ในฐานะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และการค้าของสหรัฐอเมริกา อันเป็นศูนย์ กลางโลกยุคปัจจุบันเมือง ที่มีประชากรถูกกฎหมาย
19 ล้านคน สูงสุดอันดับ หนึ่งของอเมริกานำแบบไม่เห็นฝุ่นจากอันดับสองคือ ลอสแองเจลิส
16 ล้าน และอันดับสามคือ ชิคาโก 9 ล้าน ยังไม่รวมคนต่างด้าวลักลอบอยู่โดยเฉพาะ
จากเม็กซิกัน และจีน กับนักเรียน นักศึกษาต่างชาติ ที่ไม่นับหัวเป็นพลเมืองอีก
ใครสร้างนิวยอร์กให้ยังคงเป็น "เหมืองทอง" ของนักแสวงโชคยาวนานจนถึงปัจจุบัน
MUSEUM OF NEW YORK CITY กำลังสำรวจประชามติคัดเลือก 100 บุคคล ที่ร่วมพัฒนาเมืองนิวยอร์กในด้านต่างๆ
ตั้งแต่ช่วงสร้างตัว จนถึงยุคแสงสีศิวิไลซ์ไม่เคยดับในไทม์สแควร์ ผู้ถูกเสนอชื่อขั้นต้นแบ่งได้เป็นนัก
การเมือง และข้าราชการ นักกิจกรรม และศิลปิน นักธุรกิจ นักกีฬา
นักการเมือง และข้าราชการนั้น มีสองนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ที่ถูกคัดมาด้วย
คนหนึ่งเป็นคนที่ใครๆ ก็รัก คือ เฮนรี่ ลากอร์เดีย (สมัย 1933- 1945) ซึ่งถูกบันทึกไว้ในฐานะนายก ที่ซื่อสัตย์ และพัฒนาเมืองได้ก้าวหน้าที่
สุดคนหนึ่งของนิวยอร์ก อีกคนหนึ่งคือ รูดอล์ฟ จุยเลียนี่ นายกคนปัจจุบัน ที่กำลังเป็นเป้าหมายแข่งขันของฮิลลารี่
คลินตัน คนนี้ทั้งชอบข่มคนไม่มีทางสู้ ถนัดปรับ ที่ดินสาธารณะไปทำเป็นคอมเพล็กซ์
และผลักดันคนจรจัดอย่างโหด ทำให้เกิดกระแสต้านไปทั่วเมือง
ข้าราชการคนสำคัญ ที่ถูกจารึกชื่อไว้คือ โรเบิร์ต มอสส์ (1888-1981) มารับราชการในนิวยอร์กตอนอายุ
25 ปี และต่อมาได้อุทิศตนเป็นนักบริหาร ร่วมพัฒนานครนิวยอร์กมากมายในการสร้างถนนใหญ่,
สวนสาธารณะ, สะพาน, โครงการพัฒนาสลัม และโครงการบ้านจัดสรร เขาเป็นหัวหน้าคณะกรรมการสวนสาธารณะนครนิวยอร์กนานถึง
26 ปี นอกจากนั้น ยังเป็นประธาน การไฟฟ้ามหานครนิวยอร์ก และประธานนิวยอร์กเวิลด์แฟร์
คอร์ปอเรชั่นในปี 1960-1967 รวมถึงเป็นที่ปรึกษาการวางผังเมืองในหลายเมืองทั่วทวีปอเมริกา
ฝ่ายนักธุรกิจ ซึ่งเป็นสายเลือดหลักของนครนิวยอร์ก ผู้ถูกเสนอชื่อหลักๆ คือ ตระกูล
ร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มตระกูล ที่สร้างตำนานนักธุรกิจเมื่อ 100 ปีก่อน
ของสหรัฐอเมริกา
ร็อกกี้เฟลเลอร์ เริ่มต้น ที่ตัวจอห์นดีผู้พ่อเมื่ออายุ 23 ปี เขาเริ่มจับธุรกิจกลั่นน้ำมันร่วมกับแซมมวล
