Full Service Broadband New vision in the 2nd century

โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
นิตยสารผู้จัดการ( มกราคม 2551)



กลับสู่หน้าหลัก

ในการแถลงข่าวเกี่ยวกับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 อีริคสัน (ประเทศไทย) ถือโอกาสประกาศ vision ใหม่ล่าสุด ที่คาดว่าจะเป็นเรือธงสำหรับอนาคตธุรกิจของอีริคสันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ของการทำธุรกิจที่นี่

Vision ดังกล่าว อีริคสันได้บัญญัติไว้เป็นวลีเฉพาะของตนเอง ว่า "full service broadband" ซึ่งโดยคอนเซ็ปต์ภาพรวมแล้วอาจไม่แตกต่างจากสิ่งที่ผู้ประกอบการสื่อสารโทรคมนาคมหลายรายเคย กล่าวไว้หลายครั้งก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเรื่องของการหลอมรวมเทคโนโลยี (convergence)

แต่ full service broadband ของอีริคสัน ได้ลงลึกในเนื้อหา ให้เห็นเป็นรูปธรรมมากกว่า

สุดเขต สุจิพิธรรม รองประธานฝ่ายการตลาดลูกค้าหลักเป็นผู้บรรยายถึงรายละเอียดของ vision ดังกล่าวด้วยตัวเอง

เนื้อหาต่อจากนี้คือคำบรรยายโดยละเอียดของสุดเขตในวันนั้น

"vision ของเรา คือเราต้องการเห็นบริการมัลติมีเดียไปขึ้นที่ไหนก็แล้วแต่ แต่เป็นบริการเดียวกัน

ที่ผ่านมาเราเล่นบรอดแบนด์ แต่เป็น fix ใช่ไหม คือ ADSL ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เราดูหนังได้ เราสามารถซื้อหนังได้ เราสามารถดู broadcast ได้ แต่มันติดอยู่กับที่ เราเดินไป หรือเราไปทำงานอยู่ใน park หรือไปที่ไหนก็แล้วแต่ ที่ไม่ใช่ออฟฟิศ หรือที่บ้าน เราไม่สามารถใช้บริการได้ มันถูกจำกัดใช่ไหม ข้อจำกัดนั้น เพราะว่า อะไร เพราะว่าการสร้างโครงข่าย มันไม่สามารถไปทุกที่ที่เราอยากจะไปได้ เราไม่สามารถจะไปต่อสายแจ๊คที่ไหนก็ได้ อันนั้นคือความจำกัดของมัน

เพราะฉะนั้นเราจึงเชื่อว่าด้วยความจำกัดอันนี้ full service broadband จะเป็นตัวแก้ปัญหา ก็เป็น vision ซึ่งทางอีริคสันสร้าง หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ให้มา serve full service broadband ตัวนี้

คอนเซ็ปต์ของอีริคสันง่ายๆ คือทำอย่างไรให้บริการต่างๆ อย่างวิดีโอโฟน ซึ่งปกติมันก็ต้องไปอยู่ที่วิดีโอโฟน คราวนี้ถ้าเกิดเรานั่งดูทีวีอยู่ที่บ้านล่ะ เราก็อยากให้วิดีโอที่คนโทรวิดีโอโฟนเข้ามาหาเราแล้วให้ภาพไปปรากฏอยู่บนจอทีวีที่เราดูอยู่ได้ทันที

นั่นคือสิ่งที่เราฝันเมื่อนานมาแล้ว แต่ตอนนี้เราสามารถทำได้แล้ว แต่สมัยก่อนนั่นคือ vision ของเราเลย หรือว่าเราดูข่าวอยู่ที่บ้าน ยังติดข่าวอยู่เลย แต่จำเป็นต้องออกจากบ้าน ถ้าเราอยากดูข่าวต่อ เราสามารถดูที่โทรศัพท์มือถือได้ไหม

นี่คือฝันที่เราเคยคิดมาในอดีต ความฝันเหล่านี้มันทำให้วิศวกรของอีริคสันนั่งคิด คิดแล้ว คิดอีก ผลักดัน standard ออกมา ปัจจุบันทำได้ เราเรียกว่า share concept

