จุดมุ่งหมายหลักในเรื่องการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่
6 คือ เพื่อลดการก่อหนี้ของภาครัฐวิสาหกิจต่อต่างประเทศเป็นตัวสำคัญ ถ้าเราสามารถลดการก่อหนี้จากต่างประเทศ
มันก็จะช่วยรักษาดุลการชำระเงินระหว่างประเทศด้วย แล้วก็รักษาเพดานเงินกู้ของเราที่ไม่ให้กู้เกินพันล้านดอลลาร์
ประเด็นที่สอง เราคาดหวังว่า ถ้าเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แล้ว จะเป็นการลดการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจ
ประเด็นที่สาม เรามองว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นน่าจะมีประสิทธิภาพในการบริหารที่ดีขึ้น
เพราะจะมีตัวเช็คหรือคอยควบคุมมากขึ้น อีกทั้งในแผนพัฒนาก็ยังระบุว่า เพื่อพัฒนาตลาดทุนให้ขยายตัวขึ้น
ขณะนี้ ตลาดหลักทรัพย์ก็พยายามแก้ไขกฎระเบียบเพื่อผ่อนคลายให้รัฐวิสาหกิจเข้าไปจดทะเบียนได้
ส่วนที่อ้างว่า ติดพระราชบัญญัติของแต่ละรัฐวิสาหกิจ ซึ่งแต่ละแห่งไม่เหมือนกันนั้น
ถ้าจะเข้าจริง ๆ ก็สามารถแก้ไขได้
ปัญหาก็คือ ทุกวันนี้ เรายังไม่เคลียร์กันเลยว่า ที่เราเอารัฐวิสาหกิจเพื่อวัตถุประสงค์
3 - 4 ข้อข้างต้น มันเพียงพอหรือไม่ นั่นข้อที่หนึ่ง
ข้อที่สอง ปัญหาสามสี่ประเด็นที่ผมยกมาจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์
ขณะนี้เราเถียงกันกลับไปกลับมา เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่มีการเคลียร์ปัญหาหรือทำให้พนักงานในรัฐวิสาหกิจเกิดความกระจ่างชัดว่า
กิจการของคุณจะต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันก็มั่วไปหมด
จะเข้าหรือไม่เข้า ถ้าเข้าแล้วจะมีความเสี่ยงขนาดไหนสำหรับผู้บริหารและพนักงาน
เข้าแล้วจะเข้าในลักษณะใด
ข้อที่สาม มีกิจการใดบ้างที่ควรจะเอาเข้าตลาด เพราะขณะนี้บ้านเรามีสามฝ่าย
คือ ราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน สามฝ่ายนี้จะต้องเคลียร์ว่า ฝ่ายไหนจะทำอะไร
คือ เราขาดการสร้างความกระจ่างว่า ราชการทำอะไร รัฐวิสาหกิจนั้นจะมีขอบเขตการทำงานขนาดไหน
เพราะว่าส่วนที่เป็นรัฐวิสาหกิจนั้นบางแห่งมีขอบเขตการทำงานของกิจการที่ไม่แตกต่างจากราชการ
และไม่แตกต่างจากเอกชน อันไหนที่เอกชนเขาทำแล้วเหมาะสมกว่าก็ควรจะแบ่งให้เขาไป
ผมคิดว่า รัฐวิสาหกิจประมาณ 80% สามารถแปรสภาพได้ ที่ผมเห็นว่า ยังไม่ควรแปรสภาพ
คือ กิจการในกลุ่มสาธารณูปโภคที่ผมยังลังเลใจเพราะถ้าหากปล่อยให้ภาพเอกชนทำ
เขาก็ต้องนึกถึงผลตอบแทนที่คุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือมีกำไรบ้าง ดังนั้น ผมกลัวว่า
ประชาชนผู้ยากจนจริงๆ อาจต้องขึ้นรถเมล์แพง และขาดหลักประกันในเรื่องของราคา
ถึงแม้ว่า ในหลักการทางด้านการแปรสภาพ รัฐบาลจะคุมราคาได้ แต่มันก็มีวิธีการที่ไม่สามารถคุมได้
เช่น ทุกวันนี้ กระทรวงพาณิชย์สามารถคุมราคารถยนต์ได้หรือไม่
ประการที่สอง กิจการบางอย่างที่แผ่กระจายไปทั่วประเทศ ประปา โทรศัพท์ โทรคมนาคม
สิ่งเหล่านี้ในชนบทยังมีความยากลำบาก เอกชนที่มาลงทุนเรื่องโทรศัพท์ อาจบอกว่า
ผมไม่เดินสายไปในป่าหรอก มันไม่สามารถทำกำไรได้ พอพูดแบบนี้ ประชาชนแถบนั้นก็จะถูกละเลยไปโดยปริยาย
เพราะฉะนั้น มันจะทำให้คนขาดโอกาสในการใช้บริการ ตรงนี้เราต้องมาเคลียร์กันว่า
เราจะทำอะไรแค่ไหนในแต่ละส่วน และสิ่งที่เราทำแค่นี้ มันช่วยประชาชนขนาดไหน
เช่น โทรคมนาคมนี่รัฐอาจจะบริการไปรษณีย์ฟรี แต่ถ้าเผื่อว่า มีกิจการอื่นที่ต่อเนื่องและใช้บริการแบบไฮเทค
เช่น แฟ็กซ์ เทเล็กซ์ พวกนี้อาจแปรสภาพได้ หรืออาจขึ้นราคาแพงขึ้นไปได้ หรือตั้งบริษัทลูกที่มีเอกชนร่วมทุน
เพราะสิ่งเหล่านี้จะกระทบประชาชนทั่วไปไม่มากนัก และขณะเดียวกันรัฐอาจมีองค์กรอีกองค์กรที่คอยควบคุมคุณภาพของบริการเหล่านี้
เพราะฉะนั้น นี่เป็นขั้นเตรียมการหรือก่อนการแปรสภาพ
เมื่อเราเตรียมการตรงนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ เราต้องเปิดให้มีการแข่งขัน
ลดสิทธิพิเศษที่รัฐเคยให้กับรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจเหล่านี้แข่งกับเอกชน
เช่น ทำในลักษณะที่ บขส. ทำอยู่ตอนนี้ คือ ให้เอกชนมาเดินรถร่วมกับ บขกส.