แอนดรูว์ ผู้ค้นพบขบวนการกลั่นน้ำมันต้นทุนต่ำ และก่อตั้งบริษัทของตัวเองในปี
1870 อีก 8 ปีต่อ มาก็ประสบความสำเร็จ จนสามารถคลุมตลาด 90 เปอร์เซ็นต์ของทั้งอเมริกา
ปี 1882 เขาก่อตั้งบริษัทสแตนดาร์ด ออยล์ ทรัสต์ ซึ่งเป็นทรัสต์แห่งแรก และอีก
10 ปีต่อมาถูกศาลสั่งฟ้องข้อหาผูกขาดตลาดอย่างผิดกฎหมาย ปี 1899 เขาตั้งบริษัทสแตนดาร์ดออยล์
อีกแห่ง และอีกสองปีต่อมา ก็ถูกคำสั่งศาลให้แตกเป็นบริษัทย่อย ภายใต้กฎหมายแอนตี้ทรัสต์
ตอนประสบความสำเร็จสูงสุดร็อกกี้เฟลเลอร์มีทรัพย์สินส่วนตัวถึง 1 พัน ล้านดอลลาร์
จำนวนนี้ได้บริจาคสาธารณชนไป 550 ล้านดอลลาร์ โดย 80 เปอร์เซ็นต์มอบให้ 4
องค์กรการกุศล ที่ก่อตั้งขึ้นเอง ได้แก่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์, คณะกรรมการการศึกษาทั่วไป,
สถาบันร็อกกี้เฟลเลอร์ เพื่อการค้นคว้าทางแพทย์ (ต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยร็อกกี้เฟลเลอร์)
และอนุสรณ์ ลอร่า สเปลแมนร็อกกี้เฟลเลอร์ ในปี 1937 เขาเสียชีวิต ที่ฟลอริดาขณะอายุ
98 ปี ถึงรุ่นต่อมาจอห์น ดี จูเนียร์ (1874-1960) เป็นผู้จ ับงานมูลนิธิของพ่อ
และ ร่วมสร้างกลุ่มอาคารสำนักงานร็อกกี้เฟลเลอร์ ที่นักธุรกิจญี่ปุ่นซื้อไปในยุค
90 และสร้างเรดิโอ ซิตี้ ที่เป็นโรงมหรสพชื่อดังจนถึงปัจจุบัน เขาสนับสนุน
การเงินในการฟื้นฟูเมืองวิลเ ลี่ยมสเบิร์ก ที่เวอร์จิเนีย และเป็นคนบริจาค ที่ดิน
ผืนสวยริมแม่น้ำฮัดสันให้สร้างสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ เขามีลูก 5 คน รายที่สนับสนุนกิจกรรมสังคมมากคือ จอห์นดี ที่สาม
(1906-1978) ซึ่ง สถาปนารางวัลร็อกกี้เฟลเลอร์บริการสาธารณะขึ้น เพื่อจัดมอบให้แก่ผู้อุทิศตน
เพื่อสังคมใน 5 แขนง กับจอห์นดี ที่สี่ ซึ่งเป็นวุฒิสมาชิกหลายสมัย
นักธุรกิจใหญ่อีกรายคือ โดนัลด์ ทรัมพ์ ผู้มีชื่อเสียงเป็นดาวเด่นสังคม เมื่อหลายปีก่อน
เขาเป็นนักพัฒนา ที่ดิน ซึ่งเริ่มเป็นที่จับตาตอนอายุ 28 ปี หลังหว่านล้อมให้เทศบาลนครสร้างคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์
ที่สถานีเพนน์สเตชั่น ร่วมกับเทศบาล และบริษัทไฮแอทปรับโฉมโรงแรมเก่าเป็นโรงแรมแกรนด์
ไฮ แฮท ในปี 1980 ต่อมาเขาสร้างตึกทรัมพ์ ติดเซ็นทรัล พาร์ค
ปลายยุค 80 อาณาจักรพันล้านของทรัมพ์รวมถึง ทรัมพ์ ปาร์ค โครงการอพาร์ต
