"เป็นครั้งแรกที่มีการสำรวจบริษัทกฎหมายยอดนิยมเบเกอร์แอนด์แม็คเค็นซี่
มาอันดับต้น ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการเงินขณะที่ดำเนิน สมเกียรติ
บุญมา ได้รับความนิยมด้านลิขสิทธิ์ และสุวรรณ วลัยเสถียร ด้านภาษี"
เศรษฐกิจไทยกำลังขยับเข้าสู่ความเป็นสากล บริษัทต่างชาติก็มองที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น
บทบาท "ที่ปรึกษา" ก็วิวัฒนาการตามมา เพื่อให้คำแนะนำการลงทุนของต่างชาติเหล่านั้น
ตั้งแต่การจดทะเบียนตั้งบริษัท การร่วมทุนกับไทย จนถึงการขอบัตรบีโอไอ กล่าวกันว่า
ที่ปรึกษากฎหมายนี้กำลังเป็นธุรกิจที่มีการขยายตัวสูงมาก นับแต่ยุครัฐบาลพลเอกเปรมเป็นต้นมา
และเริ่มมีนักกฎหมายใหญ่ ๆ เข้าสู่ธุรกิจนี้มากขึ้น
เดิมที่ผ่าน ๆ มานั้น สิ่งที่บรรดานักธุรกิจวิตกและพยายามที่จะหลีกเลี่ยงมากที่สุดนั้นได้แก่เรื่องขึ้นโรงขึ้นศาล
เพราะรู้ ๆ กันว่า เป็นสิ่งที่ต้องเสียเวลา และเสียความรู้สึกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจจะเสียเงินเสียทองและเสียพันธมิตรธุรกิจด้วย
"กินขี้หมาดีกว่าเป็นความ" จึงเป็นคำกล่าวที่แฝงความเป็นจริงไม่น้อยเลย
!!
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับกันว่า ในปัจจุบันเรื่องที่เกี่ยวกับทนายความนั้น
ภาพที่ออกมา ค่อนข้างจะดีขึ้น ในสายตาของนักธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่
"เดิมนั้นในสายตาของคนทำธุรกิจทนายความถึงคนที่มาว่าความที่ศาลเท่านั้นไม่ได้ทำหน้าที่อื่น"
ธีรพล สุวรรณประทีป ทนายความชื่อดังแห่งสำนักงานกฎหมายเบเกอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่
กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
แต่ในปัจจุบัน สำนักงานทนายความ ต่างก็ปรับตัวเอง เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายและปรึกษาเรื่องอื่น
ๆ ด้วย กระทั่งกล่าวกันว่า สำนักงานกฎหมายที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กลายเป็น
"สิ่งจำเป็น" ทางธุรกิจไปแล้ว
จากการศึกษาของศูนย์วิเคราะห์อุตสาหกรรม บริษัท บริการข้อมูลผู้จัดการ
จำกัดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้สรุปว่า การให้บริการให้คำแนะนำด้านกฎหมายต่าง
ๆ นั้น มาจากการขยายตัวทางธุรกิจ และความสลับซับซ้อนของธุรกิจที่มีมากขึ้น
"ดูเหมือนการเริ่มต้นของการเป็นที่ปรึกษาจะมีมากในช่วงรัฐบาลพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์ ประมาณปี 2523-2524" สุจินต์ ชัยมังคลานนท์ แห่งสำนักงานกฎหมายเบเกอร์
แอนด์แม็คเค็นซี่ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงจุดหักเหครั้งสำคัญของสำนักงานทนายความหลายแห่ง
ทั้งนี้ นักธุรกิจรุ่นเก่าคนหนึ่งกล่าวถึงการทำธุรกิจในอดีตที่ผ่านมาว่า
เดิมนั้น การตกลงทำธุรกิจกันจะเป็นการตกลงกันโดยวาจามากกว่าที่จะเป็นลายลักษณ์อักษรและยังคงมีอยู่บ้างในปัจจุบัน
ในหมู่นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล
แต่การไหลบ่าเข้ามาของนักธุรกิจชาวตะวันตก ในช่วงของสงครามเวียดนาม ได้มีการเริ่มใช้สำนักงานกฎหมายเป็นที่ปรึกษาบ้างแม้จะไม่มากนัก