ได้ คือ ส่วนราชการไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าหรือบริการจากรัฐวิสาหกิจ ใครก็ได้ที่มีสินค้าหรือบริการที่ดีกว่ารัฐวิสาหกิจ
อันนี้จะทำให้รัฐวิสาหกิจเริ่มปรับตัวเข้าสู่สภาพของการแข่งขัน
พอมาถึงตอนนี้ รัฐวิสาหกิจบางแห่งก็จะรู้ตัวว่า ไปไม่รอดแล้ว ต้องแปรสภาพ
หรืออาจจะไม่จำเป็นต้องคงอยู่ด้วยซ้ำ คือ ผมมองว่า พอเราพูดถึงเรื่องการแปรรูปปั๊บ
เราก็กระโดดไปตลาดหลักทรัพย์ทันทีเลย ขาดการเตรียมการ ตอนนี้ผมเห็นว่ามันเป็นเวลาที่สมควรแล้วที่เราน่าจะได้เตรียม
ถ้าเป็นไปได้ทำเป็นแผนตามลำดับขั้น ที่ทุกคนจะตามไปได้ หลายคนอาจจะบอกว่า
ผมคิดแบบนักวิชาการ แต่มันก็ต้องมีพื้นฐานของวิชาการก่อน นักบริหารทุกคนต้องมีแผน
แต่แผนเหล่านี้เราเปลี่ยนได้ ปรับได้ บางอันอาจสุกงอมก่อนสถานการณ์ก็ทำไปได้เลย
ทุกวันนี้ที่มีการเถียงกันอยู่เป็นการพายเรือในอ่าง ขาดทุน ๆ ต้องขายต้องแปรรูป
แต่แปรอย่างไรก็ยังไม่รู้ เอาโมเดลมา 3 - 4 แบบมาจับทันที ซึ่งผมคิดว่าเรากระโดดข้ามขั้นไป
ทีนี้ เราต้องมาย้อนเคลียร์กันตรงนี้ว่า เราต้องแปรรูปเพราะอะไร
ประการแรก ศักยภาพข้างหน้ารัฐบาลจะไม่สามารถเป็น BIG GOVERNMENT รัฐบาลต้องเป็น
SMALL COVERMENT คือ รัฐต้องพยายามทำแต่น้อย แต่มีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันเราต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐ
รัฐไม่ใช่ OPERATE รัฐเป็น REGULATOR เป็นผู้ออกกฎระเบียบบังคับเท่านั้น
อันไหนที่เราอยากให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วย อันนั้นก็ให้แรงจูงใจมาก
ประการที่สอง ค่าใช้จ่ายของภาครัฐไม่สามารถจะสูงได้ในระดับนี้อีกต่อไป เพราะฉะนั้น
ค่าใช้จ่ายของรัฐ้องลดลงมาในเพดานที่เหมาะสม
ประการที่สาม รัฐบาลไม่สามารถไปค้ำประกันเงินกู้ได้ เพราะยังมีโครงการเงินกู้อื่นที่สำคัญของรัฐอีกมากที่รอการก่อหนี้
ประการที่สี่ ทั้งภาครัฐและเอกชนเห็นตรงกันว่า เรามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้เกิดขึ้น
ซึ่งรัฐควรจะมุ่งเน้นและลงทุนไปทางนั้นมากกว่า
ผมไม่เห็นด้วยกับกรณีที่องค์การโทรศัพท์หรือการไฟฟ้าจะใช้วิธีตั้งบริษัทร่วมทุนกับเอกชน
แทนที่จะเอาตัวเองเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะมันเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค
แต่ควรจะมีหุ้นขายในตลาด นั่นเพราะจะเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน
จริงอยู่ที่การขายให้มหาชนนั้น อาจมีแค่สามสิบเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยที่สุด
มันจะเกิดความรู้สึกในการเป็นเจ้าของของประชาชน ขณะเดียวกัน กิจการเหล่านี้ก็จะถูกกับโดย
30% นี้ มันจะทำหน้าที่ในลักษณะการตรวจสอบ และจะทำให้องค์การเหล่านี้เป็นองค์กรเปิด
ไม่ใช่แดนสนธยา
การตั้งบริษัทร่วมทุนแทนการเข้าตลาดหลักทรัพย์ มันไม่มีผลอะไร และอาจมีการฮั้วกัน
และผลเสียจะตกแก่ประชาชน มันมีหลายกรณีที่ทำไปแล้ว เอกชนรวย แล้วรัฐต้องใช้หนี้
