"ทิศทางธุรกิจประกันภัย"


ผู้จัดการรายวัน(5 มิถุนายน 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

ในอดีตที่ผ่านมาถือได้ว่าทางภาครัฐไม่ได้เกื้อหนุนธุรกิจ ประกันภัยมากมายนัก แต่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้ คนในวงการ ประกันถึงกับเอ่ยปากออกมาว่า นี่คือบันทึกครั้งประวัติศาสตร์ของวงการประกันภัย ที่ภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุนด้วยการกำหนดยุทธ ศาสตร์ประกันภัยแห่งชาติ โดยมีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีในครั้งนั้น

จากธุรกิจที่มีจุดหมายแต่ไร้ทิศทางเมื่อได้ความร่วมมือจากภาค รัฐบาลในการกำหนดกรอบ ก็ทำให้ ภาคเอกชนมีทิศทางก็กระจ่างชัดขึ้น ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนโดยตรงต่อภาคธุรกิจนี้คือ กรมการประกันภัย ในการผลักดันให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนดไว้ โดยนางสาวพจนีย์ ธนวรานิช อธิบดี กรมการประกันภัย ได้อธิบายขยาย ความแนวคิดยุทธศาสตร์ประกันภัยที่ต่อไปจะมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจที่ประชาชนขาดศรัทธา ให้กลายมามีความศรัทธาและเชื่อถือ รวมทั้งเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนทั้งภาค ธุรกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งในอนาคตได้

สิ่งที่สร้างความศรัทธาและความน่าเชื่อถือต่อธุรกิจประกันมีหลายด้านไม่ว่าการดำเนินธุรกิจโดย ยึดหลักธรรมาภิบาล ความมั่นคงของบริษัทประกัน หรือกระทั่งตัวแทนขาย ซึ่งมีการย้ำเป็นเสียงเดียวกันว่าให้ความสำคัญกับเรื่องของจรรยาบรรณมากที่สุด และในเรื่องนี้ทางกรมการประกันภัยต้อง การที่จะเห็นเห็นภาคธุรกิจมีการกำกับดูแลกันเอง โดยกรมฯจะทำหน้าที่ในการให้ใบอนุญาติ แต่การสอบความรู้ด้นการประกันภัยให้เป็นบทบาทของภาคธุรกิจ คือ สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัย โดยขณะนี้ทางสมาคมประกันชีวิตไทยได้ตอบกลับมาว่าเรื่องดังกล่าวสามารถ ดำเนินการได้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2546

"ในเรื่องบุคลากรท่านนายกฯ ได้กล่าวไว้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ธุรกิจประกันภัยที่สร้างความน่าเชื่อ ถือศรัทธาต้องทำให้เป็นมืออาชีพ คือการเป็นคนที่มีความรู้อย่างแท้ จริง มีจรรยาบรรณที่ดี และคำนึงถึงประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

อธิบดีกรมการประกันภัย ได้กล่าวอีกว่าในอนาคตที่เมื่อ เปิดเสรีธุรกิจแล้วภาคเอกชนมีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการกำกับดูให้ทั่วถึงกรมฯได้ดึงพ.ร.บ. 2535 ทั้งประกันชีวิต และประกันวินาศภัยมาแก้ไขเพิ่มเติม โดย การบังคับให้บริษัทประกัน ชีวิตต้องเป็นสมาชิกของสมาคมประกันชีวิตไทย บริษัทประกันวินาศภัยก็ต้องเป็นสมาชิกของประกันวินาศภัย เพื่อให้มีการ กำกับดูแลให้เกิดผล และเคารพใน กฎเกณฑ์และระเบียบวินัยที่ทางสมาคมจัดตั้งขึ้นมา