ซึ่งเหตุผลของการเข้ามาของนักธุรกิจตะวันตกนั้น ก็เนื่องมาจาก การที่ความมั่นใจในสถานการณ์บ้านเมืองของเวียดนามในขณะนั้น
ไม่มีพอที่จะให้นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตกมั่นใจว่า หากรัฐบาลของเวียดนามเหนือ
ที่เน้นการปกครองระบอบสังคมนิยมเป็นฝ่ายชนะ ธุรกิจของพวกเขา จะยังคงอยู่ต่อหรือไม่
ไทยเป็นจุดเลือกแรกของการหนีมาลงทุนของนักธุรกิจตะวันตกเหล่านั้น
นักกฎหมายเก่าแก่คนหนึ่ง เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ความคิดของนักธุรกิจตะวันตกนั้นมองเรื่องการลงทุนว่า
สมควรที่จะมีการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ก่อนที่จะเกิดปัญหาจริง ๆ ดังนั้นการร่วมทุนกับใครก็ตาม
นักธุรกิจเหล่านี้ โดยเฉพาะชาวอเมริกาและชาวอังกฤษ นิยมที่จะร่วมทุนกับใครโดยการทำสัญญาก่อน
"แต่เดิมนั้น ในหมู่นักธุรกิจไทยยุคแรก ๆ โดยเฉพาะชาวจีนนั้น นิยมที่จะร่วมทุนแบบตกลงกันโดยวาจา
เป็น HAND CHECK AGREEMENT ดังนั้นนักกฎหมายจึงไม่มีความสำคัญหรือจำเป็นต่อการทำธุรกิจของพวกเขา"
ธีรพลกล่าว พร้อมทั้งอรรถาธิบายเพิ่มว่ามาถึงยุคปัจจุบัน การที่รุ่นลูกรุ่นหลานเริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจมากขึ้นการมองสำนักงานกฎหมาย
เป็นที่ปรึกษา จึงมีมากขึ้นด้วย เพื่อความสบายใจกันของผู้ที่จะร่วมทุนกันทำธุรกิจ
ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น การทำธุรกิจก็จะยังคงอยู่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม การตกลงร่วมธุรกิจของชาวจีนในไทยในรูปของการตกลงกันโดยวาจานั้น
ยังคงมีอยู่ประปราย !!!
แม้หลายคนไม่มั่นใจว่าหากบรรพบุรุษผู้ร่วมกันทำธุรกิจเกิดล้มหายตายจากไป
จะเกิดการล้มเลิกข้อผูกพันหรือไม่ก็ตาม
แม้งานที่ปรึกษากฎหมาย มีมาค่อนข้างนานแล้ว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะทำหน้าที่เหล่านั้นได้
ว่ากันว่า เป็นเพราะเหตุผลหลาย ๆ ประการ
เจ้าหน้าที่ระดับกลางคนหนึ่งในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ว่า การใช้สำนักงานกฎหมายเป็นที่ปรึกษานั้น ตนคิดว่าจะมีไม่มากนัก อาจจะเป็นเพราะเหตุผล
2 ประการกล่าวคือ ประการแรกบริษัทใหญ่ ๆ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ต่างก็มีนิติกรหรือฝ่ายกฎหมายของตนเอง
จึงไม่น่าที่จะจำเป็นถึงขั้นต้องใช้ที่ปรึกษากฎหมาย และอีกประการก็คือ มีหลายเรื่อง
ที่เป็นความลับทางธุรกิจที่น่าจะยากต่อการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
เจ้าหน้าที่ในสำนักงานกฎหมายต่าง ๆ ยอมรับว่าเรื่องความลับทางธุรกิจนั้น
ในรายละเอียดต่าง ๆ คงมีแน่ แต่ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันทนายความหรือนักกฎหมาย
เป็นอาชีพที่ได้รับ การยอมรับมากขึ้น ดังนั้น ปัจจุบัน ลูกค้าหลาย ๆ บริษัทจึงกล้าที่จะเปิดเผยรายละเอียดที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากขึ้น
สุจินต์ ชัยมังคลานนท์ แห่งเบเกอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ ยอมรับว่า เรื่องความลับทางธุรกิจนั้นมีแน่นอน