เช่น กรณีบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติ ตั้งในสมัยจอมพล ป. ลักษณะมันคล้ายโฮลดิ้ง
คอมปานี แล้วก็มีบริษัทลูกที่บริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจเข้าไปลงทุนมีหุ้น ปรากฏว่า
บริษัทลูกเหล่านี้เจ๊ง ก็ต้องมีการใช้หนี้ ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นต่าง ๆ ได้รับเงินคืนหมด
แต่รัฐต้องไปใช้หนี้ให้
ใน 30% ที่เข้าตลาดหุ้นนี้ ผมคิดว่า เราจำเป็นต้องพูดถึงพนักงานในการซื้อหุ้นในกิจการที่เขาทำงานอยู่
รัฐบาลต้องตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อให้การสนับสนุนแก่พนักงานในการซื้อหุ้น เช่น
ซื้อในราคาพาร์หรือต่ำกว่าพาร์ เป็นต้น อันนี้เราขาดการเตรียมการ เมื่อมีการพูดถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
มักจะพูดถึงการเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือร่วมทุนมากกว่าที่จะสนใจพนักงาน
ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดหลักที่ทำให้เกิดการชะงักงัน เพราะขาดการให้ความรู้
เราต้องชี้แจงว่า เราต้องแปรรูปเพราะอะไรให้พนักงานรู้ ลักษณะการถือหุ้นเป็นอย่างไร
หุ้นของพนักงานเป็นอย่างไร ในระยะ 3 ปีข้างหน้า พนักงานจะมีผลกระทบหรือไม่จากการแปรรูป
เท่าที่ผมเคยศึกษาจากต่างประเทศ เขาบอกเลยว่า 5 ปีแรกนี้เหมือนเดิม เงื่อนไขในการจ้างสิทธิพิเศษที่เคยได้ยังเหมือนเดิม
แต่หลังจากนั้นมาว่ากันใหม่ ซึ่งอาจจะดีกว่า ในขณะเดียวกัน บางอย่างก็ต้องลดลง
เพราะแต่เดิมมันมากไป ไม่เหมาะกับสถานการณ์
ลึก ๆ แล้ว เรื่องการแปรรูปที่มันยังไม่คืบหน้าเพราะสิทธิพิเศษ โดยเฉพาะสิทธิพิเศษของพนักงาน
และเหล่าคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ สมมติเคยใช้ไฟฟ้าฟรี ก็กลัวว่าจะไม่ได้อีก
หรือผลประโยชน์อื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความรีรอ ทางแก้ไขอาจจะโดยกำหนดว่า
ผู้ได้รับสิทธิพิเศษเหล่านี้มีอายุสักเท่าไร และอีกกี่ปี คนเหล่านี้ถึงจะตาย
เมื่อคนเหล่านี้ตาย เราก็เริ่มกันใหม่ ตายแล้วไม่ให้นะ นับแต่ปีนั้นปีนี้
เป็นต้น สิทธิพิเศษที่จะให้กับคณะกรรมการจะต้องมีดีกรีลดน้อยถอยลงจนไม่มีเลย
การเข้าตลาดหลักทรัพย์เพียง 30% อาจไม่เห็นผลทางด้านการบริหารอย่างทันที
หรือใน 6 เดือน แต่ภายใน 1 ปีจะเห็น โดยเฉาพะตอนมีการประชุมผู้ถือหุ้น แสดงงบดุล
ฉะนั้นถ้าเผื่อว่า มีสถาบันการเงินเอกชนถือหุ้นส่วนหนึ่ง และมีประชาชนถือส่วนหนึ่ง
พวกที่เป็นสถาบันจะมีบทบาทมาก เพราะเอาเงินของเขาไปเยอะ เขาจะคุมว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ผมเคยคุยกับอันเดอร์ไรเตอร์หลายคน เขาบอกว่าผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจะเกิดความว้าเหว่เหมือนกันในระยะแรก
ไม่รู้ว่าผู้ถือหุ้นคนไหนมันจะเล่นงานเรา เพราะฉะนั้น รายจ่ายความสูญเสียจะลดลง
อย่างการบินไทย ถ้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ดังที่จะลด คือ งบเอนเทอร์เทนกับตั๋วฟรีนี่ลดแน่