ตลาดบริการทางการเงินจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง


นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

การเจรจาข้อตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากร และการค้าจะล้มเหลวไปแล้วที่กรุงบรัสเซลล์ เมื่อต้นเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากการชะงักงันในปัญหาการเจรจากลุ่มสินค้าการเกษตร ซึ่งถือได้ว่า เป็นหัวใจหลักของการเจราจาครั้งนี้ ทำให้กลุ่มการค้าสินค้าบริการซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็เป็นอีกหลุ่มหนึ่งที่ ประสบชะตากรรมร่วมกันด้วย

ในระหว่างการเจรจาครั้งนี้ ประเทศพัฒนาแล้ว ได้ถือโอกาสปัดฝุ่นข้อเสนอเก่าว่าด้วยการค้าบริการทางการเงินในที่เคยถูกปฏิเสธแล้วเข้ามาอีก ในวันแรกของการเจรจา โดยมีหน้าม้า 4 ประเทศ คือ แคนาดา ญี่ปุ่น สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้เสนอร่วมและมีสหรัฐฯ กับอีอีซี เป็นผู้กล่าวสนับสนุนในที่ประชุมกลุ่ม ข้อเสนอดังกล่าวสร้างความฮือฮาอย่างมากในกลุ่มตัวแทนประเทศผู้เข้าร่วมประชุม หรือนักข่าวที่ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด เนื่องจกาเป็นที่ทราบกันดีว่า การบิรการทางการเงินดังกล่าวเป็นหัวข้อ ( ANEX) ที่มีความสำคัญที่สุดในการเจรจากลุ่มบริการ

เป็นที่ทราบกันดีว่าสหรัฐฯ เองพยายามผลักพันเรื่องการค้า บริการเข้ามาก่อนใครตั้งแต่ 4 ปีก่อน โดยมีสมมติฐานว่าหากการเจรจาให้มีการเปิดเสรีมากขึ้น สหรัฐฯ จะมีความได้เปรียบมากกว่าใครอื่น ข้อเสนอให้เปิดตลาดเสรีของสหรัญฯ ไม่ว่าจะเป็นการใช้หลักการไม่เลือกปฏิบัติทั้งในการเปิดตลาด ( MARKETACCESS) ที่เรียกว่าการปฏิบัติอย่างยิ่ง ( most-afvoured nations) และการเท่าเทียมกันระหว่างผู้ให้บริการ ( Financial providers)ที่เป็นต่างชาติกับท้องถิ่นจะต้องเท่าเทียมมันตามหลัก การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ natioanal treatment ทั้งนี้เป้าหมายหลักของสหรัฐฐ อยู่ที่การบริการทางการเงิน และการบริการสื่อสารสำคัญ

สหรัฐลืมไปว่า " เหนือฟ้ายังมีฟ้า" เนื่องจากมีสภาวะการเปลี่ยนแปลงธุรกิจระหว่างประเทศในระหว่างการเจรจาแกตต์รอบอุรุกวัย 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ได้เปรียบทางการค้าบริการของสหรัฐฯลดลงไปมาก ญี่ปุ่นกลายเป็นคู่แข่งสำคัญที่ท้าทายความยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ อย่งแท้จริง การเทคโอเวอร์ธุรกิจ ธนาคาร สถาบันการเงินต่าง ๆ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และกิจการภาพยนตร์ และแผ่นเสียงเกิดขึ้นในสหรัฐฯ อย่างอึงคนึงทีเดียว

กรณีของโซนี่ ที่เข้าเทคโอเวอร์กิจการของโคลัมเบียพิคเจอร์ และร็อคกี้เฟลลเลอร์เซนเตอร์ ถูกซื้อโดยมิตซูบิชิญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ของความได้เปรียบที่ลดลงของการค้าบริการสหรัฐฯ

ไม่เพียงเท่านั้นสหรัฐฯ ยังพบอีกว่าธุรกิจเดินเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศของตน ็มีช่องโชว่เบ้อเร่อที่จะถูกเทคโอเวอร์ได้ง่าย ๆ อาทิเช่น หากปราศสจากเงื่นไขบังคับให้ประเทศที่ซื้ออาวุะของสหรัฐฯต้องให้เรือของบริษํทอเมริกัน เพรสซิเดนท์ ไลน์ ( APL ) ขนสินค้า บริษัทเรือดังกล่าวต้องแจ้งไปนานแล้ว