แต่ในส่วนของบริษัทที่ปรึกษา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก และหลาย
ๆ กรณีที่การเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ไม่ต้องการรายละเอียดถึงขั้นต้องได้ความลับทางธุรกิจมาช่วยในการทำงาน
ซึ่งขึ้นกับทางบริษัทผู้ว่าจ้างว่าจะเปิดเผยแค่ไหน
กล่าวกันว่า ข้อมูลที่จะมีการให้กับบริษัทที่ปรึกษาหรือไม่นั้น ขึ้นกับฝ่ายบริษัทผู้ว่าจ้างเอง
ว่าจะเปิดเผยหรือไม่ คุ้มหรือไม่กับการที่จะต้องมีการเปิดเผยตัวเลขหรือรายละเอียดต่างๆ
ให้กับสำนักงานกฎหมายที่ตนว่าจ้าง
ขณะที่รัฐ จำเดิมเผด็จศึก แห่งสำนักงานกฎหมาย สนอง ตู้จินดา กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ว่าฝ่ายกฎหมายของบริษัทต่าง ๆ หรือธนาคารพาณิชย์ตลอดจนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นั้น
จะทำหน้าที่ในเรื่องเกี่ยวกับเอกสารภายในบริษัท หรือพวกสัญญาของธนาคารหรือบริษัทกับลูกค้ามากกว่า
ในขณะที่หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภายนอกก็จะมีการว่าจ้างสำนักงานกฎหมายต่าง
ๆ มาเป็นที่ปรึกษา
ในส่วนของนักกฎหมายในบริษัทที่ปรึกษาต่าง ๆ นั้น มีเรื่องเล่ากันว่าบ่อยครั้งที่พวกเขาตรวจสอบเอกสารโดยถูกปิดแม้กระทั่งชื่อของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารทางการเงินของบริษัท
สำหรับการสำรวจของศูนย์วิเคราะห์อุตสาหกรรม บริษัท บริการข้อมูลผู้จัดการ
เพื่อพิจารณาถึงการใช้สำนักงานกฎหมาย เป็นที่ปรึกษากฎหมายนั้นพบว่า มีรูปแบบของการใช้
3 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ ประการแรก เป็นรูปแบบของการให้คำปรึกษา คือการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายต่าง
ๆ รวมทั้งการวางแผนร่างสัญญาต่าง ๆ ให้กับบริษัทด้วย
การเป็นที่ปรึกษาของสำนักงานกฎหมายประการที่สองนั้น จากการสำรวจดังกล่าว
พบว่า ได้แก่การว่าความ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมการฟ้อง การประนีประนอม
จนถึงการดำเนินคดีความต่าง ๆ
ประการสุดท้ายของการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายนั้นได้แก่ การให้บริการต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่น การบริการด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า
การจดทะเบียนบริษัท ตลอดจนถึงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน
นักธุรกิจหลายคนที่ใช้บริการของสำนักงานกฎหมายต่าง ๆ ให้คำอธิบายถึงการใช้บริการของสำนักงานกฎหมายว่า
เหตุผลหนึ่งที่เป็นที่นิยมของต่างชาตินั้นก็คือการที่สำนักงานที่ปรึกษาเหล่านั้น
สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นแขนขาในการเข้าหากลไกรัฐได้ เพื่อขอความสะดวกในการทำธุรกิจในไทยนั่นเอง
เจ้าหน้าที่คนหนึ่ง ในสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยอมรับว่า
ในจำนวนบริษัทต่างชาติที่ยื่นเรื่องขอบัตรส่งเสริมจากสำนักงานนั้นกว่า 90%
เป็นการยื่นเรื่องโดยสำนักงานกฎหมายต่าง ๆ
"พวกนักธุรกิจข้ามชาติรู้ดีว่า ในการลงทุนในประเทศด้วยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา
(เช่นประเทศไทย) นั้น CONNECTION สำคัญเสมอ" เจ้าหน้าที่บีโอไอคนเดิมกล่าว
สำหรับการสำรวจนั้น พบว่า สำนักงานกฎมายในไทย ที่มีกลุ่มบริษัทธุรกิจต่าง
ๆ ใช้เป็นที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ นั้นมีการจัดตั้งเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ
1) สำนักงานกฎหมายของต่างชาติซึ่งมีการก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6
ซึ่งเริ่มจากการว่าจ้างนักกฎหมายต่างชาติชาวตะวันตกมาเป็นทนายความและส่วนหนึ่งยังคงเปิดดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน
2) สำนักงานกฎหมายของฝรั่งที่ตั้งถิ่นฐานในไทย คือจากนักกฎหมายฝรั่งที่มาตั้งรกรากและโอนสัญชาติเป็นไทยและจัดตั้งสำนักกฎหมายขึ้นในไทย
รวมทั้งมีบางส่วนที่มีการจัดตั้งกับนักกฎหมายไทย
3) สำนักงานกฎหมายของนักกฎหมายไทยที่แยกตัวมาจากสำนักงานกฎหมายของต่างชาติ
โดยมีนักกฎหมายไทยที่ผ่านงานในสำนักงานกฎหมายของต่างชาติจนมีประสบการณ์และชื่อเสียงก็แยกตัวออกมาตั้งเป็นสำนักงานกฎหมายใหม่ขึ้น
4) สำนักกฎหมายของไทยที่มีการพัฒนาตนเองขึ้นมา โดยเป็นกลุ่มนักกฎหมายเก่าที่มีความพร้อมและได้ขยายธุรกิจจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงการ
สำหรับสำนักงานกฎหมายที่ตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในไทย ได้แก่ สำนักงานติลลิกีแอนด์กิบบินส์โดยนักกฎหมายชาวลังกา
คือวิลเลียม อัลเฟรด ติลลิกี ที่ครั้งหนึ่งในวิชาชีพ เคยว่าความในคดีที่เป็นประวัติศาสตร์
นั่นคือ การแก้ต่างให้กับ "พระยอดเมืองขวาง" ในคดีข้อกล่าวหาว่าฆ่านายทหารฝรั่งเศสผู้หนึ่งโดยเจตนา
ในกรณีพิพาทพรมแดนไทยอินโดจีน
เมื่อศาลตัดสินว่าจำเลยไม่ผิด ติลลิกีก็ได้รับพระราชบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาอรรถการประสิทธิ์"
และดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการ
หุ้นส่วนของติลลิกีคือ ราล์ฟ กิบบินส์ นักกฎหมายชาวอังกฤษ ซึ่งในปี 2449
เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสากล (ศาลอุทธรณ์)
จากการสำรวจความเห็น ถึงการใช้บริการของสำนักงานกฎหมายต่าง ๆ นั้นสรุปได้ถึงการใช้บริการของสำนักกฎหมายต่างนั้น
สรุปได้ถึงการใช้บริการของสำนักกฎหมายต่าง ๆ เพื่อเป็นที่ปรึกษาเป็น 6 ประเภทด้วยกัน
คือ
1) หมวดที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นการให้บริการคำปรึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญาการเงินต่างๆ
เช่น SYDICATE LOAN
2) หมวดลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เป็นการให้บริการคำปรึกษาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
3) หมวดการ TAKE OVER เป็นการให้บริการด้านให้การแนะนำและร่างสัญญาในกรณีที่มีการ
TAKE OVER ซึ่งครอบคลุมการให้บริการทั้ง 2 ฝ่ายคู่กรณีที่มีการ TAKE OVER
4) หมวดว่าความคดีแพ่ง เป็นการให้บริการในส่วนของการว่าความคดีแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการเงิน
5) หมวดภาษี เป็นการให้บริการคำปรึกษาในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษี
รวมทั้งการร่างสัญญาภาษีต่าง ๆ
6) หมวดทั่วไป เป็นลักษณะของการให้บริการด้านกฎหมายทั่ว ๆ ไป ในลักษณะที่ผู้ใช้บริการเคยใช้บริการกับบริษัทที่ปรึกษากฎหมายแห่งหนึ่งก็จะใช้ในทุก
ๆ ด้าน
จากการสำรวจผ่านบริษัทที่มียอดขายในปี 1991 มากกว่า 500 ล้านบาทจำนวน 150
บริษัทจาก 13 กลุ่มธุรกิจ คือธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตและประกันภัยสิ่งทอ
อาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเกษตร วัสดุก่อสร้าง กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
พาณิชย์ โทรคมนาคม โรงแรม โรงพิมพ์และสิ่งพิมพ์ และโรงพยาบาล ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ของการใช้บริการบริษัทต่าง
ๆ นิยมที่จะใช้บริการด้านการให้คำปรึกษาทั่วไปมากที่สุด คือ 49 บริษัท (ดูตารางประกอบ)
รองลงมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษีอากร ที่มีผู้ใช้บริการปรึกษาถึง 38 บริษัท
"ที่เราได้รับการปรึกษามากที่สุดก็คือ เรื่องที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ที่มีการนำมาใช้ตั้งแต่ต้นปี แล้วก็เรื่องอาฟตา" นักกฎหมายคนหนึ่งกล่าว
แม้งานที่ปรึกษากฎหมายมีมาค่อนข้างนานแล้ว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำหน้าที่เหล่านั้นได้
ว่ากันว่า เป็นเพราะเหตุผลหลาย ๆ ประการ
เจ้าหน้าที่ระดับกลางคนหนึ่งในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ว่า การใช้สำนักงานกฎหมายเป็นที่ปรึกษานั้นตนคิดว่าจะมีไม่มากนัก อาจจะเป็นเพราะเหตุผล
2 ประการกล่าวคือ ประการแรก บริษัทใหญ่ ๆ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ต่างก็มีนิติกรหรือฝ่ายกฎหมายของตนเอง
จึงไม่น่าที่จะจำเป็นถึงขั้นต้องใช้ที่ปรึกษากฎหมายและอีกประการก็คือ มีหลายเรื่องที่เป็นความลับทางธุรกิจ
ที่น่าจะยากต่อการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
เจ้าหน้าที่ในสำนักงานกฎหมายต่าง ๆ ยอมรับว่า เรื่องความลับทางธุรกิจนั้น
ในรายละเอียดต่าง ๆ คงมีแน่ แต่ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันทนายความหรือนักกฎหมาย
เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังนั้น ปัจจุบันลูกค้าหลาย ๆ บริษัทจึงกล้าที่จะเปิดเผยรายละเอียดที่เขาคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากขึ้น
สุจินต์ ชัยมังคลานนท์ แห่งเบเกอร์ แอนด์เม็คเค็นซี่ยอมรับว่า เรื่องความลับทางธุรกิจนั้นมีแน่นอน
แต่ในส่วนของบริษัทที่ปรึกษา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก และหลาย
ๆ กรณีที่การเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ไม่ต้องการรายละเอียดถึงขั้นต้องได้ความลับทางธุรกิจมาช่วยในการทำงาน
ซึ่งขึ้นกับทางบริษัทผู้ว่าจ้างว่าจะเปิดเผยแค่ไหน
กล่าวกันว่า ข้อมูลที่จะมีการให้กับบริษัทที่ปรึกษาหรือไม่นั้น ขึ้นกับฝ่ายบริษัทผู้ว่าจ้างเอง
ว่าจะเปิดเผยหรือไม่ คุ้มหรือไม่กับการที่จะต้องมีการเปิดเผยตัวเลขหรือรายละเอียดต่าง