อันนี้คือเทคโนโลยีที่ปัจจุบันมันคือสิ่งที่เราเคยฝันมาในอดีต ที่นี้ที่เราอยากทำอย่างนี้เพื่ออะไร เพื่อคนก็จะได้มี freedom เราไม่ต้องยึดติด

เหมือนความฝันที่ในสมัยก่อน ที่เราอยากจะพูดโทรศัพท์ที่ไหนก็ได้ ซึ่งมันไม่เคยทำได้ เพราะต้องพูดที่บ้าน หรือไม่ก็ไปที่โทรศัพท์สาธารณะ อีริคสันก็คิดระบบขึ้นมาเหมือนกัน คือ NMT ทำอย่างไรให้โทรศัพท์สามารถโทรจากตรงไหนก็ได้ ก็เลยเกิดเป็นโทรศัพท์ มือถือขึ้นมา ซึ่งเกิดขึ้นที่สวีเดนเช่นกัน

มันคือความฝันลมๆ แล้งๆ ของคนที่คิดว่ามันน่าจะดี ถ้าเรา เปิดให้มี freedom ให้เขา ให้กับผู้ใช้บริการ เราก็เชื่อว่า เมื่อมี freedom แล้ว คนนี่ไม่เคยพอในเรื่องของ speed นั่นคืออีกความเชื่อหนึ่งของเรา เพราะฉะนั้นเราก็เชื่อว่าบรอดแบนด์มันต้องโต

เพราะคนนี่ อย่างเราให้ 1 เมก พอเรามีประสบการณ์ 1 เมก เราก็รู้สึกว่าไม่พอแล้ว มันช้าไป พอเป็น 2 เมก ก็ไม่พอ

ทุกวันนี้ผมของถามหน่อยว่า speed เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเคยพอไหม ไม่เคยพอ ไม่ว่าจะเป็นแพนเทียม 4 แพนเทียม 5 อะไรออกมาก็แล้วแต่ มันไม่เคยเร็วเท่าใจที่เราอยากจะให้มันเร็ว ถูกไหม

เพราะฉะนั้นคนจะ consume broadband นี่ เขาจะต้องอยากมากขึ้น อยากมากขึ้น นั่นคือความเชื่อของเรา แล้วเราก็ทำตาม ในแง่ของการสร้างเทคโนโลยี เพื่อที่จะมา serve ตรงนั้น

เพราะฉะนั้น theme ในเรื่อง full service broadband ก็คือว่าคุณไปที่ไหน content ของผมจะตามไปด้วยหมด ซึ่งมันทำได้ ไม่ใช่เรื่องฝันแล้ว ปัจจุบันเกิดขึ้นได้แน่ ซึ่งผมจะโชว์ให้ดูว่ามีอะไรบ้าง

มันมีปัจจัยอยู่ 3 เรื่องที่เราพูดถึง

เรื่องแรกก็คือ any service ต้องทุกบริการ สิ่งที่เราอยากจะให้มันไป ต้องไปทุกบริการ อะไรก็แล้วแต่ที่มันเคยอยู่ที่ไหน ใน device ไหน เราต้อง merge มันเข้ามา แล้วให้มันไปอยู่ที่ไหนก็ได้ เช่น ทีวีมันเคยอยู่ในเครื่องทีวี มันจะต้องไปอยู่ในโทรศัพท์มือถือให้ได้ แล้วมันจะต้องไปอยู่ในแล็ปทอปได้ด้วย หรือโทรศัพท์เคยอยู่ที่เครื่องโทรศัพท์ มันต้องไปพูดที่ทีวี ที่เครื่องแล็ปท้อปได้ด้วย เพราะฉะนั้นทุกบริการที่มันเคยอยู่ในที่ที่มันเคยอยู่ มันต้องสามารถอยู่ที่ไหนก็ได้ นั่นคือ vision ข้อที่ 1 ที่เราตั้งเอาไว้

vision ข้อที่ 2 คือ any device มันจะเกิด device ใหม่อะไรขึ้นมาในอนาคต จะเป็น iPhone จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ต้องมั่นใจ ได้ว่า device ตัวนั้นเมื่อมาเสียบเข้ากับ network ของเรามันต้องสามารถส่งข้อมูลที่เราบอกว่า any service ที่ผ่านมาเมื่อสักครู่นี้ได้ ไปโชว์ให้ได้ด้วย เพราะเวลาเราผลักดัน คือเราผลักดัน standardization โครงสร้าง device เขาก็จะเอา standardization ของเราไปต่อยอด ไปสร้าง terminal ของเขา หรือสร้างอะไรก็แล้วแต่ นั่นคือ vision ของเรา ซึ่งปัจจุบันนี้ทำได้แล้ว

