กนร. อนุมัติ แผนฟื้นบางจากฯ (BCP) กำหนดปรับยุทธศาสตร์บริษัท
เร่งปรับโครงสร้างการเงิน หาแหล่งเงินกู้ใหม่ รีไฟแนนซ์หนี้เดิม เพื่อลดภาระดอกเบี้ย
มั่นใจหลังปรับโครงสร้างเสร็จ ลดสัดส่วนหนี้ต่อทุนเหลือ 2.2 เท่า จาก 4.36 เท่าปัจจุบัน
ภายใน 5-6 เดือนข้างหน้า รมว.พลังงานยันรัฐไม่ปล่อยให้บริษัทล้มแน่ เพราะจะทำให้ต้องรับภาระหนี้สินถึง
1.4 หมื่นล้านบาท จากสัดส่วนถือหุ้นที่คลังมีอยู่ 58% ด้านการปรับโครงสร้างธุรกิจและการจัดการ
ให้ บางจากฯ จับมือ ปตท. และโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ร่วมกันใช้ทรัพย์สินบางส่วน
ใช้กำลังผลิต ร่วมกัน ในการกลั่นน้ำมัน
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ
(กนร.) เพื่อแก้ปัญหาดำเนินงานบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) วานนี้ (2
มิ.ย.) ว่า กนร. ได้รับรายงานผลการศึกษา จากคณะทำงานปรับโครงสร้าง และแก้ปัญหาธุรกิจ
บริษัท บางจากฯ ที่นายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นประธาน
เสนอทางแก้ 3 แนว
คณะทำงานฯ ดังกล่าวเสนอแนว ทางว่า บริษัท บางจากฯ ต้องปรับยุทธ-ศาสตร์ใหม่ ประกอบด้วย
การปรับโครง สร้างการเงิน ปรับโครงสร้างธุรกิจ และปรับโครงสร้างการจัดการ
ส่วนการปรับโครงสร้างการเงิน จะจัดหาเครื่องมือการเงินใหม่ ปรับโครง สร้างทุน
โดยหาแหล่งเงินใหม่เพิ่มเติม ขณะนี้ มีสถาบันการเงินที่เสนอตัวพร้อม ช่วยเหลือแล้ว
2-3 แห่ง ซึ่งเป็นได้ที่อาจ ให้สถาบันการเงินร่วมถือหุ้น หรือร่วมมือ ทางการเงินรูปแบบอื่น
นอกจากนั้น จะเร่งรีไฟแนนซ์หนี้บางจากฯ ที่มีอยู่เดิม 2 หมื่นล้านบาท เพื่อลดภาระดอก
เบี้ยจ่าย ซึ่งเขาเชื่อว่า หากปรับโครงสร้างการเงินเรียบร้อยแล้ว จะทำให้บริษัทสามารถลดสัด
ส่วนหนี้สินต่อทุนได้ จากปัจจุบัน 4.36 เท่า เหลือ 2.2 เท่า ภายใน 5-6 เดือนข้างหน้า
กำไรก่อนหักค่าเสื่อมและดอกเบี้ยต่อสัดส่วนทุน จาก 1.24 เท่า เพิ่มเป็น 2.8 เท่า
และระยะเวลาชำระดอกเบี้ยต่อรายได้ จะลดลงจาก 12 ปี เหลือ 7.7 ปี
หากปล่อยล้มรัฐรับหนี้อ่วม
มีการพิจารณาแล้วว่า หากรัฐปล่อยให้บริษัทล้ม จะทำให้ต้องรับภาระหนี้สินที่มีอยู่ถึง
1.4 หมื่นล้านบาท จากสัดส่วนการถือหุ้นที่กระทรวงการคลังมีอยู่ 58% ซึ่งรัฐบาลไม่ต้อง
การใช้วิธีนี้ เพราะตอนนี้ เมื่อพิจารณาจากการ ประกอบการของบริษัทแล้ว มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะ EBITDA หรือกำไรก่อนหักค่าเสื่อมช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นบวกมาตลอด คาดว่าหลังจากนี้
ก็จะเป็นบวกต่อเนื่อง อีกทั้ง ผลประกอบการก็คาดว่าจะดีขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อแนวโน้มของบริษัทดี
ก็สามารถที่จะนำผลประกอบการที่มีอยู่ ไปค้ำเพื่อกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ น.พ.พรหมินทร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างการเงินบางจากฯ จะต้องไม่เพิ่มภาระการค้ำประกันให้
กระทรวงการคลัง ซึ่งขณะนี้ มีภาระค้ำประกันอยู่แล้ว 8.1 พันล้านบาท เนื่องจากไม่ต้อง
การรับภาระค้ำประกันเงินกู้ให้บางจากฯ เพิ่มเติม อีก เพราะเห็นว่ามีแนวทางเหมาะสมทางอื่นได้อีก
บางจาก-ปตท.-ไทยออยล์ร่วมใช้ทรัพย์สิน
สำหรับการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและการ จัดการ ให้บริษัท บางจาก ร่วมกับบริษัท
ปตท. จำกัด (มหาชน) และโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ โดยร่วมกันใช้ทรัพย์สินบางส่วน ใช้กำลังผลิตร่วมกัน
ในการกลั่นน้ำมัน
โดยทั้ง 3 บริษัทสามารถป้อนการผลิต และวัตถุดิบที่มีอยู่ ร่วมกันได้ เพื่อสร้างผลิต
ผลที่ดีให้ทุกฝ่าย โดยกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ จะประสานงานเรื่องดังกล่าว
มั่นใจว่าตามแนวทางนี้ เมื่อมีการปรับยุทธ-ศาสตร์ทั้งหมดได้แล้ว จะสามารถทำให้บางจากฯ
อยู่ต่อไปได้ อีกทั้งในอนาคต ยังเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้น เพราะเชื่อมั่นว่า เมื่อแนวโน้มธุรกิจดี
ราคาหุ้นก็จะปรับตัวขึ้นมาเอง
"ซึ่งแนวทางทั้งหมดนี้ คณะกรรมการ กนร. ได้ให้กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้อง กลับไปศึกษาภายใน 2 สัปดาห์จากนี้ หลัง จากนั้น เมื่อเสร็จเรียบร้อย ก็จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป"
รัฐมนตรีพลังงานกล่าว
ทางด้านนายณรงค์ บุญยสงวน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจากฯ กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทมีภาระดอกเบี้ยจ่ายสูงมากถึง
1.2-1.3 พันล้านบาทต่อปี เพราะฉะนั้น หากรัฐบาลช่วย เหลือปรับโครงสร้างหนี้ จะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายบริษัทลดลงได้
ล่าสุดเดือนนี้ บริษัทยังมีหนี้ที่ครบกำหนดชำระ 3.6 พันล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้จากสถาบันการเงินในประเทศ
แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาลกล่าวว่า การปรับโครงสร้างธุรกิจบางจากฯ บริษัทต้องแยกธุรกิจการตลาดจากโรงกลั่นน้ำมัน
และแนวโน้ม ทำธุรกิจจากนี้ไป ต้องร่วมมือกับ ปตท. และไทยออยล์ อย่างใกล้ชิด ส่วนเรื่องเงินทุน
ยืน ยันว่าจะไม่มีการใส่เงินเพิ่ม แต่เป็นไปได้ ที่จะมี แผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มเติมแทน