อ.ส.ม.ท.ก้าวสู่ยุคบูรณาการสื่อในองค์กรเข้าด้วยกัน พร้อมโชว์เทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟ
ในรายการ "ถึงลูกถึงคน" ผ่าน 3 สื่อ ทีวี มือถือ อินเทอร์เน็ต เปิดรับฟังความคิดเห็นผู้ชม
เตรียมพัฒนารูปแบบรายการสาระบันเทิงลงเครือข่ายมือถือ หวังขยายช่องทางสร้างรายได้ใหม่
นายชิตณรงค์ คุณะกฤดาธิการ รองผู้อำนวยการ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(อ.ส.ม.ท.) เปิดเผยว่า อ.ส.ม.ท. ถือเป็นองค์กรที่มีสื่อครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย
ซึ่งประกอบไปด้วย ทีวีช่อง 9 สถานี วิทยุเอ.เอ็ม และเอฟ.เอ็ม ทั่วประเทศ สำนักข่าวไทย
อินเทอร์เน็ต จะขาดแต่เพียงสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น ขณะนี้ อ.ส.ม.ท.กำลังเริ่มกระบวนการผสมผสาน
หรือประยุกต์การใช้งานของแต่ละสื่อเข้าด้วยการ ในรูปของ Integrated Marketing Program
หรือ IMP
รายการที่ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว คือ รายการไอที จีเนียส ทางช่อง 9 ที่ออกอากาศผ่านคลื่นเอฟ.
เอ็ม 100.5 และอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ของอ.ส.ม.ท. โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้ฟัง
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้จัดรายการ ในการพัฒนารายการให้ตรงกับความต้องการของผู้ฟัง
และที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นเดือน นี้ คือ รายการถึงลูกถึงคน ที่ดำเนินรายการโดยนายสรยุทธ
สุทัศนะจินดา จันทร์-ศุกร์ เวลา 23.00-24.00 น. ซึ่งเป็นรายการอินเตอร์แอคทีฟ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมแสดงความคิดเห็นผ่านทางโทรศัพท์
ระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และทางเว็บไซต์ mcot.net เพื่อให้ผู้ชมมีโอกาสซักถามผู้ร่วมรายการในประเด็นที่สงสัย
และต้องการรู้เพิ่มเติม รายการถึงลูกถึงคนจะเป็นรายการต้นแบบที่เป็นการ บูรณการสื่อรูปแบบต่างๆ
เข้าด้วยกัน
นายชิตณรงค์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันอ.ส.ม.ท. มีความพร้อมที่จะนำ รายการจากทุกสื่อมาทำเป็น
ไอเอ็มพี ข้ามสื่อ โดยเฉพาะการสื่อสารแบบไร้สายทางมือถือ และปาล์ม ที่เป็นสื่อเคลื่อนที่สามารถเปิดรับสื่อได้ในทุกสถานที่
แม้แต่ในต่างประเทศ แต่การ นำเนื้อหาของรายการใดๆ มาจัดลงในสื่อใดๆ ก็ตาม จะต้องปรับปรุงใหม่
ให้เหมาะสมกับสื่อนั้นๆ เช่น การนำรายการถึงลูกถึงคนมาจัดทำในโทรศัพท์ มือถือ และปาล์มที่มีข้อจำกัดของพื้นที่
จอดูภาพ และค่าใช้จ่ายในการรับชมผ่านระบบทีวี ออน โมบาย ยังมีราคาสูง ดังนั้นเนื้อหา
ของรายการจะต้องปรับให้สั้นกระชับ โดยตัดต่อเป็น ตอนๆ รวมทั้งจะต้องปรับเสริมบริการอื่นๆ
เพิ่มเติมเข้ามาด้วย เช่น ระบบเตือนผู้ใช้บริการ เมื่อถึงเวลาออกอากาศของรายการต่างๆ
ทั้งนี้ รูปแบบการนำรายการมาประยุกต์ข้ามสื่อ ในช่วงแรกจะต้องเป็นรายการที่ อ.ส.ม.ท.
ผลิตเองก่อน เพราะจะไม่มีปัญหาด้านลิขสิทธิ์ที่เกิดการใช้งาน ทั้งการใช้ในขณะออกอากาศและการใช้ย้อนหลัง
หลังการปรับโฉมโมเดิร์นไนน์ช่อง 9 ใหม่ มีหลายรายการที่มีความพร้อมจะเข้าสู่ระบบ
ไอเอ็มพี เช่น เกมทศกัณฐ์ ที่กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการเข้าสู่ระบบการบูรณาการสื่อต่างๆ
ที่อยู่เข้าด้วยกัน โดยตั้งใจจะทำผ่านทุกสื่อที่ อ.ส.ม.ท. มีอยู่ และจะเป็นส่วนที่ผลักดันรายได้
อ.ส.ม.ท.ให้เพิ่มขึ้นในอนาคต ขณะที่การลงทุนเท่าเดิม ซึ่งเป็นการหารายได้จากสื่อที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
"ต้องยอมรับว่าธุรกิจที่ อ.ส.ม.ท. ดำเนินการอยู่ ทำได้ยากกว่าเจ้าของสื่ออื่นๆ
เพราะจะต้องตั้งอยู่บน พื้นฐานการมอบสารประโยชน์ให้กับประชาชนมากที่สุด ในขณะที่ต้องมีรายได้เลี้ยงตัวเอง
และนำส่งรัฐด้วย จึงต้องการให้เอเยนซี่ และสปอนเซอร์ ที่ลงโฆษณา คำนึงถึงสื่อที่สร้างประโยชน์ให้สังคมด้วย
ไม่ใช่เลือกลงโฆษณาเฉพาะรายการบันเทิงเท่านั้น" นายชิตณรงค์ กล่าว
รูปแบบการประยุกต์เนื้อหารายการข้ามสื่อที่ อ.ส.ม.ท.ต้องการเข้าไปดำเนินการมากที่สุด
คือ การ ทำรายการผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในอนาคตจะเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล หากเปรียบเทียบธุรกิจนอน
วอยซ์ ของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันที่มีมูลค่านับพันล้านบาท ซึ่งมีเฉพาะด้านบันเทิงเท่านั้น
หากสามารถนำข่าวสาร รายการที่มีสาระเข้าสู่ระบบโทรศัทพ์มือถือ ตลาดนอน วอยซ์ในประเทศไทยจะมีค่าเพิ่มขึ้นมหาศาล
และเนื้อหาของข่าวและสาระจะครองส่วนแบ่งการตลาดได้มากกว่านอน วอยซ์ประเภทบันเทิง
เป้าหมายการประยุกต์ใช้สื่อของอ.ส.ม.ท. จะจับลูกค้าอยู่ 2 กลุ่ม คือประชาชนทั่วไป
และองค์กร ธุรกิจ ซึ่งจะทำให้รูปแบบ บี2บี เช่น สำนักข่าวไทยเป็นผู้ป้อนข่าวให้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอส
เป็นต้น แต่จะเปิดให้บริการข้อมูลข่าวกับประชาชนและองค์กรทั่วไปผ่านทางเว็บไซต์ของของ
อ.ส.ม.ท. ด้วย โดยมีเว็บไซต์กว่า 2,800 เว็บ ที่ใช้ข้อมูลข่าวของสำนักข่าวไทยอยู่ในขณะนี้