บริษัทวัฒนชัยรับเบอร์ เมท จำกัด กลายเป็นตัวอย่างของธุรกิจอุตสาหกรรมที่พยายามดิ้นรนหาทางออกให้กับสินค้าของตัวเอง
ในสภาวะที่ตลาดอยู่ในขั้นตกต่ำถึงที่สุด
ในช่วงปี 2530 เป็นช่วงที่ตลาดมีความต้องการถุงมือยางค่อนข้างมากโดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา
ซึ่งหลายประเทศคาดการณ์กันว่ามันน่าจะเป็นตลาดที่ใหญ่พอที่จะก้าวกระโดดเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้
ถุงมือยางกว่า 300 ราย ทั่วโลก จึงเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในสมัยนั้น ในขณะที่ประเทศไทยเองเพียงปี
2530 ปีเดียวมีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ถึง 140 ราย แต่หลังจากนั้นมีผู้เข้าร่วมกิจการจริง
ๆ เพียง 20 รายเท่านั้น
ทั้งนี้เป็นผลมาจากความต้องการในตลาดถุงมือยางที่เริ่มตกหลังจากที่ฟังเรื่องได้เพียงปีเดียว
โดยในปี 2531 ตลาดเริ่มตก และยิ่งตกลงมากขึ้น ในปี 2532 สาเหตุหนึ่งมาจากการคาดการณ์ผิดพลาด
เนื่องจากตลาดในสหรัฐอเมริกา ไม่ใหญ่อย่างที่คิด ยิ่งผู้ผลิตทุกรายทุ่มสินค้าเจ้าอเมริกากันหมด
ทำให้ปริมาณสินค้ามีมากเกินความต้องการ ดั่งนั้นราคาขายจึงตกลงจากเดิมที่เคยขายได้
ในราคา 5-6 ดอลลาร์ ต่อจำนวน 100 ชิ้น ลดลงเหลือ3 ดอลลาร์ และค่อย ๆ ลดเหลือ
2.50 ดอลลาร์ ผู้ผลิตหลายรายเริ่มไปไม่รอด
ในปี 2532-2533 ผู้ผลิตที่ปิดกิจการไปก่อนคือผู้ผลิตในประเทศจีน จึงมีโรงงานผลิตอยู่ประมาณ
30-40 แห่งเนื่องจากเป็นโรงงานของรัฐ เมื่อสินค้าขายไม่ออก เพราะคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
สินค้าที่ไม่โดนตีกลับ เข้าสหรัฐไม่ได้ในปี 2532 มี จำนวน กว่า 100 ตู้คอนเทนเนอร์
ผู้นำเข้าจึงไม่ยอมจ่ายเงินเพราะถือว่าสินค้าคุณภาพไม่ผ่านประกอบกับไม่มีใครให้ทุนอุดหนุนโรงงานทั้งหมด
ในจีน จึงทยอยปิดจนถุงต้นปีนี้โรงงานสุดท้ายที่เซี่ยงไฮ้ก็ได้ปิดไป
เช่นเดียวกับที่ไต้หวัน ซึ่งมีอยู่20 กว่าแห่งก็ปิดไป จนปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
2 แห่ง ที่มาเลเซีย ก็เหมือนกัน ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 6 แห่ง จาก 40-50
แห่ง ในประเทศไทยเองจากโรงงาน 20 แห่งที่ติดตั้งเครื่องจักรและมีทีท่าว่าจะทำ
แต่ปรากฏว่าหลายแห่งมีปัญหาเรื่องการผลิตด้านช่างเทคนิค หลายแห่งผลิตสินค้าออกมาแล้วขายไม่ได้
และบางแห่งที่อยู่ในธุรกิจอื่นเมื่อโดดเข้ามาและเห็นว่าไม่คุ้มก็หยุดไป จนกระทั่งปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ
6 แห่งเท่านั้น
บริษัทวัฒนชัยรับเบอร์เมท เป็นบริษัท 1 ใน 6 แห่งที่ยังคงดำเนินธุรกิจผลิตถุงมือยางอยู่
