ในยุคอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ บรรดาแฮกเกอร์ (Hackers)
ในสายตาของคนบางกลุ่มแล้ว พวกเขาถูกเปรียบเสมือนเป็นผู้ก่อการร้ายในไซเบอร์เลยทีเดียว
ที่ฮือฮากันอย่างมากก็คือ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่เว็บไซต์
ดังๆ ของโลกถูกแฮกเกอร์เข้าไปเจาะข้อมูลกันให้ขวั่กไปหมด ไม่ว่าจะเป็น CNN,
Yahoo, Amazon.com, Buy.com, ETrade หรือว่า eBay เรียกได้ว่า เจาะกันชนิดเป็นมหกรรมทีเดียว
เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ขนาด ประธานาธิบดีบิล คลินตันของสหรัฐฯ ต้องเรียกประชุมด่วน
เพื่อรับมือกับแฮกเกอร์เหล่านี้ ซึ่งนอกจากจะมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ และผู้บริหารระดับสูง
จากเว็บไซต์ต่างๆ แล้ว ทางการสหรัฐฯ ยังได้เชิญ "แฮกเกอร์ลึกลับ" ที่รู้จักกัน
ในนาม "Mudge" เข้าร่วมประชุมหารือด้วย
ขณะเดียวกันก็ได้มีการตั้งเงินรางวัลให้กับผู้ที่ให้เบาะแสจนนำไปสู่การจับกุมแฮกเกอร์
ที่อาละวาดครั้งนี้ ด้วยจำนวนเงิน ที่สูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
การกระทำของแฮกเกอร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับการวิจารณ์จากเควิน มิตนิก
(Kevin Mitnick) อดีตแฮกเกอร์เรืองนาม ซึ่งเพิ่งได้รับอิสรภาพมา เมื่อเดือนมกราคม
ที่ผ่านมาว่า ไม่ได้เป็นการกระทำ ที่ "เท่" หรือน่าประทับใจ แต่อย่างใด โดยมิตนิกยังได้กล่าวเปรียบเทียบด้วยว่า
การกระทำดังกล่าวไม่ ต่างไปจากการเอาน้ำยาลอกสีรถไปโยนใส่รถ ที่แล่นไปมาด้วยความคึกคะนอง
ซึ่งรังแต่จะทำให้คนกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาโกรธแค้นเท่านั้น เขาเองได้รับบทเรียน
ที่เจ็บปวด และหลีกเลี่ยง ที่จะเข้าไปยุ่งกับมันอีก โดยเฉพาะกับระบบความยุติธรรม
ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา ซึ่งลำเอียงเข้าข้างโจทก์อ ย่างที่สุด
เควิน มิตนิก วัย 36 ปี ผู้นี้ได้ชื่อว่าเป็นแฮกเกอร์หมายเลขหนึ่งของ สหรัฐฯ
และเคยได้ฉายาทางบวกว่าเป็น "ซูเปอร์แฮกเกอร์" ขณะที่บางคนก็เรียกเขาว่าเป็น
"แฮกเกอร์จากนรก" (Hacker from Hell) มิตนิกได้รับการ ปล่อยตัวจากเรือนจำ
Lompoc ของรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อกลางเดือนมกราคม หลังจาก ที่ถูกจับ และถูกควบคุมตัวอยู่นานถึง
59 เดือน ในคดี ที่เขาถูกกล่าว หาว่าเข้าไปเจาะเอาข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทเทคโนโลยี
ใหญ่ๆ หลายแห่งโดยไม่ได้รับอนุญาต อาทิ Sun Micro-systems, Motorola และ
Qualcomm สร้างความเสียหายให้กับบริษัทเหล่านี้หลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ
เรื่องราวของมิตนิกกลายเป ็นข่าวอยู่ไม่หยุดหย่อน ถึงขนาดเคยขึ้นหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก
ไทมส์ หนังสือพิมพ์รายวันชั้นนำของสหรัฐฯ พร้อมกับระบุว่าเขาเป็นแฮกเกอร์