เรื่องที่ 3 any where ซึ่งผมได้เล่าให้ฟังเมื่อสักครู่นี้ แต่ก่อนเราไม่เคย serve อินเทอร์เน็ตที่สวนสาธารณะได้ เราไม่เคย serve อินเทอร์เน็ตที่ร้านอาหารได้ ถูกไหม เราอยากให้มันไปได้ทุกที่ ไม่มีข้อจำกัด แล้วมันจะไปได้ด้วยอะไร สายมันไม่สามารถลอยไปกลางอากาศได้ ทางเดียวก็คือไปทางอากาศ มันก็เลยเกิดเทคโนโลยี่ที่เรียกว่า 3G 4G ขึ้นมา

3 องค์ประกอบนี้มันผลักดันให้เกิด full service broadband network

full service broadband นี่ ถ้าเรานับปัจจุบัน เรามีคน 250 ล้านคน ที่ใช้บรอดแบนด์ที่เป็น fix แต่ยังไม่ full mobilize คือยังไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่เริ่มขยับได้บ้าง แต่ยังไม่ได้ทุกที่ เราเชื่อว่าภายในอีก 5 ปี จำนวนคนที่ว่านี้ จะเพิ่มขึ้นอีก 6 เท่าตัว

ทำไมเราถึงเชื่อแบบนั้น เพราะว่าปัจจุบันถ้าเรานับจำนวนwideband network ที่โตขึ้นในโลกนี้ มันโตขึ้นแบบ exponential ไม่ว่าจะเป็น 3G หรือ HSPA มันโตมากกว่าที่เราคิด

แม้กระทั่งตัว device เอง ปัจจุบันนี้ เชื่อไหมว่ามีกล้องชนิดหนึ่ง ล่าสุดที่สามารถถ่ายรูปแล้วส่งไฟล์ได้เลย มี HSPA unit อยู่ในนั้นด้วย ซึ่งถ้าตัวนี้ออกมาเมื่อไร ผมเชื่อว่านักข่าวอยากได้ แล้วเมื่อไรที่เรามีบริการที่สามารถ link chipset ตัวนี้เข้าได้เลย ส่งได้เลย เราก็อยากทำ ถูกไหม ผมถ่ายรูป แล้วเลือกรูป ส่งไปได้เลย ผมอยากทำ

เพราะฉะนั้นเหล่านี้นี่มันจะมี device ต่างๆ กัน ก็เอา standardize ไปต่อยอด

เราเชื่อว่ามันต้องโต แล้วก็บรอดแบนด์คือรากฐานของ mass market multimedia service คือสิ่งที่เราคาดฝันเอาไว้ เพราะของเหล่านี้มันคือความฝันมาก่อน เสร็จแล้วเราก็มาสร้างให้มันเป็นความจริง แล้วเราเชื่อว่ามันจะเป็น mass"

สุดเขตได้กล่าวย้ำว่าปัจจุบัน operator ทุกแห่งต่างก็มองถึง vision นี้ ในเป้าหมายเดียวกันและเชื่อว่าทุกแห่งได้วางแผนการลงทุน เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการสื่อสารโทรคมนาคมดังกล่าวเอาไว้แล้ว

เพียงแต่รอให้มีการวางโครงสร้างพื้นฐานที่จะสามารถรองรับกับพัฒนาการของเทคโนโลยีเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อใดก็พร้อมที่จะลงทุน ได้ทันที

ก่อนจบการบรรยาย เขาได้ฉายสไลด์ที่สรุปแนวคิดรวบยอดของ vision นี้ด้วยคำพูดประโยคหนึ่งที่บอกว่า

"As the summary, full service broadband is freedom of broadband service to reach any device, anytime, anywhere."



