มันเป็นความฝันของคนเกือบทุกคน พอถึงช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องการอย่างเหลือเกิน
ในการสลัดชีวิตตนเองให้พ้นจากการเป็นลูกจ้าง เพียงแต่บางครั้งอาจจะขาดความกล้าในการตัดสินใจ
จังหวะชีวิตของเพิ่มพล โพธิ์เพิ่มเหม มาพบกับจุดเริ่มต้น อีกครั้งกับการทำหนังสือเล่มใหม่
ที่สำคัญอย่างมากๆ เพราะคราวนี้เป็นหนังสือของเขาเองกับครอบ ครัว ที่ต้องเรียกว่างานนี้ทั้งทุ่มทุนสร้าง
และทุ่มเทกำลังกายให้อย่างสุดๆ ไปเลยเชียว
จะว่าไปแล้ว เป็นความฝันของคนเกือบทุกคนที่พอถึงช่วงเวลาหนึ่ง ก็ต้องการอย่างเหลือเกินในการสลัดชีวิตตนเองให้พ้นจากการเป็นลูกจ้าง
เพียงแต่บางครั้งอาจจะขาดความกล้าในการตัดสินใจ หรือกำลังรอช่วงเวลา ที่เหมาะสมเท่านั้น
"ผมคิดว่าช่วงนี้เป็นเวลา ที่ลงตัวที่สุดของผม" เพิ่มพล บรรณาธิการบริหารหนังสือ
"มาร์เก็ตเธียร์" เริ่มต้นบทสนทนาด้วยท่าที ที่สบายๆ ในเช้าวันหนึ่งกับ "ผู้จัดการ"
ซึ่งเป็นวันก่อนหนังสือของเขาเล่มแรก ฉบับเดือนมีนาคม 2543 จะออกวางแผง
มาร์เก็ตเธียร์เป็นนิตยสารรายเดือนเล่มใหม่ ที่แทรกตัวขึ้นมาอย่างท้าทายบนแผงหนังสือในยาม ที่ต้องบอกว่าคนทำต้องมีความกล้า และความมั่นใจอย่างมากๆ
เลยทีเดียว
ความกล้า และความมั่นใจอย่างแรกของเพิ่มพลก็คือ ความมั่นใจในตัวเองอย่างมากว่าจะสามารถเป็นคนจัดการปรุงเนื้อหาของหนังสือให้ถูกใจคนอ่านได้
สอง-เขามั่นใจในตัวของสินค้า ซึ่งป็นนิตยสารทาง ด้านการตลาดที่มีเนื้อหามากมาย และเขาเองต้องครีเอทีฟประเด็นให้ชัดเจน และน่าสนใจ
สาเหตุที่เขาโฟกัสไปยังข่าวการตลาดเพราะเป็นข่าว ที่เขาถนัดที่สุด และ ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เขามั่นใจว่ามีผู้อ่านจำนวนมหาศาล ที่ต้องการหนังสือแนวการบริหารทางการตลาดที่ดีสักเล่มหนึ่ง
"ทุกวันนี้ข่าวการตลาดมันหายไปในท้องตลาด หนังสือเองก็หายไป หรือแม้แต่ข่าวการตลาดในหนังสือต่างๆ
รายวัน รายสัปดาห์ มันก็อ่อนล้าไปมาก แต่จะเน้นไปยังข่าวการเงินหรือเศรษฐกิจเยอะขึ้น
เพราะกระแสข่าวประเภทนั้น มันแรงกว่า และผมเชื่อว่ามันมีกลุ่มผู้อ่านแน่นอน
อย่างเช่นไปฟังสัมมนาในงานวันนักการตลาด ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า มีคนไปฟังเป็นพันคน
ผมว่าเอ๊ะ! หนังสือไม่มี แต่นักการตลาดมี คนฟังมี"
และสาม-เขามั่นใจในทีมงานเล็กๆ ที่ทุกคนเคยทำข่าว ในนิตยสารผู้จัดการรายเดือนมาก่อน
ดังนั้น จึงมีประสบการณ์ ในการทำข่าวกันมาพอสมควร ทำให้การทำงานเร็วขึ้น และง่ายขึ้น