ที่ทางการสหรัฐฯ ต้องการตัวมากที่สุด จน เกิดการร่วมมือกันล่าตัวมิตนิกจากหลายฝ่ายชนิดพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินทั่วสหรัฐฯ
นานถึง 3 ปี ซึ่งท้ายที่สุดมิตนิกก็หนีเงื้อมมือกฎหมายไปไม่พ้น โดยถูกจับ
ที่นอร์ธแคโรไลนา
ชีวิตของเควิน มิตนิกกลายเป็นตำนานแห่งยุคไซเบอร์ มีผู้นำเรื่องของเขามาเขียนเป็นหนังสือขายดีหลายเล่มด้วยกัน
อย่างเช่น The Fugitive Game โดย Jonathan Littman อดีตนักข่าวผู้กลายเป็นนักเขียนเรื่องเกี่ยวกับแฮกเกอร์
หรือ Takedown : The Pursuit and Capture of America"s Most Wanted Computer
Outlaw ที่ Tsutomu Shimonura นักฟิสิกส์หนึ่งในมือ ล่ามิตนิกเขียนร่วมกับ
John Markoff
มิตนิกกล่าวหลังได้รับอิสรภาพว่าชีวิตของเขาถูกทำลายโดยสื่อมาตลอดตั้งแต่อายุ
17 ปี แต่เขาก็ยอมรับว่า สิ่งที่เขาทำลงไปนั้น ไม่ถูกต้อง และผิดกฎหมาย แต่
ที่เขาทำไปก็ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ไม่มีเจตนาบ่อน ทำลายความศิวิไลซ์ของสังคมโลกอย่างที่ถูกกล่าวหา
โดยเฉพาะมิตนิก พุ่งเป้าไป ที่ ข้อเขียนของ John Markoff ที่เขียนให้กับนิวยอร์ก
ไทมส์เมื่อเดือน กรกฎาคม 2537 และในหนังสือ Cyberpunk ว่าล้วนเป็นเท็จ และ
ที่สำคัญเขาไม่ เคยพบกับ Markoff เลย แต่ข้อเขียน ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเหล่านั้น
ของ Markoff ได้ทำลายชีวิตของเขา ในขณะที่ Markoff ได้เงินจากการเขียนเรื่อง
และหนังสือเกี่ยวกับเขาเป็นเงินนับล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมิตนิกบอกว่าตัวเขา
เองนั้น ได้จ่ายให้กับความผิด ที่กระทำไปแล้วถึงเกือบ 5 ปีในเรือนจำ ถึงคราว
ที่ Markoff จะต้องจ่ายคืนบ้าง
แต่ Markoff ก็ยังยืนยันเนื้อหาต่างๆ ที่เขาเขียนเกี่ยวกับมิตนิก!
หลังอิสรภาพไม่นาน... มิตนิกได้ให้สัมภาษณ์ยืนยันกับ Ed Br adley แห่งรายการซิกตี้
มินิตส์ (60 Minutes) ของ CBS ว่า เขาไม่ได้เป็นขโมย เพราะการที่เขาเข้าไปยังเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทต่างๆ
เขาทำเป็น งานอดิเรกด้วยความสนุกเป็นหลัก ไม่ใช่แสวงหาประโยชน์โภช น์ผลจากการ
นั้น ทั้งๆ ที่เขาสามารถ กลายเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีได้จากบรรดาข้อมูลที่เขา
เจาะมาได้ แต่เขาก็ไม่ทำ!...พร้อมกับบอกว่า ตัวเขานั้น เปรียบเหมือนกับเจมส์
บอนด์ผู้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
เควิน มิตนิกเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2506 พื้นฐานครอบครัวเป็นชนชั้นกลางระดับล่าง
ที่พ่อแม่หย่าร้างกัน สภาพแวดล้อมทำให้เขากลายเป็นคนโดดเดี่ยว มิตนิกค้นพบสิ่งที่ดึงดูดใจ
ซึ่งกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเข า อย่างยิ่ง นั่นคือ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
และโมเดมเจาะทะลวง เข้า ไปยังเครือข่ายโทรศัพท์ และไม่ได้มีมิตนิกคนเดียว
