มีคนไทยจำนวนไม่มากนักที่รู้จักธุรกิจรับประเมินความเสียหาย ( loss adjuster)
ด้วยความที่ธุรกิจนี้มีส่วนผูกพันกับธุรกิจประกันภัย หลายคนจึงเข้าใจว่าการประเมินความเสียหายเป็นเพียงงานในหน้าที่
หนึ่งของเจ้าหน้าที่บริษัทประกันแต่สำหรับต่างประเทศธุรกิจนี้ กลายเป็นสถาบันกลางที่มีบทบาทและได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากบริษัทผู้รับประกัน
และประชาชนผู้เอาประกัน แต่ในปัจจุบันธุรกิจนี้กำลังแพร่กระจายเข้ามาในเมืองไทย
เดสมินด์ ซูลลิเวน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเกรแฮม มิลเลอร์ ( ประเทศไทย)
บริษัทผู้รับประเมินความเสียหายทรัพย์ประกันภัยระหว่างประเทศ ที่แม้จะเข้ามาเปิดธุรกิจในประเทสไทยมานานนับสิบปีแล้วก็ตาม
แต่ก็เพิ่งจะมาทำธุรกิจในเชิงรุกเอาโดยเปิดเป็นสาขาเมื่อสามปีที่ผ่านมานี้นี่เอง
ปีนี้ เดสมอนด์ เพิ่งจะอายุ 34 ปี แต่ตามคำบอกเล่าของเขานั้นมีประสบการณ์ในวงการประกันภัยยาวนานเกือบ
20 ปี เขาเรียนจบมาทางด้านการประกันภัยชั้นสูงโดยตรงจากสถาบัน c.i.i. หรือ
chartered insurance in stitute หลักสูตรการประเมินความเสียหายจากสถาบัน
C.I.L.A. ( CHARTERED INSTITUTE OF LOSS ADJUSTER)พร้อมกับได้รับอนุญาตให้เป็นผุ้เชี่ยวชาญจากสถาบันเดียวกันนี้ด้วย
เริ่มทำงานทางด้านประกันตั้งแต่อายุ 18 ปีที่ลอนดอน บ้านเกิด เมื่อทำมาได้ปีครึ่งก็หันมาจับงานทางด้านการประเมินความเสียหายเป็นเวลา
6 ปี ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับบริษํทเกรดฮม มิลเลอร์ เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว
โดยถูกส่งไปประจำประเทศต่าง ๆ ในย่านอเมริกาใต้และอเมริกากลาง จากนั้นก็ย้ายมาประจำที่ประเทศสิงคโปร์เป็นเวลา
2 ปี ก่อนที่จะเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเกรแฮม มิลเลอร์ ประเทศไทยเมื่อ
3 ปีที่ผ่านมา
7
การประเมินความเสียหาย เป็นวิชาชีพที่ได้รับความเชื่อถือมากในประเทศอังกฤษ
ใครจะประกอบวิชาชีพนี้ได้ จะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ออกให้โดยสถาบัน CILAที่กล่าวแล้วเพราะถือว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพของคนกลางที่จะให้คุณให้โทษแก่คู่กรณีระหว่าง
บริษัทประกันผู้รับประกันกับประชาชนผู้เอาประกัน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น
เนื่องจากถ้าไม่มีการควบคุมกันแล้ว ก็อาจทำให้เกิดการฉ้อฉลขึ้นได้
" ดังนั้น แม้ว่าคนที่จ้างเราเป็นผู้ประเมินยความเสียหายจะเป็นบริษัทประกันก็ตาม
แต่เราก็เป็นอิสระในการดำเนินการสำรวจ ประเมินค่าและให้ความเห็นต่างๆ เพื่อให้ได้ค่าความเสียหายที่สอดคล้องกับความจริงมากที่สุด
ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน และก็ถูกถอนใบอนุญาตได้
" เดสมอนด์ กล่าวกับผู้จัดการ
ด้วยที่งานประเภทนี้เป็นวิชาชีพอิสระที่จะต้องประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุญาต
ดังกล่าวดังนั้นในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจหรือกลุ่มธุรกิจของผู้ประเมินความเสียหายจึงเป็นในลักษณะเช่นเดียวกับวิชาชีพอิสระอื่น
ๆ อย่างเช่น ทนายความโดยเริ่มจากผู้เชี่ยวชาญประรจำบริษัทธรรมดา ก่อนจะถูกเลื่อนให้ขึ้นเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับจูเนียร์
ซีเนียร์ และก็ระดับบริหารซึ่งเป้นระดับเป็นหุ้นส่วนด้วย
การทำงานทำกันเป้นทีม และมีการสานงานร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่น
ๆ ด้วยในบางกรณี เช่นกฏหมาย วิศวกรรม ทรัพยากร แต่สำหรับองค์กรใหญ่ที่มีอายุกว่า
100 ปี อย่างเกรเฮม มิลเลอร์นี้ สำนักงานสาขาที่มีขนาดใหญ่ ในประเทศต่าง
ๆ จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ทุกด้านประจำอยู่ เพื่อความพร้อมที่จะเข้าทำงานในเมืองใกล้เคียง
ที่ยังมีไม่ครบ หรือไม่มีความจำเป็นต้องไปประจำตลอดเวลา
ในการทำงานเกี่ยวกับการประเมินควาาเสียหายจะเริ่มตั้งแต่การเข้าไปสำรวจสถานที่เกิด
เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ เครื่องบินตก แผ่นดินไหว หรือนำรายละเอียดต่าง
ๆ มาใช้กัยหลักวิชาการประเมินความเสียหาย พร้อมกับให้ความเห็นต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการรับประกันในอนาคตด้วย
ส่วนการจ่ายค่าเสียหายจริง ๆ ที่บริษัทผู้รับประกันจะจ่ายนั้น เป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะพิจารณาเอง
" ส่วนใหญ่แล้วบริษัทประกันที่จ้างเราก็จะจ่ายตามที่เราประเมินไป"
เดสมอนด์ กล่าว
นอกจากการประเมินในด้านความเสียหาย แล้วยังมีการรับประเมินก่อนการประกันอีกด้วย
เพราะมักจะเกิดความไม่ตรงกันอยู่เสมอระหว่างบริษัทประกันกับผู้เอาประกัน
ฉะนั้น เพื่อความถูกต้องเป็นกลางและเป็นธรรมในการจ่าย และรับเบี้ยประกันก็จะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินเข้าไปประเมินว่าทรัพย์สินที่จะประกันได้ในมูลค่าจริง
ๆ เท่าใด รวมทั้งใช้เป็นฐานในการคำนวณเบี้ยประกันด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยแล้ว งานประเภทนี้ ส่วนใหญ่ยังเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้รับประกันภัย
เองเป็นผู้กระทำ ทำให้ผู้เอาประกันไม่มั่นใจความถูกต้อง และเที่ยงธรรม ในการตีมูลค่าการะเมินที่ออกมา
สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ก็เริ่มหันมาใช้บริการของบริษัท ผู้เชี่ยวชาญด้านการปะเมินความเสียหายโดยเฉพาะเป็นคนทำให้โดยเฉฑาะบริษัทที่เป็นของต่างประเทศ
และบริษัทประกันภับของคนไทยขนาดใหญ่ และทุนทรัพย์ในการเอาประกันมีสูง เช่นกลุ่มบริษัทเครือข่ายของแบงก์ไทยพาณิชย์
และศรีอยุธยา ช่องทางการตลาดนี้ เดสมอนด์มีความเชื่อว่าอนาคตของธุรกิจรับประกันความเสียหายเกี่ยวกับการประกันภัยในประเทศไทย
ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวออกไปได้อีกมาก เขาเห้นว่า ในช่วงนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้นเอง
ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้เกรแฮม มิลเลอร์ กรุ๊ป กระโดดเข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย
เมื่อปี 2530 ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้มาเปิดสำนักงานตัวแทนคอยบริการลูกค้าต่อเนื่อง
ที่มาจากต่างประเทศเช่นกันนาน กว่า 10 ปีมาแล้ว
ปัจจุบัน เกรแฮม มิลเลอร์ ประเทสไทยจึงมีทีมงานของตนเองในระดับหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ใช้วิธีร่วมงานกับทีมงานที่อ่องกงและสิงคโปร์
" คนที่ความเชี่ยวชาญหรือผ่านงานทางด้านนี้ ในบ้านเรายังขาดอยู่มาก
การสร้างทีมงานที่เป็นคนไทยจริงจริง คงต้องใช้เวลาและกำลังพยายามทำอยู่ในปัจจุบัน
" เดสมอนด์ กล่าว
สถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพิ่งจะตื่นตัวผลิตนักศึกษาออกมาป้อนตลาดอุตสาหกรรมประกันภัยเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
โดยเฉพาะสาขาการประเมินความเสียหายยังไม่ทันการเปิดเรียนเปิดสอนกันเลย เขาจึงต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งเข้าเป็นผู้บรรยายพิเศษด้านนี้ตามมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะได้ผลบ้าง
นั่นเป็นภารกิจอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ของเดสมอนด์ในประเทศไทย นอกจากการทำตลาดอย่างหนักเอาการพอดูซึ่งเขากล่าว่าเติบโตขึ้นมาเป็นที่พอใจ
จากปี 2530 ซึ่งเป็นปีแรกที่เปิดดำเนินการในเชิงรุกเกรแฮม มีอยู่ประมาณ 100
รายการ มาปีที่สอง ปริมาณงานเพิ่มขึ้นเป็น 200 และเพิ่มเป็น 500 ในปี 2533
ปัจจุบัน เกรฉฮม มิลเลอร์ ประเทศไทย มีทีมงานในระดับบริหาร ที่เป็นคนไทยอยู่อีก
2 คน คือ วนิชา ธเนศตระกูล เป็นผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการซึ่งเป็นคนที่อยู่กับเกรแฮมตั้งแต่เป็นสำนักงานตัวแทนเมื่อ
13 ปี ก่อนในฐานะเลขาประจำสำนักงานที่ทำงานเกือบทุกอย่างแทนเจ้าหน้าที่อยู่สาขาฮ่องกงแกละสิงคโปร์
ที่ดูแลสำนักงานนี้อยู่
วนิชา อายุ 40 ปี จบปริญญาโทบริหารธุรกิจจากสหรัฐอเมริกา เริ่มเข้าทำงานกับบริษัทแองโกไทย
ในปี 2519 ที่เป็นลูกค้าของเกรแฮมอยู่ ไม่นานก็ได้รับการทาบทามให้ดูแลสาขาของเกรแฮมจนถึงตั้งบริษัทขึ้น
มาเป็นตัวเป็นตน จึงได้รับการแต่งตั้งให้มาอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว
พิพัฒน์ รู้วัชรปกรณ์ อายุ 44 ปี ปลังจากจบจากกรุงเทพการบัญชี ก็ทำงานในอุตสาหกรรมประกันภัยมาตลอด
ผ่านบริษํทต่าง ๆ มาหลายแห่ง โดยทำงานทางด้านการประเมินความเสียหายและฝ่าสยเรียกสินไหมไม่ว่าจะเป็นบริษัทคอมเมอร์เชียล
ยูเนียน ประกันภัย ของอังกฤษ นิวซีแลนด์ประกันภัย ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับแกรแฮม
มิลเลอร์ ในตำแหน่งผู้จัดการ ฝ่ายอัคคีภัยจนนถึงปัจจุบัน
