เจริญควัก300ล.ซื้อที่ริมพระราม3จากบบส.


ผู้จัดการรายวัน(27 พฤษภาคม 2546)



กลับสู่หน้าหลัก

เจ้าสัวน้ำเมา เจริญ สิริวัฒนภักดี ดอดซื้อที่ 9 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านพระราม 3 จากบรรษัทบริหารสิน ทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ราคา ตร.ว. ละ 1 แสนบาท ด้าน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บบส. เผยเป้าการขายทั้งปีนี้ 3,800 ล้าน บาท คาดว่าครึ่งปีแรก จะมียอดขายรวม 2,800 ล้านบาท ขณะ ที่ปัจจุบัน ฟันยอดขายแล้ว 1,941 ล้านบาท พร้อมตั้งกิจการร่วมค้า-ร่วมทำ บบส. เร่งระบายสินทรัพย์ ช่วยผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายกลาง-ย่อยฟื้นทำธุรกิจใหม่ได้

นายฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบรรษัทบริหารสิน ทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เปิดเผย ว่าเป้าหมายการจำหน่ายทรัพย์สิน ซึ่ง เป็นอสังหาริมทรัพย์ เกือบทุกประเภท ที่ บบส. ตั้งเป้าหมายทั้งปีนี้ 3,800 บาท คาดว่าครึ่งปีแรก จะมียอดขาย 1,430 ล้านบาท

เจ้าสัวเจริญดอดซื้อที่พระราม 3

ปรากฏว่าตั้งแต่ 1 ม.ค.-15 พ.ค. บบส. มียอดขายทรัพย์สินแล้วทั้งสิ้น 1,941 ล้านบาท จำนวนนี้ รวมการขาย ที่ดินแปลง 9 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระจา ย่านถนนพระราม 3 ให้กลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ของ กลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าสัวน้ำเมา ราคาตร.ว.ละ 1 แสนบาท มูลค่ารวม 360 ล้านบาท ที่ดินย่านพระราม 2 จำนวน 600 ไร่ มูลค่า 380 ล้านบาท และที่ดินจังหวัดนครปฐม 120 ไร่ มูลค่าราว 80-90 ล้านบาท รวม อยู่ด้วย คาดว่าภายในครึ่งปีแรก จะมียอดขายทั้งสิ้น 2,800 ล้านบาท ดังนั้น ยอดขายทั้งปีนี้ จึงน่าจะเกินเป้าหมายที่ประมาณการไว้อย่างแน่นอน

"ปีที่แล้ว บบส. คาดว่าจะมียอด ขาย 2,400 ล้านบาท แต่ก็ทำยอดขาย ได้ถึง 2,600 ล้านบาท ซึ่งการขายทรัพย์ของ บบส. ตั้งแต่ปีที่แล้วจน ถึงขณะนี้ สามารถกล่าวได้ว่า มียอดขายสูงเป็นอันดับ 1 ในบรรดาเอเอ็มซี ด้วยกัน โดย บบส. เองไม่ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ซื้อแต่อย่างใด ทั้งนี้ เชื่อ ว่าคุณภาพของทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการขาย"

ตั้งโครงการร่วมทำ-ร่วมค้า บบส.

สินทรัพย์พอร์ตที่รับโอนมา 70% เป็นอสังหาริมทรัพย์ จำนวนดังกล่าว กว่า 70% เป็นที่ดินเปล่า ดังนั้น บบส. จึงริเริ่มโครงการร่วมทำ/ร่วมค้า เพื่อการพัฒนาและจำหน่ายทรัพย์สิน บบส. (Consortium) ซึ่งเป็นอีกแนว ทางหนึ่งที่จะช่วยเร่งระบายทรัพย์สินสู่ตลาดได้เร็วขึ้น

นโยบาย Consortium ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อย โดยเฉพาะด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้ลุกขึ้นใหม่ เพราะไม่ต้องใช้เงินลงทุนค่าที่ดิน ส่วนผลตอบแทนราคาที่ดิน ไม่ได้แบ่งจากผลกำไรหรือขาด ทุน ขณะที่ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าธรรมเนียมการโอน ที่สำคัญไม่ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องจัดหา คือแหล่งเงินทุน ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด และมี หน้าที่ชำระค่าที่ดิน ตามงวดที่ตกลงกันไว้ ตามกำหนดเวลา

ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่สนใจจะเข้า ร่วมโครงการ 55 ราย โดยเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการ และจทำประมาณการจัดสรรเงินสดหมุนเวียนแล้ว จากจำนวนที่มีผู้สอบถามข้อมูลเบื้องต้น 166 ราย