รูปโฉมการเจรจาได้เปลี่ยนแปลงไปในเมื่อสหรัฐฯ เริ่มลังเลใใจไม่อยากเสียผลประโยชน์ ผลก็คือกำหนดกรอบการเจรจาถูกแปรขบวนไปจนเกือบเสียรูปทรงที่วางไว้แต่แรก สหรัฐฯ เผยจุดอ่อนออกมาทีละน้อย โดยพยายามจะให้กลุ่มเจรจายอมรับว่าอาจจะไม่มีการใช้หลัก MFN ในการเจรจากลุ่ม กลุ่มเจรจานี้โดย การคัดสินค้าบางรายการออกไป โดยเฉพาะเรื่องการเดินเรือพาณิชย์ ( maritime shipping) แต่อีอีซีและประเทศพัฒนาแล้วไม่ยินยอม

ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาเองก็มีความเห็นแตกออกไปหลายเสี่ยง โดยขั้วสุดโต่ง คือพวกหัวแข็ง (hard-liners) นำโดยอินเดียและละตินอเมริกาพยายามตีรวนให้เละด้วยการย้ำว่าจะต้องให้กรอบกว้างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่การผูกมัดจะได้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งหมายความว่า ถึงเวลาเข้าจริง ๆ การเปิดตลาดเสรีก็เป็นเรื่องที่มีอยู่แค่ในหลักการ แต่กลุ่มที่เป็นกลาง( รวมไทยด้วย) ก็พยายามคำนึงถึงผลประโยชน์ระยะสั้นควบคู่ไปกับระยะยาว โดยยอมเสียบางส่วนออกไปแลกกับความจำเป็นที่ต้องเปิดตลาดให้เสรี

เมื่อการเจรจายืดเยื้อออกไป หัวใจของการเจรจาจึงออกมาในลักษณะที่หัวข้อการบริการทางการเงิน ( Financial services anex) มีความสำคัญมากที่สุด โดยที่ทุกคนก็รออยู่ว่า เมื่อใดสหรัฐฯขะยอมลดบทบาทแข็งกร้าวมายอมรับเงื่อนไขที่ว่า จะต้องมีหลัก MFN ในกลุ่มนี้ทั้งหมด สหรัฐเองก็ดูเหมือนจะรู้ตัวดีว่าเอาเข้าจริงก็โดดเดี่ยวมาก ไม่ต่างอะไรกับอีอีซี ที่ถูกโดดเดี่ยวในเรื่องสินค้าเกษตร

ในที่สุดก็เกิดการเจรจาใต้โต๊ะระหว่างประเทศพัฒนาแล้วที่เรียกว่า การทำ sidedeal ขึ้นมาโดยสหรัฐฯหลบไปอยู่ข้างหลัง 4 ประเทศ ที่กล่าวมาข้างต้นให้ยื่นหนังสือที่ทำให้การเจรจาเพิ่มความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น

สหรัฐฯ ก็เพิ่งจะมาอ่อนข้อในวันก่อนสุดท้ายว่าจะยอมหลักการ MFN ในเรื่องการค้าบริากรส่วยนใหญ่ เพื่อให้การเจรจาคืบหน้าไปได้ แต่ก็สายเกินไป

ประเทศไทย เองนั้น ก็มีจุดยืนที่ชัดเจนในกลุ่มเจรจา การค้าบริการนี้ โดยพยายามมอว่าการผ่านเข้าไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมหใม่ ( mics) จะต้องมีการแลกเปลี่ยนอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียในระยะสั้น แต่จะดีในระยะยาว การบริการทางการเงินที่พอจะรับได้อาจจะต้องยอมรับ เพระถึงอย่างไรก็มีระยะเวลาปรับตัวอยู่ช่วงหนึ่ง อยู่แล้ว ตามสิทธิของประเทศกำลังพัฒนาและตามที่เป็นจริงแล้ว การเจรจากลุ่มบริการก็เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเสียอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าจะเสียมากเสียน้อย

