บอร์ดบีโอไอเตรียมพิจารณาอนุมัติส่งเสริมการลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนายานยนต์หรือ
R&D CENTER ของโตโยต้า ที่มีมูลค่า 2,700 ล้านบาท ในเฟสแรก หลังจากนั้นในปี
2550 เตรียมรุกเฟส 2 รวมมูลค่าลงทุนทั้งสิ้น 4,500 ล้านบาท แถมไทยประเคนสิทธิประโยชน์เต็มพิกัดแม้ตั้งในเขต
1 ให้สิทธิเท่าเขต 3 งานนี้ส่งผลให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถแบบครบวงจรและเป็นศูนย์กลางส่งออกรถในภูมิภาคเอเชีย
เหนืออื่น ใดคนไทยได้ทั้งงานและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่เพิ่มจากต้นสังกัด
วานนี้(12 มิ.ย.) คณะผู้บริหารของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่นประเทศญี่ปุ่น
และประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
และหารือถึงแนวทางการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนายานยนต์ หรือ R&D Center ของโตโยต้าภายใต้การดำเนินงานบริษัทโตโยต้า
เทคนิคคอล เซ็นเตอร์ เอเชีย แปซิฟิก ประเทศไทยจำกัด (TTCAP-TH) ซึ่งจะเป็นศูนย์แห่งที่
3 ในโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งได้ดำเนินการจัดตั้งไปแล้ว
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวทางโตโยต้าได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)
แล้วเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 และคณะกรรมการบริหารบีโอไอที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรีเป็น ประธานจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระการพิจารณาอนุมัติการส่งเสริมวันที่
25 มิถุนายนนี้
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่โครงการดังกล่าวจะได้รับแม้ว่าจะตั้งในเขตส่งเสริมการลงทุนที่
1 .คือเขต อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่ 200 ไร่ ขนาดการลงทุน 2,072.1
ล้านบาท แต่เนื่องจากเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาที่รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญเพื่อถ่ายทอดทักษะและฝีมือแรงงานให้กับคน
ไทยบีโอไอจึงมีนโยบายที่จะให้สิทธิประโยชน์เท่ากับเขต 3 ไม่ว่าจะตั้งในเขต 1 หรือ
2 ก็ตาม
ทั้งนี้โตโยต้าจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเขต 3 ประกอบด้วย การได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่อง
จักร มูลค่า 48.3 ล้านบาท ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี (ทั้งนี้ไม่เกิน 100%
ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) เพราะจัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ยังสามารถให้นำผลขาดทุนประจำปี ที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงิน
ได้นิติบุคคล มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันพ้น กำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้
เป็นต้น
เงื่อนไขสำคัญที่จะให้การส่งเสริมการลงทุนก็คือ โตโยต้าจะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพมาตราน
ISO 9000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่ เทียบเท่าภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการ
หาก ไม่สามารถดำเนินการได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษเงินได้นิติบุคคล
1 ปี จะต้องตั้งในท้องที่จ.สมุทรปราการ ซึ่ง ไม่อยู่ในเขตหวงห้าม ฯลฯ
นายสมศักดิ์กล่าว โครงการดังกล่าวเป็นเฟสแรก ปี 2546-2549 ของแผนการลงทุนจัดตั้งศูนย์
วิจัยและพัฒนาในภูมิภาคเอเชียของโตโยต้า ซึ่งหากภาพรวมของการลงทุนทั้งหมดปี 2546-2553
จะใช้เงิน ลงทุนทั้งสิ้น 4,500 ล้านบาท โดยเฟสที่ 2 (ปี 2550-2553 )จะยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนต่อไป
นายสุชาติ พิศิษฐวานิช ที่ปรึกษาด้านการลงทุน บีโอไอกล่าวว่า สิทธิประโยชน์ที่ให้สูงสุดเพราะเป็นนโยบายสำคัญของบีโอไอที่จะมองโครงการลงทุนที่เน้นถ่ายทอดวิจัยและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในไทยซึ่งโครงการนี้จะมีการจ้างวิศวกรและช่างเทคนิค
ไทยถึง 396 คน ญี่ปุ่น 67 คน เนื่องจากค่าแรงในญี่ปุ่นสูงขึ้นมาก เมื่อโตโยต้าเข้ามาแล้วบีโอไอคาดว่า
