ส.อ.ท. เผยผู้ส่งออกไทยกระอักต้นทุนส่งออกพุ่งกว่า 800 ล้านบาทต่อปีหลังสหรัฐฯนำมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าผ่านตู้คอนเทนเนอร์เข้าสหรัฐฯหรือ
CSI เพื่อป้องกันการก่อการร้ายมาใช้ทำให้สายการเดินเรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น
เตรียมยื่นพาณิชย์ตรวจสอบขัดกฏหมายแข่งขันการค้าหรือไม่ และดันเข้าสู่วาระประชุม
APEC ต.ค.นี้
นายชวลิต นิ่มละออ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าผ่านตู้คอนเทน-เนอร์เข้าสหรัฐฯ
หรือ CSI ที่ทางศุลกากรสหรัฐฯได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นมาตรการป้องกันภัยก่อการร้าย
ว่ามาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบ ต่อผู้ประกอบการส่งออกมีภาระการจ่ายค่าธรรมเนียมการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นประมาณ
700-800 ล้าน บาท/ปีโดยผู้ประกอบการสายเดินเรือผลักภาระดังกล่าวให้ผู้ส่งออกแทน
"อนาคตอันใกล้หากยังไม่มีการกำหนดหลักการที่ชัดเจนว่าใครควรเป็นผู้รับภาระค่าธรรมในการส่ง
ข้อมูลดังกล่าวอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามมาอีก ดังนั้น
เรื่องนี้ส.อ.ท.จะเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการควบคุมราคาสินค้า และบริการ กระทรวงพาณิชย์
ตรวจสอบการดำเนินงานว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่" นายชวลิตกล่าว
นอกจากนี้ ส.อ.ท.จะเร่งดำเนิน การใน 4 แนวทางเพื่อช่วยเหลือไม่ให้ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระดังกล่าวแต่ฝ่ายเดียวคือ
1.จะสอบถามข้อมูลผลกระทบ ในประเด็นดังกล่าวจากประเทศ อื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
2.เมื่อทราบข้อมูลแล้วส.อ.ท. จะนำเรื่องเข้าหารือกับฝ่ายศุลกากรสถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย
รวมถึงผลักดันเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ การประชุม APEC ปี 2003 ช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ
3.ศึกษาพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าว่าเป็นเรื่องขัดต่อกฎหมายหรือไม่
4.จะประสานงานไปยังกระ- ทรวงพาณิชย์เพื่อสอบถามความเป็น ไปได้ในการสร้างระบบ
e-booking เนื่องจากจะเช่อมโยงไปยังโปรแกรม ของศุลกากรสหรัฐฯได้ทันทีโดยไม่ต้องแปลงข้อมูล
ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวได้เริ่มมีผลลงโทษแก่ผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.
2546 ทำให้สายการเดิน เรือบางแห่งที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติ ตามได้กำหนดค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งบัญชีรายการ
สินค้าให้แก่ศุลกากรสหรัฐจาก ผู้ประกอบการเพิ่มเติมในอัตรา 25 เหรียญต่อ 1 ใบขนส่งสินค้า
นอกจากนี้ กรณีที่ต้องการแก้ไขบัญชีรายการสินค้า ที่ได้จัดส่งให้กับสายการเดินเรือเรียบร้อยแล้วผู้ประกอบการจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีก
40 เหรียญต่อการแก้ไขครั้งหนึ่งๆ ซึ่งส.อ.ท.เห็นว่าการ ที่สายการเดินเรือให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลให้แก่ศุลกากรสหรัฐโดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากสายการเดินเรือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบข้อมูลต่างๆให้เป็น
สิ่งที่ไม่ควรกระทำเพราะเสมือนเป็น การผลักภาระมายังผู้ประกอบการฝ่ายเดียว
"ล่าสุดทราบว่า Freight Forwards ต่างๆ เช่น MAERSK LOGISTICS ได้กำหนดที่จะขอเก็บค่า
ธรรมเนียมเพิ่มเติมโดยให้เหตุผล ว่า แม้ผู้ประกอบการจะเสียค่าธรรมเนียมในการสำแดงบัญชีรายการสินค้าให้แก่สายการเดินเรือแล้วแต่ในส่วนของ
Freight Forwards ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนิน งานเช่นกัน" นายชวลิตกล่าว