Full Service Broadband
New vision in the 2nd century ในการแถลงข่าวเกี่ยวกับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 อีริคสัน (ประเทศไทย) ถือโอกาสประกาศ vision ใหม่ล่าสุด ที่คาดว่าจะเป็นเรือธงสำหรับอนาคตธุรกิจของอีริคสัน ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ของการทำธุรกิจที่นี่

Vision ดังกล่าว อีริคสันได้บัญญัติไว้เป็นวลีเฉพาะของตนเอง ว่า "full service broadband" ซึ่งโดยคอนเซ็ปต์ภาพรวมแล้วอาจไม่แตกต่างจากสิ่งที่ผู้ประกอบการสื่อสารโทรคมนาคมหลายรายเคย กล่าวไว้หลายครั้งก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเรื่องของการหลอมรวมเทคโนโลยี (convergence)

แต่ full service broadband ของอีริคสัน ได้ลงลึกในเนื้อหา ให้เห็นเป็นรูปธรรมมากกว่า

สุดเขต สุจิพิธรรม รองประธานฝ่ายการตลาดลูกค้าหลักเป็นผู้บรรยายถึงรายละเอียดของ vision ดังกล่าวด้วยตัวเอง

เนื้อหาต่อจากนี้คือคำบรรยายโดยละเอียดของสุดเขตในวันนั้น

"vision ของเรา คือเราต้องการเห็นบริการมัลติมีเดียไปขึ้นที่ไหนก็แล้วแต่ แต่เป็นบริการเดียวกัน

ที่ผ่านมาเราเล่นบรอดแบนด์ แต่เป็น fix ใช่ไหม คือ ADSL ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เราดูหนังได้ เราสามารถซื้อหนังได้ เราสามารถดู broadcast ได้ แต่มันติดอยู่กับที่ เราเดินไป หรือเราไปทำงานอยู่ใน park หรือไปที่ไหนก็แล้วแต่ ที่ไม่ใช่ออฟฟิศ หรือที่บ้าน เราไม่สามารถใช้บริการได้ มันถูกจำกัดใช่ไหม ข้อจำกัดนั้น เพราะว่า อะไร เพราะว่าการสร้างโครงข่าย มันไม่สามารถไปทุกที่ที่เราอยากจะไปได้ เราไม่สามารถจะไปต่อสายแจ๊คที่ไหนก็ได้ อันนั้นคือความจำกัดของมัน

เพราะฉะนั้นเราจึงเชื่อว่าด้วยความจำกัดอันนี้ full service broadband จะเป็นตัวแก้ปัญหา ก็เป็น vision ซึ่งทางอีริคสันสร้าง หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ให้มา serve full service broadband ตัวนี้

คอนเซ็ปต์ของอีริคสันง่ายๆ คือทำอย่างไรให้บริการต่างๆ อย่างวิดีโอโฟน ซึ่งปกติมันก็ต้องไปอยู่ที่วิดีโอโฟน คราวนี้ถ้าเกิดเรานั่งดูทีวีอยู่ที่บ้านล่ะ เราก็อยากให้วิดีโอที่คนโทรวิดีโอโฟนเข้ามาหาเราแล้วให้ภาพไปปรากฏอยู่บนจอทีวีที่เราดูอยู่ได้ทันที

นั่นคือสิ่งที่เราฝันเมื่อนานมาแล้ว แต่ตอนนี้เราสามารถทำได้แล้ว แต่สมัยก่อนนั่นคือ vision ของเราเลย หรือว่าเราดูข่าวอยู่ที่บ้าน ยังติดข่าวอยู่เลย แต่จำเป็นต้องออกจากบ้าน ถ้าเราอยากดูข่าวต่อ เราสามารถดูที่โทรศัพท์มือถือได้ไหม

นี่คือฝันที่เราเคยคิดมาในอดีต ความฝันเหล่านี้มันทำให้วิศวกรของอีริคสันนั่งคิด คิดแล้ว คิดอีก ผลักดัน standard ออกมา ปัจจุบันทำได้ เราเรียกว่า share concept

อันนี้คือเทคโนโลยีที่ปัจจุบันมันคือสิ่งที่เราเคยฝันมาในอดีต ที่นี้ที่เราอยากทำอย่างนี้เพื่ออะไร เพื่อคนก็จะได้มี freedom เราไม่ต้องยึดติด