จุดยืนตรงนี้ ผมว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะจะฝ่าฝืนอำนาจที่เหนือว่าในการเจรจาเป็นเรื่องอย่างหัวชนฝาที่คงจะเป็นไปไม่ได้ และการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเสรีทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องของความกล้าหาญต่อการเดินไปสู่อนาคต และในระบบทุนนิยมก้าวหน้านั้นการเปิดเสรีเป็นสิ่งที่ดีกว่าอภิสิทธิ์อย่างแน่นอน ปัญหาอยู่ที่ว่าจะยอมรับได้แค่ไหนกับการบีบบังคับของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ข้อเสนอทั้ง 4 ประเทศ พัฒนาแล้วเป็นเรื่องที่อาจจะดูน่ากลัว โดยเฉพาะเรื่องของการตัดอำนาจรัฐของเจ้าประเทศในเรื่องการแทรกแซงเพื่อรักษาความมั่นคงของสถาบันการเงิน การเสนอหลุมพลางใหญ่เกี่ยวกับ two-track approach ว่าการผูกมัดตัวเองของแต่ละประเทศต่อแกตต์ จะเป็น negative list ก็ได้ ซึ่งเป็นการล่อให้เหลื่อหลงกลและอาจจะทำให้เกิดปัญหากีดกันการค้าตามมาในระยะยาวเนื่องจากการเลือกปฏิบัติ( discrimination) ได้ง่าย เพราะมีการใช้ double standard ข้อเสนอว่า จะไม่ทำอะไรเป็นเรื่อเงสียเปรียบเพราะมีผลใช้บังคับตลอดไป ในขณะที่ข้อเสนอว่าจะทำอะไรเป็นการยืดหยุ่นมากว่า ทุกประเทศพอใจกับข้อเสนอหลังมากว่า

ดูเหมือนว่าจะมีทางเลือกที่ปฎิเสธข้อเสนอที่เข้มงวดมากๆ เหล่านี้ได้น้อยเต็มที่ เพราะเสียงสนับสนุนในการเจรจาจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในขณะนี้ หนุนเนื่องเป็นเอกภาพ ในขณะที่กลั่มประเทศกำลังพัฒนาเสียงเริ่มแตกกันออกไปเป็นเสี่ยง ๆ กลุ่มพวกหัวแข็งที่เคยเสียงดังและทุบโต๊ะมาจากเจนีวาหรือมอนเทรอัลมาในช่วงก่อนหน้านี้ เริ่มแผ่วลงไปมากเนื่องจากขาดความต่อเนื่องของคณะเจรจาบ้างหรือการทำ side deal กับประเทศพัฒนาแล้วบ้างตามสินบนที่ล่อความแตกแยกเหล่านี้ทำให้ข้อเสนอของกลุ่มประเทศเชีย 8 ประเทศ คือ ซีเซน (SEACEN Southeast Asian Central Baners) ที่ทวนกระแสเข้าไปในวันที่สองของการเจรจาเพื่อหาทางบรรเทาการเข้มงวดลงไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก ซึ่งทำให้ไม่น่าแปลกใจที่คุณวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการแบงก์ชาติของไทยถึงออกมาคราวญเสียงอ่อนว่าเห็นทีจะแย่คราวนี้

ดูบรรยากาศแล้ว ผมเชื่อว่าหากไม่มีเรื่องการค้าสินค้าเกษตรเข้ามาขัดจังหวะให้การเจรจายืดเยื้อและล้มไป ประเทศพัฒนาแล้วก็คงจะต้องออกมารวบหัวรวบหางให้ข้อเสนอที่ค่อนข้างเข้มงวดของเขาออกมาใช้ให้ได้ โดยจะจะยอมลดถ้อยคำบางถ้อยคำที่เข้มงวดออกไป แต่จุดยืนคงจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรอีก เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็น่ากลัวอันตรายสำหรับการค้าบริการบ้านเรา เพราะในคำนิยามที่ครอบเกี่ยวไปถึง 12 รายการ เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงทีเดียวไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลและภาคเอกชน

ประการแรกที่สุด ข้อเรียกร้องให้ยกเลิกอำนาจผูกขาด ของสถาบันการเงินบางอย่างลงไป อาทิ เช่นธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือธนาคารออมสิน เป็นต้น อาจจะต้องทำให้รัฐบาลและผู้รับบริการต้องเดือดร้อนเพิ่มขึ้นจาการขาดแหล่งอิงทางการเงินที่มีต้นทุนต่ำลงไป