เมนต์จัดสรร และให้เช่า 24,000 ห้อง, บริการโดยสารทาง อากาศช่วง บินสั้น,
และกาสิโนในแอตแลนติก ซิตี้ เมืองกาสิโน ที่ใกล้นิวยอร์กที่สุด นอกจากนั้น คือ
ปราสาททรัมพ์ บ้านส่วนตัวของเขาเอง เขาได้เขียนหนังสือ Trump : The Art of
the Deal เอาไว้บันทึกประวัติการเป็นหนึ่งในนัก พัฒนา ที่ดินผู้สร้างผลงานหวือหวาที่สุดของโลก
ในปี 1990 ทรัมพ์ถูกฟ้องล้มละลายด้วยหนี้สินกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้เขาต้องโอนการบริหารงานทรัพย์สินส่วนใหญ่ให้ธนาคารเจ้าหนี้
กลุ่มต่อมาคือ นักกิจกรรมสำหรับนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเมือง ที่ตั้งแห่งอนุสาวรีย์เสรีภาพ
และเป็นแหล่งตั้งต้นของชนอพยพผู้มาแสวงหาเสรีภาพในดินแดน อเมริการวมทั้งเป็นเมืองแห่งสถานศึกษาหลักทางสังคมศาสตร์
2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ที่นี่จึงมีนักปาฐกถามากมาย
ซึ่งเคยยึดวอชิงตัน สแควร์ ปาร์ค จัดการชุมนุมเรียกร้องสิทธิ
โดโรธี เดย์ (1897-1980 อดีตพยาบาล และนักเขียนหญิง ผู้ฝักใฝ่คริสเตียนคาทอลิก
ยุคเศรษฐกิจอเมริกันเสื่อมถอย (1930s) มีส่วนช่วยคนยากจนในเมืองโดยคิดระบบสร้าง
"บ้านรับรอง" ไว้ตามจุดต่างๆ ใน และนอกเมือง มาร์คมัมฟอร์ด (1895-1990) บรรณาธิการนิตยสารด้านสังคมศาสตร์
มี ส่วนอย่างมากในทางสถาปัตยกรรม และการวางผังเมือง
อีเลเนอร์ รูสต์เวลล์ (1884 - 1962) เกิด ที่นิวยอร์กเป็นหลานสาว ประธานาธิบดีทีโอดอร์
รูสเวลล์ และภรรยาประธานาธิบดีแฟลงคลิน ดี รูสเวลล์ ผู้จัดการงานบ้าน เมืองอยู่เบื้องหลัง
สามีเธอเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการจ้างงานคนทั่วไป และเยาวชน รวมทั้งเป็นผู้ต่อต้านการเหยียดผิว และออกตระเวนเยี่ยมทหารอเมริกาทั่วโลก
ในยุคสงครามโลกครั้ง ที่สอง รวมทั้งเป็นผู้สนับสนุนใ ห้ยิวจากยุโรปได้อพยพไปสู่ปาเลสไตน์
หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว
ศิลปินเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด ที่ถูกเสนอชื่อ เพราะนิวยอร์กเป็นแหล่งรวมดาวของศิลปินนักเขียน
และนักดนตรีมาแต่ไหนแต่ไร ศิลปิน ที่เป็นแม่เหล็กหลักของนิวยอร์ก ในยุคก่อนคือ นักเขียนกลุ่ม
Beat Generation ซึ่งเปิด กระแสแหกกรอบสังคมก่อนยุคฮิปปี้จะฟูเฟื่อง กวีอัลเลน
