พอร์ตโฟลิโอ พัง!?

โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

วิกฤตการร์อ่าวเปอร์เชีย เมื่อ 2สิงหาคม ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาวะการลงทุนในทั่วโลก ดัชนีราคาหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ไทย ลดงลง 52.41% ถือเป็นการตกต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 มในบรรดาตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก พอร์ตโฟลิโอของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ขาดทุนไปตามๆ กัน มากน้อยขึ้นอยู่กับฝีมือผู้บริหารฯ

ตลาดหุ้นไทยปีม้าคึกคักด้วยข่าวสารและความเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างวูบวาบของราคาหุ้นมาตั้งแต่ต้นปี ประเดิมด้วยกรณีปั่นราคาหุ้นของบล.ชาวไทยที่มีเหตุทำให้ดัชนีราคาหุ้นซึ่งกำลังวิ่งฉิวที่ระดับ 900 กว่าต้องสะดุดลง ตามมาด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง อยุ่พักหนึ่ง ที่ทำให้ดัชนีตกต่ำกว่า 800 จุด หลังจากนั้นก็ขึ้น ๆ ลง แล้วมาเริ่มพุ่งอย่างแรงเมื่อได้รับข่าวหนุนเกี่ยวกับการประกาศยอมรับพันธะมาตรา 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF) โดยกระทรวงการคลังและธนาคารชาติ และมีผลในทางปฏิบัติเรื่องการผ่อนคลายการนำเงินเข้าออกนอกประเทศได้อย่างเสรี

ดัชนีหลักทรัพย์ทะยานขึ้นไปกว่า 1,143.78 จุด และนับเป็นปรากฏการร์ครั้งแรกของตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะนั้นเป็นช่วงปลายเดือนกรกฏาคม ปริมาณการซื้อขายพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์เชนกัน เฉลี่ยวันละ 6,000-7,000 ล้านบาท

แต่แล้ว โดยไม่มีใครคาดฝัน ประวัติศาสตร์ที่กำลังสดใสในหัวใจนักลงทุนไทยกลับปิดฉากลงอย่างฉับพลัน ปรากกฏการณ์ที่ยิ่งกว่า " จันทร์ทมิฬ" เมื่อเดือนตุลาคม 2530 เกิดขึ้นโดยฝีมือของจอมโจรแบกแดดผู้กระหายสงคราม ซัดดัม ฮุสเซน แห่งอิรัก ซึ่งสั่งกองทหารของตนเข้าบุกยึดคูเวตดินแดนแห่งความมั่นคั่งขอบทรัพยากรน้ำมัน และผนวกเอาดินแดนแห่งนี้เป็นจังหวัดหนึ่งของอิรัก

มันเป็นการล่าอาณานิคมสมัยใหม่ ที่เจ้าอาณานิคมในศตวรรษที่ 18 อย่างดัชท์ และอังกฤษ เปิดตำราศึกษาไม่ทัน

สถานการณ์ตึงเครียดที่ตะวันออกกลางครั้งนี้ ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการเมืองเศรษฐกิจ และชีวิตของชาวต่างชาติ จำนวนมากในคูเวตได้กลายเป็นตัวประกัน และครื่องต่อรองชั้นดีของอิรัก

ราคาหุ้นในตลาดดลก ตกต่ำลงอย่างมาก ๆ โดยเฉพาะที่เมืองไทยซึ่งราคาหลักทรัพย์ลดต่ำกว่าเดิมมากกว่า 52.41% และถือเป็นตลาดที่มีราคาหลักทรัพย์ลดต่ำลงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากไต้หวัน เพราะเหตุจากกรณีวิกฤติอ่าวเปอร์เซียครั้งนี้

ขณะเดียวกันน้ำมันก็มีราคาสูงขึ้นอย่างมากจากบาร์เรลละ 18 ดอลลาร์เป็น 35-40 ดอลลาร์ เมื่อราคาน้ำมันพุ่งกระฉูดขึ้นมาคราใด ราคาหุ้นก็ตกลงมาในครานั้น

กลุ่มหุ้นที่ได้บผลกระทบจากวิกฤติการร์อ่าวเปอร์เชียมากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ คือ กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ โดยดัชนีหุ้นในกลุ่มนี้ลดลงมากว่า 53% จากเดิมอยู่ที่ 7,074.99