ประการที่สอง อำนาจรัฐบาลที่เคยดูแลเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐที่จะต้องกระทบกระเทือน โดยเฉพาะการแทรกแซงที่เคยกระทำอยู่ทั้งในตลาดปริวรรตเงินตรา ตลาดทุน และตลาดเงินในกรณีที่สถาณการ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไม่ราบรื่นปัญหาจะยิ่งร้ายแรงมากขึ้น

นอกจากนั้น ข้อเรียกร้องให้ลดข้อบังคับเกี่ยวกับ publice procurement หรือการจัดหาแหล่งระดมเงินเพื่องานสาธารณะอาจจะต้องกระเทือน อาทิ เช่นกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตคิดจะ สร้างเขื่อนขึ้นมา ตามปกติรัฐบาลาอาจจะควบคุมว่าจะกู้เงินต่างประเทศได้ไม่เกินเพดาน เท่าใดเพื่อควบคุมปัญหาหนี้ต่างประเทศของรัฐ แต่ต่อไปนี้ อำนาจในการควบคุมจะลดลง อาจจะเกิดปัญหาภาระหนี้สินต่างประเทศ ( DEBT/SERVICE RATO) ล้นพ้นเหมือนบราซิล หรือเม็กซิโก ได้ ถ้าหากว่าระบบการเมืองไทยเราไม่ดีพอ ปล่อยให้รัฐวิสาหกิจที่ผู้บริหารคิดมิชอบเล่นเซ็งลี้กับบรรดา Financial ต่างชาติได้

ประการที่สาม ต่างชาติอาจจะหาทางเปิดตลาดล่วงหน้าค้าเงินตรา หรือหุ้นในตลาดเมืองไทยกันเอกเอริกโดยที่รัฐทำการควบคุมได้น้อยลง ผาจส่งผลเสียได้ง่าย เพราะอำนาจรัฐตามประการแรก ถูกตัดทอนลงไปแล้ว การฏิหารย์ในเรื่องปั่นหุ้นหรือเล่นปริวรรติที่แม้เล่นแบบสปอตก็ยังพังให้เห็นกันอยู่มาก ขึ้นเป็นทวีคูณแน่นอน เพราะนิสัยคนไทยย่อมชอบเรื่องพรรค์นี้ อยู่แล้ว

ประการที่สี่ หากไม่มีการตัดถ้อยคำที่ว่าด้วย EQUAL Conmpetitive opportunties ซึ่งแทรกเข้ามาในข้อเสนอที่หลังสุดว่าแม้เปิดตลาดให้ผู้ให้บริการทางการเงินใด ๆ เข้ามาในตลาดตามหลักการ MFN และ National treatment แล้วผู้ให้บริการต่างชาติยังสูค้นท้องถิ่นไม่ได้อยู่อีก รัฐบาลท้องถิ่นจะต้องเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้ต่างชาติสู้ให้ได้

ประการสุดท้าย สถาบันการเงินท้องถิ่นหลายแห่งที่ปรับตัวไม่ได้ก็คงจะต้องถึงกาลอาอวสาน เนื่องจากไม่สามรถปรับตัวเข้ากับการแข่งขันกับต่างประเทศที่มีอิทธิพลทางการเงินและการบริหารที่เหนือกว่า การครอบงำทางเศรษฐกิจในบางด้านอาจจะไม่ใช่เรื่องน่าพอใจสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยเรา สภาพอาณานิคมทางด้านการเงินอาจจะเกิดขึ้นได้

คิดดูง่าย ๆ ขนาดมีความพยายามที่จะกีดกั้นเหลือเกิน บริษัทประกันชีวิตอย่างเอไอเอ ยังมีส่วนแบ่งการตลาดเข้าไปถึงร้อยละ 40 เข้าไปแล้ว แม้คู่แข่งท้องถิ่นบางรายจะโอ้อวดว่า สัดส่วนที่ว่านั้น กำลังลดลงก็ตาม

อย่างไรก็ดี ถ้าหากมองในมุมกลับบ้าง การเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่า ก็อาจจะมีข้อดีบ้างเหมือนกัน ประการแรกที่สุด ไหนๆ เราก็พยายามปรับปรุงประเทศให้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจมามากต่อมากแล้ว จนกลายเป็นทุนนิยามเกือบเต็มตัวเข้าไปแล้ว และกำลังพยายามจะสร้างให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคอีกด้วย การปรับตัวโดยเปิดตลาดให้เร็วก่อนสิคโปร์หรือมาเลเซีย จะล่วงหน้าไปก่อน อาจกล