ที่ "สนุก" กับการกระ ทำในลักษณ์นี้ ในที่สุดเขาก็ได้ร่วมกับแก๊งวัยรุ่นที่นิยมกิจกรรมประเภทเดียวกันย่านชานเมืองลอสแองเจลิส
ต่อมาแก๊งนี้เหิมเกริมถึงขั้นบุกเข้า ไปยังบริษัทโทรศัพท์แห่งหนึ่งในลอสแองเจลิส
อันนำไปสู่การถูกจับกุมในเวลาต่อ มาตอนนั้น มิตนิกอายุ 17 ปี เขาถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานพินิจฯ
3 เดือน และถูกคุมประพฤติอีก 1 ปี
จากจุดนั้น เอง ที่เรื่องราวของมิตนิกเริ่มเป็นที่กล่าวขานถึง และเมื่อหลายครั้งเข้า
เรื่องก็ได้รับการเติมด้วยสีสัน ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ซึ่งมิตนิกบอกว่า เมื่ออ่านแล้วเหมือนไม่ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับตัวของเขาเอง
และเขาก็ไม่เคยให้ สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นฉบับใดทั้งสิ้น หลังจากนั้น
มิตนิกถูกจับอีกหลายครั้งในคดี ที่เกี่ยวกับการเจ าะข้อมูล ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
และท้ายที่สุดเมื่อปี 2535 มิตนิกก็หายตัวไปเมื่อ ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอีกในระหว่าง
ที่ถูกคุมประพฤติ และหลังจากหนีหัวซุกหัวซุนอยู่นานเกือบ 3 ปี มิตนิกก็สิ้นอิสรภาพ!
อย่างไรก็ตาม ระหว่าง ที่มิตนิกถูกกักตัวอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ ประกันตัวนั้น
ได้มีการรณรงค์ต่อสู้ เพื่ออิสรภาพของเขาภายใต้คำขวัญ ที่ว่า Free Mitnick
ซึ่งก็มีผู้ที่ร่วมเห็นอกเห็นใจเขาไม่น้อย โดยเฉพาะเห็นว่ามิตนิกได้รับโทษเกินกว่าความผิด
ที่เขาได้กระทำลงไป และเมื่อเขาได้อิสรภาพแล้ว ก็มีผู้ที่ ส่งข้อความ และของขวัญไปให้กำลังใจแก่มิตนิกมากมายจากทั่วโลก
เพื่อให้เขา มีพลังในการสู้กับชีวิตต่อ ไปในเบื้องหน้าอนาคต ซึ่งมิตนิกเองก็ได้ขอกำลังใจส่วนหนึ่งแบ่งปันให้กับพ่อของเขา
ซึ่งกำลังป่วยหนัก
แม้มิตนิกจะพ้นจากการควบคุมตัวในเรือนจำ แต่เขายังต้องถูกคุมประพฤติต่อไปอีก
3 ปี โดยระหว่างนี้ เขาจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์, โมเดม,
ซอฟต์แวร์, โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะทำให้ เขาสามารถเข้าไปยังระบบอินเตอร์เน็ตได้
และนี่เอง ที่ทำให้เขามีอารมณ์ขัน บอกกับผู้ที่อยากติดต่อกับเขาว่า...
เวลานี้หนทางเดียว ที่เขาจะติดต่อกับคนอื่นๆ ได้ก็เห็นจะมีแต่ต้องส่ง "สัญญาณควัน"
เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม มิตนิก ซึ่งเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเองมาตลอด
ก็สนใจ ที่จะศึกษาหาความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ในระดับมหาวิทยาลัย โดยทนายของเขาบอกว่า
จะขออนุญาตเจ้าหน้าที่คุมประพฤติขอให้มิตนิกได้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา
เรื่องราวของมิตนิกยังคงเป็นตำนาน ที่เล่าขานกันไม่จบ แต่สิ่งหนึ่ง ที่มั่นใจได้ในยุคอินเตอร์เน็ตนี้ก็คือ
มิตนิกไม่ใช่แฮกเกอร์คน แรก และแน่นอน...เขาก็ไม่ใช่แฮกเกอร์คนสุดท้าย