เป็นกลุ่มที่ดัชนีราคาตกต่ำพร้อม ๆ กับข่าวร้าย ๆ เรื่องผลการดำเนินการขาดทุนอย่างมาก โดยเฉพาะในโบรกเกอร์ที่มีพอร์ตโฟลิโอ เพื่อการลงทุนในวงเงินที่สูง

แม้ว่าธุรกิจหลักของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่จดทะเบียนในจลาดหลักทรัพย์จะเน้นในด้าน 3 ด้าน คือคอนซซูเมอร์ ไฟแนนซ์ท โดยเฉพาะเรื่องการเช่าซื้อการปล่อยกู้กับธุรกิจอสังาหริมทรัพย์ และการเป็นนายหน้าซื้อขายหุ้น แต่ก็มี บงล. และ บล หลายแห่งที่พึ่งพิงการลงทุนซื้อขายหุ้นเป็นด้านหลัก ๆ โดยเฉพาะบล.เอเซียซึ่งมีมูลค่าการลงทุนหลักทรัพย์จดทะเบียนและรับอนุญาตมากถึง 1,528.79 ล้านบาท

ทั้งนี้ บล.เอเซีย ขาดทุน พอร์ตโฟลิโอ ในไตรมาสที่ 3 ( ก.ค-ก.ย) 15.08 ล้านบาท แต่เมื่อคิดรวมทั้ง 9 เดือนแรกของปีแล้ว ก็ยังมีกำไรสูงถึง 122,56 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2532 ซึ่งมีกำไรเพียง 57.80 ล้านบาท

นอกจากนี้ บล.เอเซีย ยังสามารถทำกำไรสุทธิใน 3 ไตรมาสแรกได้ 194.51 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่บทำได้ 107.26 ล้านบาท นี่เป็นผลพวงของ 2 ไตรมาสแรกที่บริษัทสามารถทำกำไรเอาไว้ได้

บงล.ที่มีมูลค่าการลงทุนในหลักทรัพย์สูงรองลงมาเป็นอันดับ 2 คือบงล.สินเอเชีย ซึ่งมีมูลค่า 934.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากช่วงเดียวกันของเมื่อปี 2532 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 544.29 ล้านบาท

แต่ บงล.เอเซีย ไม่มีการขาดทุนพอร์ตในช่วงไตรมาสที่ 3 กลับได้กำไรมาเล็กน้อยคือ 4.93 ล้านบาท

บงล.ที่มีมูลค่าพอร์ตโฟลิโอ ตามมาเป็นอันดับ3 คือบงล ทิสโก้ มูลค่าพอร์ตฯ 881.49 ล้านบาท มีกำไรในไตรมาสที่ 3 สูงที่สุดในบรรดาพอร์ตฯ ลงทุนของบงล ต่างๆ คือ133.23 ล้านบาท แต่ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าผลการดำเนินงานในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

บงล.ที่มีพอร์ตการลงทุนตามมาเป็นอันดับ 4 คือ ะนชาติ 474.07 ล้านบาท ขาดทุน 3.76 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 ส่วนพอร์ตฯ ของ บงล. ธนกิจ มีมูลค่า 473.07 ล้านบาท กำไร 6.36 ล้านบาท ในไตรมาสสามและบง.เอกธนกิจ 442.91 ล้านบาท กำไร 32.90 ล้านบาทในไตรมาสสามเช่นกัน

ขณะที่บงล. ศรีมิตร มีพอร์ตฯ การลงทุนสูงเป็นอันดับที่ 5 ในวงเงิน 396.72 ล้านบาท และมีผลการขาดทุนในไตรมาส 3 สูงเป็นอันดับ 1 คือ 124.52 ล้านบาท เป็นเหตุให้มูลค่าการซื้อขายทรัพย์สินที่โดดเด่นมาก ๆ ในต้นปี ทำกำไรลดเหลือ 10.47 ล้านบาทเท่านั้น