เหมือนความฝันที่ในสมัยก่อน ที่เราอยากจะพูดโทรศัพท์ที่ไหนก็ได้ ซึ่งมันไม่เคยทำได้ เพราะต้องพูดที่บ้าน หรือไม่ก็ไปที่โทรศัพท์สาธารณะ อีริคสันก็คิดระบบขึ้นมาเหมือนกัน คือ NMT ทำอย่างไรให้โทรศัพท์สามารถโทรจากตรงไหนก็ได้ ก็เลยเกิดเป็นโทรศัพท์ มือถือขึ้นมา ซึ่งเกิดขึ้นที่สวีเดนเช่นกัน

มันคือความฝันลมๆ แล้งๆ ของคนที่คิดว่ามันน่าจะดี ถ้าเรา เปิดให้มี freedom ให้เขา ให้กับผู้ใช้บริการ เราก็เชื่อว่า เมื่อมี freedom แล้ว คนนี่ไม่เคยพอในเรื่องของ speed นั่นคืออีกความเชื่อหนึ่งของเรา เพราะฉะนั้นเราก็เชื่อว่าบรอดแบนด์มันต้องโต

เพราะคนนี่ อย่างเราให้ 1 เมก พอเรามีประสบการณ์ 1 เมก เราก็รู้สึกว่าไม่พอแล้ว มันช้าไป พอเป็น 2 เมก ก็ไม่พอ

ทุกวันนี้ผมของถามหน่อยว่า speed เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเคยพอไหม ไม่เคยพอ ไม่ว่าจะเป็นแพนเทียม 4 แพนเทียม 5 อะไรออกมาก็แล้วแต่ มันไม่เคยเร็วเท่าใจที่เราอยากจะให้มันเร็ว ถูกไหม

เพราะฉะนั้นคนจะ consume broadband นี่ เขาจะต้องอยากมากขึ้น อยากมากขึ้น นั่นคือความเชื่อของเรา แล้วเราก็ทำตาม ในแง่ของการสร้างเทคโนโลยี เพื่อที่จะมา serve ตรงนั้น

เพราะฉะนั้น theme ในเรื่อง full service broadband ก็คือว่าคุณไปที่ไหน content ของผมจะตามไปด้วยหมด ซึ่งมันทำได้ ไม่ใช่เรื่องฝันแล้ว ปัจจุบันเกิดขึ้นได้แน่ ซึ่งผมจะโชว์ให้ดูว่ามีอะไรบ้าง

มันมีปัจจัยอยู่ 3 เรื่องที่เราพูดถึง

เรื่องแรกก็คือ any service ต้องทุกบริการ สิ่งที่เราอยากจะให้มันไป ต้องไปทุกบริการ อะไรก็แล้วแต่ที่มันเคยอยู่ที่ไหน ใน device ไหน เราต้อง merge มันเข้ามา แล้วให้มันไปอยู่ที่ไหนก็ได้ เช่น ทีวีมันเคยอยู่ในเครื่องทีวี มันจะต้องไปอยู่ในโทรศัพท์มือถือให้ได้ แล้วมันจะต้องไปอยู่ในแล็ปทอปได้ด้วย หรือโทรศัพท์เคยอยู่ที่เครื่องโทรศัพท์ มันต้องไปพูดที่ทีวี ที่เครื่องแล็ปท้อปได้ด้วย เพราะฉะนั้นทุกบริการที่มันเคยอยู่ในที่ที่มันเคยอยู่ มันต้องสามารถอยู่ที่ไหนก็ได้ นั่นคือ vision ข้อที่ 1 ที่เราตั้งเอาไว้

vision ข้อที่ 2 คือ any device มันจะเกิด device ใหม่อะไรขึ้นมาในอนาคต จะเป็น iPhone จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ต้องมั่นใจ ได้ว่า device ตัวนั้นเมื่อมาเสียบเข้ากับ network ของเรามันต้องสามารถส่งข้อมูลที่เราบอกว่า any service ที่ผ่านมาเมื่อสักครู่นี้ได้ ไปโชว์ให้ได้ด้วย เพราะเวลาเราผลักดัน คือเราผลักดัน standardization โครงสร้าง device เขาก็จะเอา standardization ของเราไปต่อยอด ไปสร้าง terminal ของเขา หรือสร้างอะไรก็แล้วแต่ นั่นคือ vision ของเรา ซึ่งปัจจุบันนี้ทำได้แล้ว