จากการร่วมทุนระหว่างกลุ่มนักธุรกิจไทยกับไต้หวัน ในอัตราส่วน 60:40 ด้วยทุนจดทะเบียน
20 ล้านบาท จากธุรกิจพื้นฐานเดิมจากกลุ่มคนไทยซึ่งมีประชัย กองวารี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่คือการขายเครื่องอะไหล่ทอผ้าปั่นด้ายและรับจัดหาเครื่องจักรสารพัดชนิดในนามของบริษัท
เอเชียไพศาล การค้า ซึ่งตั้งมาได้ประมาณ 20 กว่าปี โดยเครื่องจักรส่วนใหญ่จะสั่งนำเข้าจากไต้หวันเป็นหลัก
จนกระทั่งกลุ่มนักธุรกิจชาวไต้หวันซึ่งคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และสนใจที่จะมาลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางในประเทศไทย
บริษัทวัฒนชัยรับเบอร์เมท จึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดของผู้ผลิตอีกหลายรายในขณะนั้น
นอกเหนือจากการลงทุนที่วางไว้จึงได้จดทะเบียนบริษัทขึ้นถึง 2 บริษัทเพื่อจัดตั้งเป็น
โรงงานผลิตน้ำยางขึ้น โรงงานแรกวางแผนจัดตั้งที่จังหวัดยะลา ใช้ชื่อบริษัท
พัฒนชัยพาราเท็กซ์ อีกโรงงานหนึ่งจะจัดตั้งที่จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ชื่อบริษัทเอเชียรับเบอร์ลาเท็กซ์
( 1988)
หลังจากที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอเรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทฯ ได้สั่งนำเข้าเครื่องปั่นน้ำยางข้นเข้ามาจำนวน
6 เครื่อง มูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท สำหรับใช้กับบริษัทพัฒนชัยพาราเท็กซ์
ในช่วงที่เครื่องเข้ามาปรากฏว่าราคานำยางข้นตกลง
มาก ทางบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า หากฝืนทำไปธุรกิจคงไปไม่ได้ดีจึงได้พักโครงการผลิตน้ำยางข้นไว้ก่อน
ส่วนบริษัท เอเชียรับเบอร์ลาเท็กซ์ ซึ่งยังไม่มีการสั่งเครื่องปั่นเข้ามาจึงรอดตัวไปพร้อมกับการเปลี่ยนธุรกิจจากการทำน้ำยางข้นไปทำพื้นรองเท้ากีฬา
แทนโดยนำเทคโนโลยีของเกาหลีมาใช้ในการผลิตพร้อมกับดึงเอากลุ่มนักนักธุรกิจชาวเกาหลีเข้ามาร่วมทุนใน
โรงงานด้วยประมาณ 5% ที่เหลือเป็นกลุ่มคนไทย 70% และไต้หวัน 25%
นับเป็นการพลิกสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในธุรกิจเป็นครั้งแรก
และเมื่อโรงงานผลิตถุงมือยางทั่วโลกเผชิญกับปัญหาสินค้าล้นตลาด บริษัทวัฒนชัยรับเบอร์เมท
ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตก็หนีปัญหานี้ไม่พ้นเช่นกัน
" ในช่วง 2 ปีแรก บริษัทฯ เราก็เหมือนกับคนอื่นคือขาดทุน ไปประมาณ
8 ล้านบาท ในรอบ 2 ปี เพราะสินค้าขายไม่ได้ราคา รวมทั้งมีปัญหาทางด้านการผลิต
เพราะมีจำนวนสินค้าเสียมาก เมื่อปลายปีที่แล้วคณะกรรมการบริหารมีมติว่า ให้สู้ไปอีกปีหนึ่ง
จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการรบริหารงานใหม่หมด ตั้งแต่การเพิ่ม ทุนจาก
20 ล้านบาท เป็น 30 ล้านบาท การจัดรูปการบริหาร การควบคุมการผลิตใหม่ในส่วนของเสียให้ลดลงจากที่เคยเสีย
10 กว่าเปอร์เซนต์ พยายามให้เหลือเพียง 3-5 เปอร์เซนต์ ซึ่งขณะนี้ทำได้เพียง
6-7 % เดท่านั้น เช่นเดียวกับการเก็บสต๊อกสินค้าและวัตถุดิบให้มีปริมาณให้น้อยลง
ทางด้านตลาดก็หันไปหาตลาดในยุดรป แทนที่จะพึ่งพาตลาดเดิมคือสหรัฐอเมริกา
และผลจากความพยายามในการเปิดตลาดใหม่ ในปีนี้ ทำให้ตลาดยุโรป กลายเป็นตลาดใหญ่ของบริษัทฯ
ถึง 70% ในขณะที่ 30% ที่เหลือเป็นตลาดในอเมริกาและมูลค่าในการส่งออกตกประมาณ
10 ล้านบาท ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ก็เปลี่ยน ยุทธวิธีใหม่โดยขอทบทวนมติจากบีโอไอ
เพื่อขอขายสินค้าส่วนหนึ่งประมาณ 20% ภายในประเทศ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากบีโอไอ
และเริ่มขายตั้งแต่เดือนม.ค.2533 เรื่อยมา โดยปรับเปลี่ยนเพคเกจขจิ้ง จาก
100 ชิ้น เหลือเพียง 6 ชิ้น หรือ 3 คู่ต่อถุงในราคา 12 บาท แล้วพะยี่ห้อ"
แฮนดี้เมท" วางขายตามซุเปเปอร์มาร์เกต และร้านขายยาทั่วไป กมล รัตนวิระกุล
กรรมการผู้จัดการของวัฒนชัยฯ อธิบายถึงการปรับตัวในขณะที่บริษัทฯ เผชิญกับปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่องถึง
12 ปี
และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบริษัทวัฒนชับรับเบอร์เมท ล่าสุดก็คือการเข้าร่วมกิจการกับกลุ่ม
เนเจอร์ฟาร์มของอเมริกา
Nature's farm's product inc เป็นบริษํทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซานฟรานซิสโก้ในอเมริกากว่า
20 ปี ทำหน้าที่เป็นบริษัทการตลาด ในขณะที่ฐานการผลิตสินค้าต่าง
ๆในเครือจะกระจายอยู่ในต่างประเทศอย่างเช่นธุรกิจอาหารกระป๋อง หรือรอง
เท้าผู้หญิงและเด็๋ก เป็นต้น
เช่นเดียวกับในประเทศไทยกลุ่มเนเจอร์ฟาร์มได้เข้ามาลงทุนสร้างฐานการผลิตในอุตสาหกรรมถุงมือ
ยางซึ่งตามแผนงานที่วางไว้จะมีทั้งโรงงานผลิตถุงมือยาง และโรงงานผลิตนำยางข้นโดยขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบันโอไอ
และเริ่มการก่อสร้างโรงงานผลิตถุงมือยางขึ้นในช่วงปี 2531
พอถึงช่วงต้นปี 2532 ทางเนเจอร์ฟาร์ม ได้เปิดทดลองเครื่องเพื่อผลิตถุงมือยางแต่มีปัญหาทาง
ด้านเทคนิค ทำให้ผลิตถุงมือยางออกมาไม่ได้ ประกอบกับตลาดไม่ดี จึงต้องหยุดการผลิตไปและหันไปผลิตน้ำยางขึ้นที่หาดใหญ่แทน
การเจรจาทางธุรกิจเกิดขึ้นเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกัน
ในขณะที่วัฒนชัยฯ เป็นผู้ผลิตแต่ตลาดไม่แข็งพอถึงแม้ว่าจะมีบริษัทการตลาด(