และสุดท้ายเพิ่มพลเชื่อมั่น ในทีมงานหาโฆษณา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้หนังสือยืนหยัดขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว
ผู้รับ ผิดชอบในเรื่องหาโฆษณาให้หนังสือ เล่มนี้ คือ สมสมร ผู้เป็นภรรยาของเขา
ซึ่งในอดีตคือ ผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาของหนังสือ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" และต่อมาคือ ผู้อำนวยการ
ฝ่ายโฆษณาของนิตยสาร "ผู้จัดการรายเดือน" ประสบการณ์ต่างๆ รวมทั้งสายสัมพันธ์เก่าๆ
กับบรรดาลูกค้า และเอเยนซี นั้น น่าจะมีส่วนบ้างในการเริ่มต้นทำหนังสือเล่มใหม่นี้
ย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เพิ่มพลคือ ฝ่ายศิลปกรรมของหนังสือผู้จัดการรายเดือน
ก่อน ที่จะก้าวไปเป็นนักข่าวผู้จัดการรายเดือน และย้ายไปเป็นนักข่าวผู้จัดการรายวัน
ในยุคบุกเบิก และมีตำแหน่งเป็นบรรณาธิการ ข่าวการตลาดผู้จัดการรายวันในยุคหนึ่ง
หลังจากนั้น ก็ได้กลับเข้าไปเป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสารรายเดือน และล่าสุดก่อน ที่จะลาออกเขามีตำแหน่งเป็นบรรณาธิการบริหารหนังสือผู้จัดการรายสัปดาห์
ในขณะที่เขาเคี่ยวกรำในเรื่องงานข่าว สมสมรก็กำลังสะสมกลยุทธ์ในเรื่องหาโฆษณา
เมื่อถึงวันนี้ ทั้งสองคนก็เลย เป็นส่วนผสม ที่ลงตัวที่สุด
ช่วงหนึ่งในชีวิตหลังจากคนทั้งคู่ลาออกจากผู้จัดการ ได้อพยพตัวเอง และลูกชายคนโตวัย
6 ขวบ ไปทำงานกับญาติ ที่เมืองชิคาโก ซึ่งไปตั้งรกรากอยู่ ที่นั่นนานประมาณ
20 ปี และเป็นเจ้าของโรงแรมเล็กๆ อยู่ประมาณ 4 แห่ง และเคยได้ชักชวนให้ไปทำงานด้วยหลายครั้งแล้ว
"เมื่อทางเมืองไทยเราก็ไม่ได้ติดพันอะไร ก็เลยคิดว่าน่าจะลองไปใช้ชีวิตสักช่วงหนึ่ง
มีงานทำ เมืองไทยเองก็เศรษฐกิจยังไม่ค่อยดี ก็คิดว่าน่าจะอยู่ ที่โน่นไปพลางๆ
ลูกเองก็ให้ไปเรียนหนังสือ ที่โน่นได้ฝึกภาษาไปด้วย แต่ก็ไม่ได้วางแผนระยะยาวอะไรเลย
งาน ที่ทำคือ ดูแลโรงแรมให้เขา เป็นโรงแรมเล็กๆ 60 ห้อง ก็ทำหน้าที่คล้ายผู้จัดการดูงานทั่วๆ
ไป งานไม่หนัก เมื่อมีแขกมาพักก็ทักทาย และทำบัญชี รายรับรายจ่ายบ้างนิดหน่อย
โรงแรม ที่โน่นไม่ได้ขายเซอร์วิสอะไรมากมายก็เลยไม่ยุ่ง" เพิ่มพลเล่าให้ฟังถึงสาเหตุของการตัดสินใจใช้ชีวิต ที่เมืองชิคาโก
เป็นชีวิต ที่น่าจะลง ตัว และต้องยอมรับว่าโชคดีกว่าคนไทยอีกหลายๆ คนที่ออกไปแสวงโชคในต่างแดน
แต่พออยู่ได้สักพัก เพิ่มพล ก็ต้องตั้งคำถามกับตนเองว่า วิถีชีวิตอย่างนี้
มันใช่ชีวิตเราหรือเปล่า ?