เรื่องที่ 3 any where ซึ่งผมได้เล่าให้ฟังเมื่อสักครู่นี้ แต่ก่อนเราไม่เคย serve อินเทอร์เน็ตที่สวนสาธารณะได้ เราไม่เคย serve อินเทอร์เน็ตที่ร้านอาหารได้ ถูกไหม เราอยากให้มันไปได้ทุกที่ ไม่มีข้อจำกัด แล้วมันจะไปได้ด้วยอะไร สายมันไม่สามารถลอยไปกลางอากาศได้ ทางเดียวก็คือไปทางอากาศ มันก็เลยเกิดเทคโนโลยี่ที่เรียกว่า 3G 4G ขึ้นมา

3 องค์ประกอบนี้มันผลักดันให้เกิด full service broadband network

full service broadband นี่ ถ้าเรานับปัจจุบัน เรามีคน 250 ล้านคน ที่ใช้บรอดแบนด์ที่เป็น fix แต่ยังไม่ full mobilize คือยังไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่เริ่มขยับได้บ้าง แต่ยังไม่ได้ทุกที่ เราเชื่อว่าภายในอีก 5 ปี จำนวนคนที่ว่านี้ จะเพิ่มขึ้นอีก 6 เท่าตัว

ทำไมเราถึงเชื่อแบบนั้น เพราะว่าปัจจุบันถ้าเรานับจำนวนwideband network ที่โตขึ้นในโลกนี้ มันโตขึ้นแบบ exponential ไม่ว่าจะเป็น 3G หรือ HSPA มันโตมากกว่าที่เราคิด

แม้กระทั่งตัว device เอง ปัจจุบันนี้ เชื่อไหมว่ามีกล้องชนิดหนึ่ง ล่าสุดที่สามารถถ่ายรูปแล้วส่งไฟล์ได้เลย มี HSPA unit อยู่ในนั้นด้วย ซึ่งถ้าตัวนี้ออกมาเมื่อไร ผมเชื่อว่านักข่าวอยากได้ แล้วเมื่อไรที่เรามีบริการที่สามารถ link chipset ตัวนี้เข้าได้เลย ส่งได้เลย เราก็อยากทำ ถูกไหม ผมถ่ายรูป แล้วเลือกรูป ส่งไปได้เลย ผมอยากทำ

เพราะฉะนั้นเหล่านี้นี่มันจะมี device ต่างๆ กัน ก็เอา standardize ไปต่อยอด

เราเชื่อว่ามันต้องโต แล้วก็บรอดแบนด์คือรากฐานของ mass market multimedia service คือสิ่งที่เราคาดฝันเอาไว้ เพราะของเหล่านี้มันคือความฝันมาก่อน เสร็จแล้วเราก็มาสร้างให้มันเป็นความจริง แล้วเราเชื่อว่ามันจะเป็น mass"

สุดเขตได้กล่าวย้ำว่าปัจจุบัน operator ทุกแห่งต่างก็มองถึง vision นี้ ในเป้าหมายเดียวกันและเชื่อว่าทุกแห่งได้วางแผนการลงทุน เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการสื่อสารโทรคมนาคมดังกล่าวเอาไว้แล้ว

เพียงแต่รอให้มีการวางโครงสร้างพื้นฐานที่จะสามารถรองรับกับพัฒนาการของเทคโนโลยีเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อใดก็พร้อมที่จะลงทุน ได้ทันที

ก่อนจบการบรรยาย เขาได้ฉายสไลด์ที่สรุปแนวคิดรวบยอดของ vision นี้ด้วยคำพูดประโยคหนึ่งที่บอกว่า

"As the summary, full service broadband is freedom of broadband service to reach any device, anytime, anywhere."


กลับสู่หน้าหลัก

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย



(cc) 2008 ASTVmanager Co., Ltd. Some Rights Reserved.