ๆ ให้กับสำนักงานกฎหมายที่ตนว่าจ้าง
ขณะที่รัฐ จำเดิมเผด็จศึก แห่งสำนักงานกฎหมายสนอง ตู้จินดา กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ว่าฝ่ายกฎหมายของบริษัทต่าง ๆ หรือธนาคารพาณิชย์ตลอดจนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นั้น
จะทำหน้าที่ในเรื่องเกี่ยวกับเอกสารภายในบริษัท หรือพวกสัญญาของธนาคารหรือบริษัทกับลูกค้ามากกว่า
ในขณะที่หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภายนอก ก็จะมีการว่าจ้างสำนักงานกฎหมายต่าง
ๆ มาเป็นที่ปรึกษา
ในส่วนของนักกฎหมายในบริษัทที่ปรึกษาต่าง ๆ นั้น มีเรื่องเล่ากันว่า บ่อยครั้ง
ที่พวกเขาตรวจสอบเอกสาร โดยถูกปิดแม้กระทั่งชื่อของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารการเงินของบริษัท
"เป็นเรื่องยากที่จะประเมินมูลค่าการว่าจ้างในแต่ละปี" รัฐ จำเดิมเผด็จศึก
แห่งสำนักงานกฎหมายสนอง ตู้จินดา ยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ในเรื่องของมูลค่าการว่าจ้าง
อันเนื่องมาจากการที่มูลค่าการว่าจ้างนั้น ไม่สามารถระบุตัวเลขแน่นอนได้
สำหรับรูปแบบของการว่าจ้างสำนักงานกฎหมายเป็นที่ปรึกษาทางการเงินนั้นมี
2 รูปแบบด้วยกันคือ รูปแบบแรก เป็นการว่าจ้างตามระยะเวลา โดยค่าจ้าง จะตกลงกันเป็นรายชั่วโมง
ว่าจะคิดชั่วโมงละเท่าไร
สุจินต์กล่าวถึงรูปแบบดังกล่าวว่า ขึ้นกับว่าสำนักงานจะเลือกใครเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยค่าจ้างนั้น
จะขึ้นกับประสบการณ์ของทนายความหรือ นักกฎหมายผู้นั้นด้วย กล่าวคือหากทนายความหรือนักกฎหมายเก่ง
ๆ ที่มีประสบการณ์ค่างจ้างต่อชั่วโมงก็จะสูงตาม แต่งานดังกล่าวก็จะเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาสั้น
ๆ
"อย่างทนายความเก่ง ๆ ค่าจ้างอาจจะชั่วโมงละร้อยเหรียญทำงาน 2-3 ชั่วโมงก็เสร็จแต่งานเดียวกัน
หากให้ทนายหนุ่ม ๆ ที่เพิ่งจบ อาจจะเสียค่าจ้างเพียงชั่วโมงละ 10 เหรียญ
แต่ใช้เวลาเป็นเดือน" สุจินต์กล่าวถึงการจ้างในรูปดังกล่าว
ส่วนรูปแบบของการว่าจ้างสำนักงานกฎหมายอีกรูปแบบนั้น ได้แก่ การว่าจ้างเป็น
PACKAGE ที่ขึ้นกับความยากง่ายของงานที่จะมีการตกลงกันและค่าบริการของการดำเนินงานนั้น
จะคิดเมื่อเสร็จสิ้นงานดังกล่าว เช่น ในกรณีที่มีการตกลงให้ศึกษาเรื่องการนำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
งานก็จะเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์บริษัท การศึกษารายละเอียดการนำบริษัทการหาบริษัทมาศึกษาเรื่องการเงินหรือ
UNDERWRITE และงานก็จะเสร็จสิ้นก็ต่อเมื่อมีการเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
นั่นเอง
จากการสำรวจของบริษัท บริการข้อมูลผู้จัดการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบคือที่ปรึกษากฎหมายที่มีการ
"นึกถึง" ในกรณีที่จะมีการใช้บริการ และสำนักงานที่ปรึกษาที่มีการใช้จริงในปัจจุบัน
ผลการสำรวจพบว่า บริษัทที่ได้รับการนึกถึงนั้น มักจะเป็นบริษัทใหญ่ ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี
แต่ในการว่าจ้างเป็นที่ปรึกษานั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่ดังกล่าว