กินสเบิร์ก และนักเขียน แจ๊ค เครูแอค เป็นแกนนำสำคัญ สมัยมีชีวิตทั้งคู่มีชื่อในฐานะนักพูดปากกล้า
แอนดี้ วอร์ฮอลล์ (1928-1987) จิตรกร และนักสร้างหนังอาร์ต ผู้เป็นตำนานแห่งศิลปะป๊อปอาร์ต
เคยเป็นแหล่งดึงดูดดาราคนดังให้มาเยี่ยมเยือน พบปะสมาคมกับเขาส่วนปัจจุบันนี้
ครูในโลกศิลปะของ ที่นี่คือ วู้ดดี อัลเลน ผู้ถ่ายทอดความรัก และเอ็นดูต่อสังคมปากกัดตีนถีบของนครนิวยอร์กผ่าน
แผ่นฟิล์มมากว่า 30 ปี เขารักนิวยอร์ก และทำให้โลกรู้จักนิวยอร์กตัวจริง
ฐานะ ที่เป็นเมืองผู้สร้ างสรรค์ละครเวทีแนวร้อง เล่น เต้นรำ สลับบทสนทนา ที่กลายเป็นสมญา
"ละครบรอดเวย์" ผู้เกี่ยวกับวงการละครเพลงหรือ Theatre มากมายถูกบันทึกชื่อไว้
โดยเฉพาะสองคนแรก ที่หลอมแบบละครบรอดเวย์ไว้ให้เป็นอย่างทุกวันนี้คือ ริชาร์ด
ร็อดเจอร์ และ "ออสการ์ ทู แฮม เมอร์สตีน" คู่หูแห่งกลุ่มละคร Rodger & Hammerstein
ในฐานะผู้ยกระดับ วงการละครบรอดเวย์จากเดิม ที่เป็นแค่ละครตลกโปกฮามาเป็นละครดรามาวิจิตรตระการตา
อาร์เธอร์ มิลเลอร์ นักเขียนบทละครมือทองได้รับการยกย่องด้วย เขาอายุ 84
ปีในขณะนี้ นักแสดง และดาวเต้นรำอย่าง เจโรเม่ ร็อบ บินส์ ผู้ร่วมพัฒนาวงการบัลเล่ต์ของนิวยอร์กตั้งแต่ยุค
40s ถึง 80s
มาร์ธา เกรแฮม (1893-1991) เป็นนักเต้นรำแนวสมัยใหม่ ที่มีบทบาทสูงมากในวงการอเมริกันโมเดิร์นแดนซ์
เธอย้ายมาอยู่นิวยอร์ก เต้นให้บรอดเวย์ ก่อนหันมาประกอบอาชีพอบรมนักเต้น
และพัฒนาเทคนิคการเต้น เช่น การเลื่อนไหลร่างกายทีละส่วน คนสำคัญในแวดวงออร์เคสตร้าต้องมีชื่อติดทำเนียบประวัติศาสตร์นิวยอร์ก
ซึ่งมีวงขนาดใหญ่ขายการบรรเลงอยู่สองวงคือ วงเมโทรโปลิแทนออร์เคสตร้า และวงนิวยอร์ก
ฟิลฮาร์โมนิค ซิมโฟนี เช่น อาร์ทูโรสส ทอส คานินิ คนคุมวง (Conductor) จากอิตาลี ที่มาสร้างชื่อในนิวยอร์ก
ดุ๊ค เอลลิงตัน (1899-1974) คอนดัคเตอร์ ที่พิสมัยดนตรีแจ๊ซเป็นพิเศษ เขามาอยู่ ที่
นิวยอร์กตั้งแต่อายุ 25 ปี และประสบความสำเร็จในอาชีพคอนดักเตอร์ ที่นี่
ทางด้านนักร้อง และนักแต่งเพลงป๊อปนั้น มีจอร์จ เกิร์ชวิน (1898- 1937) นักเปียโนผู้สร้างผลงาน
"เพลงป๊อป-แจ๊ซดังๆ เกิด ที่เขตบรู๊คลิน ใน นครนิวยอร์ก แต่ไปเสียชีวิต ที่แคลิฟอร์เนีย
เออร์วิงเบอร์ลิน เชื้อสายรัสเซีย ผู้อพยพมานิวยอร์กเมื่ออายุ 6 ขวบ และเสียชีวิต ที่นี่เมื่ออายุ