สำหรับบงล. ร่วมเสริมกิจ และ บงล.ธนสยาม มีพอร์ตฯ การลงทุนในมูลค่าใกล้เคียงกันคือ 391.82 และ 371.94 ล้านบาทตามลำดับ แต่ผลกำไรในไตรมาสที่สามของธนสยามดีกว่าร่วมเสริมกิจพอสมควร คือ 44.71 ล้านบาท ขณะที่ร่วมเสริมกิจทำได้ 20.84 ล้านบาท

ในส่วนของบงล.ศรีมิตร นั้นได้แชมป์โบรกเกอร์ที่มีากรซื้อขายหลักทรัพย์สูงที่สุดมาหลายเดือน โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนหลังที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 7,520.59 ล้านบาทในเดือนสิงหาคม และค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ในเดือนถัดมาจนเดือนพฤศจิกายน เหลือ 4,208.06 ล้านบาท

หากดูโครงสร้างที่มาของรายได้ของบงล.ศรีมิตร ซึ่งเพิ่งจะขึ้นมาเป็นดาวรุ่งพุ่ง

แรงในปีนี้ หลังจากจับมือร่วมกับแบริ่ง ซิเคียวริตี้ ในด้านค้าหลักทรัพย์ แล้ว ปรากฎว่าศรีมิตรก้าวขึ้นมาอยู่แถววหน้าของโบรกเกอร์ที่มีปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์สูงสุด เพราะได้รับออเดอร์นักลงทุนยุโรปผ่านทางแบริ่งฯ เป็นจำนวนมา ก รายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นเป็น 249.14 ล้านบาท ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2533 เทียบเคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 44.48 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 81.14%

ขณะเดียวกันฐานรายได้อีก 2 ทางของศรีมิตร คือจาการเช่าซื้อ 472 ล้านบาท ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2533 ก็เพิ่มสูงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 37.97% ส่วนฐานเงินให้กู้ยืมและเงินฝากเพิ่มขึ้น 67.89% จาก 157.34 ล้านบาท ในช่วงเก้าเดือนแรก ของปี 2532 เป็น 489.12 ในช่วงเดียวกันของปีนี้

ดร.วีรศักดิ์ สุขอาณารักษ์ รองกรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวถึงการงทุนในตลาดหลักทรพัย์ฯ ของบรรดาบงล.เหล่านี้ว่า " ผมคิดว่าพอร์ตฯ ลงทุนจริง ฯ ของโบรกเกอร์นี่คงจะมีอยู่ 10 รายได้ หมายถึง ที่แอคทีฟ ในการซื้อขาย ส่วนโบรกเกอร์อีก1 ใน 3 มีพอร์ตฯ ไว้เพื่อรองรับรายการที่ผิดพลาดในการซื้อขาย

ของลูกค้า และที่เหลืออีก 1ใน 3 เป็นโบรกเกอร์ที่ไม่มีพอร์ต"

พอร์ตฯ เพื่อการลงทุนสำหรับบล. และบงล. ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่จะทำได้เฉพาะบริษัทที่มีใบอนุญาตเท่านั้น ดร.วีรศักดิ์ กล่าวว่า " พอร์ตฯ ลงทุนนี่ถือเป็นรายได้ของบริษัทเหมือนกับบริษัทเป็นนักลงทุนด้วยคนหนึ่ง บริษัทจะจัดเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับการลงทุนเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็แล้วแต่ กรรมการบริหารของบริษัทจะอนุญาตรวมถึงการอนุมัติให้กรรมการผู้จัดการมีสิทธิ์ซื้อในวงเงินเท่าไหร่ด้วย"

ดร.วีรศักดิ์ เปิดเผยด้วยว่า " เท่าที่ผมรู้คือ บล.เอเชีย มีพอร์ตฯ เป็นพันล้านบาท เขามีใบอนุญาตการลงทุนถูกต้อง ธนชาติมีพอร์ตฯ เพื่อรองรับปัญหาลูกค้า อย่างแอ๊คคินซัน เข้าใจว่า มีเล็กน้อยประมาณ 100 ล้านบาท"

ศุภเดช พูลพิพัฒน์ เปิดเผยเรื่องพอร์ต ของธนชาติว่า " ในส่วนของธนชาติไม่ได้รับผลกระทบเพราะพอร์ตฯ ของบริษัทไม่ได้มีไว้เพื่อลงทุนซื้อขายหุ้นในกระดาน แต่มีไว้รองรับความผิดพลาดในขณะทำการซื้อขาย เช่น เทรดเดอร์เคาะหุ้นเกินหรือขาด ก็จะผลักเข้ากองทุน ( พอร์ตฯ)"

