สมาน คุรุธวัช ตัวจักรสมาคมลงทุน ไทย-จีน


นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2534)



กลับสู่หน้าหลัก

ความผูกพันของคนจีน ที่มีต่อคนไทยนั้นมีประวัติศาสตร์ของการพัฒนาความผูกพันระหว่างเชื้อชาติและวัฒนธรรม จนเรียกว่า เหมือนเป็นชาติเดียวกัน โดยเฉพาะคนจีนที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยในอดีตกาล เรียกว่าได้เริ่มต้นทำการค้าขายจนกระทั่งเติบโตเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่มากมาย

ทายาทของผู้อพยพจีนเหล่านี้ ได้กลายมาเป็นคนไทยที่ยังคงมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวจีนโพ้นทะเล ตามแต่สถานการณ์ ที่เอื้ออำนวยให้ทำได้ เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของวัฒนะธรรมนั้น ไทย-จีน นั้น ได้มีองค์กรกลางในการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากขึ้น คือสมาคมมิตรภาพไทย-จีน

ขณะที่ต่างเห็นพ้องกันว่า จีนนั้นหากใช้นโยบายเปิดประเทศแล้วจะกลายเป็นตลาดใหม่ที่สำคัญทีเดียว เนื่องจากจีน มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาล มีประชากรถึง 1,000 ล้านคน อันเปรียบเหมือนชุมทองทางการตลาดของบรรดานักธุรกิจ

แต่ก็มีปัญหาว่ายังมีช่องโหว่ของความสัมพันธ์เกี่ยวกับการลงทุนระหว่างไทย-จีน สุชัย วีระเมธีกุล นักธุรกิจโด่งดังทางเรียลเอสเตท ภายใต้ชื่อเอ็มไทย ก็เป็นจีนแท้ ที่ สร้างเนื้อสร้างตัวในเมืองไทยเฉกเช่นนักธุรกิจอีกมาก จึงริเริ่มตั้ง " สมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้า

ไทย-จีน ขึ้น"

ที่ผ่านมา เคยมีนักธุรกิจจีนที่สนใจลงทุนในไทย แต่ก็ต้องล้มพับโครงการไป เพราะไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน ขณะที่ นักธุรกิจไทยจะไปลงทุนในจีนก็ค่อนข้างขลุกขลัก ไม่ว่าจะเป็ฌนการติดต่อหรือข้อจำกัดในข้อมูลตัดสินใจการลงทุน

สมาคมฯ นี้จึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ส่งเสริมการลงทุนระหว่างไทย-จีน โดยเฉพาะ ซึ่งทำพิธีเปิด ป้ายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2529 โดยมีเทียน จี้ หยุน รองนายกรัฐมนตรีของจีน พลเอกสิทธ เศวตศิลา ทูต " จาง เต๋อ เหวย" และพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรีในตอนนั้นมาร่วมพิธีตัดริบบิ้น นับเป็นสมาคมแรกที่มีผู้ใหญ่ระดับสูงเช่นนี้มาให้เกียรติอย่างพร้อมเพรียง

ที่นี่ จึงเป็นตัวกลางในการประสานการลงทุนทั้งสองประเทศ ในสะดวกและราบรื่น ขึ้น คนจีนที่จะมาลงทุนในไทยแต่ไม่รู้จักใคร ก็จะติดต่อผ่านมายังสมาคม ฯ ซึ่งจะช่วยชี้แนะทางด้านข้อมูลและแนะนำ partner ไทยในส่วนที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ และอยู่ในอุตสาหกรรมที่นักลงทุนจีนสนใจ ทางกลับกัน ถ้าไทยจะไปลงทุนในจีน สมาคมฯ ก็จะทำหน้าที่เดียวกัน

