ทั้ง 10 คดีเป็นเพียงตัวอย่างจากคดีนับร้อย ๆ คดีเกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าเท่านั้น
จะเห็นว่า โดยแท้จริงคดีการฟ้องร้องระหว่างลีเวอร์กับไลอ้อนก็เป็นเพียงกรณีหนึ่ง
แต่ที่อาจจะแตกต่างไปบ้าง เป็นการฟ้องร้องโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีเด่นด้วยกันทั้งคู่
แต่ต้องตระหนักว่า คำวินิจฉัยของศาลในคดีตัวอย่างเหล่านี้จะถือเป็นบรรทัดฐานในการเทียบเคียงกับคดีลีเวอร์-ไลอ้อนมิได้
คำพิพากษาฎีกาที่ |
เครื่องหมายการค้า
ของโจทย์
|
เครื่องหมายการค้าของจำเลย |
คำวินิจฉัย |
733/2507
|
MOLINARD กับ "M"
|
MOLINARD กับ "M" |
จำเลยดัดแปลงตัวอักษรให้
เพี้ยนไปบ้างเพื่อแอบอิง
เครื่องหมายการค้าของโจทย์ซึ่ง
คิดประดิษฐ์ใช้มากว่า 20 ปี
แล้วมาใช้กับสินค้าของจำเลย
เป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต
ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้
เครื่องหมายการค้าดังกล่าว |
562/2510
|
รูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม (นมตราหมี) |
รูปหมียืนเกาะถ้วย |
รูปหมีทั่วไปไม่มีลักษณะบ่ง
เฉพาะโจทย์ไม่มีสิทธิ์จะสงวน
รูปหมีทั่วไปไว้ใช้สำหรับ
เครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้
เดียว |
1080/2512 |
COLGATE (ยาสีฟัน) |
COLDANG (ยาสีฟัน) |
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสี
ฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมี
รูปร่างลักษณะการวาง
ตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็
คล้ายเหมือนกับกล่อง
เครื่องหมายการค้าของโจทย์
ทุกอย่างทำให้คนซื้อหลงเข้าใจ
ผิด นับว่าเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทย์ |
1778/2514 |
DEQUADIN (ยาอมแก้เจ็บคอ) |
DEORADIN (ยาอมแก้เจ็บคอ) |
ตัวอักษรโรมัน 8 ตัวเท่ากัน
พิมพ์ขนาดไล่เลี่ยกัน ตัวอักษร
เหมือนกัน 6 ตัว สำเนียงเรียก
ขานคล้ายคลึงกัน ถือว่า
เครื่องหมายการค้าทั้งสอง
คล้ายคลึงกันจนถือได้ว่าเป็น
การลวงสาธารณชนได้ |
1306/2516 |
GANTRISIN (ยาปฏิชีวนะ) |
KANDICIN (ยาปฏิชีวนะ) |
สำเนียงใกล้เคียงกับ
เครื่องหมายการค้าของโจทย์
ซึ่งใช้มากว่า 10 ปี เป็นยาปฏิชีวนะเหมือนกัน เม็ดยามี
ขนาดและสีอย่างเดียวกัน ตัว
อักษรบนเม็ดยาคล้ายกัน ถือว่า
จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้า
และละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทย์ |
1938/2517 |
HALLS (ลูกอม) |
HALL (เครื่องสำอาง) |
แม้จะใช้กับสินค้าต่างชนิดกันก็
อาจทำให้คนหลงเข้าใจผิดได้
เป็นการใช้สิทธิ์ไม่สุจริต โจทย์มี
สิทธิ์ห้ามจำเลยจดทะเบียน
และใช้เครื่องหมายดังกล่าวได้ |
3184/2522 |
TUPPER WARE |
SUPERWARE |
จำเลยเลียนเครื่องหมายของ
โจทย์เป็นละเมิดห้ามมิให้
จำเลยใช้เครื่องหมายของโจทย์
|
1413/2525 |
LION (กระติกน้ำร้อน) |
LION (สินค้าประเภทแป้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียว) |
หากพิจารณาแต่ส่วนประกอบ
ของเครื่องหมายการค้าจะเห็น
ว่าแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณา
โดยรวมทั้งหมดจะเห็นว่า
คล้ายคลึงกันมาก เพราะมีรูป
หัวสิงโตหน้าตรงอ้าปากคำราม
อย่างเดียวกัน ซึ่งเป็น
สาระสำคัญของเครื่องหมายแม้
เป็นสินค้าคนละชนิด ก็นับว่าใช้
เป็นสินค้าเจ้าของเดียวกับ
โจทย์เป็นการละเมิด |
1742/2527 |
น้ำมันพืชก๊ก รูปตัวการ์ตูนบนขวด |
รูปการ์ตูนคล้ายกัน |
จำเลยลอกเลียนเอาจุดเด่นของ
รูปการ์ตูนที่ประดิษฐ์ขึ้นของ
โจทย์ไปดัดแปลงบางส่วน เมื่อ
พิจารณารวมเหมือนคล้ายกัน
นับเป็นการลวงสาธารณชน |
1138/2529 |
รูปหัวและคอม้าลาย
และคำว่าหัวม้าลายกับอักษรโรมัน |
รูปม้าลายยืนทั้งตัวอยู่ในวงกลม
และคำว่า ตราม้าลายและอักษรโรมัน |
สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทย
์และจำเลย คือ รูปม้าลาย ผู้ซื้อ
อาจเรียกว่า ตราม้าลาย
เมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกัน
จะทำให้เกิดสับสนและ
หลงผิดในแหล่งผลิตได้
นับว่าเป็นการลวงสาธารณชน |