แต่ตัวเลขที่เป็นจริงของธนชาติ คือ ไตรมาสที่ 3 ขาดทุนพอร์ตไป 3.76 ล้านบาท และมูลคต่าพอร์ต ฯ เก้าเดือนแรก ของปีนี้ ก็สูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 86.43% ดังที่กล่าวมาข้างต้น

ถ้าผู้บริหารปฏิเสธว่า ไม่ได้ลงทุนในพอร์ตฯ เท่ากับโบ้ยมูลค่าพอร์ตฯ ที่สูงขึ้นอย่างมาก ๆ นี้ว่าเป็นรายการผิดพลาดจาการซื้อขายทั้งสิ้นหรือ?

เป็นไปได้ว่า มูลค่าพอร์ตฯ ที่สูงขึ้นอย่างมากๆ ของโบรกเกอร์ในปีนี้จะมาจาการอันเดอร์ไรต์หุ้นส่วนหนึ่งด้วย โดยในปีที่ผ่านมามีบริษัทนำหุ้นเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 39 ราย มีมูลค่าของทุนจดทะเบียนตามราคาที่ตราไว้รวม 8,787.50 ล้านบาท

บงล.ทิสโก้ ซึ่งมีพอร์ต การลงทุนสูงสุดเป็นแกนนำอันเดอร์ไรต์ หุ้นมากที่สุด 8 บริษัท ได้แก่ ไทยพาณิชย์ประกันภัย, เดอะไทยชูการ์เทอร์มินัล, นครหลวงเส้นใยสงเคราะห์, โรงแรมแชงกรีล่า, นวกิจประกันภัย, ศรีธนา, บางกอกเพ้นท์, และไทยบรรจุภัณฑ์การพิมพ์

รองลงมาเป็นภัทรธนกิจ 6 บริษัท ได้แก่โรงแรมราชดำริ, สุขุมวิทเวชกิจ, สุราษฏร์แคนนิ่ง, ชินวัตร, ไทยคาร์บอนฯ, และเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่น

ส่วนธนชาตินั้นทำไอเดอร์ไรต์ 2 บริษัท คือลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ และฟิลาเท็กซ์

ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์หลักทรัพย์ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาการขาดทุนพอร์ตฯ ของบงล. เหล่านี้ว่า " มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีการขาดทุน ในภาวะทีมีความผันผวนของราคาหุ้นมากมายขนาดนี้ แต่โปบรกเกอร์คงไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่ เพราะผลกำไรที่ทำไว้ในช่วงต้นปี เป็นตัวเลขที่สวยอย่างมาก ที่ขาดทุนจะเป็นขาดทุนกำไรมากกว่า"

ในส่วนของนักวิเคราะห์ต่างประเทศ ก็ให้ความเห็นสอดคล้องกันในแง่ที่ว่า " แม้ดัชนีราคาหุ้นจะตกลงมาถึง 52.41% แต่ว่าไปแล้ว ก็เป็นเรื่องน่าขอบคุณซัดดัม ที่ทำให้ราหุ้นลดภาวะเกินจริงได้อย่างชะงัด"

แม้แบงก์ชาติ และกระทรวงการคลังเอง

ก็อาจจะพึงพอใจอย่างเงียบ ๆ กับผลกระทบจากวิกฤติอ่าวเปอร์เ๙ียที่เกิดขึ้นในครั้งนี้!!