การผ่านสมาคมฯ เช่นนี้ จึงเป็นการการันตีได้อย่างหนึ่งว่า แต่ละฝ่ายจะได้ติดต่อกับเพื่อนร่วมทุนที่มีคุณภาพ เพราะการเป็นสมาชิกของสมาคมฯ จะเป็นในนามขององค์กร หรือนิตบุคคล ด้วยการส่งตัวแทนเข้าเข้ามาส่วนใหญ่ ก็เป็นคนซึ่งล้วนแต่มีชื่อเสียง และจะเป็นการแนะนำต่อต่อกันมา ซึ่งจะต้องมีประวัติดี

เพราะถ้าประวัติไม่ดี แล้วสร้างปัญหาขึ้น ไม่เพียงแต่จะทำลายเครดิตส่วนบุคคลของคน ที่แนะนำมาเท่านั้น แต่ยังทำให้องค์กร นั้นเสื่อมเสียด้วย

สมาน คุรุธัช ผู้จัดการสมาคมฯ ผู้คร่ำหวอดเกี่ยวกับสมาคมจีน ให้เหตุผลกับ " ผู้จัดการ" ว่าการให้องค์กรเป็นสมาชิกถ้าหากตัวแทนนั้นหมดสภาพไปด้วยเหตุผลใดก็ตาม องค์กรก็เสนอคนอื่นเข้ามาเป็นตัวแทนได้ และการติดต่อลงทุนในนามองค์กรนั่น เป็นเครื่องประกันความจริงใจในการลงทุนเพราะเขาจะต้องแคร์กับชื่อเสียงเล่น ๆ"

ด้วยวิธีการอย่างนี้ จึงมั่นใจได้ว่า ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพคน...!

ด้านความพร้อมในการลงทุรน แต่ละรายล้วนแต่ทำภารกิจใหญ่ และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น สุชัย วีระเมธีกุล นายกสมาคมฯ ชาตรี โสภณพนิช เป็นนายกกิติมาศักดิ์ ซึ่งต่างก็ไม่จำเป็น ต้องอธิบายว่าเป็นใครมาจากไหน ยังไม่รวมถึงคนดังอื่น เฉพาะรายชื่อกรรมการ เห็นแล้วก็พูดได้ว่า ที่นี่จะกลายเป็นตัวเชื่อมการลงทุนสำคัญแห่งใหม่

ยังไม่รวมบรรดากรรมการอื่น ที่เด่น ๆ เช่น วันชัย จิราธิวัฒน์ ค่ายเซ็นทรัล บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา แห่งสหพัฒน์ พิพัฒน์ พะเนียงเวทย์ จากไทยเพรสซิเดนส์ฟู้ดส์ ประจักษ์ ตั้งคารคุณ ผู้ค้าสีทีโอเอ สงวน จันทรานุกูล โต้โผของศรีไทย ปศุสัตว์ ตลอดจนนักธุรกิจรายอื่นรววมที่เป็นสมาชิกอยูประมาณ 120 ราย

สมาคมฯ ไม่เพียงแต่เป็นตัวกลางสำหรับสมาชิกเท่านั้น แต่หากมีนักธุรกิจซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิก

ให้สมาคมฯ ช่วยเรื่องข้อมูลของผู้ร่วมลงทุน กับตน สมาคมฯ จะทำหน้าที่ส่วนนี้ให้ด้วยเท่าที่จะตรวจสอบให้ แต่จะไม่ แนะนำผู้ร่วมลงทุน ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก เพื่อป้องกันปัญหาที่ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังที่เคยมีปัญหาในช่วงที่ยังไม่ได้ตั้งสมาคม

สมาน ผู้เป็นกลไกสำคัญหนึ่งของสมาคม

เล่าถึงข้อเท็จจริงของจีนว่าสภาพของจีนที่มีประชากรเป็นพันล้านคน ทำให้ทุกคนอยากไปลงทุน เพราะคิดว่า มีตลาดรองรับ แต่โดยสภาพที่เป็นจริง ต้องเข้ามใจด้วยว่า จีนได้ประกาศให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพิเศษหรือไม่แค่ไหน ไม่ใช่ว่าจะไปลงทุนได้โดยสะดวก ได้ทั่วประเทศจีน แต่เขาแบ่งเป็นเขตและมีนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศของเขา"