สิ่งสำคัญอีกประการต่อการสร้างความน่าเชื่อถือของภาคธุรกิจ คือหลักธรรมาภิบาล โดยอธิบดี กรมการประกันภัยได้กล่าวว่าธุรกิจ ประกันภัย จะต้องมีความน่าเชื่อถือ จากประชาชนมากที่สุด เพราะฉะนั้น หลักนิติธรรม คุณธรรม และความ โปร่งใส หรือธรรมาภิบาลต้องนำมา ใช้กับภาคธุรกิจทางสมาคมประกัน วินาศภัยได้ทำการศึกษาหลักธรรมภิบาลที่ดีของทุกระดับในองค์กร เช่น การปฏิบัติงานระดับเจ้าหน้าที่ควรจะเป็นอย่างไร ผู้บริหารควรเป็นอย่างไร คาดว่าใน วันที่ 6 มิถุนายนนี้สมาคมประกันวินาศภัยจะนำผลการศึกษาออกมาให้ทุกบริษัทรับทราบ และแสดง ความเห็นเพื่อออกเป็นกฎระเบียบข้อบังคับ

อย่างไรก็ตาม การเกิดธรรมา ภิบาลอาจมีปัญหาและอุปสรรคบ้าง ในเรื่องขนาดขององค์กรมีหลายระดับ ทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ทำให้ความพร้อมความจำเป็นในการที่จะมีระบบงานให้เหมือนกันอาจกลายเป็นภาระต่อการเพิ่มค่าใช้จ่ายของบริษัท โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก แต่ในมุมกลับกันถ้าถือว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ดีก็ให้มองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่ามองเป็นภาระค่าใช้จ่าย เพราะสิ่ง ที่ย้อนกลับมาคือภาพลักษณ์ที่สะอาด โปร่งใส และมีความน่าเชื่อ ถือมากขึ้น

ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความมั่นใจให้ประชาชนด้วยว่า เมื่อซื้อความคุ้มครองแล้วเงินจำนวนนั้นจะไม่สูญหาย ซึ่งเรื่องนี้ทางกรมฯได้ให้ความสำคัญมาก จึงได้เตรียมการจัดตั้งกองทุนคุ้ม ครองผู้เอาประกันภัยขึ้น ทั้งในส่วน ของธุรกิจประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัย เพื่ออนาคตหากบริษัทใดเกิดมีปัญหาทางการเงินถึงกับต้องถอนใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจ แต่จะไม่กระทบประชาชน เพราะมีเงินกองทุนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเป็นหลักประกันว่าประชาชนจะได้รับการดูแลถือเป็น การเพิ่มความน่าเชื่อถือ และศรัทธา ของประชาชนต่อธุรกิจประกันภัย

อนาคตของภาคธุรกิจประกันภัย เชื่อว่าจะยังไปได้ดี เพราะประชาชนได้เห็นความสำคัญของการประกันภัยมากขึ้น เหมือนอย่างต่างประเทศจะเห็น ได้ว่าประกันภัยเป็นปัจจัยที่ 5 อย่างแท้จริง เพราะต่างประเทศเรียกว่าไม่ต้องโฆษณาประกัน ก็ขายได้ ไม่ว่าจะเป็นประกัน สุขภาพ ประกันรถประกันทรัพย์สินก็ตาม ซึ่งทางกรมฯ และภาคธุรกิจประกันเองก็หวังอยากให้ประกันภัยเป็นปัจจัยที่ 5 ในประเทศไทยด้วย

โดยเฉพาะประกันวินาศภัย ที่เติบโตสอดคล้องกับเศรษฐกิจ กล่าวคือเศรษฐกิจยิ่งโตประกันวินาศภัยโตตามด้วย ยิ่งช่วงนี้รัฐบาล ปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นมาก และยิ่งในเรื่องหลักบริหารจัดการของรัฐบาลที่ได้รับการจัดอันดับขึ้นมาสูง มาก ยิ่งทำให้เศรษฐกิจมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ภาคธุรกิจก็จะต้องหันมา ทำประกันมากขึ้น อย่างเช่นภาคธุรกิจส่งออกที่ต้องพึ่งพาอาศัยการ ทำประกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมัน ยังไปได้ดีศักยภาพยังสูงทั้งประกัน ชีวิตและวินาศภัย

กล่าวได้ว่าสิ่งนี้เป็นเพียง บางตัวอย่างจากอีกหลายรายการในการกำหนดยุทธศาสตร์ประกันภัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา บางเรื่องก็ได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่บางเรื่องก็ยังเป็น แค่นามธรรมที่รอวันปั้นแต่งให้เป็นรูปธรรม



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.