ายเป็นผลดีในระยะยาวก็ได้ เพราะอย่างนต้อยที่สุดก็มีประสบการณ์ที่จะเจ็บตัวน้อยกว่า โดยเฉฑาะอย่างยิ่งสภาพทางด้านภูมิศาสตร์ก็เอื้ออำนวยอยู่แล้ว ประการที่สอง ธุกริจการเงินในบ้านเราหลายแขนงไม่ได้เอื้ออำนวยต่อผู้ต่อผู้บริโภคมากเท่าที่จะเป็น การคำนึงถึงความมั่นคงของระบบอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงให้มีการแข่งขันที่เปิดกว้างขึ้น โดยมีกรอบกติกาที่ชัดเจนอาจจะทำให้การแข่งขันบริการลูกค้าทำได้ดีขึ้น สัญชาติของสถาบันการเงินบางครั้งก็ไม่ได้บอกอะไรไปมากกว่า " อคติ" และการเห็นแก่ตัวของผู้ประกอบการ

ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากปราศจากธนาคารต่างประเทศบางรายที่เข้ามาเสนอบริการ trade and project financing ให้กับผส่งออกไปบางรายเมื่อ 20 ปีก่อน บางทีผู้ส่งออกและนักอุตสาหกรรมของเราอาจจะไม่เก่งในเรื่องการกู้เงินออฟชอร์อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็ได้

ในตลาดหุ้นอีกเช่นกัน หากปราศจากบริษัทงวิเคราะห์มืออาชีต่สงประเทศเข้ามาชี้แนวทางการลงทุนแล้ว การคาดเดาสถานการณ์ราคาก็คงสะเปะสะปะปล่อยให้มีการปั่นหุ้นสนุกมือไปกว่านี้หลายเท่า

นอกจากนั้น บริษัทประกันภัยและประกันชีวิตของเรา ที่แม้จะคุยนักว่าเติบโตปีละร้อยละ 30 นั้น เอาจริง ๆ มีความสามารถเพียงระดมเงินออมเข้าได้แค่ร้อยละ 5 ของตลาดเท่านั้นเอง เนื่องจากชื่อเสียงที่ทำไว้ค่อนข้างแย่ การจัดการก็ล้าหลังมาก แถมหากรัฐบาลไม่เข้าไปคุมแบบเบ็ดเสร็จก็มีหวังแย่ต้องล้มไปอีกหลายราย

ประการที่สาม รูปแบบของสถาบันการเงินใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาภายหลังการเจรจาแกตต์ไปแล้ว 10 ปี จะต้องเข้ามาสร้างความคุ้นเคยให้กับวิถีชีวิตของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สถาบันการเงินเหล่านี้ แม้ว่าจะสร้างปัญหาให้บ้างในระยะที่ยังไม่คุ้นเคย แต่เมื่อพิสูจน์ได้ผลมาแล้วในที่อื่น ที่โครงสร้างเศรษฐกิจคล้ายคลึงกันแล้ว ทำไมจะประสบความล้มเหลวในเมืองไทย

ปัญหาระหว่างข้อดีและเสีย ไหนจะมากว่ากว่ากัน น่าจะมีอยู่ที่ทางเลือก และช่วงเวลาในการแนะนำตัวของสถาบันการเงินเหล่านี้มากว่า

สิ่งที่ผมเป็นห่วงก็มีอยู่เพียงว่า ในช่วงของการเจรจาที่ยังเหลือเวลาอยู่ไม่มากนัก ประเทศมหาอำนาจจะแอบพากันเล่น side deal ด้วยกันเอง ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนายังหลงเพลินกับเรื่อง สินคาเกษตร ซึ่งแม้จะมีความสำคัญในปัจจุบัน แต่พากันละะเลิยการค้าบริการซึ่งเป็นอนาคตของโลก โดยเฉพาะการบริการทางการเงินและการสื่อสารซึ่งเป็นหัวใจของโลกยุคสารสนเทศ อีก 20 ปีข้างหน้า แล้วปล่อยให้ยังมีหลุมพรางต่าง ๆ ที่เขาขุดขึ้นมาล่อถูกบรรจุไว้ในข้อสรุปของการเจรจาในตอนจบ จะทำให้การเปลี่ยนแปลงกลายเป็นผลร้ายไป



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.