โดยทั่วไปจีนมีนโยบายจะเน้นให้ไปลงทุนได้ แต่จะเน้นให้ผลิตเพื่อส่งออกอาจจะมีบางพื้นที่ที่ไม่ระบุตายตัว อาจเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า บางพื้นที่ค่อนข้างพร้อมด้านสาะารณูปโภค บางแห่งจะมีปัญหามาก

อย่างตอนนี้ มีเกาะไหหลำ ซึ่งน่าสนใจมาก " เป็นเกาะเล็กกว่าไต้หวัน พื้นที่ 3,000 ตร.ม ประชากรราว 5 ล้านคนจีนมีนโยบายที่จะให้เป็นเขคการค้าเปิดมากกว่าเขตเศรษฐกิจ ทั่วไป และมีความตั้งใจที่จะเปิดเป็น free port แบบฮ่องกง สมานเล่าถึงพื้นที่เศรษฐกิจน่าสนใจของจีน

เกาะไหหลำ มีจุดน่าสนใจคือ จีน เปิดให้เช่พื้นที่ได้นานถึง 70 ปี ดยผู้เช่ารายเดิมจะเซ้งต่อก็ได้ แต่ขายไม่ได้เนื่องจากที่ดินทั้งหมดของจีนรัฐบาลเป้นเจ้าของ " ที่สำคัญที่นี่มีแร่เหล็กคุณภาพดีที่ในจีน และมีแหล่งปิโตรเหลียมอยู่มาก ถ้าทเทียบความเป็นเมือง เกาะไหหลำจะอยู่ในระดับเดียวกันกับเชียงใหม่ของไทย" สมานชี้ถึง จุดน่าลงทุนของเกาะไหหลำ

เล่ากันว่า นอกจากกลุ่มซีพีได้ไปลงทุนในจีนนับกว่าสิบ ๆ รายการแล้ว ถ้ายังสนใจจะลงทุนด้านปิโตรเคมีบนเกาะไหหลำ แต่ติดปัฐเหาเรื่องลงทุนที่สูงเกินไป

ขณะเดียวกัน บุญนำ ทรัพย์ จากทีทีไอกรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้นำด้านส่งออกการ์เมนท์ได้ลงทุนตั้งโรงงานปั่นด้ายขนาด 20,000 แกนที่ซันตง ในจีน โดยใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่น ผลิตแล้วขายอยู่ในตลาดของจีน และส่วนหนึ่งก็ซื้อมาใช้ในทีทีไอกรุ๊ป

ส่วนที่มาลงทุนในไทย ได้แก่ โรงงานผลิตดอกสว่าน ที่มีนบุรี เป็นการร่วมทุนระหว่างซีพี กับทางเซี่ยงไฮ้ หรือืทางบริษํทไชน่า รีสอร์ท จำกัด ได้ร่วมทุน ในโครงการบิสสิเนท คอมเพล็กซื 22 ไร่ ซึ่ประมูลวื้อที่ดินมาจากะนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ บนถนนวิทยุ กับทางเอ็มไทยกรุ๊ปฯลฯ

ถ้าพุดภึงบทบาทของสมาคมฯ เรียกว่าเริ่มขยายตัวและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันทางจีนจัดคณะนักลงทุนมาทัวร์ไทยกันมาก เฉพาะในกรุงเทพมีมาก ร่วม 20คณะ

คณะนักลงทุนจากจีนนี้จะผ่านทาง ccpit (china council porth protion of international trade) เป็นกรรมการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศของจีน และที่น่าภูมิใจก็คือ พอคณะของสมาคมฯ ไปจีน จะได้รับการต้อนรับจากผู้บริหารระดับสูงของจีนอย่างดี" สมาน เล่าถึงสภาพการยอมรับจากจีนอย่างมาก