"การอยู่ ที่นั่นเหมือนกับว่าเราถูกตัดขาดทางสังคม ในขณะที่เราก็คิดถึงงานสังคม ที่เมืองไทยเรายังคิดถึงงานแต่งงาน
คิดถึงงานสังสรรค์ วันเสาร์อาทิตย์ เรายังพาลูกไปหาญาติ ไปเที่ยวชายทะเล
ก็เลยมีคำถามกับตัวเองว่าจะทำอะไรต่อไป และก็รอลูกคลอดแล้วก็กลับ"
การมีเวลาว่างได้อ่านหนังสือพิมพ์ต่างๆ ตลอดเวลา ที่อยู่ ที่ชิคาโก ทำให้เพิ่มพลได้เห็นความแตกต่างของหนังสือ ที่เมืองไทยกับต่างประเทศ
ได้เรียนรู้ และเข้าใจวิธีคิดของการทำหนังสือในต่างประเทศ และ ที่สำคัญมันทำให้เขารู้ตัวเองว่าไฟในการทำหนังสือของเขามันไม่ได้มอดดับไปเลย
ยังพร้อม ที่จะคุโชนขึ้นมาใหม่ได้ตลอดเวลา ก็เลยตั้งใจว่าหากกลับเมืองไทยก็จะเลือกทำหนังสืออีกแน่นอน
เพียงแต่คราวนี้จะต้องเป็นเจ้าของเอง
เมื่อประกอบกับความมั่นใจทั้งหลาย หลังจากกลับจากชิคาโกเมื่อเดือนกันยายน
2542 เขาก็เริ่มมองหาออฟฟิศ และวางแผนงาน พร้อมๆ กับพูดคุยระดมความคิดกับ ที่ปรึกษา
และบรรดา เพื่อนฝูงต่างๆ พร้อมทั้งตกแต่งความคิดไปเรื่อยๆ เพื่อให้หนังสือ ที่ออกมาเป็นผลพวงของการตกผลึก
ความคิด ที่เข้มข้นที่สุด
มาร์เก็ตเธียร์เล่มแรกจึงประกอบไปด้วยเนื้อหาหลักๆ 3 ส่วนคือ 1. ข่าวความเคลื่อนไหว และกลยุทธ์ต่างๆ
ทางด้าน การตลาด 2. ความรู้ทางด้านวิชาการ และ 3. คือ เรื่องของคน เพราะคนก็ต้องการรู้จักคนใหม่ๆ
เพิ่มขึ้น
ความใหม่อีกอย่างในหนังสือเล่มนี้คือ เพิ่มพลต้องการทำเป็นหนังสือ 3 ภาษาคือ
ไทย อังกฤษ และญี่ปุ่น ดังนั้น ในตอนท้ายๆ ของเล่มจะมีการสรุปเนื้อหาของแต่ละเล่มไว้
เป็นภาษาอังกฤษ และญี่ปุ่นด้วย รวมทั้งจะมีข่าวคราวความเคลื่อนไหวต่างๆ จากประเทศญี่ปุ่นด้วย
"ผมมองว่าเรื่องการตลาดเป็นเรื่องของคนอเมริกันก็จริง แต่คนที่สามารถ ปรับใช้กับคอนซูเมอร์ได้เก่งกว่าคือ ญี่ปุ่น"
เพิ่มพลให้ เหตุผลในการที่ต้องมีภาษาญี่ปุ่นในหนังสือของเขา
เมื่อได้ลงมือในการเป็นเจ้าของเอง สิ่งแรก ที่เขายอมรับก็คือ เหนื่อย....มาก
แต่สนุก ตรง ที่ได้คิดค้นรูปแบบใหม่ในการทำหนังสือ ในเรื่องของการตลาด และ ที่สำคัญ
ทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองมีพลัง ที่จะทำอะไรต่ออะไรเยอะแยะมากจริงๆ
"ผมว่าต้องรีบทำ เป็นช่วงเวลา ที่เหมาะที่สุด ตลาดกำลังต้องการ เพราะธุรกิจเองก็อาจจะหยุดนิ่งอั้นเอาไว้ในเรื่องการตลาดมาประมาณ
2-3 ปีแล้ว ผมไม่ได้พูดว่าอนาคต เศรษฐกิจจะดีขึ้นนะ แต่ผมมองว่าการตลาดต้องมีกิจกรรมแล้วล่ะ
ถ้าทำตอนนี้น่าจะเหมาะ และวันนี้ผมยืนยันได้ว่า มาร์เก็ตเธียร์เป็นหนังสือรายเดือนทางด้านการตลาดเล่มเดียว
ที่มีอยู่บนแผงในเมืองไทย"
เพิ่มพลทิ้งท้ายก่อน ที่จะลาจากกันในวันนั้น เขาต้องรีบไปสะสางงานต่างๆ
ที่ค้างในออฟฟิศ ให้ได้มากที่สุด เพื่อวันรุ่งขึ้นเจ้าของหนังสือคนใหม่นี้จะได้มีเวลาไปเช็กดูยอดขายตามแผงด้วยตนเองด้วยความตื่นเต้น