เพราะหน่วยงานทั้งสองพยายามที่จะลดความร้อนแรงของการลงทุนในตลาดหุ้น และธุรกิจอสังหาริมทืรัพย์ ซึ่งก็เกี่ยวพันพึ่งพากับแหล่งระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ไม่น้อย ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายชะลออัตราการเติบดตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องเงินเฟ้อ

ผู้ที่มองภาวะตลาดหลักทรัพย์น ในแง่บวกจะออกมาสวยงาม เพราะเชื่อมั่นในข้อที่ว่า โบรกเกอร์น่าจะอยากทำตัวเลขให้สวยมากว่า เพือ่ผลในการลงตัวเลขบัญชีหุ้นตามราคาตลาด ซึ่งถ้าตัวเลขดี ผลการดำเนินงานในไตรมาสสุดท้ายชองปี ก็จะไม่ต้องขาดทุนกันมากนัก

ดร.วีรศักดิ์ เป็นผู้หนึ่งที่เชื่อในแนวคิดนี้ และกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า " ผมไม่คิดวาโบรกเกอร์จะเทขายหุ้นออกมาในช่วงนี้ เพราะการขายก็คือการ reaized การยอมรับทำให้เกิดการขาดทุนซึ่งหากจะกลับเข้าไปซื้อใหม่ก็คงจะไม่ทันสิ้นปีแล้ว และจะทำได้กี่เปอร์เซนต์ของพอร์ตฯ " พอขายไปได้นิดหน่อยราคาก็จะลง และจะมีผลกระทบไปยังหุ้นที่ยังไม่ได้ขายอยู่ในพอร์ตฯ ซึ่งจะทำให้การประเมินราคาหุ้นในตลาดลดต่ำลง ก็จะยิ่งทำให้การปิดงบบัญชีที่จะต้องตีราคาหุ้นที่อยู่ในพอร์ตตามราคาตลาดลดลงไปอีก"

อย่างไรก็ดี ราคาหุ้นเมื่อเปิดตลาดในสัปดาห์สุดท้ายของปี ก็ร่วงติดฟลอร์กันระนา ว แน่นอนว่า ไม่ใช่ฝีมือโบรกเกอร์หากเชื่อตามแนวคิดนี้

ว่าไปแล้ว ดัชนีราคาหุ้น ณ สิ้นปีออกจะลดลง ต่ำกว่าความคาดหมายของผู้เชี่ยวชาญหลายคน แตถ้าพิจารณาราคาหุ้นเป็นตัว ๆ ไป จะพบว่าในหลายตัวราคายังไม่ตกต่ำไปกว่าเมื่อปลายปี 2532 ซึ่งดัชนีตลาดหลักทรัพย์เริ่มทะยานขึ้นอีกครั้งหลังจากตกต่ำเพราะเหตุเรื่องจังค์บอนด์ในตลาดหุ้น นิวยอร์ค และความหวาดผวา ของนักลงทุนว่าจะเกิดเรื่องทำนองเดียวกับ" จันทร์ทมิฬ" เมื่อตุลาคม 2530 ซึ่งเหตุในปี 2532 นี้เรียกกันว่า mini Oct'89 crach

อย่างราคาหุ้นกลุ่มแบงก์ในเวลาต่างยืนหยัดแน่นเหนียว ดัชนีหุ้นกลุ่มนี้ยืนรอยู่ที่ 226.49 (เมื่อ21 ธ.ค) เปรียบเทียบกับเมื่อ 30 ตุลาคม 2532 ที่ 200.68 และ 27 ธันวาคม 2532 ที่ 205.54 ซึ่งเป็นกลุ่มที่แข็งมาก ๆ และผู้เชี่ยวชาญต่างให้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า เป็นกลุ่มที่นาลงทุนอย่างมากๆ ในปีหน้า

ส่วนกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ในเวลานี้ ก็มีราคาลดลงกว่าที่เกินจริงไปมากจากเมื่อเดือนกรกฏาคม ที่ดัชนีกลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์ทะบานขึ้นไปที่ 6,990.31 มาที่ระดับ 3,272.17 ซึ่งเป็นระดับที่ใหกล้เคียงกับเมื่อ 29 เมษายน ที่ระดับ 3,257.66 เป็นราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ต่างชี้ว่าหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์เป็นกลุ่มที่ยังไม่น่าลงทุน เพราะความผันผวนต่อภาวะตลาดมีสูงมาก นักลงทุนอาจต้องพบกับสภาพที่วันหนึ่งมีสูงมาก นักลงทุนอาจต้องพบกับสภาพที่วันหนึ่งราคาลงติดฟลอร์หมด แต่แล้ววันถัดมากลับดีดไปที่ซีลลิ่ง

ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ที่ผ่าวเปอร์เซีย มีส่วนดี ที่ช่วยลดความร้อนแรงของราคาหุ้น ที่ทุกฝ่ายเห็นว่า เป็น " ราคาเกินจริง" ในช่วง 3 เดือน ระหว่าง พฤษภาคม-กรกฏาคม ลงได้ พีอีเรโชของตลาดหลักทรัพยืฯ เมื่อ 29 มิ.ย อยู่ที่ 28.81 และเมื่อ 31 ก.ค ที่ระดับ 28.14 ขณะที่21 ธ.ค อยู่ที่ระดับ 27 ธ.ค ปี 2532 ที่บรรดานักวิเคราะห์ต่างส่งเสียงเชียร์ว่า ตลาดหลักทรัพย์เป็นตลาดที่น่าลงทุนมากที่สุดในโลก

นอกจากการทำให้ราคาหุ้นลดลงมาอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยรวมแล้ว จะเห็นได้ว่าการขาดทุน พอร์ตโฟลิโอของโบรเกอร์ก็ไม่ได้รุนแรงน่ากลัวมากมายนัก แม้บางแห่งจะขาดทุนอย่างบงล.ศรีมิตร แต่ผลการดำเนินงานทั้งปี ก้ไม่เลวร้ายและนั่นเท่ากับเป็นการชี้ให้เห็นด้วยว่าการขยายฐานการทำธุรกิจไว้หลาย ๆ ด้าน เป็นทิศทางที่จำเป็นของโบรกเกอร์ชั้นนำในปีหน้า

แต่ผลกระทบที่เลวร้ายอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นกับบรรดากิจการจดทะเบียนและรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในประเด็นเรื่อง " พอร์ต พัง" ซึ่งสะท้อนปัญหาประสิทธิภาพในการบริหารของกรรมการกิจนั้น ๆ เป็นอย่างดี

ดร. วีรศักดิ์ เปิดเผยกับ " ผู้จัดการ" ว่า " เรื่องการขาดทุนในพอร์ตโฟลิโอของกิจการจดทะเบียนในตลาดฯ นั้น เป็นเรื่องที่นักลงทุนที่เป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้น ๆ ต้องใส่ใจดูแล ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหน้าที่ในการให้กิจการเหล่านั้นเปิดเผยข้อมุลการลงทุนที่ทำให้บริษัทต้องประสบผลการขาดทุน โดยเฉพาะเมื่อมีผลกระทบกับประมาณการเกินกว่า 10% ขึ้นไป หมายความว่ารายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้เกิน 10% ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหน้าที่เรียกผู้บริหารมาคุย"

ทางเลือกสำหรับผู้บริหารกิจการที่นำเงินเพิ่มทุนไปหมุนหาดอกผลการนำมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วเกิดการขาดทุนอย่างมาก เหล่านี้ คือการปรับประมาณการใหม่และเปิดเผยให้ประชาชนทราบว่า การลงทุนที่ทำไปสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทที่ให้โครงการที่เรียกเงินเพิ่มทุนมาไม่สามารถเกิดได้

ทั้งนี้ 3 กิจการในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทีประสบปัญหาการขาดทุนพอร์ตโฟลิโอ

บริษัทเงินทุนเฟิสท์ ซิตี้ อินเวสเม้นท์ จำกัด มีนายวีระนนท์ ว่องไพฑูรย์ เป็นกรรมการผู้จัดการ ขาดทุนจาการซื้อขายหลักทรัพย์ เฉพาะไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ รวม 92.73 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปี 2532 มีกำไรจาการซื้อขายหลักทรัพย์ประมาณ 4.28 ล้านบาท ลดลง 95.38%

ทั้งนี้ยังไม่รู้ว้า พอร์ตฯ มูลค่า 159.50 ล้านบาท นั้นได้มีการเทขายออกมาเพื่อทำกำไรในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้หรือไม่

ดร.วีรศักดิ์ เปิดเผยว่า" สำหรับกรณีนี้บังเอิญว่ารอบบัญชีของบริษัท ฯ อยู่ที่ปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งก็เท่ากับเพิ่งเริ่มต้นไตรมาสแรกของปีบัญชี ผู้บริหารบอกกับผมว่า เขายังมีโอกาสพลิกสถานการณ์ ยังมีสิทธิขายหุ้นคืนทำกำไรได้ และบริษัทฯ จะยังไม่เปลี่ยนการประมาณการผลดำเนินงาน"