orient internatioal trading INC) ของตัวเองอยู่ ในอเมริกาก็ตาม ในขณะที่เนเจอร์ฟาร์มมีตลาดที่แข็งแกร่งในอเมริกา
แต่ไม่มีสินค้าจึงเกิดการตกลงที่จะนำสินค้าของวัฒนชัยฯ ไปขายในอเมริกา นับเป็นการเริ่มต้นของความร่วมมือ
ระหว่างกัน
หลังจากที่เนเจอร์ฟาร์ม เริ่มผลิตน้ำยางข้นที่หาดใหญ่ก็ได้เสนอให้ทางวัฒนชัย
ฯ ซื้อน้ำยางข้นป้อนโรงงาน ซึ่งมีอยู่ถึง 2 แห่ง คือโรงงาน ผลิตพื้นรองเท้ากีฬา
กับโรงงานผลิตถุงมือยาง จึงเกิดการเจรจาเพื่อรวมธุกริจกันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
โดยการนำเอาเครื่องปั่นน้ำยางข้นที่สั่งเข้ามาในนามของบริษัทพัฒนชัยพาราเท็กซ์
จำนวน 6 เครื่อง โอนไปรวมกับของเนเจอร์ฟาร์ม ซึ่งมีอยู่ 6 เครื่องเช่นกัน
และนำเครื่องจักรผลิตถุงมือยางของเนเจอร์ฟาร์มจำนวน 2 เครื่อง ที่หยุดการผลิตไปรวมเข้ากับโรงงานของวัฒนชัยฯ
ที่มีอยู่ 2 เครื่องเช่นกัน โดยทำเรื่องการรวมธุรกิจกันเสนอไปยังบีโอไป ซึ่งในหลักการณ์แล้วได้รับความเห็นชอบแต่ยังติดขัดในเรื่องของข้อกฎหมายและการจัดสัดส่วนของผู้ถือหุ้น
รวมถึงการปรับโครงสร้างการบริหารงานของบริษัทฯ ในเครือใหม่ทั้งหมด ซึ่งคาดว่ากอ่นกลางปี
2534 เรื่องการรวมธุรกิจจะเสร็จเรียบร้อย
หากดูจากมูลค่าทรัพย์สินของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วในส่วนของบริษัทวัฒนชัยฯ และ
บริษัทในเครืออีก 2 บริษัท มีมูลค่าประมาณ 80 ล้านบาท ในขณะที่การลงทุนของกลุ่มเนเจอร์ฟาร์มในส่วนของเครื่องจักรผลิตถุงมือยางประมาณ
10 กว่าล้าน และในส่วนของโรงงานผลิตน้ำยางข้นอีกประมาณ 10 ล้านบาท
นั่นหมายความว่า เมื่อรวมสินทรัพย์เข้าหากันแล้ว วัฒนชัยรับเบอร์เมทจะมีสินทรัพย์เป็น
100 ล้านบาท ซึ่งมีขนาดมากพอที่จะทำธุรกิจผลิตถุงมือยางต่อไปได้
ทางด้านการผลิตถุงมือยางซึ่งจะมีวัฒนชัยฯ เป็นแกนนำ กมลกล่าวว่า หลังจากการรวมกิจการกันแล้วเครื่องที่ได้มาอีก
2 เครื่อง จากเนเจอร์ฟาร์ม จะนำมาขยายการผลิตถุงมือยางในรูปแบบใหม่ขึ้นจากเดิมที่ผลิตเฉพาะถุงมือตรวจและถุงมือยางผ่าตัด
ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือถุงมือแม่บ้านซึ่งจะผลิตประมาณ ปีละ 6 ล้านคู่ ถุงมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า
( Antistratic Gloves) จำนวน 6 ล้านชิ้น และถุงมือที่ใช้ในโรงงาน ( rubber
neoprene coated working gloves) จำนวน 5 แสนคู่ ส่วนถุงมือตรวจในปีนี้ จะลดการผลิตลงเหลือ
15 ล้านชิ้น และถุงมือยางผ่าตัดจะผลิตจำนวน 1,2000,000 คู่ การที่บริษัทฯ
ขยายฐานการผลิตออกไป คงจะน่าสนใจมากกว่าการผลิตสินค้าเพียงตัวเดียว