101 ปี ได้ ประพันธ์เพลงไว้มากมาย ทั้งเพลงละคร เพลงภาพยนตร์ เพลงตลกโปกฮา
และเพลงรักหวานผลงานเพลงดังของเขา เช่น God Bless America และ White Christmas
นักกีฬาถือเป็นอีกส่วน ที่ร่วมสร้างความยิ่งใหญ่ของเมืองอย่างที่ทราบว่า ในอเมริกานั้น พวกเขาไม่ได้โชว์ตีบอลหรือวิ่งรับบอลให้คนจ่ายค่าตั๋วมาดูอย่างเดียว
แต่การกีฬานำพาธุรกิจบนดิน และใต้ดินนับแสนล้านดอลลาร์ และสินค้ากีฬายอดนิยมหลายรายคือ
ผลิตภัณฑ์จากทีมดังของนิวยอร์ก
นักกีฬาคนสำคัญคือ เบบ รัธ (1895-1948) นักเบสบอลนิวยอร์ก แยงกี้ และโค้ชทีมบรู๊คลิน
ดอดเจอร์ เขาเป็นพิทเชอร์มือซ้ายที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันเบสบอล,
ลูห์ เกห์ริก (1903-1941) เจ้าม้าเหล็กจากทีม เบสบอลนิวยอร์ก แยงกี้, แจ๊คกี้
โรบินสัน (1919-1972) นักกีฬาผิวดำคน แรก ที่ได้แข่งเบสบอลสนามใหญ่จากทีมบรู๊คลินดอดเจอร์,
โจสสเนแมท (1943-ปัจจุบัน) นักอเมริกันฟุตบอลแห่งนิวยอร์ก เจ็ต ที่ทำประวัติค่าตัวสูงสุด
ในปี 1965, ลูห์ เกห์ริก (1903-1941) เจ้าม้าเหล็กจากทีมเบสบอลนิวยอร์ก แยงกี้
คนดำมีส่วนด้วยในการสร้างเมืองตอนสงครามระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ที่ขัดแย้งกันเรื่องการเลิกทาส
อุโมงค์รถไฟใต้ดินนครนิวยอร์กเคยเป็นเส้นทาง ที่ทาสผิวดำใช้หนีภัยสงครามกลางเมือง
นครนิวยอร์ก ที่ตั้งของฮาเร็ม ยังคงเป็นเมือง ที่เป็นชุมชนคนดำใหญ่ที่สุด
คนดำ ที่ถูกบันทึกชื่อไว้ เช่น มัลคอล์ม เอ็กซ์ (1925-1965) เขาเกิด ที่รัฐอื่น
พ่อถูกพวกเหยียดผิวคลูคลักซ์แคลนฆ่าตาย ทำงานแบกจ๊อบไปเรื่อยจนอายุ 21 ถูกจับข้อหาย่องเบาเข้าไปเริ่มเรียนหนังสือในคุก
ด้วยความสนใจความเคลื่อนไหวของกลุ่มมุสลิมผิวดำ เขาออกมารวมกลุ่ม กลายเป็นแกนนำ และโฆษกคนสำคัญก่อนมีปัญหาแยกกันภายหลังเพราะ
หลายครั้งเขาวิจารณ์การเมืองรุนแรงไป ต่อมาถูกฆ่าตาย อีกคนคือ เคาน์ตี้ คัลเลน
(1903-1946) กวีผิวดำจากฮาเร็ม
ทั้งหมดนี้ทำให้นิวยอร์กในยุค 2000 เป็นเมือง ที่สร้างเสร็จอย่างดี แม้ยุ่งเหยิงบ้างเล็กน้อย
แต่เมื่อเทียบกับขนาด และปริมาณมหึมาในด้านต่างๆ แล้ว ต้องถือว่าได้รับการจัดการที่ดีมาก และรากฐานเศรษฐกิจนั้น แข็งแกร่ง
แม้ในปัจจุบันก็ยังมีสายธาตุทองเหลือให้นักเผชิญโชคอยู่อีกมาก
ลับสมองประลองปัญญาแบบไม่มีเฉลยท้ายเล่ม ถามว่าใครสร้างกรุงเทพ?