ล่าสุด บง. เฟิสท์ ซิตี้ ประกาศลดการเพิ่มทุนจำนวน 2.5 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 325 ล้านบาท เพิ่มเป็น 250 ล้านบาท หรือเพิ่มเป็น 35 ล้านหุ้น

ทั้งที่มตินี้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ เรียบร้อยแล้ว และมีการขอแก้ไขในหนังสือบริคณฑ์สนธิแล้วเช่นกัน

เป็นสิ่งที่เคลือบแคลงที่นักลงทุนต้องสนใจติดตามประสิทธิภาพการบริหารของบริษัทฯ ซึ่งว่ากันว่าการนำลงทุนไป"ติด" ไว้ในหุ้นรัตนเคหะอันเป็นบริษัทในเครือเป็นจำนวนมาก

ส่วนบริษัทสยามทสหบริการ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์อีกตัวที่มี ปัญหา "พอร์ตฯ พัง" ก็มีรายงานไว้ในงบดุล ณ 30 กันยายน 2533 ว่ามูลค่าการลงทุนในตลาดหลัดทรัพย์เท่ากับ 101 ล้านบาท ครั้รนไตรมาส 3 สิ้นสุดลง ปรากฏว่ามีการขาดทุน 54 ล้านบาท ทำให้ราคาหุ้นที่ซื้อมาร้อยกว่าล้านยบาท นั้นลดเหลือ 47 ล้านบาทเท่านั้น

พร้อม ๆ กับที่รายงานผลจาการขาดทุนพอร์ตฯ ให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทราบ ทางผู้บริหารของสยามสหบริการ ก็ขอให้ตลาดฯ สั่งห้ามการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ เป็นการชั่วคราวเพราะกรรมการอยู่ระหว่างการพิจารณาเกี่ยนวกับการเพิ่มทุนของบริษัทฯ

นับเป็นบริษัทฯ แรก ที่กล้าหาญชาญชัยแสดงสปริตรับผิดชอบต่อนักลงทุน แต่ไม่รู้ว่าผลขาดทุน 54 ล้านบาท ที่ผู้บริหารตัดสินใจเผาผลาญไปนั้นจะไปทำกำไรชดใช้นักลงทุนได้เมื่อไหร่

วันรุ่งขึ้น หลังจากที่ข่าวเรื่องการขาดทุนแพร่ออกไป คณะผู้บริหารสยามสหบริการก็ประกาศเพิ่มทุน 140 ล้านบาท จากจำนวน 14 ล้านหุ้น ซึ่งจะทำให้มีทุนจดทะเบียนรวม 420 ล้านบาท หรือ 42 ล้านหุ้น โดยที่ยังคงเหลือวงเงินเพิ่มทุนซึ่งได้ขอมติพิเศษไว้เรียบร้อยแล้ว 580 ล้านบาท หรือ 58 ล้านหุ้น

วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนครั้งนี้ ผู้บริหารสยามสหบริการแถลงว่าเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการดำเนินการก่อสร้าง และขยายโครงการสร้างสถานีบริการเชื้อเพลิงในปี 2533-2534

ก็ไม่รู้ว่า สถานีบริการน้ำมันตามโครงการเหล่านี้จะได้เกิดหรือไม่ ถ้าผู้บริหารยังเอาเงินมาลงทุนในหลักทรัพย์แล้วขาดทุนมากมายขนาดนี้!!!

อย่างไรก็ดี ดร.วีรศักดิ์ ให้ความเห็นว่า " บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหน้าที่ในการระดมทุนระยะยาว แต่ในการทำโครงการระยะยาวบางโครงการเมื่อระดมทุนเข้ามาแล้วอาจจะยังไม่ได้ใช้ ก็สามารถที่จะมาลงทุนระยะสั้นได้ รวมทั้งเรื่องการซื้อหุ้น แต่ต้องตะหนักว่าการลงทุนซื้อขายหุ้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนสุง"