นักกฎหมายมีชื่อคนหนึ่ง อธิบายความเห็นส่วนตัวกับ "ผู้จัดการ"
ว่าน่าจะมาจาก การที่บริษัทผู้ว่าจ้างอาจจะคิดว่า หากมีการว่าจ้างบริษัทใหญ่มากแล้ว
ค่าบริการจะสูงมากไม่คุ้มกับงานที่จะว่าจ้าง
สำหรับผลการสำรวจนั้นบริษัทที่ปรึกษาที่บรรดานักธุรกิจหรือบริษัทผู้ใช้บริการ
มีการ "นึกถึง" เป็นอันดับต้น ๆ นั้น เป็นบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
เช่น เบเกอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ อุกฤษ มงคลนาวิน ดร. สุวรรณ วลัยเสถียร เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น ในด้านที่ปรึกษาการเงิน มีการนึกถึงเบเกอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่เป็นอันดับหนึ่งคือ
15.3% รองมาเป็นสำนักงานอุกฤษ มงคลนาวิน 15.3% เท่ากัน และธรรมนิติ 14% ติลลิกีแอนด์
กิบบินส์ 12%
ในขณะที่การใช้บริการจริง บริษัทที่มีชื่อเป็นที่รู้จักดีเหล่านั้น ไม่ได้อยู่ในอันดับหนึ่งในการใช้บริการ
เช่น ในเรื่องเดียวกัน อันดับหนึ่งในการใช้บริการด้านการเงิน ได้แก่ ธรรมนิติ
ที่มีผู้ใช้บริการ 18.8% รองมาเป็นเบเกอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ 15.6% และที่ปรึกษากฎหมายสากล
15.6% (ดูตารางประกอบ)
สำหรับความแตกต่างระหว่างการนึกถึง (AWARENESS) กับการใช้บริการจริงนั้น
ในประเด็นของการนึกถึงนั้น หมายถึงยังไม่มีการใช้บริการอย่างแท้จริง (ต่อสำนักงานกฎหมายดังกล่าว)
แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ บริษัทที่ผู้ได้รับการสอบถามกล่าวถึงนั้น จะเป็นอันดับต้นของการเรียกใช้บริการ
ส่วนการใช้บริการนั้น หมายถึง เป็นสำนักงานกฎหมายที่มีการใช้บริการจริง
ๆ ของบริษัทต่าง ๆ ในปัจจุบัน และจากการสำรวจยังพบว่าผู้ใช้ยังไม่มีการแยกใช้บริการเฉพาะด้าน
ยกเว้นบริษัทใหม่ๆ ที่จะมีการแยกประเภทของการใช้บริการ
นักกฎหมายที่คนหนึ่ง ให้ความเห็นเสริมที่สอดคล้องกับการสำรวจด้วยว่า บริษัทใหญ่
ๆ นิยมที่จะใช้บริการเฉพาะด้านในโครงการใหญ่ ๆ ด้วย และเป็นลักษณะของการใช้บริการเป็นครั้งคราวด้วย
เชื่อกันว่า การใช้บริการในโครงการใหญ่ ๆ แต่ละครั้งนั้น จะได้รับความนิยมมากขึ้นด้วย
เช่นกรณีซีพี ใช้บริการสำนักงานเบเกอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ในเรื่องการทำสัญญากับรัฐบาล
ในเรื่องโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมายในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน
อนาคตของสำนักงานกฎหมายในฐานะที่ปรึกษา มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมจากตลาดเพิ่มขึ้น
ทำให้ธุรกิจเติบโตได้ดี
ทั้งนี้เนื่องมาจาก ธุรกิจนานาชาติจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาเปิดสัมปทานใหม่ ๆ ของภาครัฐให้กับเอกชนหรือแม้กระทั่งการที่มีกฎหมายเฉพาะด้านมากขึ้น
เจ้าหน้าที่กฎหมายในบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง เปิดใจกับ "ผู้จัดการ"
ว่า แม้บรรดาบริษัทหรือธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ต่างก็มีฝ่ายกฎหมายหรือนิติกรของตนเองก็ตาม