นอกจตากนี้ ยังมีนักลงทุนจีนจำนวนมาก ที่โทรศัพท์ทางไกลติดต่อข้อมูลจากสมาคมฯ โดยตรง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของสมาคม ฯ ค่อนจ้างชัด

แต่ด้วยสภาพของนักลงทุนไทยที่ต่างก็มีธุรกิจรัดตัว จึงต้องมีเจ้าหน้าที่คอยเป็นผู้ประสานระหว่าง

ไทย-จีน และดูเหมือน ว่าสมาคมฯค่อนข้างโชคดีทีได้คนซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มาอย่างดี

มาเป็นผู้บริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของสมาคมฯ โดยมี สมาน เป็นผู้จัดการ สมาคมฯ

ปฏิเสฐไม่ได้ว่า สนมานเป็นกลไก สำคัญของสมาคมฯ เพราะสมานไม่เพียงแต่รู้และเข้าใจภาษาจีน ได้อย่างลึกซึ้ง เท่านั้น ประการสำคัญสมานมีประสบการณ์งานสมาคมเกี่ยวกับจีนมาตลอดชีวิตการทำงาน

สมานนั้นเริ่มต้นเป็นครูสอนภาษาจีนที่โรงเรียนโกศลวิทยา เคยเป็นประชาสัมพันธ์จีนให้กับโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ถาวร พรประภา เคยให้ไปช่วยงานที่สยามกลการ ด้วยเหตุว่า ในบริษัทไม่มีคนรู้ภาษาจีน

จากนั้น สมานก็ไปร่วมก่อตั้งสมาคมมิตรภาพไทย- จีน ร่วมกับพลเอกชาติชาย และเป็นล่ามส่วนตัวให้ด้วยหลังจากที่เพื่อนแนะนำว่า สมานน่าจะเป็นล่ามได้ดี เพราะเคยเป็นผู้แหล่งข่าวที่หนังสือพิมพ์ตังน้ำและเป็นครูภาษาจีนมาตั้งแต่อายุ 17 ปี

ด้วยวัยขนาดนี้ สำหรับเมื่อหลายสิบปีก่อน ยังเป็นครูไม่ได้ ซึ่งกำหนดไว้ที่ 18 ปี สมานจึงต้องขอผ่อนผันจนสำเร็จและเป็นครูเรื่อยมาพร้อมกับทำงานสังคมไปเรื่อย

จากตำแหน่งกรรมการสมาคมมิตรภาพฯ สมานยังเป็นรองผู้จัดการสมาคมแต้จิ๋ว อยู่ 9 ปี เมื่อเกิดปัญหาภายในมาก ๆ จึงลาออก

ออกมาแล้ว ก็ตั้งใจวางมือจากงานสังคม แต่เพราะคร่ำหวอดงานเหล่านี้ จึงได้รับการทาบทามมาให้ช่วยงานที่สมาคมฯ อีก

เล่ากันในวงการพ่อค้าจีนว่า สมานเป็นล่ามที่พลเอกชาตาย ถูกใจมากไปจีนทุกครั้ง ก้ต้องเรียกใช้สมาน ขนาดที่รองนายกฯ จีนบางคนถึงกับไต่ถามว่าล่ามคนนี้เป็นใคร เพราะแปลได้ดีมาก

ด้วยแรงผลักดันที่ตั้งสมาคมฯ เพื่อส่งเสริมการลงทุน ไทย-จีน ให้คล่องตัวมากขึ้น จากบรรดายักษ์นักธุรกิจจำนวนมาก พร้อมกับผู้ปฏิบัติงานของสมาคมฯ ซึ่งมีศักยภาพ ทำให้เชื่อกันว่า สมาคมฯ จะกลายเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญใหม่ทางหนึ่งที่จะก่อให้เกิดการลงทุนร่วมมือกันระหว่างไทย-จีน อย่างแพร่หลายมากขึ้น



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.