ถ้าธุรกิจนี้ขยายออกไป ในวงกว้าง และยึดถือจริยธรรม และจรรยาบรรณ ในวิชาชีพ
อย่างมั่นคง สมกับที่เป็นคนกลางจริง ๆ ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะเมื่อความเป็นธรรมเกิดขึ้นในความรู้สึกของประชาชน
ผู้เอาประกันทุกคนแล้ว ผลประโยชน์จะตกแก่อุตสาหกรรมประกันภัย ทั้งมวล
ในประเทศอังกฤษ ที่เป็นต้นตำรับธุรกิจประกันภัยก็ได้ต้นตำรับธุรกิจทางด้านประเมินความเสียหายด้วยเช่นกัน
ด้วยประสบการที่สั่งสมมานานนับ 400 ปี จนมีสถาบันการศึกษาที่เปิดขึ้นมาสอนทางด้านการประกันภัยโดยเฉพาะ
และการประเมินความเสียหายนี่ก็เป็นอีกสาขาหนึ่งของมันเอง มีการให้วุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับต้น
กลาง และชั้นสูง คนที่จบออกมาทางด้านนี้ ก็จะประกอบอาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านการปะเมินความเสียหายเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่น
ๆ เช่น แพทย์ นักบัญชี ทนายความ หรือวิศวกร
วิชาชีพเหล่านี้ป็นวิชาชีพอิสระที่คนใด จะทำได้จะต้องได้รับอนุญาตจากสถาบันนั้น
ๆ เช่นในบ้านเราก็มีแพทยสภาเป็นสถบันที่ออกใบอนุญาตและควบคุมแพทย์ สภาทนายความเป็นผู้ออกใบอนุญาตและควบคุมทนายความทั้งประเทศ
ธุรกิจประกันภัย ของบ้านเรา จึงด้รับการยอมรับยืนยาวมานานนับ 400 ปี
แต่สำหรับในแวดวงธุรกิจ ประกันในประเทศไทย ก็มีการควบคุมกันอยู่สองระดับคือ
ระดับบริษัทที่เป็นผู้รับประกัน และระดับบุคคล ที่เป็นตัวแทนผู้ขายประกัน
ทั้งนี้อยู่ภายใต้การออกใบอนุญาตและควบคุมการดำเนินการโดยกราประกันภัย กระทรวงพาณิชย์
แต่ก็เป็นที่รู้กันอยุ่ว่า การควบคุมบริษัทประกันในปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร
ไม่ต้องกล่าวถึงการได้มาซึ่งใบอนุญาตในการเป็นตัวแทนการขายประกันอีกต่างหาก
ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า ไม่ค่อยจะมีความหายอะไรในตัวมันเลย ไม่ว่าจะเป็นการจริยธรรมจรรยายบรรณ
ของวิชาชีพ ระหว่างพวกกันเอง และในแง่ของการให้ความคุ้มครอง ประชาชนผู้เอาประกัน
ส่วนสถาบันที่จำทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลอีกอาชีพหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวงการประกัน
ก็คือ ผู้ประเมินความเสียหายไม่ว่าจะอยู่ในฐานะลูกจ้าง ของบริษัทผู้รับประกัน
หรือในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ยังไม่มีการจัดระเบียบการควบคุมและกำกับกันอย่างใด
เรียกว่าการกำกับและควบคุมการประกอบธุรกิจประกันภัยบ้านเรายังล้าหลังอยู่มาก
สิ่งนี้เองเป็นช่องโหว่ให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีความสามารถระดับมืออาชีพที่มีอยู่มากมาย
ในตลาดประกัน แสวงหาการเอาเปรียบผู้เอาประกันเสมอ
เชื่อว่า ขณะนี้ ผู้เอาประกันได้รับความเป็นธรรมน้อยมาก ถ้าลูกค้าไม่พอใจก็โยนเรื่องให้ไปฟ้องร้องเอาที่ศาล
กระบวนการนี้มักเป็นสิ่งทีบริษัทประกันมักนิยมใช้กับผู้ประกันเสมอ