แต่จาการที่บริษัทหรือธุรกิจเหล่านั้น ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับธุรกิจ หรือเกี่ยวเนื่องกับภาครัฐ
ความจำเป็นที่จะต้องใช้บริการของสำนักงานกฎหมาย จึงมีมากขึ้นกว่าปัจจุบัน
เพราะความ ชำนาญเฉพาะด้านที่สำนักงานกฎหมาย ในฐานะบริษัทที่ปรึกษา มีมากกว่าฝ่ายกฎหมายของบริษัท
แม้กระทั่งนักกฎหมายที่ผ่านประสบการณ์มามากอย่าง สุจินต์ ชัยมังคลานนท์
ยังยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่าสำนักงานที่ปรึกษา จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพราะการเข้ามาของนักธุรกิจหน้าใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นนักธุรกิจต่างชาติ พวกเขายิ่งต้องการนักกฎหมายที่จะมาเป็นที่ปรึกษาของเขามากขึ้น
"งานสำหรับต่างชาติในฐานะที่ปรึกษา จะเริ่มตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัทเลยทีเดียว"
สุจินต์กล่าว
ขณะเดียวกัน รัฐ จำเดิมเผด็จศึก กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจด้วย
ว่าจะอยู่ในภาวะใด กล่าวคือ หากภาวะเศรษฐกิจดี ความต้องการใช้สำนักงานกฎหมายเป็นที่ปรึกษาก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทุกคนมองตรงกันก็คือสำนักงานที่ปรึกษาต่าง ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทนั้นจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรับภาระต่าง
ๆ นั้น เช่นการแยกแผนกเฉพาะด้าน เพื่อให้บริษัทผู้ที่จะมาใช้บริการมองเห็นถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่พวกเขาสามารถที่จะพึ่งพาได้ในเรื่องนั้น
ๆ
นักกฎมายชื่อดังหลายคน ชี้ถึงด้านต่าง ๆ ที่บรรดาสำนักงานกฎหมายที่จะแปรรูปเป็นที่ปรึกษานั้น
ได้แก่ เรื่องที่รัฐจะออกมาเป็นกฎหมาย เช่น กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา
กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายโทรคมนาคม กระทั่งกฎหมายเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ฯ
"เรื่องที่จะต้องใช้สำนักงานกฎหมายเป็นที่ปรึกษา (ด้านกฎหมาย) นั้น
ที่น่าจะมากที่สุด น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัญญาที่ต้องผูกพันกับรัฐ"
นักกฎหมายรุ่นเก่าคนหนึ่งกล่าว
เขาให้ความเห็นว่า โอกาสที่สำนักงานกฎหมายของไทย จะก้าวไปสู่ความเป็นสำนักงานที่ปรึกษาระดับ
INTERNATION นั้นมาถึงแล้ว ในยุคที่เศรษฐกิจของไทย กำลังจะถูกฟื้นฟูอีกครั้งหลังจากที่ตกต่ำอันเนื่องมาจากภาวะทางการเมืองที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ดังจะเห็นได้จากการเข้ามาสู่เส้นทางนี้ของนักกฎหมายที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีหลายคน
เช่น ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี - พลเอกชาติชาย
ชุณหะวัณ หรือพิเศษ เสตเสถียร แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ตาม แม้ประตูของเส้นทางที่ปรึกษากำลังเปิดกว้างเช่นนี้ แต่การจะเข้าไปแทรกในช่องว่างได้หรือไม่นั้น
เป็นเรื่องที่สำนักงานกฎหมายของไทยจะเป็นผู้ตอบคำถามด้วยตนเอง