จะมีผลกระตุ้นให้บริษัทยานยนต์อื่นๆ ตามเข้ามาลงทุนอีกซึ่งจะทำให้ไทยสามารถก้าวไปสู่ศูนย์กลางยานยนต์แห่งเอเชียได้ตามเป้าหมายที่ไทยวางไว้
นายวาตานาเบะ ฮิโรยูกิ กรรมการบริหารอาวุโสสายงานเทคนิค บริษัท โตโยต้า มอเตอร์
คอร์ปอเรชั่น ญี่ปุ่น กล่าวว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย มีทุนจดทะเบียน
1,100 ล้านบาท อยู่ภายใต้การดำเนินการของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
ประเทศญี่ปุ่น และมีแผน เริ่มดำเนินการก่อสร้างในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 และจะเริ่มดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังของปี
2547 พร้อมแผนในการจ้างงานในระยะแรกทั้งสิ้น 240 ตำแหน่ง และคาดว่าในปี 2549 จะมีพนักงานเพิ่มขึ้น
600 คัน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นถือว่าโตโยต้าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง
การจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานี้นับเป็นหน่วยที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของโตโยต้า
และสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของไทยที่มีต่อกลยุทธ์และการดำเนินงานของโตโยต้าในระดับโลก
และแน่นอนว่าที่โตโยต้าตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดตั้งศูนย์ดังกล่าว
ก็เนื่องมา จากความเหมาะสมในด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ อาทิ สภาพสังคมที่ดี
ความพร้อมด้านแรงงาน และความสนับสนุนของภาครัฐบาลและประชาชนที่มีต่อ อุตสาหกรรมยานยนต์
วาตานาเบะ กล่าวถึงสาเหตุของการตั้ง TTCAP-TH ก็เพราะว่าตลาดในเอเชียมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
และไทยก็เป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่ เติบโตอย่างรวดเร็ว ,มีบุคลากรที่มีความ สามารถสูง
ดังนั้นบริษัท TTCAP-TH ที่จัดตั้งขึ้นมา จะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยใหญ่ขึ้น
เศรษฐ-กิจดีขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะในไทยแต่รวมถึงทุกประเทศที่โตโยต้าเข้าไปดำเนินธุรกิจ
ที่สำคัญในวันนี้นอกจากประเทศไทยแล้วที่ประกาศก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา ยังมีที่ประเทศญี่ปุ่น
และประเทศออสเตรเลีย ได้มีการแถลงข่าวเช่นเดียวกัน สำหรับทางออสเตรเลียจะมีการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกับไทย
โดยใช้จุดแข็งของทั้ง 2 ประเทศ มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หน้าที่หลักของ TTCAP-AU คือวิจัยและพัฒนาด้านการออกแบบและรูปลักษณ์ของตัวรถ,
การทดสอบและประเมินผล,การประเมินผลวัสดุและการวิจัยสี,การวิจัยและพัฒนาเครื่องยนต์,การสำรวจและวิเคราะห์ตลาดและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยี
ภายในภูมิภาค
แน่นอนเมื่อ TTCAP-TH ลงตัวแผนการออก แบบรถรุ่นใหม่ที่จะขายในประเทศไทยและส่งออกไป
ยังต่างประเทศก็จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วิจัยและพัฒนาด้านการออกแบบและรูปลักษณ์ของตัวรถ
จนถึงประกอบ ผลิต และออกขาย แต่จะเป็นรถรุ่นใดนั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้
วาตานาเบะ กล่าวเพิ่มเติมว่ ขณะนี้รถยนต์ที่วิ่ง อยู่ทั่วโลกมีประมาณ 740 ล้านคัน
และในอีก 17 ปีข้างหน้ารถยนต์จะเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัวโดยครึ่งหนึ่งที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ในตลาดเอเชีย
ซึ่งไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจมากและยังเป็นศูนย์กลางส่งออกยานยนต์ในทวีปเอเชียได้แน่นอน
และจะมีการขยายตัวเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกได้
ส่วนแบ่งตลาดของโตโยต้าในเอเชียมี 20% ของมูลค่าตลาดและในไทย 31.8% ในปีที่ผ่านมาและช่วงเดือนม.ค.-พ.ค.จะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าปีที่แล้วและแน่นอนว่าส่วนแบ่งการตลาดของโตโยต้าในไทยอนาคตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกได้
นายวาตานาเบะกล่าว