2 รายพร้อมร่วม

ล่าสุด ความคืบหน้าการเจรจากับกลุ่มเป้าหมาย บอร์ด บบส. อนุมัติเรื่องแล้ว 2 ราย กำลังอยู่ระหว่างรอลงนามสัญญา ได้แก่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะพัฒนาที่ดินรวม 209 ไร่ โครงการแนชเชอรัล พาร์ค ย่านรามอินทรา กม.8 เป็นบ้านเดี่ยว 560 ยูนิต มูลค่าขายโครงการประมาณ 900 ล้านบาท และบริษัท โอมสตรีท หรือบริษัท บ้านอบอุ่น ของกลุ่มสิราคาร ซึ่งจะพัฒนาโครงการบนที่ดิน 10 ไร่ย่าน บางใหญ่ จ.นนทบุรี ประกอบด้วย บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ 47 และ 11 ยูนิตตามลำดับ รวมมูลค่า 135 ล้านบาท

สำหรับโครงการที่ศึกษาความเป็นไปได้ และอยู่ ระหว่างเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ข้อยุติ และเสนอบอร์ด บสท. เพื่อขออนุมัติภายในเดือนนี้ คือบริษัท เปรมสิตา ซึ่งจะพัฒนาบ้านเดี่ยว 35 ยูนิต บนเนื้อที่ 74 ไร่ ย่านสวนหลวง ร.9 กทม. นอกจากนี้ บริษัท ภัทรนิเวศน์ และบริษัท เจริญลาภพัฒนา เป็นผู้ประกอบการที่ได้คัดเลือกทรัพย์แล้ว อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และเจรจาในราย ละเอียด ทั้งนี้มูลค่ารวมของโครงการที่ผ่านการพิจารณาขั้นต้นทั้ง 5 โครงการดังกล่าว จะประมาณ 1,805 ล้านบาท และมีผลตอบแทนรวม 720 ล้านบาท

คาดว่าในอีก 1 เดือนข้างหน้า การพิจารณาเรื่อง Consortium จะเร็วกว่าเดิมมาก เพราะ บบส. มอง ว่า ยิ่งช้า โอกาสทางการตลาดก็จะยิ่งน้อยลงไปด้วย ส่วนเหตุที่ต้องใช้เวลานาน เพราะต้องรอผลการศึกษา ของทั้ง 2 ฝ่าย การตรวจสอบคุณสมบัติต้องเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิด NPL รอบ 2 สำหรับที่ดินที่เสนอให้ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ทำโครงการบ้านเอื้ออาทร มีจำนวน 10 แปลง แต่ที่พอจะเจรจาในเรื่องราคาได้มี 4-5 แปลงเท่านั้น อาทิ แปลงเทพารักษ์ สมุทรสาคร เนื่องจากต้นทุนราคาที่ดินที่ กคช. ต้องการที่ไร่ละไม่เกิน 1 ล้านบาทเท่านั้น

นายฉัตรณรงค์กล่าวอีกว่า ที่ดินของ บบส. ตั้งอยู่ในทำเล กทม. และปริมณฑล 45% ที่เหลือ 55% อยู่ต่างจังหวัด ส่วนที่ดินที่จะนำเข้าโครงการ Consortium น่าจะเสนอขายราคาต่ำกว่าท้องตลาด ได้ประมาณ 15% สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจโครงการนี้ ได้แก่ กลุ่ม เอ็น.ซี เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด กลุ่ม เค.ซี

ใช้เวลา 7 ปีขายสินทรัพย์ บบส. หมด

ปัจจุบันทรัพย์สินรอการขาย (NPA) บบส. ที่รับโอนมาแล้ว ทั้งหมด 36,977 ล้านบาท จำนวนดังกล่าว จำหน่ายได้แล้ว 9,827 ล้านบาท คงเหลือ 27,149 ล้านบาท ซึ่งโดยเฉลี่ย การขายทรัพย์ในเขตศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) กรุงเทพมหานคร จะใช้เวลา 1 ปีครึ่ง หากเป็นทรัพย์สินที่คุณภาพด้อยลงมา จะใช้เวลา 2-3 ปี ทั้งนี้ผู้บริหาร บบส. กล่าวว่า ถ้าเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตได้ปีละ 8% บบส. จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 7 ปี ขายทรัพย์สิน

สำหรับยอดขายในงาน "มหกรรมบ้านและคอนเสิร์ต 50 ปี ธอส." ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม ทั้งสิ้น 57.66 ล้านบาท ประกอบด้วย ที่ดินจัดสรรโครงการในเมืองเอก 6 รังสิต 17 แปลง และที่ดินจัดสรรหมู่บ้านสินธรรังสิต 1 แปลง



กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.