ข้อแนะนำสำหรัลการลงทุนของบริษัทเหล่านี้ คือไม่ควรลงทุนมมากหรือทั้งหมดของเงินทุนทีระดมหามาได้ ทีสำคัญก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารบริษัท ควรจะลงทุนเพื่อหารายได้แต่ไม่ใช่เพื่อแสงหากำไรอย่างมูมมามขนาดนี้

ดร.วีรศักดิ์ กล่าวเตือนบรรดานักลงทุนว่า "ถ้าพบบริษัทที่เอาเงินส่วนใหญ่มาลงทุนในการลงทุนระยะสั้น ที่มีความเสี่ยงสูงในสัดส่วนที่มาก เราต้องระวังนักบริหารประเภทนั้น การระวังนี้เป็นหน้าที่ของผู้ถือหุ้นที่จะต้องโหวตเอาผู้บริหารประเภทนี้ออก"

สำหรับบริษัทเอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์เป็นหุ้นที่หวือหวามากที่สุดในรอบปี ดร. วีรศักดิ์ กล่าว่า " บริษัทเรียลเอสเตรท ก็มีการขาดทุน แต่เขาขอเข้าไปที่ประชุมคณะกรรมกรรบริษัทฯ ก่อนเขาไม่ๆได้เสนอมาว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร"

แหล่งข่าวกล่าว่า" หุ้นที่เอ็นอีพีไป " ติด" ไว้คือบงล.ไอทีเอฟ ทั้

งนี้น่าสังเกตุว่าหุ้นที่ผู้บิรหารในกิจการซึ่งมีพอร์ตฯ ขาดทุนเหล่านี้นำเงินไปซื้อเป็นหุ้นกิจการในเครือทั้งสิ้น หรืออย่างน้อยก็เป็นกิจการ ที่ตนได้ถือหุ้นอยู่ไม่ทางใดก็ทาสงหนึ่ง

เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมการบริหารที่ไม่น่าเอาเยี่ยงเอาอย่าง และผู้ที่จะมีบทบาทขับไล่ผู้บริหารประเภทนี้ออกไปได้ก็คือผู้ถือหุ้น/นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

แต่โอกาสที่จะทำตามคำแนะนำของดร.วีรศักดิ์ คงเป็นไปได้น่อย ตราบใดที่นักลงทุนในตลาดเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทเหล่านั้น

เป็นที่รู้ตัวดีว่า การปลี่ยนเจ้าของและผู้บริหารไม่ใช่เป้าหมายของบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทเหล่านี้จึงไม่ได้กระจายหุ้นทั้งหมดในตลาด และไม่มีวันที่นักงทุนในตลาดฯ จะได้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ตลาดหลักทรัพย์ไทยฟื้นตัวและเติบโตเร็วมากหลังจากปี 2530 เป็นตลาดที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับดีแต่นักลงทุนนิยมการลงทุนแบบเก็งกำไรมากว่าการลงทุนระยะยาว เพระาได้รับผลตอบแทนสูงกว่าหลายเท่าตัว

ในปี 2533 และปี 2534 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาที่สำคัญ คือเรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์การขยายเวลาซื้อขายหลักทรัพย์เป็น 4 ชั่วโมง แบ่งเป็นภาคเช้าและบ่าย ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับตลาดหลัก

ัทรัพย์สำคัญทั่วโลก รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาตราสารใหม่ ๆ เข้ามาซื้อขายในตลาดฯ มากขึ้น เช่นวอแรนท์ convertible debenture

สำหรับโบรกเกอร์เองนั้น ปี 2534 เป็นปีที่จะมีการแข่ง

ขันในธุรกิจจค้าหลักทรัพย์รุนแรงหนักหน่วงมาก โดยเฉพาะเรื่องการขยายฐานการล

งทุนไปต่างจังหวัด และการเพิ่มจำนวนบริษัทสมาชิกโบรกเกอร์เข้ามาอีก 54 ราย

สิ่งที่โบรกเกอร์สามารถขยายกิจการได้มากขึ้น คือเรื่องธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะในปีนี้ จะมีหลายบริษัทที่มีปัญหาการจัดการและจำเป็นต้องใช้ที่ปรึกษาทางการเงินที่มีฝีมือมาแก้ไข

ก็ผลพวงจากพอร์ตฯ พัง เพราะซัดดัมครั้งนี้แหละ!!



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.