเอฟก็ได้ประกาศเพิ่มทุนทั้งหมด 30 ล้านหุ้นมีทุนจดทะเบียนรวม 300 ล้านบาท

ชินเวศ สารสาส กรรมการผู้จัดการจีเอฟกล่าวว่า เอเอ็นแซดได้ส่งไบรอัน ฮิวแมน เข้ามาเป็นประธานกรรมการบริหารแทนม.ร.ว.สุชาติจันทร์ ประวิตร ซึ่งยกฐานะขึ้นไปเป็นรองประธานกรรมการบริษัท

การร่วมทุนกับเอ็นแซดทำให้จีเอฟขยายธุรกิจได้อีกมาโดยเฉพาะในด้าน CONSUMER BANKING ซึ่งจีเอฟก็ทำอยู่แล้วและยังจะได้เรียนรู้ความชำนนิชำนาญจากเอเอ็นแซดซึ่งเชี่ยวชาญด้านนี้มากยิ่งขึ้น

ในด้านหลักทรัพย์นั้นก็สามารถรองรับลูกค้าจากเครือข่ายธุรกิจหลักทรัพย์ของเอเอ็นแซดที่มีสาขาอยู่ในหลายประเทศได้

สำหรับธุรกิจ INVESTMENT BANK นั้นจีเอฟวางแผนจะเข้าไปซื้อบงล.แห่งหนึ่งและร่วมทุนกับธนาคารต่างประเทศ ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากกว่าจะร่วมทุนกับ MORGAN GRENFELL โดยมีเงื่อนไขว่าการซื้อบงล.ใดก็ตามจีเอฟต้องถือหุ้นเกิน 50%

"ธุรกิจที่เล็งอยู่คือให้บริการด้านการควบกิจการและซื้อกิจการและการแปรรูปสู่เอกชน ซึ่งอนาคตตลาดส่วนนี้จะเติบโตมากในบ้านเรา" ชินเวศ พูดถึงเหตุผลการซื้อ

การขายหุ้นให้สถาบันการเงินและหลักทรัพย์ต่างประเทศ 25% เป็นสิ่งที่มองกันได้ว่า นั่นจะนำมาซึ่งปริมาณธุรกิจที่สถาบันการเงินต่างประเทศมีเครือข่ายลูกค้าอยู่ทั่วโลก มาป้อนให้บริษัทไทยในยามที่ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจกำลังโตเอา ๆ มากเช่นกัน

แต่ถ้าหากตลาดหุ้นและเศรษฐกิจเกิดฟุบตัวลงเหมือนเหตุการณ์ปี 2523 ถึง 2528 และสถาบันการเงินต่างชาติเหล่านี้จะถอนตัวออกไปไหม อย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ 4-5 ปีก่อน

ก็หวังว่า กระแสลมจากตะวันตกคงไม่ย้อนกลับไป



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.